วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553

ปิดเปลี่ยนปล่อยปรับปรุงสิ่งแวดล้อม

{ ปิด-เปลี่ยน-ปล่อย-ปรับปรุง สิ่งแวดล้อม }

ในทุก ๆ ปีเมื่อย่างเข้าสู่หน้าฝนทีไรคนไทยต้องผจญกับเรื่องโรคภัยไข้เจ็บมากมาย ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ มหันตภัยจากโรคไข้เลือกออกที่ในแต่ละปีได้คร่าชีวิตคนไทยไปจำนวนไม่น้อย

ปัญหาเรื่องโรคไข้เลือดออกไม่ใช่ปัญหาใหม่ แต่ทุกปีประเทศไทยจะต้องประสบปัญหาการระบาดของโรคอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจาก สถิติผู้ป่วยในเขตอำเภอตะพานหินปี 2550 พบ 76 ราย ปี 2551 พบ 167 ราย ผู้ป่วยในเขตเทศบาลปี2550 พบ 20 ราย ปี 2551 พบ 49 ราย แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต ซึ่งพบอัตราการป่วยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และน่ากลัวเพิ่มมากขึ้นก็คือ ผู้ป่วยไม่ได้มีเฉพาะแค่เด็ก ๆ เท่านั้น??? ซึ่งจากสถิติข้อมูลที่พบปรากฏว่า ผู้ใหญ่ได้กลายเป็นเหยื่อของโรคไข้เลือดออกมาเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จากเดิมที่จะเป็นในเฉพาะเด็ก เล็ก ๆ เท่านั้น
หากไม่มีการป้องกันที่ดีจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากโรคนี้จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างแน่นอน !??!
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคมของทุก ๆ ปี ซึ่งถือเป็นช่วงที่ไข้เลือดออกจะระบาดสูงที่สุด
นายแพทย์กิตติโชติ ตั้งกิตติถาวร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชตะพานหิน กล่าวถึงสาเหตุของการเพิ่มขึ้นของสถิติไข้เลือดออกในปีนี้ว่า เกิดจากหน้าฝนที่มาเร็วกว่าปกติและจากปรากฏการณ์ เอลนิโญ หรือภาวะโลกร้อน ส่งผลให้โรคไข้เลือดออกระบาด ได้ดีขึ้น เนื่องจากโรคไข้เลือดออกนั้นมีเชื้อไวรัสเด็งกี่ เป็นสาเหตุ และมียุงลายเป็นแมลงนำโรค ซึ่งเมื่อสภาวะอุณหภูมิที่อุ่นขึ้นกว่าปกติช่วยทำให้การแบ่งตัวและเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสดีขึ้นอย่างชัดเจน รวมทั้งการเจริญเติบโตของยุงลายก็ดียิ่งขึ้น จึง ทำให้มีเชื้อและยุงในชุมชนมากขึ้น โอกาสการแพร่เชื้อก็มีมากขึ้น ประกอบกับในภาวะภัยแล้งขาดแคลนน้ำ ประชาชนมักจะกักเก็บน้ำไว้ใช้อุปโภค บริโภคเพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็เป็นการเพิ่มแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายมากขึ้นอีกทางหนึ่ง

“ประชาชนส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่ายุงที่อยู่ตาม ท่อระบายน้ำเป็นยุงลาย รอให้เจ้าหน้าที่มาพ่นหมอกควันฆ่ายุง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเพราะยุงตามท่อระบายน้ำเป็นยุงรำคาญ ไม่ใช่ยุงลายที่เป็นสาเหตุโรคไข้เลือดออก ยุงลายจะอยู่ในบ้านชอบกัดคนเวลากลางวัน แต่ในกลางคืนก็อาจกัดได้ หากยังกินเลือดไม่อิ่ม ส่วนการเพาะพันธุ์จะอาศัยน้ำสะอาด ใส ที่ขังนิ่งตามภาชนะต่าง ๆ ในบริเวณบ้าน”

ในบางครั้งเราไม่สามารถป้องกันยุงลายไม่ให้กัดได้ วิธีการที่ง่ายและได้ผลดีที่สุดในการป้องกันการตกเป็นเหยื่อโรคนี้ก็คือ การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเพื่อไม่ให้มีที่วางไข่ขยายพันธุ์แล้วมากัดคนจนเป็นโรค ซึ่งการหมั่นคอยตรวจ สำรวจ และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุก 7 วันอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้ทุกคนในบ้านและชุมชนลดโอกาสเสี่ยงในการเป็นไข้เลือดออกได้

อย่างไรก็ตามการสกัดกั้นภัยร้ายจากยุงลายและการระบาดของโรคไข้เลือดออกนั้นจะต้องมาจากความร่วมมือของคนในชุมชนด้วยการป้องกันปัญหาจากต้นเหตุนั้นก็คือ การลดการเกิดและขยายพันธุ์ของยุงลาย

ทั้งนี้ทางโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชตะพานหิน ขอเชิญชวนร่วมรณรงค์ลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชน โดยให้ทุกคนในชุมชนร่วมกันปฏิบัติตามหลัก 4 ป. ซึ่งก็คือ
1.ปิด หากภายในบ้านมีโอ่ง ให้ปิดฝาโอ่งให้มิดชิด โอ่งที่ไม่ได้ใช้ ให้คว่ำไว้เพื่อป้องกันการเพาะพันธุ์ของยุงลาย
2.เปลี่ยน ต้องหมั่นเปลี่ยน น้ำในแจกันดอกไม้ หรือขาตู้กับข้าว ทุก ๆ สัปดาห์ ใส่เกลือแกง หรือน้ำส้มสายชูเพื่อป้องกันการวางไข่ของยุงลาย
3. ปล่อย หากเป็นไปได้ให้ปล่อยและเลี้ยงสัตว์ประเภทต่าง ๆ ที่กินลูกน้ำยุงลายเป็นอาหาร อาทิ ปลาหางนกยูง ในโอ่งน้ำ บ่อน้ำ หรืออ่างบัว และ
4.ปรับปรุง ให้ทุกบ้านในชุมชนปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในบ้านและบริเวณบ้านไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายไม่ว่าจะเป็นถังขยะ ขวดน้ำหรือแก้วน้ำพลาสติก กระถางต้นไม้ หรือภาชนะต่าง ๆ ที่อาจทำให้มีน้ำขังโดยเฉพาะในช่วงฝนตก

ทั้งนี้โดยปกติยุงลายจะกัดคนในเวลากลางวัน และเฉพาะยุงลายตัวเมียเท่านั้นที่จะดูดเลือดคนเพื่อนำโปรตีนในเลือดไปเลี้ยงไข่ ซึ่งยุงลายตัวเมีย 1 ตัวจะสามารถวางไข่ได้ถึง 100 ฟอง อย่างไรก็ตามการป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด ทำได้หลายวิธี เช่น กางมุงเวลานอนแม้จะเป็นตอนกลางวัน หรือติดมุงลวดในบ้าน หรืออาจนำพืชสมุนไพรที่สามารถไล่ยุงได้มาใช้ อาทิ ตะไคร้หอม กระเทียม ใบแมงลัก กะเพรา สะระแหน่ ใบและผลมะกรูด ฯลฯ

สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ การเฝ้าระวังคนในครอบครัวและชุมชน ซึ่งหากพบผู้ป่วยที่สงสัยเป็นไข้เลือดออก จะต้องนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วให้แพทย์ดูแลรักษาทันทีเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเสียชีวิต นอกจากนี้จะต้องรายงานทางสาธารณสุขเพื่อให้ส่งเจ้าหน้าที่หน่วยสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วลงพื้นที่เพื่อควบคุมแหล่งแพร่เชื้อภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้โรคระบาดในวงกว้าง

“ยุงตัวเล็ก ๆ” แต่หากเกิดการระบาดของโรค เรื่องเล็ก ๆ ก็จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ การร่วมมือช่วยกันป้องกัน โดยเริ่มจากบ้านของตนเองก่อน จะมีส่วนช่วยสกัดกั้นภัยร้ายจากยุงลายและโรคไข้เลือดออกได้ !?!.
ด้วยมาตรการ 4 ป. ปิด เปลี่ยน ปล่อย ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม

“ยุงตัวเล็ก ๆ” แต่หากเกิดการระบาดของโรค เรื่องเล็ก ๆ ก็จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ การร่วมมือช่วยกันป้องกัน โดยเริ่มจากบ้านของตนเองก่อน จะมีส่วนช่วยสกัดกั้นภัยร้ายจากยุงลายและโรคไข้เลือดออกได้ ?
ด้วยมาตรการ 4 ป.
ปิด เปลี่ยน ปล่อย ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม

แบบเสนอโครงการวิจัย ABCPUS

แบบเสนอโครงการวิจัย ABCPUS

ชื่อโครงการ
(ภาษาไทย) การศึกษาการแพร่กระจายของแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในเขตดุสิตโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
(ภาษาอังกฤษ) The distribution of Aedes aegypti larva in Dusit district by using geographic information system (GIS)

หัวหน้าโครงการวิจัย
ชื่อ-สกุล นางสาวพิมพนัส วิมุกตายน
หน่วยงาน สาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ที่อยู่ สาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เลขที่ 1 ถนนอู่ทองนอก เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทรศัพท์ 0818101224 โทรสาร 022436863
E-mail pimpanas@hotmail.com

ระยะเวลาดำเนินงาน……………6…………….เดือน

งบประมาณ ……………65,000.…………………….….บาท

ปัญหาที่ทำวิจัยและความสำคัญของปัญหา
ยุงลายเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกที่มีปัญหาการระบาดหนักทั่วประเทศ โดยเฉพาะในเขตที่มีประชากรอยู่หนาแน่น ในกรุงเทพฯ พบว่าเขตบางซื่อซึ่งอยู่ติดกับเขตดุสิตเป็นแหล่งเพาะเชื้อไข้เลือดออกที่ติดอันดับต้นๆ ของประเทศ นอกจากเขตบางซื่อ ยังมีเขตที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวังเนื่องจากเป็นจุดเสี่ยงต่อการระบาดของเชื้อไข้เลือดออก ได้แก่ บางพลัด จตุจักร ภาษีเจริญ บางบอน บางคอแหลม จอมทอง และประเวศ
การระบาดของโรคไข้เลือดออกจะพบมากในฤดูฝน โดยมีรอบการระบาดทุก 2 ปี แต่เนื่องจากอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นจากภาวะโลกร้อน ทำให้รอบการระบาดของโรคนี้เกิดเร็วขึ้น วงจรชีวิตของยุงลายสั้นขึ้นจาก 10-14 วัน เหลือเพียง 1 สัปดาห์ แต่ปริมาณการวางไข่ต่อรอบเพิ่มจำนวนสูงขึ้น สถิติผู้ป่วยในกรุงเทพฯ พบว่าเขตบางซื่อมีผู้ป่วยมากที่สุดในรอบครึ่งปีแรกของปี พ.ศ.2550 จำนวนถึง 80 ราย จากการเฝ้าระวังโรคในปี 2551 ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ รวม 40 วัน มีรายงานผู้ป่วยสะสมทั่วประเทศแล้ว 2,824 ราย เสียชีวิต 4 ราย ผู้ป่วยร้อยละ 70 อยู่ในภาคกลาง มีทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ เมื่อเทียบช่วงเดียวกันในปี 2550 ซึ่งมีผู้ป่วยเพียง 1,702 ราย ไม่มีรายงานเสียชีวิต พบว่าจำนวนผู้ป่วยปีนี้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 66 โดยตลอดปี 2550 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกประมาณ 6 หมื่นราย เสียชีวิต 29 ราย และมีสัญญาณว่าโรคนี้จะพบในเด็กโตมากขึ้น
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการศึกษาการแพร่กระจายของเชื้อไข้เลือดออก เนื่องจากทำให้ทราบข้อมูลของแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเพาพะพันธุ์ และการติดเชื้อไข้เลือดออก ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างสูงต่อการเฝ้าระวังและการควบคุมการแพร่กระจายยุงลายและการติดเชื้อ

วัตถุประสงค์
1. เพื่อหาการแพร่กระจายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
2. เพื่อหาลักษณะของคุณภาพน้ำเบื้องต้นที่มีผลต่อการวางไข่ของยุงลาย
3. เพื่อประเมินสถานการณ์ความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายในเขตดุสิต

คำถามการวิจัย
1. ยุงลายมีแหล่งเพาะพันธุ์กระจายอยู่ที่ใดบ้าง
2. ลักษณะของแหล่งน้ำที่ยุงลายวางไข่เป็นแบบใด

กรอบความคิดการวิจัย
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information Systems ,GIS) เป็นระบบเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่ และเชื่อมโยงและผสมผสานข้อมูลทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย ที่เก็บไว้ในฐานข้อมูล เพื่อนำมาช่วยประกอบการตัดสินใจในการป้องกันและควบคุมโรคจะถูกต้อง ชัดเจน และแม่นยำมากขึ้น

ระเบียบวิธีวิจัย
(ดัดแปลงจาก สีใส ยี่สุ่นแสง http://www.en.mahidol.ac.th/gis/document/03.pdf)
รูปแบบการศึกษา
เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive Study)
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา
1. แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
2. ปัจจัยสิ่งแวดล้อม ได้แก่ อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน ความชื้นในอากาศ
3. ดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำเบื้องต้น ได้แก่ อุณหภูมิ ค่าออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ความขุ่น การนำไฟฟ้า ความเป็นกรด-ด่างของน้ำ
4. ข้อมูลตำแหน่งจุดพิกัด (Geo-Reference Point) ของเขตดุสิต โดยพื้นที่ที่เลือกทำการสำรวจการแพร่กระจายพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย จะสำรวจชุมชนรอบๆ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้แก่ ชุมชนชาววัดราชา ชุมชนสวนอ้อย ชุมชนวัดเทวราชกุญชร
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. ชุดคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น ArcViewGIS และ โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล
2. ฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ (SpatialDatabase) ใช้แผนที่ภูมิประเทศเชิงเลขมาตราส่วน 1:50,000 ของกรมแผนที่ทหาร ใช้เป็นแผนที่ฐาน (BaseMap) และแผนที่อื่นๆ เช่น แผนที่ขอบเขตการปกครอง ที่ตั้งหมู่บ้าน เส้นทางคมนาคม สถานีตรวจวัดอากาศ
3. ฐานข้อมูลเชิงคุณลักษณะ (AttributeDatabase) เป็นข้อมูลระดับทุติยภูมิ ซึ่งรวบรวมจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น ข้อมูลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก รายงานการสำรวจลูกน้ำ ปริมาณน้ำฝน จำนวนวันที่ฝนตก
4. แบบสอบถาม ประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไป 2) ความรู้เรื่องไข้เลือดออก 3) ทัศนคติเกี่ยวกับไข้เลือดออก 4) สภาพสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคไข้เลือดออก 5) การมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคของครัวเรือนและชุมชน
การเก็บรวบรวมและจัดการข้อมูล
1. รวบรวมฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ ฐานข้อมูลเชิงคุณลักษณะแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ได้แก่ ภาชนะเก็บกักน้ำหลัก ภายในบ้านสำหรับอุปโภคบริโภค และภาชนะเก็บกักน้ำรอบบ้าน
2. รวบรวมข้อมูลการติดเชื้อไข้เลือดออกจากแบบสอบถามและข้อมูลผู้ป่วยในโรงพยาบาล
3. รวบรวมชนิดข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาใช้ประมวลผลในโปรแกรม ArcViewGIS
การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
ลักษณะทั่วไปของประชากรกลุ่มตัวอย่าง และปัจจัยสิ่งแวดล้อม ใช้สถิติร้อยละ (Percentage)ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean)และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (StandardDeviation)
1. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสิ่งแวดล้อม ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย และจำนวนผู้ป่วยใช้สถิติ PearsonProductMomentCorrelationCoefficient3) การวิเคราะห์สถิติเชิงพื้นที่ในการกำหนดพื้นที่เสี่ยงใช้สถิติจำแนกกลุ่ม (DiscriminantAnalysis) ร่วมกับ การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ (Spatial Analysis)
2. กำหนดระดับเสี่ยงต่อโรคไข้เลือดออกของพื้นที่ศึกษา
1) ชุมชนที่ไม่เคยเกิดโรค แต่อยู่ใกล้พื้นที่เคยเกิดโรคเมื่อ 1-3 ปีที่ผ่านมา
2) ชุมชนที่มีความชุกชุมยุงลายสูง
3) ชุมชนที่มีผู้ป่วยหรือมีการระบาดในปีก่อน หรือมีผู้ป่วยไม่ติดต่อกัน 3 ปี

ดัชนีวัดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย (Larval/Pupal Mosquito Population Density Indices)
House Index คือ ร้อยละของบ้านที่พบลูกน้ำ
H.I = จำนวนบ้านที่พบลูกน้ำ x 100
จำนวนบ้านที่สำรวจทั้งหมด
Container Index คือ ร้อยละของภาชนะที่พบลูกน้ำ
C.I. = จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำ x 100
จำนวนภาชนะที่สำรวจทั้งหมด
Breteau Index คือ จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำต่อบ้าน 100 หลังคาเรือน
B.I. = จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำ x 100
จำนวนบ้านที่สำรวจทั้งหมด
Stegomyia Index คือ จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำต่อประชากรในพื้นที่สำรวจ 1,000 คน
S.I. = จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำ x 1000
จำนวนประชากรในพื้นที่สำรวจ
อัตราบ้านพบตัวโม่ง PHI = จำนวนบ้านที่สำรวจพบตัวโม่ง X 100
จำนวนบ้านที่สำรวจ
อัตราภาชนะพบตัวโม่ง PCI = จำนวนภาชนะที่สำรวจพบตัวโม่ง X 100
จำนวนภาชนะที่สำรวจ

การแปรผล
HI สูง CI สูง = ชุมชนนี้มีปัญหามากโดยรวม
HI ต่ำ CI ต่ำ = ชุมชนนี้มีปัญหาน้อยโดยรวม
HI สูง CI ต่ำ = ชุมชนนี้มีปัญหาทั่วไปกระจายทั้งหมู่
HI ต่ำ CI สูง = ชุมชนนี้มีปัญหาเป็นบางจุดของชุมชน แก้ไขเฉพาะจุดได้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทราบแหล่งแพร่กระจายพันธุ์ของลูกน้ำยุงลายและจัดทำข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์
2. ทราบลักษณะของแหล่งน้ำที่ยุงลายเลือกวางไข่
3. เพื่อการวางแผนควบคุมและเฝ้าระวังแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

งานทบทวนวิจัยที่เกี่ยวข้อง
Alpana B. and Haja A., 2001. Application of GIS in Modeling of Dengue Risk based on Socio Cultural Data: Case of Jalor, Rajasthan India. Paper presented at the 22ndAsian Conference on Remote Sensing. 5-9 November 2001, Singapore. ระบบออนไลน์ แหล่งที่มา : http://geoinformatics.sut.ac.th/sut/student/GISpresent/2003-1/ApplicationofGIS.pdf
กรมควบคุมโรค 2549. สรุปผลการตรวจราชการและนิเทศงานระดับเขต กรณีปกติระดับกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2549 รอบที่ 1 ระบบออนไลน์ แหล่งที่มา http://dpc1.ddc.moph.go.th/technic/Data_Link/Nitret/Summary-Nitret.doc
กระทรวงสาธารณสุข การประเมินผลการควบคุมลูกน้ำยุงลายทุก 7 วัน ปี 2548 ระบบออนไลน์ แหล่งที่มา http://dhf.ddc.moph.go.th/project/Prinsston/assess.ppt
กังสดาล สุวรรณรงค์ และ ศศิธร ตั้งสวัสดิ์ การพัฒนาฐานข้อมูลการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ใน 7 จังหวัดรับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น. ระบบออนไลน์ แหล่งที่มา : http://203.157.15.4/episeminar/abstract/15kungsdal.txt
กิติมา กิจประเสริฐ การศึกษาการเกิดการกระจายและปัจจัยการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่จังหวัดระยอง ปี พ.ศ. 2545-2547. ระบบออนไลน์ แหล่งที่มา : http://202.29.52.57/~48042380187/Gis.ppt
ชบาไพร เสาร์สุวรรณ 2548. โครงการประเมินดัชนีลูกน้ำยุงลายเพื่อเฝ้าระวังความเสี่ยงในพื้นที่ ปี 2548. ระบบออนไลน์ แหล่งที่มา : http://www.dpc1.in.th/insect/datainsect/project48.7.doc
ณัฏฐวุฒิ แก้วพิทูลย์ พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมลูกน้ำยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออกของประชาชนบ้านกลาง ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ระบบออนไลน์ แหล่งที่มา http://www.cmp.ubu.ac.th/~rcpner/admin/att/17-10-2007BeDHF.doc
นันทวัน นารัตน์และคณะ การพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านสาธารณสุขจังหวัดอ่างทองโดยใช้ข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ระบบออนไลน์ แหล่งที่มา http://pubnet.moph.go.th/
พนม พูลสมบัติ ไข้เลือดออก และการสำรวจลูกน้ำยุงลาย ระบบออนไลน์ แหล่งที่มา http://www.nmd.go.th/preventmed/down/download.html
สถานีอนามัยบ้านพันหลัง จังหวัดเชียงใหม่ การคำนวณดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย ระบบออนไลน์ แหล่งที่มา http://www.cliniccom.th.gs/web-c/liniccom/dhfmass.htm
สีใส ยี่สุ่นแสง การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อการวางแผนป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์และพิษณุโลก ระบบออนไลน์ แหล่งที่มา http://www.en.mahidol.ac.th/gis/document/03.pdf

ธรรมวิธี กำจัดไข้เลือดออก

ธรรมวิธี .... กำจัดไข้เลือดออก
บทธรรม....พระชลันธร กิตฺติปญฺโญ
สำนักปฏิบัติธรรมศิริธรรม(ถ้ำชี)

เจริญพรท่านสาธุชนทั้งหลาย บัดนี้อาตมาภาพจะได้แสดงพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา ช่วงนี้เป็นช่วงหน้าฤดูฝนพระก็จะเข้าพรรษา ส่วนมากโยมทั้งหลายก็จะอยู่วัดเป็นบางส่วนมาปฏิบัติธรรมถือศีลภาวนา บางครอบครัวก็จะมาเฉพาะวันพระ มาใส่บาตรมาทำบุญวันพระ การที่เรามาทำบุญนั้นเป็นเรื่องดี การสั่งสมซึ่งบุญทำให้เกิดสุข
สุโข ปุญฺญสฺ อุจฺจโย (สุโข ปุญญัส สะอุจจะโย) การสั่งสมซึ่งบุญทำให้เกิดสุข โรคที่จะมาในหน้าฝนทุก ๆ ปีนี้ก็จะเกี่ยวกับไข้เลือดออก หนึ่งในหลาย ๆ โรคที่ทุกคนอาจเป็นได้ ไข้เลือดออกนี้เกิดมาจากยุงลาย ยุงลายนี้แหล่งกำเนิดก็จะมาจากน้ำขังตามที่ต่าง ๆ พอมากัดเราเราก็จะเป็นโรคไข้เลือดออก การที่เราจะเป็นไข้เลือดออกนั้นก็จะเป็นไข้ มีจุดเลือดออกตามตัว ถึงบทสุดท้ายร้ายแรงเราอาจถึงขั้นตาย
วิธีป้องกันแก้ไขก็คือดังที่มีพระบาลีว่า
เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตุ ตถาคโต เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํวาที มหาสมโณ (เยธัมมา เหตุป ปะภะวา เตสัง เหตุงตถาคโต เตสันจะโยนิโรโธจะ เอวังวาที มหาสะมะโน) ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และตรัสซึ่งความดับด้วย
เหตุที่ทำให้เกิดยุงลายก็คือน้ำขัง น้ำขังเพราะอะไร เพราะตั้งภาชนะทิ้งไว้ กระถางบ้าง แจกันบ้าง ยางรถยนต์บ้าง แอ่งน้ำต่าง ๆ บ้าง วิธีแก้ไขเราก็คือต้องดับที่เหตุ ปลายเหตุก็คือโรคต้นเหตุก็คือยุงเกิดขึ้นมา แต่เราไม่ได้ไปฆ่ายุงให้ยุงตาย แต่เราพยายามไม่ให้มันเกิดขึ้นมาก ให้มันเกิดไปตามปกติของมัน ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ก็อาจจะเอาเกลือใส่ไปในภาชนะบ้าง เอาแฟ้บใส่ไปบ้าง เอาน้ำส้มสายชูใส่ไปบ้าง การใส่ไปในภาชนะนี้ไม่ใช่ว่าเราใส่ตอนที่มันเกิดเป็นตัวแล้วเราก็ไปใส่ อันนั้นก็เป็นการทำปาณาติบาต เราฆ่ายุงแต่เราก็เป็นปาบ วิธีแก้ไขที่ดีก็คือเราป้องกันเสียก่อน
ยาดีคือยาป้องกันไม่ใช่ยารักษา เราก็ป้องกันโดยการที่ว่า ถ้าเราเอาน้ำใส่หล่อภาชนะใส่ขาตู้กับข้าว เราก็เอาแฟ้ปใส่ไปเสียก่อนก่อนที่ยุงจะมาไข่ เอาเกลือใส่ไปก่อนที่ยุงจะมาไข่ ทำเสียก่อนที่ยุงจะมาไข่ ดับก็ดับที่เหตุไม่ใส่ดับที่ปลายเหตุ การฆ่าเป็นกรรมที่ไม่มีสิ้นสุดผู้ฆ่าแล้วต้องโดนฆ่าตอบ ฉนั้นแล้วเราก็ไม่ควรไปฆ่ายุงเป็นไปได้ก็แก้ที่ต้นเหตุ วงจรชีวิตของมันนั้นอายุไม่มาก 9 ถึง 14 วัน มันก็ตายแล้วแต่ว่าเราต้องไปตายในนรกอีกหลายชาติ ตายแล้วเกิด ตายแล้วเกิด เกิดในนรกมันไม่คุ้มกัน พยายามใช้ชีวิตอยู่ให้เป็นอยู่ดีอยู่ชอบ เป็นไปได้ก็อย่าไปฆ่า ผู้ฆ่าต้องโดนฆ่าตอบ หากทุกคนเลือกเกิดได้ทุกคนก็อยากเกิดตามใจสมปรารถนา ถ้าเราคิดผิดตั้งจิตผิดเราก็จะไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นเปรตในนรก เป็นอสุรกายอยู่ในอบายภูมิทั้งสี่ ฉนั้นแล้วเราไม่ควรจะฆ่าสัตว์ ยาดีคือยาป้องกันป้องกันก่อนที่ยุงจะเกิด
ถ้ายุงไม่เกิดก็ไม่มีโรคโรคก็น้อย โรคน้อยเพื่อนบ้านเราก็ไม่เป็นคนในครอบครัวเราก็ไม่เป็น สังคมเราก็ไม่เป็นโรคระบาด เพราะถ้าคนใดคนหนึ่งเป็นโรคไข้เลือดออกแล้วยุงก็จะไปกัดคนนั้น กัดเสร็จยุงก็จะมาแพร่เชื้ออีก และแล้วเป็นไปได้ก็พยายามไม่ให้มันเกิดขึ้นมา แต่เราไม่ใช่ฆ่า เราจะไปป้องกัน ป้องกันแก้ไข ถ้าคนในครอบครัวเราโดนยุงกัด คนในบ้านเราโดนยุงกัด คนในโรงเรียนเราโดนยุงกัด คนที่ทำงานเราโดนยุงกัด คนในชุมชนเราโดนยุงกัด แล้วถ้าเกิดเป็นไข้เลือดออกระบาดถ้าเป็นคนอื่น เราก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเกิดเป็นพี่น้องเราหรือคนในครอบครัวเรา เป็นลูกเราเป็นพ่อเราเป็นแม่เรา แล้วเราจะคิดยังไง ฉนั้นแล้วไม่ควรไปฆ่ายุง แต่ควรไปป้องกันไม่ให้ยุงได้เกิดขึ้นมา ไม่ได้ไปทำหมันมัน
แต่เราป้องกันในบ้านเรา เริ่มที่ตัวเราก่อน เริ่มที่บ้านเราก่อนสร้างอุปนิสัยที่ดีให้กับตัวเรา พยายามอย่าใส่น้ำทิ้งไว้ในกระถางในแจกัน แจกันไหว้พระ ถ้าดอกไม้มันเฉาแล้วดอกบัวเฉาแล้ว มันมีกลิ่นแล้วก็ควรจะทิ้งได้แล้ว ไม่ใช่รอจนดอกไม้เหี่ยวแห้ง จำได้ไหม...โยมนางอมิตดาที่ได้ชูชกเนี่ยเพราะเคยถวายดอกไม้เหี่ยว ฉนั้นแล้วเนี่ยถ้าใครอยากได้คู่ชีวิตเป็นคนเก่า ๆ เหี่ยว ๆ แก่ ๆ เหมือนชูชกก็ถวายดอกไม้เหี่ยว ใครอยากได้คู่ชีวิตที่ว่าสดใส ดูสดใส ดูมีวรรณะงานผิวพรรณงามถวายดอกไม้สด ๆ ก็จะได้บุญแต่ถวายดอกไม้แล้วก็ต้องหมั่นถ่ายน้ำเปลี่ยนน้ำด้วย ยิ่งดอกบัวถ้าใส่แจกันไว้ไม่กี่วันมันก็มีกลิ่นแล้ว ดอกบัวเกิดจากตมแต่ไม่แปดเปื้อนด้วยตม เหมือนเราเราเกิดมาจากชาติตระกูล เราไม่ใช่คนร่ำคนรวย แต่เราก็สามารถพัฒนาตัวเราขึ้นมาได้ให้เป็นคนดี ให้เป็นที่ยอมรับในสังคม เป็นคนที่ช่วยเหลือสังคม เป็นคนดีต่อสังคม เป็นที่พึ่งให้คนในสังคม เราต้องพัฒนาตัวขึ้นมา ไม่มีใครช่วยเราได้นอกจากตัวเราเอง
อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ (อัตตาหิ อัตตโนนาโถ) ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
โก หิ นาโถ ปโร สิยา (โก หิ นาโถ ปะโร สิยา) คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้
พึ่งตนพึ่งธรรมพึ่งกรรมของตน เราต้องพึ่งตัวเองก่อน ดูซิว่าบ้านช่องเรายุงเยอะมั๊ย ถ้ายุงเยอะเราก็ตัดกิ่งไม้ กิ่งไหนที่ว่ามันอยู่ต่ำ ๆ ก็ตัดให้โปร่งโปร่ง ที่ไหนที่มืดยุงมันก็มา แต่ถ้าที่ไหนโปร่ง ๆ สว่าง ๆ ยุงมันก็ไม่มา อย่างน้อย ๆ เราก็ป้องกันตัวได้แล้วในระดับหนึ่ง วันนี้เราอาจยังไม่เห็นค่าหรอกว่ามันช่วยได้แค่ไหน แต่ถ้าสักวันใดวันหนึ่งตัวเราเป็นไข้เลือดออก ญาติพี่น้องเราเป็นไข้เลือดออก เราจะนึกว่า โอ้!....ถ้าเราทำแต่แรกเราก็ไม่ต้องเป็นแล้ว ย้ำว่ายาดีคือยาป้องกันไม่ใช่ยารักษา ถ้าบ้านเราไม่มียุง อากาศปลอดโปร่ง แสงสว่างทั่วถึงยุงก็ไม่ลุกลามไปบ้านอื่น ยุงเนี่ยเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์มาแล้ว ตั้งแต่สมัยยุคไดโนเสาร์ครั้นจะฆ่าให้มันหมดสิ้นเป็นไปไม่ได้ ถ้าตายมันก็ตายมาตั้งแต่ก่อนโน้นแล้ว นี่เราเพิ่งเกิดมายังถึง 100 ปี จะกำจัดให้หมดมันเป็นไปได้ยาก แต่ที่กำจัดให้หมดได้คือกิเลสในตัวเรา กำจัดโลภะ โทสะ โมหะ ที่มีอยู่ในตัวเรา ไม่ให้โลภไม่ให้โกรธไม่ให้หลงไม่ให้เบียดเบียน พยายามรักษาตัวเราไว้
ธมฺ ม จารี สุขํ เสติ (ธัมมะ จารี สุขัง เสติ) ผู้ประพฤติธรรมะย่อมอยู่เป็นสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า หมั่นประพฤติธรรม ปฏิบัติธรรมให้ทานถือศีลภาวนา บุญที่เกิดจากการทำทานก็คืออย่างหนึ่ง บุญที่ไม่เสียเงินก็คือบุญอีกอย่างหนึ่ง คือการถือศีล สวดมนต์ไหว้พระ บุญไม่ต้องเสียเงินเราไม่ต้องไปฆ่าสัตว์ ถือศีลห้า
ปาณาติปาตาเวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ เราไม่เบียดเบียนสัตว์เราไม่ฆ่าสัตว์ บางคนไปซื้อไม้ตียุง ไปซื้อไม้เหมือนไม้เทนนิสแล้วก็ฟาดยุง บางที่ก็เผลอโดนตัวเองเข้าขนาดตัวเองยังสะดุ้งเลยแล้วยุงมันตาย การฆ่าเป็นกรรมที่ไม่มีการเลิกลา การฆ่าประกอบด้วยองค์ห้า คือหนึ่งสัตว์มีชีวิต สองรู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต สามคิดจะฆ่า สี่พยายามฆ่า ห้าสัตว์นั้นตายด้วยความเพียร กรรมเหล่านี้ถ้าครบองค์ห้าแล้วเจตนาสำคัญมาก เจตนามากผลกรรมก็มาก อยู่ที่เจตนา
เจตนา หํ ภิกฺขเว สีลํ วทามิ (เจตะนา หัง ภิกขะเว สีลัง วะทามิ)
เจตนาเป็นตัวกำหนดศีล
เจตนา หํ ภิกฺขเว กมมํ วทามิ (เจตะนา หังภิกขะเว กัมมัง วะทามิ)
เจตนาเป็นตัวกำหนดกรรม
ถ้าเรารักษาศีลเราไม่เกิดกรรมชั่ว ถ้าเราทำกรรมดีแล้วกรรมชั่วเข้ามาแทรกเราไม่ได้ เหมือนมีคนหนึ่งนั่งอยู่บนเก้าอี้อีกคนหนึ่งก็ไม่สามารถมานั่งได้ เพราะระหว่างเราทำดีกรรมดีก็อยู่ในใจ เราก็คิดดีทำดี พูดดี นี่คือกรรมดี คิดชั่วทำชั่วนี่คือกรรมชั่ว และแล้วอยากให้ญาติโยมทั้งหลาย หมั่นประพฤติดีไม่ประพฤติกรรมชั่ว ละชั่วทำดีทำจิตให้ผ่องใส

สพฺพปา ปสฺส อกรณํ (สัพพะปาปัสสะ อะกะระนัง) การไม่ทำบาปทั้งปวง
กุสลสฺสูปสมฺปทา (กุสะลัสสูปะสัมปะทา) การทำกุศลให้ถึงพร้อม
สจิตฺตปริโยทปนํ (สะจิตตะปะริโยทะปะนัง) การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ
เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ (เอตัง พุทธานะ สาสะนัง) ธรรม 3 อย่างนี้เป็นคำสั่งสอนของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
พระพุทธเจ้าทั้งหลายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ท่านสอนให้เราละชั่วทำดีทำจิตให้ผ่องใส ทุก ๆ พระองค์จะสอนอย่างนี้หมด ฉนั้นแล้วเราเกิดเป็นชาวพุทธ พยายามทำตนให้ดีรักษาตนให้ดี ละชั่วทำดีทำจิตให้ผ่องใส ยาดีคือยาป้องกันไม่ใช่ยารักษา ฉนั้นแล้วหน้าฝนยุงชุมก็ควรจะป้องกันตัว หายากันยุงมาทาบ้าง จุดไฟบ้าง จุดควันบ้างแต่ไม่ใช่ไปฆ่ามัน ป้องกันไม่ให้ยุงมากัดเรา จะถามว่าเอ้า ..ถ้ามันมากัดเราแล้วเราทำยังไง เราก็เป่ามันไม่ต้องไปฆ่ามัน ถ้ามันมากัดเราแล้วเราฆ่ามัน เราหายคันมั๊ย เราก็ยังคันอยู่เหมือนเดิมตัวมันก็ตาย แต่ถ้ามันกัดเราเราคันเราเป่ามันทิ้งซะ เลือดมันเต็มท้องมันก็บินไปแล้ว ส่วนเราจะคันมันจะตายเราก็คันมันไม่ตายเราก็คัน แล้วเราจะทำให้เรามีกรรมติดตัวไปถึงไหน จะทำให้บาปติดตัวเราไปทำไม ที่พูดท่านทั้งหลายลองไปพิจารณาดู จริงอยู่อาจจะเห็นยุงตัวนิดเดียวไม่เป็นไรของมากมันก็มาจากของน้อยนะโยมนะ ขโมยกว่าจะขโมยรถได้มันจะต้องเป็นโจรลักเล็กขโมยน้อยมาก่อน ขโมยแฟ้ป ขโมยสบู่ ขโมยยาสีฟัน นาน ๆ เข้าของใหญ่ขึ้นก็ขโมยรถ เราไม่ควรสั่งสมอะไรที่มันไม่ดี ยังไงเราก็ควรรักษาความดีเราไว้
กลับบ้านเราไป ไปดูว่าบ้านเรามืดมั๊ย ผิดสังเกตมั๊ยยุงเยอะมั้ย ไปดูว่ามีน้ำขังมั๊ย อ่างน้ำมีมั๊ย กระป๋องน้ำมีมั๊ยดูว่ามีอะไรมีน้ำขัง เป็นไปได้ก็คือก่อนที่น้ำขังคว่ำไว้ก่อน แต่ถ้าน้ำขังแล้วอาตมาก็ขอให้อย่าไปเพิ่มน้ำแล้วกัน เราจะหาฝาไปปิดไว้ไม่ให้ยุงมันออกมาได้ ถ้ามันออกเป็นตัวแล้วแต่ถ้าไปเทน้ำทิ้งมันตายนะ อาบัติของพระรู้ว่าสัตว์มีชีวิต แกล้งทำชีวิตสัตว์ให้ตายต้องอาบัติปาจิตีย์ ถ้าในน้ำมีตัวยุง มีลูกน้ำ มีตัวโม่งอยู่ เราไปเทมันก็ตาย อย่าไปคิดว่ากรรมใดไม่มีผลนะ มันมีผลหมดนะโยม กรรมใดอันบุคคลทำแล้วย่อมไม่ไร้ผล ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว
กมฺมุนา วตฺตตี โลโก (กัมมุนาวัตตะตีโลโก) สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม เราพยายามทำกรรมดีไว้ ถ้าไม่อยากทำให้ยุงตายเราก็ไม่ทำให้มันเกิด ถ้าเราไม่อยากฆ่ามันเราก็พยายามไม่ให้มีน้ำขัง มันเกิดขึ้นมากจำนวนมันก็เยอะโอกาสที่เราจะทำบาปมันก็เยอะ บางที่เราก็เผลอยุงมากัดเราก็ตี ตบ เราแก้ที่เราตัดที่ต้นเหตุซะ ดูที่บ้าน ดูที่ต้นไม้โปร่งมั๊ยภาขนะมีน้ำขังมั๊ย ดูตรงนี้แล้วเราก็มาแก้ไข
เยธัมมา เหตุป ปะภะวา เตสัง เหตุงตถาคโต เตสันจะโยนิโรโธจะ เอวังวาที มหาสะมะโนธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้นและตรัสซึ่งความดับด้วย พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้ ฉนั้นแล้วก็อยากให้ทุกคนตัดที่ต้นเหตุ ดูพิจารณาดูดูจิตดูใจตัวเอง เราเป็นอย่างนี้เรายังด่าเค้ามั๊ยหนอ เรายังว่าเขามั๊ยหนอ เรายังทุบกีเค้าอยู่มั๊ยหนอ ดูซิมันเกิดที่ใจเราหรือเกิดที่ตัวเขา ใจเราไปโกรธเขา ไปทุบตีเขาไปด่าเขาไปว่าเขา แต่ถ้าใจเรารักเขาเราอยากจะอยู่ใกล้เขา อยากเห็นหน้าเค้า เนี่ยอยู่ที่ใจเรานะ ดูที่จิตดูใจเราเอง ถ้ามีปัญหาอะไรไม่เข้าใจก็ถามพระ ปํญหาธรรมะทางไหนก็ถามได้ อยากให้ญาติโยมตั้งใจถือศีลปฏิบัติธรรมนะ เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้

ไข้เลือดออก

ไข้เลือดออก
สุรศักดิ์ ตรีนัย
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสแดงกี มียุงลายตัวเมีย เป็นพาหะนำโรค ส่วนใหญ่มักจะเป็นในเด็ก โดยเฉพาะในช่วงอายุ 5-10 ปี และมักจะระบาดในช่วงฤดูฝน
เมื่อไรจะสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก อาการของไข้เลือดออกไม่จำเพาะ อาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ในผู้ใหญ่อาจจะมีไข้สูง ปวดศรีษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ ลักษณะอาการที่สำคัญของไข้เลือกออกคือ
1.ไข้สูงเฉียบพลัน 2-7 วัน : ส่วนใหญ่ไข้จะสูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส ไข้สูงลอย ไม่ลดลง
2.เบื่ออาหาร หน้าแดง ปวดศีรษะ ร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน และอาจมีอาการปวดท้อง กดเจ็บใต้ชายโครงขวาเนื่องจากตับโต
3.บางรายอาจมีจุดเลือดสีแดงขึ้นตามลำตัว แขน ขา อาจมีกำเดาออก หรือเลือดออกตามไรฟัน และถ่ายอุจาระดำเนื่องจากเลือดออก มักเกิดประมาณวันที่ 3 - 4 ของไข้
4.ในรายที่ช็อคจะสังเกตได้จากการที่ไข้ลดแต่ผู้ป่วยซึมลง ตัวเย็น หมดสติและเสียชีวิตได้
จัดสังเกตอาการสำคัญที่เป็นรูปแบบค่อนข้างเฉพาะ 4 ประการ คือ 1)มีไข้สูงลอยแบบเฉียบพลัน 2 - 7 วัน 2)มีจุดเลือดออกที่ผิวหนัง 3)ตับโตซึ่งอาจทำให้ปวดท้องและ 4)อาจมี ภาวะช็อกได้ ฉะนั้นเมื่อบุตรหลาน มีอาการเหล่านี้ จึงควรพาบุตรมาพบแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัย และ การรักษาที่ถูกต้อง การดูแลเมื่อสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก
1.ระยะที่มีไข้สูงให้เช็ดตัวลดไข้และให้ยาลดไข้ พวกพาราเซตามอล ห้ามใช้ยาพวกแอสไพรินเพราะจะทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น
2.ให้ดื่มน้ำผลไม้หรือสารละลายผงน้ำตาลเกลือแร่ (โอ อาร์ เอส) ในรายที่อาเจียนควรให้ดื่มครั้งละน้อย ๆ และดื่มบ่อย ๆ
3.สังเกตอาการคลื่นไส้ อาเจียน การขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
พาไปพบแพทย์ตามนัดหรือเมื่อมีอาการผิดปกติต่อไปนี้
1.อาเจียนมากไม่สามารถดื่มน้ำได้
2.อาเจียนหรือถ่ายอุจจาระเป็นเลือด
* คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


3.ปวดท้องมาก
3.ไข้ลดลงแต่มีอาการซึม กระสับกระส่าย มือเท้าเย็นซึ่งเป็นอาการของช็อก
การป้องกันโรคไข้เลือดออก การป้องกันที่ดีที่สุดก็คือ กำจัดหรือลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และพยายามหาทางป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัดธรรมชาติยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อระบายน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง
การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยร่วมือกันกำจัดทุกวันศุกร์ โดยกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ของยุง ด้วยวิธีการง่ายๆดังนี้ โอ่งน้ำ ควรใช้วิธีปิดฝาให้มิดชิด ถังเก็บน้ำที่ไม่มีฝาปิด ควรใส่ทราย อะเบท 1 กรัมต่อ น้ำ 10 ลิตร แจกัน ควรใช้วิธีเปลี่ยนน้ำทุก 7 วัน ขวดเลี้ยงพลูด่าง ควรใช้วิธีเปลี่ยนน้ำทุก 7 วัน หรือปลูกด้วยดินจานรองขาตู้กับข้าว ควรใช้วิธีเติมน้ำเดือดลงไปทุก 7 วัน หรือใส่ชัน/ขี้เถ้า/เกลือ น้ำส้มสายชู / ผงซักฟอก แทนการใส่ด้วยน้ำ จานรองกระถางต้นไม้ ควรใช้วิธีเทน้ำที่ขังอยู่ทิ้งลงดินทุก 7 วัน หรือใส่ทรายธรรมดาให้ ลึก 3 ใน 4 ส่วนของ จานยางรถยนต์เก่า ควรใช้วิธีปกปิด เจาะรูหรือดัดแปลงให้ขังน้ำไม่ได้ อ่างบัว ควรใช้วิธีใส่ปลากินลูกน้ำ เช่นปลาหางนกยูง ปลาสอด ปลาหัวตะกั่ว ท่อระบายน้ำ ควรใช้วิธีระบายน้ำออก อย่าปล่อยให้ท่ออุดตันหลุมบ่อ แอ่งน้ำ ควรใช้วิธีกลบถมด้วยดินหรือทราย เนื่องจากต้องใส่ทรายกำจัดลูกน้ำเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ทรายกำจัดลูกน้ำมักจะจมลงในโคลนตม ทำให้ออกฤทธิ์กำจัดลูกน้ำไม่ได้นาน
ป้องกันตนเองจากยุงลายกัด โดยกรุหน้าต่าง ประตู และช่องลม ด้วยมุ้งลวด ควรเก็บของในบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ ขณะอยู่ในบ้านควรอยู่ในบริเวณที่มีลมพัดผ่านและมีแสงสว่างเพียงพอเพราะยุงลายชองไปหลบซ่อนตามมุมมืดของห้องและเครื่องเรือนต่าง ๆ ที่รก ๆ เวลานอนหลับตอนกลางวัน ควรกางมุ้งหรือนอนในห้องที่มีมุ้งลวด เปิดพัดลมส่ายเบา ๆ ช่วยไล่ยุงเพราะยุงลายจะชอบกัดตอนกลางวัน หรือถ้าหากที่บ้านมียุงมากจริง ๆ ควรใส่กางเกงขายาว เสื้อมีแขน เพื่อให้เหลือพื้นที่เปล่าเปลือยและเสี่ยงต่อการถูกยุงกัดน้อยที่สุด ใช้ยาพ่น/ทากันยุงยากันยุงที่ปลอดภัยควรเป็นยาที่เป็นสารสกัดจากพืช เช่น ตะไคร้หอม ยูคาลิปตัส

วัคซีนไข้เลือดออกที่ใกล้จะเป็นจริง

วัคซีนไข้เลือดออก......ความฝันที่ใกล้จะเป็นจริง
ศันสนี ฟูตระกูล
ฝ่ายสนับสนุนการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรม

ปัจจุบันประเทศไทย มีผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกมากกว่า 100,000 คนโดยเฉลี่ยในแต่ละปี แม้ว่าประเทศไทยจะประสบความสำเร็จในการดูแลรักษาผู้ป่วยอยู่ในระดับที่น่าพอใจก็ตาม กล่าวคือลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยลง เหลือเพียงร้อยละ 0.2 เท่านั้น แต่ก็ไม่สามารถจะนิ่งนอนใจได้เนื่องจากมีแนวโน้มว่าเชื้อไข้เลือดออกจะทวีความรุนแรงเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของไข้เลือดออกในประเทศไทยต่างตระหนักดีว่า ไข้เลือดออกเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศเพียงใด แม้ว่าจะได้มีการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับไข้เลือดออกในประเทศมาเป็นเวลานานก็ตาม ประเทศไทยก็ยังไม่มี ชุดตรวจวินิจฉัย ยารักษา และวัคซีนสำหรับป้องกันโรค การวินิจฉัยและการรักษายังคงใช้ตามวิธีดั้งเดิมของ ศาสตราจารย์สุจิตตา นิมมานิตย์ และคณะที่ได้คิดค้นไว้เมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว
การผลิตวัคซีนไข้เลือดออกขึ้นใช้เองในประเทศนับเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งประเทศไทยนั้นมีการค้นคว้าและวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตวัคซีนไข้เลือดออกมาเป็นเวลาเกือบ 20 ปีแล้ว โดยทีมนักวิจัยของ ศาสตราจารย์ ดร. ณัฐ ภมรประวัติ และ ศาสตราจารย์ ดร. สุธี ยกส้าน แห่งมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งใช้วิธี live attenuated vaccine (Classical) คือใช้ไวรัสที่มีชีวิตแต่อ่อนแรงในการทำให้เกิดโรค แต่มีศักยภาพในการกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันได้ โดยคณะนักวิจัยมีสมมุติฐานในการพัฒนาวัคซีนไข้เลือดออกไว้ 4 ประการ สมมุติฐานประการแรก ได้แก่การทำ serial passage ของเชื้อไวรัส “เด็งกี่” สาเหตุโรค แต่ละสายพันธุ์ บนเซลล์เพาะเลี้ยง ในสภาวะที่เหมาะสมจะทำให้เกิดการกลายพันธุ์ในเซลล์ต่าง ๆ ที่มิใช้เซลล์ดั้งเดิม (host range mutants หรือ variants) ขึ้น สมมุติฐานประการที่สองได้แก่ การสามารถพิสูจน์ได้ว่ามี variants ที่แตกต่างจากไวรัสต้นตอเกิดขึ้นจริง ซึ่งสามารถตรวจสอบได้โดยใช้ biological marker ชนิดต่าง ๆ ที่เหมาะสม สมมุติฐานประการที่ 3 และ 4 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำการทดสอบในคน กล่าวคือ เมื่อฉีดเชื้อที่มีการกลายพันธุ์ซึ่งได้รับการคัดเลือกในอาสาสมัครผู้ใหญ่หรือเด็ก จะไม่มีหรือมีอาการของโรคที่เกิดจากไวรัสเด็งกี่อยู่ในระดับต่ำที่ยอมรับได้ เป็นต้น

สำหรับการผลิตวัคซีนไข้เลือดออกในปัจจุบัน สามารถกระทำได้โดยวิธีต่าง ๆ ดังนี้
• Inactivated vaccine เป็นวิธีผลิตวัคซีนโดยการใช้เชื้อที่ตายแล้วฉีดเข้าร่างกาย เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาตามธรรมชาติ
• Live attenuated vaccine (classical) เป็นการผลิตวัคซีนโดยการใช้เชื้อที่มีชีวิตแต่อ่อนแรงในการทำให้เกิดโรคเนื่องจากเชื้อได้รับการเพาะเลี้ยงในเซลล์สัตว์ที่ไม่ใช่เซลล์ดั้งเดิมที่เหมาะต่อเชื้อไวรัสไข้เลือดออก เช่นในสัตว์ทดลองชนิดต่าง ๆ แล้วจึงหาเชื้อที่เกิดการกลายพันธุ์ (variant/ mutant) ซึ่งสูญเสียการทำให้เกิดโรคในเซลล์สัตว์ แต่ยังคงมีความสามารถในการกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันได้ จากนั้นจึงนำไปผลิตเป็นวัคซีนซึ่งจะใช้ในคนต่อไป
• Live attenuated vaccine (plasmid based) เป็นการผลิตวัคซีนซึ่งพัฒนามาจาก classical live attenuated vaccine โดยใช้พลาสมิดที่มียีนของเชื้อไข้เลือดออก แล้วเลี้ยงในเซลล์เพาะเลี้ยง โดยอาจมีการดัดแปลงสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส โดยเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรมในบางส่วน เช่นที่ 3’ non-translated region หรือใช้เยื่อหุ้มไวรัสในส่วนที่เรียกว่า envelope protein coat แล้วจึงนำไปฉีดในสัตว์ทดลองเพื่อหาเชื้อที่อ่อนแอ และสูญเสียการทำให้เกิด เพื่อที่จะนำไปผลิตเป็นวัคซีนสำหรับคนต่อไป
• Subviral particle (prME) เป็นเทคนิคในการผลิตวัคซีนอย่างหนึ่ง โดยการนำเอา DNA บางส่วนของไวรัสให้เข้าไปแบ่งตัวใน cell line และมีการเพิ่มจำนวน subviral particle ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าชิ้นส่วนของไวรัสที่ก่อให้เกิดโรค (Infectious virus particle) ซึ่ง subviral particle นี้มีความสามารถในการกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันได้
• Subunit vaccine เป็นการใช้ envelope protein ของเชื้อไวรัสในการผลิตวัคซีน โดยผลิตในเซลล์ของแมลงแล้วดูผลการกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันในสัตว์ทดลอง
• DNA vaccine เป็นการผลิตวัคซีนโดยการฉีดพลาสมิดที่มี DNA ของเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเข้าในร่างกาย เพื่อหาเชื้อที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด

เพื่อให้เข้าใจถึงการพัฒนาวัคซีนว่ามีกระบวนการที่ซับซ้อนเพียงใดจะขอกล่าวถึงขั้นตอนต่าง ๆ ที่ใช้ในการทดสอบวัคซีนโดยสรุปดังนี้คือ
1. การคัดเลือกเชื้อกลายพันธุ์ที่เหมาะสมในการผลิตวัคซีน (Identification/ generation of candidates): โดยดูความสามารถในการแพร่ของเชื้อที่กลายพันธุ์เข้าสู่เซลล์ทดสอบ
2. การแพร่กระจายของเชื้อใน (เซลล์) สัตว์ทดลอง (In vitro/ animal studies for correlates of attenuation): ดูความสามารถของเชื้อที่กลายพันธุ์ในการ
• ทำให้เซลล์เกิดการตายลดน้อยลง
• เชื้อมีขนาดเล็กลง
• การเพิ่มจำนวนของเชื้อในเซลล์ทดสอบลดลง
• แสดงผลกระทบของอุณหภูมิที่มีต่อการเพิ่มจำนวนของเชื้อ
• แสดงความสามารถในการเพิ่มปริมาณของเชื้อ และการแพร่เชื้อในยุงลายลดลง
• แสดงผลกระทบต่อระบบประสาทในหนูทดลองลดลง
3. การกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันในสัตว์ทดลอง (Immunogenicity/ protection study in animal models): ศึกษาความสามารถของเชื้อในการกระตุ้นให้เกิดการสร้างแอนติบอดี หรือ T lymphocyte ในสัตว์ทดลอง โดยสัตว์ทดลองมีอัตราการเกิดโรคและการตายลดลง
4. การผลิตหัวเชื้อวัคซีนให้ได้มาตรฐาน (GMP production): ทำการผลิตเชื้อที่มีศักยภาพ และคุณสมบัติในการผลิตเป็นวัคซีน ในระดับใหญ่ขึ้นด้วยวิธีที่ได้มาตรฐาน
5. การทดสอบความเป็นพิษในสัตว์ทดลอง (Toxicity test in animals): ทำการทดสอบความเป็นพิษของเชื้อไวรัสที่จะนำไปผลิตเป็นวัคซีน ในสัตว์ทดลองโดยสังเกตุจากปฏิกิริยาต่อต้านของร่างกาย
6. การทดสอบในคนระยะที่ 1 และ 2 (Phase I/ II of human test): เป็นการทดสอบปริมาณของเชื้อที่จะสามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย (dose tritration) รวมถึงสัดส่วนของเชื้อที่จะใช้ผสมกันในแต่ละ serotype
7. การทดสอบในคนระยะที่ 3 (Phase 3 of human test): เป็นการทดสอบขั้นสุดท้ายหลังจากที่ได้ปริมาณที่เหมาะสมในการฉีดวัคซีนแต่ละครั้ง โดยศึกษาถึงประสิทธิภาพของวัคซีนในการกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันในกลุ่มคนที่มีอัตราการติดเชื้อไข้เลือดออกได้ง่าย

ณ ปัจจุบันการพัฒนาผลิตวัคซีนไข้เลือดออกในประเทศไทย ได้มีการศึกษาถึงขั้นที่ทดลองการกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันในหนูและลิงแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการเพิ่มปริมาณและควบคุมคุณภาพของเชื้อที่มีศักยภาพที่จะเป็นวัคซีนต่อไปให้ได้มาตรฐาน ซึ่งขั้นตอนนี้ต้องอาศัยการลงทุนค่อนข้างสูงจึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐบาล และเอกชน ช่วยกันผลักดันให้โครงการพัฒนาวัคซีนไข้เลือดออกประสบผลสำเร็จ

รายงานการสอบสวนโรคไข้เลือดออก

รายงานการสอบสวนโรคไข้เลือดออก
บ้านน้ำเที่ยง หมู่ที่ 10 ตำบลนางาม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552

บทนำ
วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เวลา 11.20 น. สถานีอนามัยบ้านกุดแข้ ตำบลนางาม ได้รับรายงานจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเสลภูมิ ว่าพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในหญิง โรงพยาบาลอาจสามารถ จำนวน 1 ราย
วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เวลา 10.00 น. สถานีอนามัยบ้านกุดแข้ ตำบลนางาม ได้รับรายงานจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเสลภูมิ ว่าพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในชายโรงพยาบาลอาจสามารถ จำนวน 1 ราย
วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เวลา 14.10 น. สถานีอนามัยบ้านกุดแข้ ตำบลนางาม ได้รับรายงานจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเสลภูมิ ว่าพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในชายโรงพยาบาลเสลภูมิ จำนวน 1 ราย
สถานีอนามัยบ้านกุดแข้ ตำบลนางาม จึงได้ดำเนินการสอบสวนผู้ป่วย สอบสวนโรคในพื้นที่
และเริ่มดำเนินการควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เวลา 12.30 น. ในการลงพื้นที่ทราบข้อมูลจากผู้นำและ อสม.ว่าประมาณ 3 สัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้ป่วยด้วยอาการไข้สูง ออกผื่นตามตัว 2 ราย
เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชน และวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ในการลงพื้นที่รณรงค์วบคุมโรค
พบผู้ป่วยอาการไข้สูง ออกผื่นตามตัว 1 ราย คือ เด็กชายอภิสิทธิ์ เดชพละ อายุ 9 ปี แนะนำให้เข้ารับการตรวจรักษาที่สถานีอนามัยและโรงพยาบาลตามลำดับ ซึ่งเป็นผู้ป่วยรายที่ 3 ที่ได้รับรายงานโรค


วัตถุประสงค์
1. เพื่อยืนยันการรายงานโรค
2. เพื่อหาสาเหตุของการเกิดโรค
3. เพื่อหาแนวทางในการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรค

วิธีการศึกษา/สอบสวนโรค
การสอบสวนโรคในครั้งนี้ เป็นการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยศึกษาจากแฟ้มบันทึกรายงานการรักษาผู้ป่วย และสัมภาษณ์ผู้ป่วยและผู้ใกล้ชิด
นิยามผู้ป่วยไข้เลือดออก ใช้ทั้ง
เกณฑ์ทางคลินิก คือ มีไข้เฉียบพลัน และ Tourniquet Test ให้ผลบวก ร่วมกับมีลักษณะ ที่บ่งบอกถึงการรั่วของ plasma และ อาการอื่นๆ อย่างน้อย 1 อาการ ต่อไปนี้ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูกหรือข้อต่อ มีผื่น มีอาการเลือดออก ตับโตมักกดเจ็บ
และ เกณฑ์ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ เม็ดเลือดขาว น้อยกว่า 5,000 เซลล์/ลูกบาศก์มิลลิเมตร, เกล็ดเลือดน้อยกว่า 100,000 เซลล์/ลูกบาศก์มิลลิเมตรและ มี Hematocrit เพิ่มขึ้นจากเดิม มากกว่าร้อยละ 10-20
เครื่องมือในการสอบสวนโรคในครั้งนี้ใช้แบบสอบสวนโรคเฉพาะรายโรคไข้เลือดออก รวมทั้งศึกษาสภาพแวดล้อมที่อยู่ของผู้ป่วย ศึกษาค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย และศึกษาผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อสนับสนุนและยืนยันคำวินิจฉัยของแพทย์

ผลการศึกษา/สอบสวนโรค
1. ข้อมูลผู้ป่วยรายที่ 1
1.1 ประวัติผู้ป่วย
ผู้ป่วยชื่อ นางสาวภราดา ท่าสะอาด อายุ 16 ปี อยู่บ้านเลขที่ 97 หมู่ที่ 10 ตำบลนางาม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอาจสามารถวิทยา ผู้ป่วยไม่มีประวัติเคยป่วยหรือสงสัยว่าป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมาก่อน มีสมาชิกอยู่อาศัยในหลังคาเรือน 2 คน ประกอบไปด้วย ยายอายุ 60 ปี และ ผู้ป่วย
1.2 ประวัติการเจ็บป่วยและประวัติการเดินทาง
ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ผู้ป่วยมีประวัติไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนอาจสามารถวิทยา เทียวไป- กลับทุกวัน ผู้ป่วยเริ่มป่วยเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอาจสามารถ ในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ด้วยอาการ ไข้สูง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน มีผื่นขึ้นตามตัว ผลทดสอบ Tourniquet Test ให้ผลลบ แพทย์ผู้รักษาวินิจฉัยว่า ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก (DHF)
1.3 การตั้งข้อสมมติฐาน
ผู้ป่วยอาจถูกยุงลายที่มีเชื้อกัดและติดเชื้อไข้เลือดออกจากบ้านของผู้ป่วยเอง หรือติดจากโรงเรียนอาจสามรถวิทยา เนื่องจากผู้ป่วยมีประวัติเดินทางไปเรียนหนังสือ ไม่มีประวัติสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย 2 รายที่มีอาการไข้ออกผื่น ซึ่งรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนก่อนหน้านี้
2. สภาพสิ่งแวดล้อมทั่วไป
2.1 บ้านน้ำเที่ยง หมู่ที่ 10 ตำบลนางาม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด มีจำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด 131 หลังคาเรือน สภาพสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปเป็นชุมชนชนบท ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
2.2 บ้านผู้ป่วย สภาพบ้านเป็นบ้านชั้นเดียวก่ออิฐถือปูน ภายในบ้านค่อนข้างมืด อากาศไม่ค่อยถ่ายเท การจัดบ้านเรือนไม่เป็นระเบียบ การจัดเก็บเสื้อผ้าบางส่วนแขวนไว้ตามราวตากผ้าในบ้าน
2.3 โรงเรียนอาจสามารถวิทยา เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอ มีนักเรียนหลายพื้นที่เข้ามาเรียน และมีรายงานพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกหลายพื้นที่ของอำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด

3. ค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย/แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
3.1 บ้านผู้ป่วย
-จำนวนภาชนะที่สำรวจทั้งหมด จำนวน 8 ภาชนะ พบลูกน้ำ 2 ภาชนะ
3.2 หมู่ที่ 10 ตำบลนางาม
-จำนวนบ้านที่สำรวจ 131 หลังคาเรือน พบลูกน้ำ จำนวน 18 หลังคาเรือน
-จำนวนภาชนะที่สำรวจ 674 ชิ้น พบลูกน้ำ จำนวน 24 ภาชนะ

ตารางที่ 1 สรุปค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายก่อนและหลังดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออก
สถานที่ ก่อนดำเนินการควบคุมโรค หลังดำเนินการควบคุมโรค
BI HI CI BI HI CI
1. บ้านผู้ป่วย - - 25 - - 0
2. ม.10 ต.นางาม 18.32 13.74 3.56 0 0 0


4. ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตารางที่ 2 ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการทั่วไป (CBC)
ครั้งที่ วันที่ จำนวนเม็ดเลือดขาว (เซลล์/ลูกบาศก์มิลลิเมตร) เกล็ดเลือด
(เซลล์/ลูกบาศก์มิลลิเมตร) Hematocrit
(%)
1 10 มิถุนายน552 2,200 98,000 39.2

1. ข้อมูลผู้ป่วยรายที่ 2
1.1 ประวัติผู้ป่วย
ผู้ป่วยชื่อ เด็ดชายนันทพงษ์ ราชกิจ อายุ 11 ปี อยู่บ้านเลขที่ 25 หมู่ที่ 10 ตำบลนางาม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านน้ำเที่ยงนาเรียง ผู้ป่วยไม่มีประวัติเคยป่วยหรือสงสัยว่าป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมาก่อน มีสมาชิกอยู่อาศัยในหลังคาเรือน 5 คน ประกอบไปด้วย ตาอายุ 60 ปี พ่ออายุ 36 ปี แม่อายุ 37 ปี น้องสาวอายุ 7 ปี และ ผู้ป่วย

1.2 ประวัติการเจ็บป่วยและประวัติการเดินทาง
ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ผู้ป่วยไม่มีประวัติการเดินทางไปต่างพื้นที่ ผู้ป่วยเริ่มป่วยเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอาจสามารถ ในวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ด้วยอาการ ไข้สูง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน มีผื่นขึ้นตามตัว ผลทดสอบ Tourniquet Test ให้ผลบวก แพทย์ผู้รักษาวินิจฉัยว่า ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก (DHF)

1.3 การตั้งข้อสมมติฐาน
เนื่องจากบ้านอยู่ห่างจากบ้านผู้ป่วยรายที่ 1 ประมาณ 800 เมตร แต่เป็นเส้นทางผ่านไปโรงเรียน ผู้ป่วยอาจถูกยุงลายกัดและติดเชื้อไข้เลือดออกจากบ้านของผู้ป่วยเอง หรืออาจติดเชื้อจากยุงลายกัดที่บ้านผู้ป่วยรายที่ 1 ระหว่างเดินทางไปโรงเรียน
2. สภาพสิ่งแวดล้อมทั่วไป
2.1 บ้านน้ำเที่ยง หมู่ที่ 10 ตำบลนางาม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด มีจำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด 131 หลังคาเรือน สภาพสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปเป็นชุมชนชนบท ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
2.2 บ้านผู้ป่วย สภาพบ้านเป็นบ้าน 2 ชั้นๆล่างก่ออิฐถือปูนเป็นบางส่วน ขายของชำ ภายในบ้านค่อนข้างโล่ง อากาศถ่ายเทได้ดี การจัดบ้านเรือนค่อนข้างเป็นระเบียบ บริเวณหลังบ้านมีต้นไม้ กอไผ่ ค่อนข้างรกและทึบ
2.3 โรงเรียนบ้านน้ำเที่ยงนาเรียง สภาพสิ่งแวดล้อมภายทั่วไปภายในโรงเรียน ค่อนข้างสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย ห้องน้ำ และการสุขาภิบาลอยู่ในเกณฑ์ดี
3. ค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย/แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
3.1 บ้านผู้ป่วย
-จำนวนภาชนะที่สำรวจทั้งหมด จำนวน 5 ภาชนะ ไม่พบลูกน้ำ


3.2 หมู่ที่ 10 ตำบลนางาม
-จำนวนบ้านที่สำรวจ 131 หลังคาเรือน พบลูกน้ำ จำนวน 18 หลังคาเรือน
-จำนวนภาชนะที่สำรวจ 674 ชิ้น พบลูกน้ำ จำนวน 24 ภาชนะ
3.3 โรงเรียนบ้านน้ำเที่ยงนาเรียง
- จำนวนภาชนะที่สำรวจ 16 ภาชนะ ไม่พบภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลาย
ตารางที่ 3 สรุปค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายก่อนและหลังดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออก
สถานที่ ก่อนดำเนินการควบคุมโรค หลังดำเนินการควบคุมโรค
BI HI CI BI HI CI
1. บ้านผู้ป่วย - - 0 - - 0
2. ม.10 ต.นางาม 18.32 13.74 3.56 0 0 0
3. โรงเรียนบ้านน้ำเที่ยงนาเรียง - - 0 - - 0

4. ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตารางที่ 4 ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการทั่วไป (CBC)
ครั้งที่ วันที่ จำนวนเม็ดเลือดขาว (เซลล์/ลูกบาศก์มิลลิเมตร) เกล็ดเลือด
(เซลล์/ลูกบาศก์มิลลิเมตร) Hematocrit
(%)
1 10 มิถุนายน552 3,600 109,000 39

1. ข้อมูลผู้ป่วยรายที่ 3
1.1 ประวัติผู้ป่วย
ผู้ป่วยชื่อ เด็กชายอภิสิทธิ์ เดชพละ อายุ 9 ปี อยู่บ้านเลขที่ 89 หมู่ที่ 10 ตำบลนางาม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านน้ำเที่ยงนาเรียง ผู้ป่วยไม่มีประวัติเคยป่วยหรือสงสัยว่าป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมาก่อน มีสมาชิกอยู่อาศัยในหลังคาเรือน 5 คน ประกอบไปด้วย ตาอายุ 63 ปี ยายอายุ 62 ปี พ่ออายุ 41 ปี แม่อายุ 36 ปี พี่สาวอายุ 14 ปี และ ผู้ป่วย
1.2 ประวัติการเจ็บป่วยและประวัติการเดินทาง
ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ผู้ป่วยไม่มีประวัติการเดินทางไปต่างพื้นที่ ผู้ป่วยเริ่มป่วยเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเสลภูมิ ในวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ด้วยอาการ ไข้สูง ปวดศีรษะ มีผื่นขึ้นตามตัว ผลทดสอบ Tourniquet Test ให้ผลบวก แพทย์ผู้รักษาวินิจฉัยว่า ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก (DF)


1.3 การตั้งข้อสมมติฐาน
ผู้ป่วยมีประวัติไปเล่นอยู่ใกล้บ้านผู้ป่วยรายที่ 1 และเรียนอยู่โรงเรียนเดียวกับผู้ป่วยรายที่2 ผู้ป่วยอาจถูกยุงลายกัดและติดเชื้อไข้เลือดออกจากบ้านของผู้ป่วยเอง หรือติดเชื้อจากถูกยุงลายกัดที่บ้านผู้ป่วยรายที่ 1 หรือติดเชื้อจากถูกยุงลายกัดที่โรงเรียนบ้านน้ำเที่ยงนาเรียงซึ่งเรียนร่วมกับผู้ป่วยรายที่ 2
2. สภาพสิ่งแวดล้อมทั่วไป
2.1 บ้านน้ำเที่ยง หมู่ที่ 10 ตำบลนางาม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด มีจำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด 131 หลังคาเรือน สภาพสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปเป็นชุมชนชนบท ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
2.2 บ้านผู้ป่วย สภาพบ้านเป็นบ้าน 2 ชั้นๆล่างก่ออิฐถือปูน ขายของชำภายในบ้าน ค่อนข้างมืดและชื้น อากาศถ่ายเทไม่ดี การจัดบ้านเรือน และสิ่งของไม่เป็นระเบียบ
2.3 โรงเรียนบ้านน้ำเที่ยงนาเรียง สภาพสิ่งแวดล้อมภายทั่วไปภายในโรงเรียน ค่อนข้างสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย ห้องน้ำ และการสุขาภิบาลอยู่ในเกณฑ์ดี
3. ค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย/แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
3.1 บ้านผู้ป่วย
-จำนวนภาชนะที่สำรวจทั้งหมด จำนวน 4 ภาชนะ ไม่พบพบลูกน้ำ
3.2 หมู่ที่ 10 ตำบลนางาม
-จำนวนบ้านที่สำรวจ 131 หลังคาเรือน พบลูกน้ำ จำนวน 15 หลังคาเรือน
-จำนวนภาชนะที่สำรวจ 663 ชิ้น พบลูกน้ำ จำนวน 19 ภาชนะ
3.3 โรงเรียนบ้านน้ำเที่ยงนาเรียง
- จำนวนภาชนะที่สำรวจ 14 ภาชนะ ไม่พบภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลาย
ตารางที่ 5 สรุปค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายก่อนและหลังดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออก
สถานที่ ก่อนดำเนินการควบคุมโรค หลังดำเนินการควบคุมโรค
BI HI CI BI HI CI
1. บ้านผู้ป่วย - - 0 - - 0
2. ม.10 ต.นางาม 14.50 11.45 2.86 0 0 0
3. โรงเรียนบ้านน้ำเที่ยงนาเรียง - - 0 - - 0
4. ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตารางที่ 6 ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการทั่วไป (CBC)
ครั้งที่ วันที่ จำนวนเม็ดเลือดขาว (เซลล์/ลูกบาศก์มิลลิเมตร) เกล็ดเลือด
(เซลล์/ลูกบาศก์มิลลิเมตร) Hematocrit
(%)
1 19 มิถุนายน552 3,800 168,000 45


สรุปผลการสอบสวนโรค
การสอบสวนโรคไข้เลือดออกในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ยืนยันการรายงานโรค ค้นหาสาเหตุของโรค และวางแนวทางในการควบคุมและป้องกันโรค โดยศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา สำรวจสิ่งแวดล้อม และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ผลการสอบสวนพบว่า ผู้ป่วยรายที่ 1 ชื่อ นางสาวภารดา ท่าสะอาด อายุ 16 ปี ที่อยู่บ้านเลขที่ 97 หมู่ที่ 10 ตำบลนางาม อำเภอเสลภูมิ กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอาจสามารถวิทยา โดยเริ่มป่วยเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลอาจสามารถ ในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ด้วยอาการ ไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ผลทดสอบ Tourniquet Test ให้ผลลบ เม็ดเลือดขาว 2,200 เซลล์/ลูกบาศก์มิลลิเมตร เกล็ดเลือด 98,000 เซลล์/ลูกบาศก์มิลลิเมตร Hematocrit 39.2% แพทย์ผู้รักษาวินิจฉัยว่าเป็นโรคไข้เลือดออก (DHF) และในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้นได้รับการส่งต่อโรงพยาบาลร้อยเอ็ด ผู้ป่วยอาการดีขึ้นและออกจากโรงพยาบาลในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552
จากผลการสอบสวนโรคผู้ป่วยรายนี้ พบว่าผู้ป่วยมีอาการทางคลินิกและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเข้าข่ายตามนิยามผู้ป่วยไข้เลือดออก จึงได้รับการวินิจฉัยสุดท้ายเป็น DHF แหล่งก่อโรค คาดว่าจะเป็นบ้านผู้ป่วยเอง หรือติดจากโรงเรียนอาจสามรถวิทยา เนื่องจากผู้ป่วยมีประวัติเดินทางไปเรียนหนังสือ ไม่มีประวัติสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย 2 รายที่มีอาการไข้ออกผื่น ซึ่งรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนก่อนหน้านี้

ผลการสอบสวนพบว่า ผู้ป่วยรายที่ 2 ชื่อ เด็กชายนันทพงษ์ ราชกิจ อายุ 11 ปี ที่อยู่ 25 หมู่ที่ 10 ตำบลนางาม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านน้ำเที่ยงนาเรียง โดยเริ่มป่วยเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลอาจสามารถ ในวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ด้วยอาการ ไข้ ปวดศีรษะ มีผื่นขึ้นตามตัว ผลทดสอบ Tourniquet Test ให้ผลบวก เม็ดเลือดขาว 2,600 เซลล์/ลูกบาศก์มิลลิเมตร เกล็ดเลือด 109,000 เซลล์/ลูกบาศก์มิลลิเมตร Hematocrit 39% แพทย์ผู้รักษาวินิจฉัยว่าเป็นโรคไข้เลือดออก (DHF) และรับรักษาไว้ในโรงพยาบาล ผู้ป่วยอาการดีขึ้นและออกจากโรงพยาบาลในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552
จากผลการสอบสวนโรคผู้ป่วยรายนี้ พบว่าผู้ป่วยมีอาการทางคลินิกและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเข้าข่ายตามนิยามผู้ป่วยไข้เลือดออก จึงได้รับการวินิจฉัยสุดท้ายเป็น DHF แหล่งก่อโรคคาดว่าจะเป็นบ้านผู้ป่วยเอง หรืออาจติดเชื้อจากยุงลายกัดที่บ้านผู้ป่วยรายที่ 1 ระหว่างเดินทางไปโรงเรียน

ผลการสอบสวนพบว่า ผู้ป่วยรายที่ 3 ชื่อ เด็กชายอภิสิทธิ์ เดชพละ อายุ 9 ปีอยู่บ้านเลขที่ 89 หมู่ที่ 10 ตำบลนางาม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านน้ำเที่ยงนาเรียง โดยเริ่มป่วยเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลเสลภูมิ ในวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ด้วยอาการ ไข้ ปวดศีรษะ มีผื่นขึ้นตามตัว ผลทดสอบ Tourniquet Test ให้ผลบวก เม็ดเลือดขาว 3,100 เซลล์/ลูกบาศก์มิลลิเมตร เกล็ดเลือด 168,000 เซลล์/ลูกบาศก์มิลลิเมตร Hematocrit 45% แพทย์ผู้รักษาวินิจฉัยว่าเป็นโรคไข้เลือดออก (DF) และรับรักษาไว้ในโรงพยาบาล ผู้ป่วยอาการดีขึ้นและออกจากโรงพยาบาลในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2552
จากผลการสอบสวนโรคผู้ป่วยรายนี้ พบว่าผู้ป่วยมีอาการทางคลินิกและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเข้าข่ายตามนิยามผู้ป่วยไข้เลือดออก จึงได้รับการวินิจฉัยสุดท้ายเป็น DF แหล่งก่อโรคคาดว่าจะเป็นบ้านผู้ป่วยเอง หรือติดเชื้อจากการไปเล่นใกล้บ้านผู้ป่วยรายที่ 1 หรือติดเชื้อจากผู้ป่วยรายที่ 2 เนื่องจากเรียนอยู่โรงเรียนเดียวกัน

จากการศึกษาข้อมูลย้อนหลังพบว่า บ้านน้ำเที่ยง หมู่ที่ 10 ตำบลนางาม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นหมู่บ้านที่มีการรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในช่วง 10 ปีย้อนหลังในลักษณะปีเว้นปี 2 ปีเว้นปี และมีรายงานพบผู้ป่วยติดต่อกันถึง 3 ปี ประกอบกับการสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านมีค่าค่อนข้างสูง ซึ่งแสดงว่ามีปัจจัยเสี่ยงต่อการระบาดของโรค

มาตรการควบคุมโรคและป้องกันโรค
มาตรการที่ดำเนินการแล้ว
1. ประสานงานกับองค์การบริหารส่วนตำบลนางาม ผู้นำหมู่บ้านและอสม. ดำเนินการประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ให้ทราบว่ามีโรคระบาดเกิดขึ้นในหมู่บ้านพร้อมทั้งขอความร่วมมือประชาชนในการดำเนินการควบคุมโรค
2. ประสานงานไปยังโรงเรียนบ้านน้ำเที่ยงนาเรียง ขอความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมโรค โดยการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน
3. ดำเนินการร่วมกับโรงเรียนบ้านน้ำเที่ยงนาเรียง สำรวจค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำ พร้อมทั้งกำจัดลูกน้ำยุงลาย และใส่ทรายกำจัดลูกน้ำในโรงเรียน
4. ดำเนินการร่วมกับ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สำรวจค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายโดยแยกเป็นละแวก แต่ละละแวกจะมีเจ้าหน้าที่ร่วม พร้อมทั้งกำจัดลูกน้ำยุงลาย ล้างขัดภาชนะ และใส่ทรายกำจัดลูกน้ำ
5. สถานีอนามัยบ้านกุดแข้ร่วมกับ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้นำชุมชน ดำเนินการพ่นหมอกควันครั้งที่ 1 ในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552 โดยพ่นหมอกควันบริเวณบ้านผู้ป่วยและบ้านใกล้เคียงรัศมี 100 เมตร และดำเนินการพ่นหมอกควันครั้งที่ 2 รอบหมู่บ้านในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552
6. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบข้อมูลผ่านหอกระจายข่าวของหมู่บ้าน และแจกแผ่นพับเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก แก่ทุกหลังคาเรือน และหากมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ไม่ไอ ไม่เป็นหวัดให้รีบไปตรวจรักษาที่สถานีอนามัยหรือโรงพยาบาล อย่าซื้อยากินเอง
มาตรการที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
1. สำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย โดย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและเจ้าหน้าที่ร่วมติดตามทุกวันศุกร์
2. ทำความสะอาดภายในบ้าน และสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้าน รณรงค์กำจัด/ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย เช่น ฝังภาชนะแหล่งเพาะพันธุ์ ล้างขัดภาชนะ และเปลี่ยนน้ำ โอ่งน้ำ/ ห้องน้ำ ทุกวันศุกร์
3. ปิดฝาโอ่งน้ำกินให้มิดชิด
4. ใส่ทรายกำจัดลูกน้ำทุก 3 เดือน และตรวจสอบทุกสัปดาห์
5. สนับสนุนการเลี้ยงปลากินลูกน้ำทุกหลังคาเรือน โดยใส่ปลาในโอ่งน้ำใช้และอ่างน้ำในห้องน้ำ
6. ใส่ทรายหรือเกลือในจานรองขาตู้ เปลี่ยนน้ำในแจกันทุกวันศุกร์
7. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบข้อมูลเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และการป้องกันตนเอง

ปัญหาและอุปสรรค
เนื่องจากเป็นฤดูเพาะปลูก ประชาชนส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยมีเวลาดูแลสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน สภาพแวดล้อมของหมู่บ้านมีต้นไม้ กอไผ่ สวนกล้วย สวนหม่อน ค่อนข้างหนาทึบ และมีรายงานการเกิดโรคไข้เลือดออกเกือบทุกปี ซึ่งการดำเนินงานของกลุ่มอาสาสมัครประจำหมู่บ้านและผู้นำชุมชน ในการเฝ้าระวังและควบคุมโรคได้ดำเนินการอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง ประชาชนส่วนใหญ่ค่อนข้างตื่นตัวในการรับทราบข่าวสาร แต่พฤติกรรมในการป้องกันโรคและดูแลตนเองยังมีน้อย โดยคิดว่าเป็นหน้าที่ของ อสม.และเจ้าหน้าที่ในการป้องกันและควบคุมโรค




ข้อเสนอแนะ
1. สนับสนุนให้ประชาชนใช้วิธีทางกายภาพและชีวภาพในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย เช่น การปล่อยปลากินลูกน้ำ เพราะเป็นวิธีที่ง่ายประหยัดและปลอดภัย
2. ควรสร้างความตระหนักให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรค โดยใช้มาตรการทางกฎหมายหรือข้อบังคับขององค์การท้องถิ่น
3. ควรมีการศึกษาเชื้อที่ก่อโรค และสภาพพื้นที่ที่มีการเกิดโรคซ้ำซาก

กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบคุณผู้มีส่วนสนับสนุนในการสอบสวนและควบคุมโรคไข้เลือดออก บ้านน้ำเที่ยง หมู่ที่ 10ตำบลนางาม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด คือ องค์การบริหารส่วนตำบลนางาม โรงเรียนบ้านน้ำเที่ยงนาเรียง ผู้นำชุมชน อสม. และ ประชาชน บ้านน้ำเที่ยง หมู่ที่ 10 ตำบลนางาม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ทีมสอบสวนโรค
1. นางภัสดาพร ไชยสิงห์ หัวหน้าสถานีอนามัยบ้านกุดแข้
2. นายทวีศักดิ์ ลีแสน นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
3. นางจุฑาทิพย์ ศิริอัฐ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

เอกสารอ้างอิง
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย: พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การ รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์. 2546.

กำจัดยุงลายลดผู้ป่วยไข้เลือดออก

รณรงค์ กำจัดยุงลาย ลดผู้ป่วย ไข้เลือดออก
ความยาว 45 วินาที

ลำดับ ภาพ คำบรรยาย เสียง
1



รณรงค์กำจัดยุงลายลดผู้ป่วย
ไข้เลือดออก
เสียง EFECT
2


วงจรชีวิตยุงลาย
พาหนะนำโรคร้าย
ไข้เลือดออก
เสียง EFECT
3


ภาพวงจรชีวิตยุงลาย
เสียง EFECT







4















ไข้เลือดออกเป็นอย่างไร
ลักษณะ
การป้องกัน
การรักษา
ประวัติ
Exit

เสียง EFECT
5

จะมีไข้สูง 2-7 วัน หน้าแดง เบื่ออาหาร และมีอาการซึม ปวดเมื่อยตามตัว และปวดหลัง บางคนอาจจะพบจุดเลือดสีแดงๆ ตามแขนขา และลำตัว บางคนอาจมีเลือดกำเดออก อาเจียนเป็นเลือดสีแดง หรือถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ ในรายที่เป็นร้ายแรง อาจมีอาการช็อก มือเท้าเย็นจนถึงไม่รู้สึกตัว หมดสติ ถ้ารักษาไม่ทัน มักจะเสียชีวิตภายใน 24-48 ชั่วโมง
เสียง EFECT

6
-กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
ปิดผาตุ่มเก็บน้ำให้มิดชิด
- หมั่นเปลี่ยนน้ำหรือใส่เกลือแกง หรือน้ำส้มสายชูในจานรอง
กระถาง และจานรองขาตู้กับข้าว ทุก 7 วัน
- ถ้าภาชนะ ไม่มีฝาปิด อาจเลี้ยงปลาหางนกยูง ช่วยกินลูกน้ำ
เสียง EFECT

ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเพื่อลดไข้ ถ้ามีไข้สูงอาจใช้ยาลดไข้จำพวก
พาราเซตามอล แต่อย่าใช้ยาพวก แอสไพริน เพราะจะยิ่งทำให้
เลือกออกง่าย ดื่มน้ำผลไม้ น้ำตาลเกลือแร่บ่อยๆ ถ้ามือเท้าเย็น
ซึมลงปวดท้อง หรืออาการไม่ดีขึ้น ให้รีบไปพบแพทย์

เสียง EFECT
8
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 จนถึงปัจจุบัน พบว่ามีอัตราการตายและการระบาดของโรคไข้เลือดออกมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงหน้าฝนระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง กันยายน จะเป็นช่วงที่มีการระบาดมากที่สุด และพบว่าในเด็กอายุ 5-14 ปี จะป่วยเป็นโรคนี้มากกว่ากลุ่มอื่น

OUT
ผู้เขียน
นายสุทธิพงศ์ โหดหมาน
4815542
ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา
โทนวัตกรรมการออกแบบสื่อและการผลิตสื่อ
คณะศึกษาศาสตร์

การนำเสนอภาพ จะไข้ภาพการ์ตูนเพื่อเพิ่มความน่าสนใจต่อผู้ใช้ ข้อความบรรยายเพื่อบอกรายละเอียด

สรุปรายงานการเฝ้าระวังทางระบาด

สรุปรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ประจำเดือนเมษายน 2551
1. การส่งบัตรรายงาน
ตั้งแต่ 23 มีนาคม ถึง 25 เมษายน 2551 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ได้รับรายงานโรคที่เฝ้าระวังทางระบาดวิทยา จากบัตรรายงาน 506 จำนวน 3,555 บัตร โดยได้รับบัตรรายงาน จากสถานีอนามัย 202 แห่ง ( 786 บัตร) และจากโรงพยาบาลทุกแห่ง (2,769 บัตร)
ความทันเวลาในการส่งบัตรรายงาน 506 พบว่า ในภาพรวมสถานีอนามัย มีการส่งรายงาน ทันเวลา ร้อยละ 95.41 สำหรับโรงพยาบาล มีความทันเวลาในการรายงาน ร้อยละ 96.7
ความทันเวลาในการส่งรายงานในเดือนนี้
- สสอ.ที่มีความทันเวลาในการส่งรายงานได้ตามเกณฑ์ (มากกว่า ร้อยละ 80) 19 แห่ง
- สสอ. ที่มีความทันเวลาต่ำกว่าเกณฑ์ 1 แห่ง คือ สสอ.หนองพอก
- รพ.ที่มีความทันเวลาในการส่งรายงานได้ตามเกณฑ์ (มากกว่าร้อยละ 80) ครบทุกแห่ง
2. สถานการณ์โรคเฝ้าระวังปี 2551 (ตั้งแต่ 1 มกราคม – 25 เมษายน 2551)
โรคที่มีรายงานผู้ป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ อุจจาระร่วง รองลงมา คือ สุกใส อาหารเป็นพิษ ปอดบวม และตาแดง
ตารางที่ 1 จำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา 10 อันดับแรก จ.ร้อยเอ็ด ปี 2551
โรค ปี 2551 รวม
(ราย) อัตราป่วย
(ต่อแสน ปชก)
ม.ค.(ราย) ก.พ.(ราย) มี.ค. (ราย) เม.ย. (ราย)
1. อุจจาระร่วง 3,458 2,790 2,835 1,850 10,933 835.48
2. สุกใส 239 388 575 196 1,398 106.83
3. อาหารเป็นพิษ 363 274 365 216 1,218 93.08
4. ปอดบวม 213 198 220 96 727 55.56
5. ตาแดง 142 148 135 70 495 37.83
6. ไข้ไม่ทราบสาเหตุ 95 106 119 93 413 31.56
7. ไข้เลือดออก 29 15 24 25 93 7.11
8. วัณโรคปอด 43 37 11 2 93 7.11
9. งูสวัส 23 13 24 17 77 5.88
10. มือ เท้า ปาก 42 21 5 2 70 5.35



ตารางที่ 2 จำนวนและร้อยละสถานบริการที่ส่งบัตรรายงาน 506 และความทันเวลา รายอำเภอ
ระหว่าง 23 มีนาคม – 25 เมษายน 2551
อำเภอ จำนวน
ครั้งที่ส่ง รายงาน (ครั้ง) จำนวน
สอ.ที่ส่งรายงาน
/ สอ.ทั้งหมด จำนวนบัตรทันเวลา
/ บัตรทั้งหมด ทันเวลา
ร้อยละ โรงพยาบาล จำนวนบัตร
ทันเวลา / บัตรทั้งหมด ทันเวลา
ร้อยละ
1. เมือง 22 17 / 17 74 / 74 100.0 1. ร้อยเอ็ด 502 / 520 96.5
2.เกษตรวิสัย 16 14 / 15 89 / 90 98.9 2.เกษตรวิสัย 76 / 76 100.0
3. ปทุมรัตต์ 10 11 / 12 26 / 26 100.0 3. ปทุมรัตต์ 37 / 37 100.0
4.จตุรพักตร ฯ 20 11 / 12 55 / 60 91.7 4.จตุรพักตร ฯ 365 / 374 97.6
5. ธวัชบุรี 5 6 / 11 22 / 22 100.0 5. ธวัชบุรี 93 / 93 100.0
6. พนมไพร 23 13 / 15 40 / 46 86.9 6. พนมไพร 239 / 239 100.0
7. โพนทอง 10 19 / 21 24 / 25 96.0 7. โพนทอง 234 / 239 97.9
8. โพธิ์ชัย 14 8 / 9 36 / 36 100.0 8. โพธิ์ชัย 85 / 106 80.2
9. หนองพอก 4 11 / 12 11 / 17 64.7 9. หนองพอก 107 / 112 95.5
10.เสลภูมิ 18 25 / 25 110 / 125 88.0 10.เสลภูมิ 151 / 161 93.7
11.สุวรรณภูมิ 14 15 / 17 47 / 48 97.9 11.สุวรรณภูมิ 213 / 214 99.5
12. เมืองสรวง 8 4 / 5 8 / 8 100.0 12. เมืองสรวง 48 / 48 100.0
13. โพนทราย 11 3 / 5 3 / 3 100.0 13. โพนทราย 102 / 103 99.0
14. อาจสามารถ 15 13 / 13 36 / 36 100.0 14. อาจสามารถ 246 / 249 98.8
15. เมยวดี 6 2 / 5 18 / 18 100.0 15. เมยวดี 24 / 24 100.0
16. ศรีสมเด็จ 11 7 / 7 57 / 57 100.0 16. ศรีสมเด็จ 85 / 85 100.0
17. จังหาร 11 9 / 10 37 / 37 100.0 17. จังหาร 72 / 89 80.9
18. เชียงขวัญ 6 7 / 7 36 / 36 100.0
19. หนองฮี 3 3 / 7 9 / 10 90.0
20. ทุ่งเขาหลวง 6 4 / 5 12 / 12 100.0
รวม 202 / 230 750 / 786 95.41 2679 / 2769 96.7
สถานีอนามัย ที่ไม่มีการส่งรายงานในเดือนนี้ 28 แห่ง ดังนี้
* อ.เกษตรวิสัย 1 แห่ง คือ สอ.บ้านแจ่มอารมณ์
* อ.ปทุมรัตต์ 1 แห่ง คือ สอ.บ้านสวนปอ
* อ.จตุรพักตรพิมาน 1 แห่ง คือ สอ.บ้านใส
* อ.ธวัชบุรี 5 แห่ง คือ สอ.บ้านอุ่มเม้า สอ.บ้านปรางค์กู่ สอ.บ้านหนองบั่ว สอ.บ้านดอนงัว และ สอ.บ้านราชธานี
* อ.พนมไพร 2 แห่ง คือ สอ.บ้านกุดน้ำใส และ สอ.บ้านนานวล
* อ.โพนทอง 2 แห่ง คือ สอ.บ้านป้อง และ สอ.บ้านหนองกุง
* อ.โพธิ์ชัย 1 แห่ง คือ สอ.บ้านหนองแวงใหญ่
* อ.หนองพอก 1 แห่ง คือ สอ.บ้านหนองคำใหญ่

* อ.สุวรรณภูมิ 2 แห่ง คือ สอ.บ้านสระโพนทอง และ สอ.บ้านคำพรินทร์
* อ.เมืองสรวง 1 แห่ง คือ สอ.บ้านหนองยาง
* อ.โพนทราย 2 แห่ง คือ สอ.บ้านเกาะแก้ว และ สอ.บ้านศรีสว่าง
* อ.เมยวดี 3 แห่ง คือ สอ.บ้านชุมพร สอ.บ้านคำนางตุ้ม และ สอ.บ้านชมสะอาด
* อ.จังหาร 1 แห่ง คือ สอ.บ้านแซงแหลม
* อ.หนองฮี 4 แห่ง คือ สอ.บ้านสาวแห สอ.บ้านวารีเกษม สอ.บ้านขมิ้น และ สอ.บ้านดอนกลอย
* อ.ทุ่งเขาหลวง 1 แห่ง คือ สอ.บ้านมะบ้า
* สอ. ส่ง zero report เดือนนี้
- อ.เสลภูมิ 7 แห่ง คือ สอ.บ้านใหม่สามัคคี สอ.บ้านนาโพธิ์ สอ.บ้านหวาย สอ.บ้านดงหวาย
สอ.บ้านบะหลวง สอ.บ้านโนนสนาม และ สอ.บ้านสะอาดนาดี
3. สถานการณ์โรคที่สำคัญ
3.1 สรุปข่าวการระบาดในช่วงเดือนเมษายน 2551
3.1.1 อาหารเป็นพิษ จากการรับประทานมันบวด ที่งานศพ บ้านบ่อแก ม.7 ต.บึงเกลือ อ.เสลภูมิ วันที่ 30 มีนาคม2551 พบผู้ป่วยรวม 39 ราย เป็นเพศหญิง 29 ราย เพศชาย 10 ราย อายุระหว่าง 28-81 ปี เริ่มป่วยวันที่ 30 มีนาคม 2551 เวลา 18.30 – 20.30 น. อาการที่พบ คือ วิงเวียนศีรษะ ร้อยละ 82.05 คลื่นไส้อาเจียน ร้อยละ 53.8 แขนขาอ่อนแรง ร้อยละ 51.3 มึนชาตามใบหน้า ร้อยละ 43.6 ตะคริว ร้อยละ 35.9 ตาพร่า ร้อยละ 25.6 ใจสั่น ร้อยละ 20.5 ปวดท้อง ร้อยละ 15.4 เหงื่อออกมาก ร้อยละ 10.3 เข้ารับการรักษาที่ รพ.เสลภูมิ ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม 2551 - 1 เมษายน 2551 ผู้ป่วยนอก 6 ราย ผู้ป่วยใน 10 ราย รักษาที่คลินิกเอกชน 2 ราย และมีอาการเล็กน้อยไม่ได้รับการรักษา 21 ราย จากการสอบสวนโรค พบว่า ผู้ที่มีอาการป่วยทุกราย ให้ประวัติไปรับประทานอาหารเย็นที่งานศพ ที่บ้านบ่อแก ม.7 ต.บึงเกลือ มีผู้ไปร่วมงานประมาณ 60 คน รายการอาหารมี ดังนี้ เนื้อแดดเดียว เนื้อวัวลวก ผัดกระเพราหมู แกงเห็ดฟาง ซุปเห็ดฟาง ไข่เจียว น้ำพริก ผักลวก ผัดผักรวมมิตร และมันบวด อาหารที่สงสัยคือ มันบวด พบว่า อัตราป่วยในกลุ่มผู้รับประทานมันบวด ร้อยละ 88.64 ส่วนใหญ่จะมีอาการป่วยหลังรับประทาน ประมาณ 30 นาที – 3 ชั่วโมง สำหรับหัวมันที่นำมาทำบวดมัน เป็นมันเผิ่ม ซึ่งญาติจากต่างอำเภอนำมาให้ 1 กระสอบปุ๋ย และเจ้าของบ้านได้ขุดหัวมัน (ไม่ทราบชนิด) ที่อยู่หลังบ้านมาเพิ่มอีก 5 หัว แม่ครัวได้นำหัวมันมาปอกเปลือกล้างน้ำแล้วหั่น มาต้มใส่กะทิและน้ำตาล นำเลี้ยงแขกที่มาร่วมงานในระหว่างเวลา 19.30 น. – 20.00 น. ทีม SRRT อำเภอเสลภูมิ ได้เก็บตัวอย่างมันเผิ่ม และเปลือกมันที่ขุดมาเพิ่มเติม ให้สำนักงานเกษตรอำเภอเสลภูมิ ตรวจสอบยืนยันชนิดและความเป็นพิษ พบว่า หัวมันเผิ่มที่ญาตินำมาให้ เป็นมันชนิดกินได้ไม่มีพิษ สำหรับหัวมันที่ขุดจากหลังบ้าน ไม่สามารถระบุชนิดได้เนื่องจากส่วนที่ส่งตรวจมีเฉพาะเปลือกมันที่เหลือ จากการสอบถาม ลักษณะมันที่ขุดมาจากหลังบ้าน มีลักษณะคล้ายกับหัวกลอย ซี่งแม่ครัวที่ประกอบอาหารแยกไม่ออกว่าแตกต่างกันอย่างไร จึงไม่ได้นำมาแช่น้ำเพื่อกำจัดพิษให้หมดก่อน จากลักษณะอาการอาการแสดงผู้ป่วยในครั้งนี้ เข้าได้กับการได้รับพิษจากกลอย

กลอย

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dioscorea hispida Dennst. วงศ์ Dioscoreaceae เป็นไม้เถา เลื้อยพันไปบนต้นไม้อื่น ส่วนของลำต้นที่อยู่เหนือดินมีขนและหนาม ใบประกอบเรียงสลับ ก้านใบประกอบยาวประมาณ 25 ซม. มีหนาม มีใบย่อย 3 ใบ ปลายแหลม โคนสอบแคบ แผ่นใบกว้าง ดอกเพศผู้ไม่มีก้าน อัดรวมแน่นบนช่อดอก มีกลิ่นหอม ดอกเพศเมียเรียงกันอยู่ห่างๆ บนช่อดอก ไม่มีก้านดอกเช่นกัน ผลยาวประมาณ 5 ซม. มี 3 ครีบ เมล็ดมีปีกเฉพาะที่โคน หัวค่อนข้างกลม ส่วนบนและส่วนล่างแบน ไม่ฝังลึกลงในดิน ส่วนที่อยู่เหนือพื้นดินมักเป็นลอนตื้นๆ หัวมีขนาดต่างๆ กัน ผิวสีฟางหรือเทา เนื้อในสีขาวถึงขาวนวล กลอยพบได้ทั่วไปในเขตป่าฝน ในเขตร้อน ตั้งแต่ประเทศอินเดียไปจนถึงเทือกเขาหิมาลัย ในหัวกลอยจะมีคาร์โบไฮเดรต ในปริมาณสูง 81.45-81.89% และมีสารพิษ คือ ไดออสคอรีน (Dioscorine) ปริมาณสารพิษจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับฤดูกาล ที่เก็บ ในช่วงฤดูฝน (เดือนสิงหาคม) กลอยจะมีพิษมากที่สุด และในฤดูร้อน (เดือนเมษายน) จะมีพิษน้อยที่สุด ในช่วงฤดูร้อนกลอย จะเก็บง่าย หัวใหญ่โผล่พ้นดิน จึงไม่ต้องขุดลงไปลึกมาก เถาจะแห้งตาย ชาวบ้านจึงนิยมเก็บหัวกลอยในฤดูร้อน
สารพิษในกลอย
ไดออสคอรีน (dioscorine) ซึ่งเป็นสารพิษในกลอย เป็นอัลคาลอยด์กลุ่มโทรเปน อาการพิษเริ่มแรกคือ ใจสั่น วิงเวียน คันคอ คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก ซีด ตาพร่า ชีพจรเบาเร็ว อึดอัด เป็นลม ตัวเย็น อาจมีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ ระยะต่อมากดระบบประสาทส่วนกลาง จากการทดลองของวรา จันทร์ศิริศรี และคณะ โดยฉีดน้ำสกัดกลอยเข้าทางเส้น เลือดดำของหนูถีบจักร พบว่ากลอยจะไปกระตุ้นในระยะแรก แล้วตามด้วยการกดระบบประสาทส่วนกลาง ผลต่อการเคลื่อนไหว (motor activity) ของหนูถีบจักรจะลดลงภายหลังฉีดน้ำสกัดกลอยในขนาดที่เริ่มทำให้เกิดพิษ แต่ถ้าฉีดในขนาดสูงมากจนสัตว์ ทดลองตาย หนูถีบจักรจะชักในระยะแรก แล้วในที่สุดจะตายเนื่องจากระบบการหายใจถูกกด เช่นเดียวกับผลการทดลองของ ขวัญฤดี เดชาติวงศ์ และคณะ เมื่อให้สารสกัดหัวกลอยด้วยเอธิลแอลกอฮอล์ 95% ขนาดน้อยคือ 0.7-0.9 mg/kg และ 1.0-2.0 mg/kg ในหนูถีบจักรและหนูขาวตามลำดับ จะทำให้หนูมีอาการซึมเพียงอย่างเดียว และเมื่อให้ขนาดมากขึ้นจะทำให้หนูมีอาการ กระวนกระวาย หอบ และชัก จนถึงตายได้ ในการศึกษาของบุญยงค์ ตันติสิระ และคณะ พบว่าสารสกัดจากกลอยมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางใน หนูถีบจักรอย่างรุนแรง จนทำให้ชักและตาย (ก่อนเกิดการชักจะทำให้สัตว์ทดลองเคลื่อนไหวน้อย) ขนาดของสารสกัดที่ทำให้ หนูถีบจักรตายครึ่งหนึ่งเท่ากับ 31.6 mg/kg ผลของไดออสคอรีนต่อความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจ ผลการศึกษาที่ได้ยังมีความแตกต่างกัน นอกจากนี้กลอยบางชนิดยังมีผลึกแคลเซี่ยมออกซาเลต ทำให้เกิดอาการระคายเคือง และบางชนิดมีสารพิษพวกซาโปนิน ซึ่งออกฤทธิ์ทำลายเม็ดเลือดได้
การกำจัดพิษจากกลอย
ก่อนที่จะนำกลอยมารับประทาน จำเป็นต้องกำจัดสารพิษออกให้หมด วิธีการกำจัดสารพิษจะมีความคล้ายคลึงกันในแต่ ละชุมชน ดังนี้
ชุมชนทางภาคเหนือ หากเก็บกลอยในฤดูร้อน จะลอกผิวออก ฝานเป็นแผ่นบางๆ นำไปตากจนแห้งเก็บไว้ได้นาน เป็นเดือนหรือเป็นปี ก่อนจะนำมาประกอบอาหาร ก็นำกลอยแห้งนั้นใส่ภาชนะแช่ในน้ำไหลเป็นเวลา 1 วัน 1 คืน แล้วนำมานวดให้นุ่ม จากนั้นนำไปผึ่งแดดพอหมาดๆ นำกลอยไปใส่ภาชนะแช่น้ำเช่นเดิมทำซ้ำๆ กัน 2-3 ครั้ง จนกลอยนุ่มดีแล้ว จึงนำไปประกอบอาหาร แต่ถ้าเก็บกลอยในฤดูฝนจะมีพิษมาก ภายหลังจากลอกผิวและฝานเป็นชิ้นแล้ว ต้องนำไปแช่ในรางน้ำ หมักไว้ 3 คืนโดยใช้ใบชุม เห็ดเทศคลุมข้างบน และใช้ท่อนหินหรือท่อนไม้ทับไว้จนเนื้อกลอยนุ่ม จากนั้นนำมานวดให้นุ่มมากขั้น (ส่วนใหญ่ใช้วิธีเหยียบ) แล้วหมักไว้เป็นก้อนเช่นนั้น รุ่งขึ้นนำไปแช่น้ำไหลอีก 1 วัน 1 คืน แล้วนำมานวดผึ่งแดดพอหมาด นำกลับไปหมักไว้ใหม่ทำซ้ำเช่นนี้ 2-3 ครั้ง ก็นำไปประกอบอาหารได้ หรือตากแห้งเก็บไว้รับประทาน (ก่อนนำไปรับประทานต้องนำมาแช่น้ำให้นุ่มแล้วจึงนำไปนึ่งให้สุก เพื่อประกอบอาหารต่อไป)
ชุมชนบริเวณจังหวัดชายทะเล นิยมนำกลอยที่หั่นบางๆ แล้วไปแช่น้ำทะเล เพื่อให้เกลือช่วยทำลายพิษแต่ต้องหมั่น เปลี่ยนน้ำ ส่วนใหญ่ใช้เวลาแช่และทับประมาณ 7 วัน นำไปตากแห้งจะเก็บไว้ได้นาน เมื่อจะนำมาประกอบอาหารก็แช่น้ำอีก 1 หรือ 2 คืน แล้วคั้นน้ำทิ้งก่อนที่จะทำการหุงต้ม บางคนนำมาแช่ในน้ำเกลือ แล้วถ่ายน้ำทิ้งหลายๆ ครั้ง หรือแช่น้ำไหล 7 วัน หรือมากกว่านี้ก่อนนำมาทำอาหาร
วิธีรักษาอาการพิษ
1. ให้ Phenobarbital หรือ Diazepam เพื่อป้องกันอาการชัก แต่ต้องระวังไม่ให้ในรายที่ขนาดของกลอยที่ได้รับนั้น ทำให้เกิดพิษลด motor activity หรือกดระบบประสาทส่วนกลางแล้ว ยาเหล่านี้อาจไปเสริมฤทธิ์แทนที่จะต้านฤทธิ์ของกลอย
2. การหยุดหายใจ อาจแก้โดยใช้ neostigmine
3. รักษาตามอาการ
* ข้อมูลจาก จุลสารข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีที่ 15 ฉบับที่ 4 กรกฎาคม 254

3.1..2 อาหารเป็นพิษจากการรับประทานกุ้งจ่อม ที่ ม.14 ต.โพนทราย อ.โพนทราย วันที่ 20 เมย.51
พบผู้ป่วย 9 ราย เพศชาย 5 ราย เพศหญิง 4 ราย อายุระหว่าง 31 - 66 ปี เข้ารับการรักษาที รพ.โพนทราย วันที่ 20 เม.ย.51 ผู้ป่วยนอก 7 ราย ผู้ป่วยใน 2 ราย อาการที่พบคือ คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง และถ่ายเป็นน้ำ จากการสอบสวนโรค พบว่า ผู้ป่วยทั้งหมดเป็นคณะกรรมการที่หน่วยเลือกตั้งที่ 21 หอประชุมโรงเรียนทรายทองวิทยา หมู่ที่ 14 ต.โพนทราย วันที่ 20 เม.ย.51 คณะกรรมการทั้งหมด 11 คน ได้รับประทานอาการเช้าร่วมกันที่หน่วยเลือกตั้ง อาหารที่รับประทาน มีดังนี้ ขนมปังปิ้ง เนื้อทอด กุ้งจ่อม ข้าวเหนียว และกาแฟ (เนื้อทอด ขนมปัง และข้าวเหนียว ซื้อมาจากตลาดสด อ.โพนทราย ส่วนกุ้งจ่อม
คณะกรรมการเลือกตั้งคนหนึ่ง เป็นคนทำเอง ในวันที่ 14 เม.ย.51 มีญาตินำกุ้งฝอยมาให้ 3 ถุง 2 ถุงแรกนำมาประกอบอาหารปรุงสุก ส่วนอีก 1 ถุง นำมาหมักทำเป็นกุ้งจ่อม และนำมา รับประทานในวันที่ 20 เม.ย.51 โดยไม่ได้ปรุงให้สุกก่อนรับประทาน อัตราป่วยในกลุ่มผู้ที่รับประทานกุ้งจ่อมเท่ากับ ร้อยละ 100 มีอาการหลังรับประทาน 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง 30 นาที การเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ RSC ผู้ป่วย 2 ราย อาเจียนผู้ป่วย1 ตัวอย่าง ไม่พบเชื้อก่อโรค ตัวอย่างอาหารที่เหลือ จากการรับประทาน จำนวน 3 ตัวอย่าง ตรวจพบเชื้อ Staphylococcus Coagulase positive ในตัวอย่างกุ้งจ่อม ทีม SRRT อ.โพนทราย ได้ให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนในพื้นที่ ค้นหาผู้ป่วยรายอื่นในชุมชนและติดตามเฝ้าระวังโรคอย่างต่อเนื่อง พบว่า ไม่มีผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้นอีก

3.2 สถานการณ์ไข้เลือดออก
ประเทศไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 25 เมษายน 2551 )
ตั้งแต่ 1 มกราคม – 25 เมษายน 2551 มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกทั้งประเทศรวม 11,856 ราย
ผู้ป่วยเสียชีวิต 13 ราย อัตราป่วยเท่ากับ 18.81 ต่อแสนประชากร อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.11
จำแนกรายภาค พบว่า ภาคกลาง มีอัตราป่วยสูงสุด ( อัตราป่วย 33.30 ต่อแสนประชากร) รองลงมา คือ ภาคใต้ ภาคเหนือ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อัตราป่วย 23.30 , 14.35 และ 5.15 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ
จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ จ.อ่างทอง (110.05 ต่อแสนประชากร) รองลงมา คือ จ.กระบี่ (95.46 ต่อแสนประชากร) จ.อยุธยา ( 64.81 ต่อแสนประชากร) จ.ราชบุรี (53.28 ต่อแสนประชากร) และจ.ประจวบคีรีขันธ์ ( 50.75 ต่อแสนประชากร)
เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 7
ตั้งแต่ 1 มกราคม – 25 เมษายน 2551 มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 230 ราย
ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต อัตราป่วย 3.05 ต่อแสนประชากร พบผู้ป่วย ในทุกจังหวัด จ.ร้อยเอ็ด มีอัตราป่วยสูงสุด รองลงมา คือ จ.มหาสารคาม และ จ.เลย
ตารางที่ 3 จำนวนผู้ป่วยและอัตราป่วยไข้เลือดออก จำแนกรายจังหวัด เขตตรวจสาธารณสุขที่ 7 ปี 2551
จังหวัด ประชากร ผู้ป่วย ผู้ป่วยตาย อัตราป่วย อัตราป่วยตาย
(ราย) (ราย) (ต่อแสน ปชก) (ร้อยละ)
เขตสาธารณสุขที่ 7
เขต 10 3,546,445 64 0 1.80 0.00
หนองคาย 902,618 14 0 1.55 0.00
หนองบัวลำภู 497,603 3 0 0.60 0.00
เลย 615,538 21 0 3.41 0.00
อุดรธานี 1,530,686 26 0 1.70 0.00
เขต 12 3,997,008 166 0 4.15 0.00
ขอนแก่น 1,752,414 46 0 2.62 0.00
มหาสารคาม 936,005 32 0 3.42 0.00
ร้อยเอ็ด 1,308,589 88 0 6.72 0.00
รวม 7,543,453 230 0 3.05 0.00

สถานการณ์โรคไข้เลือดออก จ.ร้อยเอ็ด ปี 2551
ตั้งแต่ 1 มกราคม 2550 - 26 เมษายน 2551 มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก 93 ราย ยังไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต อัตราป่วยเท่ากับ 7.11 ต่อแสนประชากร
จ.ร้อยเอ็ด มีอัตราป่วยอยู่ในลำดับที่ 53 ของประเทศ ลำดับที่ 6 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จำนวนผู้ป่วยในเดือนมกราคม – มีนาคม 2551 ใกล้เคียงกับค่ามัธยฐาน 5 ปี แต่น้อยกว่าปี 2550 ในช่วงเวลาเดียวกัน สำหรับในเดือนเมษายน จำนวนผู้ป่วยน้อยกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปี และน้อยกว่าปี 2550 ในช่วงเวลาเดียวกัน ดังนั้นเพื่อป้องกันการระบาดในช่วงฤดูฝนที่จะมาถึง ขอให้ทุกพื้นที่เร่งรัดกิจกรรมการป้องกันโรคล่วงหน้า การกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

รูปที่ 1 จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก จำแนกรายเดือน ปี 2550 เปรียบกับปี 2549 target line และมัธยฐาน 5 ปี
พื้นที่พบผู้ป่วยในปี 2551
- พบผู้ป่วยใน 12 อำเภอ ( 45 ตำบล 62 หมู่บ้าน 3 ชุมชน)
- อำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ อ.โพธิ์ชัย (อัตราป่วย 22.73 ต่อประชากรแสนคน) รองลงมา คือ อ.เสลภูมิ (อัตราป่วย 18.14 ต่อประชากรแสนคน) อ.อาจสามารถ (อัตราป่วย 17.43 ต่อประชากรแสนคน) อ.ทุ่งเขาหลวง (อัตราป่วย 16.72 ต่อประชากรแสนคน) และ อ.โพนทราย
(อัตราป่วย 10.84 ต่อประชากรแสนคน)
- อำเภอที่มีจำนวนผู้ป่วยในเดือน ม.ค. – เม.ย.51 มากกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปี ในช่วงเวลาเดียวกัน 8 อำเภอ คือ อ.เกษตรวิสัย อ.โพธิ์ชัย อ.โพนทอง อ.เสลภูมิ อ.สุวรรณภูมิ อ.อาจสามารถ อ.โพนทราย และ อ.ทุ่งเขาหลวง
- พื้นที่ที่มีการระบาดเป็นกลุ่ม คือ ม.14 บ้านสนามม้า ต.ขามเปี้ย อ.โพธิ์ชัย พบผู้ป่วยในช่วงเดือนเมษายน 4 ราย พบผู้ป่วยระหว่างวันที่ 31 มี.ค.51 - 8 เม.ย.51
ตารางที่ 4 จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก เดือน ม.ค. – เม.ย.51 จำแนกรายอำเภอ ปี 2551 เปรียบเทียบ
ปี 2550 และค่ามัธยฐาน 5 ปี ในช่วงเวลาเดียวกัน
อำเภอ ผู้ป่วย ปี 2551 ปี 2550 มัธยฐาน 5 ปี
(ปี 2545 -2549)
ม.ค. ก.พ. มี.ค เม.ย. รวม (ม.ค.- เม.ย.) (ม.ค.- เม.ย.)
เมือง 1 1 0 1 3 42 11
- ในเขตเทศบาล 1 1 0 1 3 10 0
- นอกเขต 0 0 0 0 0 32 11
เกษตรวิสัย 2 3 0 4 9 9 2
ปทุมรัตต์ 0 0 0 0 0 11 2
จตุรพักตรพิมาน 3 0 0 0 3 3 8
ธวัชบุรี 0 0 0 0 0 6 7
พนมไพร 0 0 1 1 2 6 3
โพนทอง 2 1 5 2 10 22 15
โพธิ์ชัย 5 1 2 5 13 6 1
หนองพอก 0 0 0 0 0 7 0
เสลภูมิ 8 3 7 4 22 83 16
สุวรรณภูมิ 3 3 1 3 10 31 7
เมืองสรวง 0 0 0 0 0 6 0
โพนทราย 0 0 2 1 3 1 0
อาจสามารถ 2 3 5 3 13 4 5
เมยวดี 0 0 0 0 0 2 0
ศรีสมเด็จ 0 0 0 0 0 0 0
จังหาร 0 0 0 0 0 19 7
เชียงขวัญ 0 0 0 0 0 1 2
หนองฮี 0 0 0 1 1 0 3
ทุ่งเขาหลวง 3 0 1 0 4 1 0
รวม 29 15 24 25 93 260 89
ข้อมูล ปี 2551 ณ วันที่ 26 เมษายน 2551


ตารางที่ 5 จำนวนผู้ป่วย / อัตราป่วย โรคไข้เลือดออก จำแนกรายอำเภอ จังหวัดร้อยเอ็ด ปี 2551
อำเภอ ประชากร DHF DSS รวม อัตราป่วย DF รวม 3 รหัส อัตราป่วย
(ราย) (ราย) DHF + DSS DHF + DSS (ราย) (ราย) รวม 3 รหัส
เมือง 154,721 1 0 1 0.65 2 3 1.94
-ในเขตเทศบาล 34,694 1 0 1 2.88 2 3 8.65
- นอกเขต 120,027 0 0 0 0.00 0 0 0.00
เกษตรวิสัย 99,084 3 0 3 3.03 6 9 9.08
ปทุมรัตต์ 53,043 0 0 0 0.00 0 0 0.00
จตุรพักตรพิมาน 81,256 2 0 2 2.46 1 3 3.69
ธวัชบุรี 67,941 0 0 0 0.00 0 0 0.00
พนมไพร 74,616 0 0 0 0.00 2 2 2.68
โพนทอง 107,449 7 0 7 6.51 3 10 9.31
โพธิ์ชัย 57,205 8 0 8 13.98 5 13 22.73
หนองพอก 64,988 0 0 0 0.00 0 0 0.00
เสลภูมิ 121,280 5 0 5 4.12 17 22 18.14
สุวรรณภูมิ 117,048 8 0 8 6.83 2 10 8.54
เมืองสรวง 23,541 0 0 0 0.00 0 0 0.00
โพนทราย 27,670 3 0 3 10.84 0 3 10.84
อาจสามารถ 74,587 3 0 3 4.02 10 13 17.43
เมยวดี 22,478 0 0 0 0.00 0 0 0.00
ศรีสมเด็จ 36,954 0 0 0 0.00 0 0 0.00
จังหาร 47,505 0 0 0 0.00 0 0 0.00
เชียงขวัญ 27,825 0 0 0 0.00 0 0 0.00
หนองฮี 25,469 0 0 0 0.00 1 1 3.93
ทุ่งเขาหลวง 23,929 2 0 2 8.36 2 4 16.72
รวมทั้งหมด 1,308,589 42 0 42 3.21 51 93 7.11
ที่มา จากรายงานโรคเร่งด่วน วันที่ 26 เมษายน 2551

สรุปผลการประเมินค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในพื้นที่รับผิดชอบ สคร.6 จ.ขอนแก่น
รอบที่ 1/2551 (สำรวจระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2551)
เกณฑ์การสำรวจ
1. สำรวจทุกอำเภอ โดยสุ่มในเขตเทศบาล 1 ชุมชน และนอกเขตเทศบาล 1 ชุมชน โดยใช้
หลักเกณฑ์การสุ่มสำรวจลูกน้ำยุงลายขององค์การอนามัยโลก ( WHO) ดังนี้
หมู่บ้าน 100-199 หลังคาเรือน สุ่มสำรวจ 45 หลัง
หมู่บ้าน 200-299 หลังคาเรือน สุ่มสำรวจ 51 หลัง
หมู่บ้าน 300-399 หลังคาเรือน สุ่มสำรวจ 54 หลัง
หมู่บ้าน 400-499 หลังคาเรือน สุ่มสำรวจ 55 หลัง
2. สำรวจวัด โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก ทุกแห่งในชุมชนที่สุ่มได้
3. สำรวจโรงพยาบาบในเขตอำเภอละ 1 แห่ง
เป้าหมาย
1. ร้อยละ 80 ของชุมชน มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ค่า HI ไม่เกิน 10
2. ร้อยละ 80 ของโรงพยาบาล วัด โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก มีดัชนีลูกน้ำยุงลาย ค่า CI = 0
ผลการสำรวจ
1. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย
ผลการประเมินค่าดัชนีลุกน้ำยุงลาย ในพื้นที่รับผิดชอบของ สคร.6 จ.ขอนแก่น ในภาพรวม
มีค่า HI = 22.48 และค่า CI = 2.41 จำแนกรายจังหวัด ดังนี้

ค่าดัชนี. ในภาพรวม ขอนแก่น สารคาม ร้อยเอ็ด อุดรธานี หนองคาย เลย หนองบัวลำภู
HI 21.08 34.71 20.26 19.03 19.67 25.95 16.67
CI 2.74 2.45 2.18 1.09 2.45 4.88 1.11

ร้อยละจำนวนแห่งที่สำรวจ
ค่าดัชนี ขอนแก่น สารคาม ร้อยเอ็ด อุดรธานี หนองคาย เลย หนองบัวลำภู
HI < 10 5.45 0 11.90 42.50 8.82 16.67 50.0
CI = 0 58.82 81.25 93.33 90.91 78.95 46.88 82.35


2. ประเภทภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลาย
ชนิดภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลายสูงสุด คือ อ่างอาบน้ำในห้องน้ำ รองลงมา คือ อ่างน้ำราดส้วม
และภาชนะอื่น ๆ ที่ไม่ใช้


3.3 สถานการณ์โรคเลปโตสไปโรซีส จังหวัดร้อยเอ็ด ปี 2551
ตั้งแต่ 1 มกราคม – 26 เมษายน 2551 มีรายงานผู้ป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรซีส จำนวน 9 ราย ไม่มีเสียชีวิต อัตราป่วยเท่ากับ 0.69 ต่อแสนประชากร
พื้นที่เกิดโรค กระจายใน 6 อำเภอ คือ คือ อ.เสลภูมิ 2 ราย อ.พนมไพร 2 ราย
อ.อาจสามารถ 2 ราย อ.เมยวดี อ.ศรีสมเด็จ และ อ.เกษตรวิสัย อำเภอละ 1 ราย
ตารางที่ 6 จำนวนผู้ป่วย โรคเลปโตสไปโรซีส จำแนกรายเดือน ปี 2550
อำเภอ เดือน รวม อัตราป่วย
ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. (ต่อแสน)
เมือง 0 0 0 0 0 0.00
-ในเขตเทศบาล 0 0 0 0 0 0.00
- นอกเขต 0 0 0 0 0 0.00
เกษตรวิสัย 1 0 0 0 1 1.01
ปทุมรัตต์ 0 0 0 0 0 0.00
จตุรพักตรพิมาน 0 0 0 0 0 0.00
ธวัชบุรี 0 0 0 0 0 0.00
พนมไพร 0 0 0 2 2 2.68
โพนทอง 0 0 0 0 0 0.00
โพธิ์ชัย 0 0 0 0 0 0.00
หนองพอก 0 0 0 0 0 0.00
เสลภูมิ 0 0 0 2 2 1.65
สุวรรณภูมิ 0 0 0 0 0 0.00
เมืองสรวง 0 0 0 0 0 0.00
โพนทราย 0 0 0 0 0 0.00
อาจสามารถ 1 1 0 0 2 2.68
เมยวดี 0 0 1 0 1 4.45
ศรีสมเด็จ 0 0 0 1 1 2.71
จังหาร 0 0 0 0 0 0.00
เชียงขวัญ 0 0 0 0 0 0.00
หนองฮี 0 0 0 0 0 0.00
ทุ่งเขาหลวง 0 0 0 0 0 0.00
รวมทั้งหมด 2 1 1 5 9 0.69
ที่มา : จากรายงานโรคเร่งด่วน ณ วันที่ 26 เมษายน 2551

3.4 สถานการณ์โรคเอดส์จังหวัดร้อยเอ็ด ประจำเดือนเมษายน 2551
สถานการณ์โรคเอดส์จังหวัดร้อยเอ็ดจากระบบรายงานผู้ป่วยโรคเอดส์ด้วยโปรแกรม AIDSOI ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งแต่มีนาคม 2532 – เมษายน 2551 มีผู้ ติดเชื้อHIV ทั้งหมด (ผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการและไม่มีอาการ) และผู้ป่วยเอดส์สะสมทั้งสิ้น 6,426 ราย เป็นผู้ติดเชื้อHIV ทั้งหมด (ผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการและไม่มีอาการ) 2,125 ราย ผู้ป่วยเอดส์ (AIDS) จำนวน 4,301 ราย และเสียชีวิตแล้ว 1,003 ราย คิดเป็นร้อยละ 23.3 ของผู้ป่วยเอดส์ทั้งหมด โดยพบผู้ป่วยเอดส์สะสมมากเป็นอันดับแรกที่อำเภอ โพนทอง รองลงมาคือเมืองและสุวรรณภูมิ
ผู้ป่วยเอดส์จำแนกตามกลุ่มอายุ พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในวัยแรงงานอายุระหว่าง 25- 34 ปี ร้อยละ 56.3 อัตราส่วนผู้ป่วยชายต่อผู้ป่วยหญิง 2.4 : 1
อาชีพที่พบมากเป็นอันดับแรกคือเกษตรกรรม ร้อยละ 44.4 รองลงมาคือรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 30.9 เด็กต่ำกว่าวัยเรียน ร้อยละ 3.7 อาชีพแม่บ้าน ร้อยละ 3.4 และอาชีพอื่นๆ ร้อยละ 17.6
ผู้ป่วยเอดส์จำแนกตามปัจจัยเสี่ยง พบว่าร้อยละ 88.9 ของผู้ป่วยเอดส์ติดจากการ มีเพศสัมพันธ์ รองลงมาคือติดเชื้อจากมารดา ร้อยละ 4.9 ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น ร้อยละ 2.2 การรับเลือด ร้อยละ 0.1 และไม่ทราบปัจจัยเสี่ยง ร้อยละ 3.9
โรคติดเชื้อฉวยโอกาสในผู้ป่วยเอดส์ พบมากที่สุดคือ วัณโรค ร้อยละ 27.2 รองลงมาคือ Cryptococcosis ร้อยละ 16.5 โรคปอดบวมจากการติดเชื้อ Pneumocystis carinii ร้อยละ 14.2 Pneumonia recurrent ร้อยละ 7.6 Candidiasis ของหลอดอาหาร หลอดลม ร้อยละ 3.9

ตารางที่ 7 จำนวนผู้ป่วยเอดส์ และผู้ติดเชื้อHIV ทั้งหมด (ผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการและไม่มีอาการ)
จังหวัดร้อยเอ็ด ( มี.ค. 2532 –20 เม.ย.2551 )

ประเภท จำนวนสะสมทั้งหมด ตายทั้งหมด
ชาย หญิง รวม
ผู้ป่วยเอดส์ 3,016 1,285 4,301 1,003
ผู้ติดเชื้อ HIV ทั้งหมด 1,360 765 2,125 110
รวม 4,376 2,050 6,426 1,113

ตารางที่ 8 จำนวนและอัตราต่อแสนของผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อที่มีอาการ จำแนกรายอำเภอ
ตามวันเดือนปีที่เริ่มป่วย จังหวัดร้อยเอ็ด (ข้อมูล ณ วันที่ 20 เมษายน 2551 )

อำเภอ ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ติดเชื้อHIV ทั้งหมด
(ผู้ติดเชื้อHIVที่มีอาการและไม่มีอาการ)
จำนวนสะสม ปี2551 อัตราต่อแสนประชากร จำนวนสะสม ปี2551 อัตราต่อแสนประชากร
เมือง 481 0 0.00 243 0 0.00
เกษตรวิสัย 296 1 1.01 114 9 9.08
ปทุมรัตต์ 114 0 0.00 65 0 0.00
จตุรพักตรพิมาน 230 0 0.00 115 0 0.00
ธวัชบุรี 368 2 2.94 101 2 2.94
พนมไพร 244 0 0.00 165 0 0.00
โพนทอง 483 7 6.51 121 7 6.51
โพธิ์ชัย 152 0 0.00 64 1 1.75
หนองพอก 88 0 0.00 36 0 0.00
เสลภูมิ 337 1 0.82 195 1 0.82
สุวรรณภูมิ 466 5 4.27 443 19 16.23
เมืองสรวง 114 1 4.25 72 2 8.50
โพนทราย 133 0 0.00 62 0 0.00
อาจสามารถ 157 0 0.00 59 0 0.00
เมยวดี 67 0 0.00 13 0 0.00
ศรีสมเด็จ 127 0 0.00 63 0 0.00
จังหาร 140 0 0.00 70 0 0.00
กิ่งเชียงขวัญ 118 1 3.59 44 1 3.59
กิ่งหนองฮี 61 0 0.00 52 0 0.00
กิ่งทุ่งเขาหลวง 123 0 0.00 26 0 0.00
ไม่ทราบอำเภอ 2 0 0.00 2 0 0.00
รวม 4,301 18 1.38 2,125 42 3.21
ที่มา : รายงานจากโปรแกรม AIDSOI สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
* จำนวนสะสม หมายถึงข้อมูลตั้งแต่ พ.ศ. 2532 - 20 เมษายน 2551


โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ปี 2551
ด้วยศูนย์ระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด จะจัดอบรมการใช้โปรแกรม VepiproW ในการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา สำหรับเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยและศูนย์ระบาดวิทยาอำเภอ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการข้อมูลเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาให้มีคุณภาพ ผู้เข้าประชุม คือ เจ้าหน้าที่จากสถานีอนามัยทุกแห่ง ๆ ละ 1 คน และผู้รับผิดชอบงานระบาดวิทยาของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอแห่งละ 1 คน รวม 250 คน โดยจัดการอบรมเป็น 5 รุ่น ๆ ละ 2 วัน ในระหว่างวันที่ 13 - 29 พฤษภาคม 2551 เวลา 08.30–16.30 น ณ ห้องประชุม 2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ดังนี้
- รุ่นที่ 1 วันที่ 13 – 14 พฤษภาคม 2551 ผู้เข้ารับการอบรม คือ เจ้าหน้าที่จากอำเภอเกษตรวิสัย ปทุมรัตต์ จตุรพักตรพิมาน และเมืองสรวง
- รุ่นที่ 2 วันที่ 15 – 16 พฤษภาคม 2551 ผู้เข้ารับการอบรม คือ เจ้าหน้าที่จากอำเภอโพนทอง พนมไพร หนองพอก และเมยวดี
- รุ่นที่ 3 วันที่ 20 – 21 พฤษภาคม 2551 ผู้เข้ารับการอบรม คือ เจ้าหน้าที่จากอำเภอเมืองร้อยเอ็ด อาจสามารถ โพธิ์ชัย และเชียงขวัญ
- รุ่นที่ 4 วันที่ 22 – 23 พฤษภาคม 2551 ผู้เข้ารับการอบรม คือ เจ้าหน้าที่จากอำเภอสุวรรณภูมิ ธวัชบุรี โพนทราย และหนองฮี
- รุ่นที่ 5 วันที่ 28 – 29 พฤษภาคม 2551 ผู้เข้ารับการอบรม คือ เจ้าหน้าที่จากอำเภอเสลภูมิ จังหาร ศรีสมเด็จ และทุ่งเขาหลว
ในการนี้ จึงขอให้ท่านแจ้งรายชื่อผู้เข้ารับการอบรม มายังศูนย์ระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ภายในวันที่ 8 พฤษภาคม 2551 และขอให้ผู้เข้ารับการอบรมนำเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีโปรแกรม HOSXP_PCU มาด้วย สำหรับค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าพาหนะให้เบิกจาก ต้นสังกัด

สรุปรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำเดือนเมษายน 2551

สรุปรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ประจำเดือนเมษายน 2551
1. การส่งบัตรรายงาน
ตั้งแต่ 23 มีนาคม ถึง 25 เมษายน 2551 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ได้รับรายงานโรคที่เฝ้าระวังทางระบาดวิทยา จากบัตรรายงาน 506 จำนวน 3,555 บัตร โดยได้รับบัตรรายงาน จากสถานีอนามัย 202 แห่ง ( 786 บัตร) และจากโรงพยาบาลทุกแห่ง (2,769 บัตร)
ความทันเวลาในการส่งบัตรรายงาน 506 พบว่า ในภาพรวมสถานีอนามัย มีการส่งรายงาน ทันเวลา ร้อยละ 95.41 สำหรับโรงพยาบาล มีความทันเวลาในการรายงาน ร้อยละ 96.7
ความทันเวลาในการส่งรายงานในเดือนนี้
- สสอ.ที่มีความทันเวลาในการส่งรายงานได้ตามเกณฑ์ (มากกว่า ร้อยละ 80) 19 แห่ง
- สสอ. ที่มีความทันเวลาต่ำกว่าเกณฑ์ 1 แห่ง คือ สสอ.หนองพอก
- รพ.ที่มีความทันเวลาในการส่งรายงานได้ตามเกณฑ์ (มากกว่าร้อยละ 80) ครบทุกแห่ง
2. สถานการณ์โรคเฝ้าระวังปี 2551 (ตั้งแต่ 1 มกราคม – 25 เมษายน 2551)
โรคที่มีรายงานผู้ป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ อุจจาระร่วง รองลงมา คือ สุกใส อาหารเป็นพิษ ปอดบวม และตาแดง
ตารางที่ 1 จำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา 10 อันดับแรก จ.ร้อยเอ็ด ปี 2551
โรค ปี 2551 รวม
(ราย) อัตราป่วย
(ต่อแสน ปชก)
ม.ค.(ราย) ก.พ.(ราย) มี.ค. (ราย) เม.ย. (ราย)
1. อุจจาระร่วง 3,458 2,790 2,835 1,850 10,933 835.48
2. สุกใส 239 388 575 196 1,398 106.83
3. อาหารเป็นพิษ 363 274 365 216 1,218 93.08
4. ปอดบวม 213 198 220 96 727 55.56
5. ตาแดง 142 148 135 70 495 37.83
6. ไข้ไม่ทราบสาเหตุ 95 106 119 93 413 31.56
7. ไข้เลือดออก 29 15 24 25 93 7.11
8. วัณโรคปอด 43 37 11 2 93 7.11
9. งูสวัส 23 13 24 17 77 5.88
10. มือ เท้า ปาก 42 21 5 2 70 5.35



ตารางที่ 2 จำนวนและร้อยละสถานบริการที่ส่งบัตรรายงาน 506 และความทันเวลา รายอำเภอ
ระหว่าง 23 มีนาคม – 25 เมษายน 2551
อำเภอ จำนวน
ครั้งที่ส่ง รายงาน (ครั้ง) จำนวน
สอ.ที่ส่งรายงาน
/ สอ.ทั้งหมด จำนวนบัตรทันเวลา
/ บัตรทั้งหมด ทันเวลา
ร้อยละ โรงพยาบาล จำนวนบัตร
ทันเวลา / บัตรทั้งหมด ทันเวลา
ร้อยละ
1. เมือง 22 17 / 17 74 / 74 100.0 1. ร้อยเอ็ด 502 / 520 96.5
2.เกษตรวิสัย 16 14 / 15 89 / 90 98.9 2.เกษตรวิสัย 76 / 76 100.0
3. ปทุมรัตต์ 10 11 / 12 26 / 26 100.0 3. ปทุมรัตต์ 37 / 37 100.0
4.จตุรพักตร ฯ 20 11 / 12 55 / 60 91.7 4.จตุรพักตร ฯ 365 / 374 97.6
5. ธวัชบุรี 5 6 / 11 22 / 22 100.0 5. ธวัชบุรี 93 / 93 100.0
6. พนมไพร 23 13 / 15 40 / 46 86.9 6. พนมไพร 239 / 239 100.0
7. โพนทอง 10 19 / 21 24 / 25 96.0 7. โพนทอง 234 / 239 97.9
8. โพธิ์ชัย 14 8 / 9 36 / 36 100.0 8. โพธิ์ชัย 85 / 106 80.2
9. หนองพอก 4 11 / 12 11 / 17 64.7 9. หนองพอก 107 / 112 95.5
10.เสลภูมิ 18 25 / 25 110 / 125 88.0 10.เสลภูมิ 151 / 161 93.7
11.สุวรรณภูมิ 14 15 / 17 47 / 48 97.9 11.สุวรรณภูมิ 213 / 214 99.5
12. เมืองสรวง 8 4 / 5 8 / 8 100.0 12. เมืองสรวง 48 / 48 100.0
13. โพนทราย 11 3 / 5 3 / 3 100.0 13. โพนทราย 102 / 103 99.0
14. อาจสามารถ 15 13 / 13 36 / 36 100.0 14. อาจสามารถ 246 / 249 98.8
15. เมยวดี 6 2 / 5 18 / 18 100.0 15. เมยวดี 24 / 24 100.0
16. ศรีสมเด็จ 11 7 / 7 57 / 57 100.0 16. ศรีสมเด็จ 85 / 85 100.0
17. จังหาร 11 9 / 10 37 / 37 100.0 17. จังหาร 72 / 89 80.9
18. เชียงขวัญ 6 7 / 7 36 / 36 100.0
19. หนองฮี 3 3 / 7 9 / 10 90.0
20. ทุ่งเขาหลวง 6 4 / 5 12 / 12 100.0
รวม 202 / 230 750 / 786 95.41 2679 / 2769 96.7
สถานีอนามัย ที่ไม่มีการส่งรายงานในเดือนนี้ 28 แห่ง ดังนี้
* อ.เกษตรวิสัย 1 แห่ง คือ สอ.บ้านแจ่มอารมณ์
* อ.ปทุมรัตต์ 1 แห่ง คือ สอ.บ้านสวนปอ
* อ.จตุรพักตรพิมาน 1 แห่ง คือ สอ.บ้านใส
* อ.ธวัชบุรี 5 แห่ง คือ สอ.บ้านอุ่มเม้า สอ.บ้านปรางค์กู่ สอ.บ้านหนองบั่ว สอ.บ้านดอนงัว และ สอ.บ้านราชธานี
* อ.พนมไพร 2 แห่ง คือ สอ.บ้านกุดน้ำใส และ สอ.บ้านนานวล
* อ.โพนทอง 2 แห่ง คือ สอ.บ้านป้อง และ สอ.บ้านหนองกุง
* อ.โพธิ์ชัย 1 แห่ง คือ สอ.บ้านหนองแวงใหญ่
* อ.หนองพอก 1 แห่ง คือ สอ.บ้านหนองคำใหญ่

* อ.สุวรรณภูมิ 2 แห่ง คือ สอ.บ้านสระโพนทอง และ สอ.บ้านคำพรินทร์
* อ.เมืองสรวง 1 แห่ง คือ สอ.บ้านหนองยาง
* อ.โพนทราย 2 แห่ง คือ สอ.บ้านเกาะแก้ว และ สอ.บ้านศรีสว่าง
* อ.เมยวดี 3 แห่ง คือ สอ.บ้านชุมพร สอ.บ้านคำนางตุ้ม และ สอ.บ้านชมสะอาด
* อ.จังหาร 1 แห่ง คือ สอ.บ้านแซงแหลม
* อ.หนองฮี 4 แห่ง คือ สอ.บ้านสาวแห สอ.บ้านวารีเกษม สอ.บ้านขมิ้น และ สอ.บ้านดอนกลอย
* อ.ทุ่งเขาหลวง 1 แห่ง คือ สอ.บ้านมะบ้า
* สอ. ส่ง zero report เดือนนี้
- อ.เสลภูมิ 7 แห่ง คือ สอ.บ้านใหม่สามัคคี สอ.บ้านนาโพธิ์ สอ.บ้านหวาย สอ.บ้านดงหวาย
สอ.บ้านบะหลวง สอ.บ้านโนนสนาม และ สอ.บ้านสะอาดนาดี
3. สถานการณ์โรคที่สำคัญ
3.1 สรุปข่าวการระบาดในช่วงเดือนเมษายน 2551
3.1.1 อาหารเป็นพิษ จากการรับประทานมันบวด ที่งานศพ บ้านบ่อแก ม.7 ต.บึงเกลือ อ.เสลภูมิ วันที่ 30 มีนาคม2551 พบผู้ป่วยรวม 39 ราย เป็นเพศหญิง 29 ราย เพศชาย 10 ราย อายุระหว่าง 28-81 ปี เริ่มป่วยวันที่ 30 มีนาคม 2551 เวลา 18.30 – 20.30 น. อาการที่พบ คือ วิงเวียนศีรษะ ร้อยละ 82.05 คลื่นไส้อาเจียน ร้อยละ 53.8 แขนขาอ่อนแรง ร้อยละ 51.3 มึนชาตามใบหน้า ร้อยละ 43.6 ตะคริว ร้อยละ 35.9 ตาพร่า ร้อยละ 25.6 ใจสั่น ร้อยละ 20.5 ปวดท้อง ร้อยละ 15.4 เหงื่อออกมาก ร้อยละ 10.3 เข้ารับการรักษาที่ รพ.เสลภูมิ ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม 2551 - 1 เมษายน 2551 ผู้ป่วยนอก 6 ราย ผู้ป่วยใน 10 ราย รักษาที่คลินิกเอกชน 2 ราย และมีอาการเล็กน้อยไม่ได้รับการรักษา 21 ราย จากการสอบสวนโรค พบว่า ผู้ที่มีอาการป่วยทุกราย ให้ประวัติไปรับประทานอาหารเย็นที่งานศพ ที่บ้านบ่อแก ม.7 ต.บึงเกลือ มีผู้ไปร่วมงานประมาณ 60 คน รายการอาหารมี ดังนี้ เนื้อแดดเดียว เนื้อวัวลวก ผัดกระเพราหมู แกงเห็ดฟาง ซุปเห็ดฟาง ไข่เจียว น้ำพริก ผักลวก ผัดผักรวมมิตร และมันบวด อาหารที่สงสัยคือ มันบวด พบว่า อัตราป่วยในกลุ่มผู้รับประทานมันบวด ร้อยละ 88.64 ส่วนใหญ่จะมีอาการป่วยหลังรับประทาน ประมาณ 30 นาที – 3 ชั่วโมง สำหรับหัวมันที่นำมาทำบวดมัน เป็นมันเผิ่ม ซึ่งญาติจากต่างอำเภอนำมาให้ 1 กระสอบปุ๋ย และเจ้าของบ้านได้ขุดหัวมัน (ไม่ทราบชนิด) ที่อยู่หลังบ้านมาเพิ่มอีก 5 หัว แม่ครัวได้นำหัวมันมาปอกเปลือกล้างน้ำแล้วหั่น มาต้มใส่กะทิและน้ำตาล นำเลี้ยงแขกที่มาร่วมงานในระหว่างเวลา 19.30 น. – 20.00 น. ทีม SRRT อำเภอเสลภูมิ ได้เก็บตัวอย่างมันเผิ่ม และเปลือกมันที่ขุดมาเพิ่มเติม ให้สำนักงานเกษตรอำเภอเสลภูมิ ตรวจสอบยืนยันชนิดและความเป็นพิษ พบว่า หัวมันเผิ่มที่ญาตินำมาให้ เป็นมันชนิดกินได้ไม่มีพิษ สำหรับหัวมันที่ขุดจากหลังบ้าน ไม่สามารถระบุชนิดได้เนื่องจากส่วนที่ส่งตรวจมีเฉพาะเปลือกมันที่เหลือ จากการสอบถาม ลักษณะมันที่ขุดมาจากหลังบ้าน มีลักษณะคล้ายกับหัวกลอย ซี่งแม่ครัวที่ประกอบอาหารแยกไม่ออกว่าแตกต่างกันอย่างไร จึงไม่ได้นำมาแช่น้ำเพื่อกำจัดพิษให้หมดก่อน จากลักษณะอาการอาการแสดงผู้ป่วยในครั้งนี้ เข้าได้กับการได้รับพิษจากกลอย

กลอย

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dioscorea hispida Dennst. วงศ์ Dioscoreaceae เป็นไม้เถา เลื้อยพันไปบนต้นไม้อื่น ส่วนของลำต้นที่อยู่เหนือดินมีขนและหนาม ใบประกอบเรียงสลับ ก้านใบประกอบยาวประมาณ 25 ซม. มีหนาม มีใบย่อย 3 ใบ ปลายแหลม โคนสอบแคบ แผ่นใบกว้าง ดอกเพศผู้ไม่มีก้าน อัดรวมแน่นบนช่อดอก มีกลิ่นหอม ดอกเพศเมียเรียงกันอยู่ห่างๆ บนช่อดอก ไม่มีก้านดอกเช่นกัน ผลยาวประมาณ 5 ซม. มี 3 ครีบ เมล็ดมีปีกเฉพาะที่โคน หัวค่อนข้างกลม ส่วนบนและส่วนล่างแบน ไม่ฝังลึกลงในดิน ส่วนที่อยู่เหนือพื้นดินมักเป็นลอนตื้นๆ หัวมีขนาดต่างๆ กัน ผิวสีฟางหรือเทา เนื้อในสีขาวถึงขาวนวล กลอยพบได้ทั่วไปในเขตป่าฝน ในเขตร้อน ตั้งแต่ประเทศอินเดียไปจนถึงเทือกเขาหิมาลัย ในหัวกลอยจะมีคาร์โบไฮเดรต ในปริมาณสูง 81.45-81.89% และมีสารพิษ คือ ไดออสคอรีน (Dioscorine) ปริมาณสารพิษจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับฤดูกาล ที่เก็บ ในช่วงฤดูฝน (เดือนสิงหาคม) กลอยจะมีพิษมากที่สุด และในฤดูร้อน (เดือนเมษายน) จะมีพิษน้อยที่สุด ในช่วงฤดูร้อนกลอย จะเก็บง่าย หัวใหญ่โผล่พ้นดิน จึงไม่ต้องขุดลงไปลึกมาก เถาจะแห้งตาย ชาวบ้านจึงนิยมเก็บหัวกลอยในฤดูร้อน
สารพิษในกลอย
ไดออสคอรีน (dioscorine) ซึ่งเป็นสารพิษในกลอย เป็นอัลคาลอยด์กลุ่มโทรเปน อาการพิษเริ่มแรกคือ ใจสั่น วิงเวียน คันคอ คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก ซีด ตาพร่า ชีพจรเบาเร็ว อึดอัด เป็นลม ตัวเย็น อาจมีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ ระยะต่อมากดระบบประสาทส่วนกลาง จากการทดลองของวรา จันทร์ศิริศรี และคณะ โดยฉีดน้ำสกัดกลอยเข้าทางเส้น เลือดดำของหนูถีบจักร พบว่ากลอยจะไปกระตุ้นในระยะแรก แล้วตามด้วยการกดระบบประสาทส่วนกลาง ผลต่อการเคลื่อนไหว (motor activity) ของหนูถีบจักรจะลดลงภายหลังฉีดน้ำสกัดกลอยในขนาดที่เริ่มทำให้เกิดพิษ แต่ถ้าฉีดในขนาดสูงมากจนสัตว์ ทดลองตาย หนูถีบจักรจะชักในระยะแรก แล้วในที่สุดจะตายเนื่องจากระบบการหายใจถูกกด เช่นเดียวกับผลการทดลองของ ขวัญฤดี เดชาติวงศ์ และคณะ เมื่อให้สารสกัดหัวกลอยด้วยเอธิลแอลกอฮอล์ 95% ขนาดน้อยคือ 0.7-0.9 mg/kg และ 1.0-2.0 mg/kg ในหนูถีบจักรและหนูขาวตามลำดับ จะทำให้หนูมีอาการซึมเพียงอย่างเดียว และเมื่อให้ขนาดมากขึ้นจะทำให้หนูมีอาการ กระวนกระวาย หอบ และชัก จนถึงตายได้ ในการศึกษาของบุญยงค์ ตันติสิระ และคณะ พบว่าสารสกัดจากกลอยมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางใน หนูถีบจักรอย่างรุนแรง จนทำให้ชักและตาย (ก่อนเกิดการชักจะทำให้สัตว์ทดลองเคลื่อนไหวน้อย) ขนาดของสารสกัดที่ทำให้ หนูถีบจักรตายครึ่งหนึ่งเท่ากับ 31.6 mg/kg ผลของไดออสคอรีนต่อความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจ ผลการศึกษาที่ได้ยังมีความแตกต่างกัน นอกจากนี้กลอยบางชนิดยังมีผลึกแคลเซี่ยมออกซาเลต ทำให้เกิดอาการระคายเคือง และบางชนิดมีสารพิษพวกซาโปนิน ซึ่งออกฤทธิ์ทำลายเม็ดเลือดได้
การกำจัดพิษจากกลอย
ก่อนที่จะนำกลอยมารับประทาน จำเป็นต้องกำจัดสารพิษออกให้หมด วิธีการกำจัดสารพิษจะมีความคล้ายคลึงกันในแต่ ละชุมชน ดังนี้
ชุมชนทางภาคเหนือ หากเก็บกลอยในฤดูร้อน จะลอกผิวออก ฝานเป็นแผ่นบางๆ นำไปตากจนแห้งเก็บไว้ได้นาน เป็นเดือนหรือเป็นปี ก่อนจะนำมาประกอบอาหาร ก็นำกลอยแห้งนั้นใส่ภาชนะแช่ในน้ำไหลเป็นเวลา 1 วัน 1 คืน แล้วนำมานวดให้นุ่ม จากนั้นนำไปผึ่งแดดพอหมาดๆ นำกลอยไปใส่ภาชนะแช่น้ำเช่นเดิมทำซ้ำๆ กัน 2-3 ครั้ง จนกลอยนุ่มดีแล้ว จึงนำไปประกอบอาหาร แต่ถ้าเก็บกลอยในฤดูฝนจะมีพิษมาก ภายหลังจากลอกผิวและฝานเป็นชิ้นแล้ว ต้องนำไปแช่ในรางน้ำ หมักไว้ 3 คืนโดยใช้ใบชุม เห็ดเทศคลุมข้างบน และใช้ท่อนหินหรือท่อนไม้ทับไว้จนเนื้อกลอยนุ่ม จากนั้นนำมานวดให้นุ่มมากขั้น (ส่วนใหญ่ใช้วิธีเหยียบ) แล้วหมักไว้เป็นก้อนเช่นนั้น รุ่งขึ้นนำไปแช่น้ำไหลอีก 1 วัน 1 คืน แล้วนำมานวดผึ่งแดดพอหมาด นำกลับไปหมักไว้ใหม่ทำซ้ำเช่นนี้ 2-3 ครั้ง ก็นำไปประกอบอาหารได้ หรือตากแห้งเก็บไว้รับประทาน (ก่อนนำไปรับประทานต้องนำมาแช่น้ำให้นุ่มแล้วจึงนำไปนึ่งให้สุก เพื่อประกอบอาหารต่อไป)
ชุมชนบริเวณจังหวัดชายทะเล นิยมนำกลอยที่หั่นบางๆ แล้วไปแช่น้ำทะเล เพื่อให้เกลือช่วยทำลายพิษแต่ต้องหมั่น เปลี่ยนน้ำ ส่วนใหญ่ใช้เวลาแช่และทับประมาณ 7 วัน นำไปตากแห้งจะเก็บไว้ได้นาน เมื่อจะนำมาประกอบอาหารก็แช่น้ำอีก 1 หรือ 2 คืน แล้วคั้นน้ำทิ้งก่อนที่จะทำการหุงต้ม บางคนนำมาแช่ในน้ำเกลือ แล้วถ่ายน้ำทิ้งหลายๆ ครั้ง หรือแช่น้ำไหล 7 วัน หรือมากกว่านี้ก่อนนำมาทำอาหาร
วิธีรักษาอาการพิษ
1. ให้ Phenobarbital หรือ Diazepam เพื่อป้องกันอาการชัก แต่ต้องระวังไม่ให้ในรายที่ขนาดของกลอยที่ได้รับนั้น ทำให้เกิดพิษลด motor activity หรือกดระบบประสาทส่วนกลางแล้ว ยาเหล่านี้อาจไปเสริมฤทธิ์แทนที่จะต้านฤทธิ์ของกลอย
2. การหยุดหายใจ อาจแก้โดยใช้ neostigmine
3. รักษาตามอาการ
* ข้อมูลจาก จุลสารข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีที่ 15 ฉบับที่ 4 กรกฎาคม 254

3.1..2 อาหารเป็นพิษจากการรับประทานกุ้งจ่อม ที่ ม.14 ต.โพนทราย อ.โพนทราย วันที่ 20 เมย.51
พบผู้ป่วย 9 ราย เพศชาย 5 ราย เพศหญิง 4 ราย อายุระหว่าง 31 - 66 ปี เข้ารับการรักษาที รพ.โพนทราย วันที่ 20 เม.ย.51 ผู้ป่วยนอก 7 ราย ผู้ป่วยใน 2 ราย อาการที่พบคือ คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง และถ่ายเป็นน้ำ จากการสอบสวนโรค พบว่า ผู้ป่วยทั้งหมดเป็นคณะกรรมการที่หน่วยเลือกตั้งที่ 21 หอประชุมโรงเรียนทรายทองวิทยา หมู่ที่ 14 ต.โพนทราย วันที่ 20 เม.ย.51 คณะกรรมการทั้งหมด 11 คน ได้รับประทานอาการเช้าร่วมกันที่หน่วยเลือกตั้ง อาหารที่รับประทาน มีดังนี้ ขนมปังปิ้ง เนื้อทอด กุ้งจ่อม ข้าวเหนียว และกาแฟ (เนื้อทอด ขนมปัง และข้าวเหนียว ซื้อมาจากตลาดสด อ.โพนทราย ส่วนกุ้งจ่อม
คณะกรรมการเลือกตั้งคนหนึ่ง เป็นคนทำเอง ในวันที่ 14 เม.ย.51 มีญาตินำกุ้งฝอยมาให้ 3 ถุง 2 ถุงแรกนำมาประกอบอาหารปรุงสุก ส่วนอีก 1 ถุง นำมาหมักทำเป็นกุ้งจ่อม และนำมา รับประทานในวันที่ 20 เม.ย.51 โดยไม่ได้ปรุงให้สุกก่อนรับประทาน อัตราป่วยในกลุ่มผู้ที่รับประทานกุ้งจ่อมเท่ากับ ร้อยละ 100 มีอาการหลังรับประทาน 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง 30 นาที การเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ RSC ผู้ป่วย 2 ราย อาเจียนผู้ป่วย1 ตัวอย่าง ไม่พบเชื้อก่อโรค ตัวอย่างอาหารที่เหลือ จากการรับประทาน จำนวน 3 ตัวอย่าง ตรวจพบเชื้อ Staphylococcus Coagulase positive ในตัวอย่างกุ้งจ่อม ทีม SRRT อ.โพนทราย ได้ให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนในพื้นที่ ค้นหาผู้ป่วยรายอื่นในชุมชนและติดตามเฝ้าระวังโรคอย่างต่อเนื่อง พบว่า ไม่มีผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้นอีก

3.2 สถานการณ์ไข้เลือดออก
ประเทศไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 25 เมษายน 2551 )
ตั้งแต่ 1 มกราคม – 25 เมษายน 2551 มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกทั้งประเทศรวม 11,856 ราย
ผู้ป่วยเสียชีวิต 13 ราย อัตราป่วยเท่ากับ 18.81 ต่อแสนประชากร อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.11
จำแนกรายภาค พบว่า ภาคกลาง มีอัตราป่วยสูงสุด ( อัตราป่วย 33.30 ต่อแสนประชากร) รองลงมา คือ ภาคใต้ ภาคเหนือ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อัตราป่วย 23.30 , 14.35 และ 5.15 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ
จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ จ.อ่างทอง (110.05 ต่อแสนประชากร) รองลงมา คือ จ.กระบี่ (95.46 ต่อแสนประชากร) จ.อยุธยา ( 64.81 ต่อแสนประชากร) จ.ราชบุรี (53.28 ต่อแสนประชากร) และจ.ประจวบคีรีขันธ์ ( 50.75 ต่อแสนประชากร)
เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 7
ตั้งแต่ 1 มกราคม – 25 เมษายน 2551 มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 230 ราย
ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต อัตราป่วย 3.05 ต่อแสนประชากร พบผู้ป่วย ในทุกจังหวัด จ.ร้อยเอ็ด มีอัตราป่วยสูงสุด รองลงมา คือ จ.มหาสารคาม และ จ.เลย
ตารางที่ 3 จำนวนผู้ป่วยและอัตราป่วยไข้เลือดออก จำแนกรายจังหวัด เขตตรวจสาธารณสุขที่ 7 ปี 2551
จังหวัด ประชากร ผู้ป่วย ผู้ป่วยตาย อัตราป่วย อัตราป่วยตาย
(ราย) (ราย) (ต่อแสน ปชก) (ร้อยละ)
เขตสาธารณสุขที่ 7
เขต 10 3,546,445 64 0 1.80 0.00
หนองคาย 902,618 14 0 1.55 0.00
หนองบัวลำภู 497,603 3 0 0.60 0.00
เลย 615,538 21 0 3.41 0.00
อุดรธานี 1,530,686 26 0 1.70 0.00
เขต 12 3,997,008 166 0 4.15 0.00
ขอนแก่น 1,752,414 46 0 2.62 0.00
มหาสารคาม 936,005 32 0 3.42 0.00
ร้อยเอ็ด 1,308,589 88 0 6.72 0.00
รวม 7,543,453 230 0 3.05 0.00

สถานการณ์โรคไข้เลือดออก จ.ร้อยเอ็ด ปี 2551
ตั้งแต่ 1 มกราคม 2550 - 26 เมษายน 2551 มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก 93 ราย ยังไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต อัตราป่วยเท่ากับ 7.11 ต่อแสนประชากร
จ.ร้อยเอ็ด มีอัตราป่วยอยู่ในลำดับที่ 53 ของประเทศ ลำดับที่ 6 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จำนวนผู้ป่วยในเดือนมกราคม – มีนาคม 2551 ใกล้เคียงกับค่ามัธยฐาน 5 ปี แต่น้อยกว่าปี 2550 ในช่วงเวลาเดียวกัน สำหรับในเดือนเมษายน จำนวนผู้ป่วยน้อยกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปี และน้อยกว่าปี 2550 ในช่วงเวลาเดียวกัน ดังนั้นเพื่อป้องกันการระบาดในช่วงฤดูฝนที่จะมาถึง ขอให้ทุกพื้นที่เร่งรัดกิจกรรมการป้องกันโรคล่วงหน้า การกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

รูปที่ 1 จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก จำแนกรายเดือน ปี 2550 เปรียบกับปี 2549 target line และมัธยฐาน 5 ปี
พื้นที่พบผู้ป่วยในปี 2551
- พบผู้ป่วยใน 12 อำเภอ ( 45 ตำบล 62 หมู่บ้าน 3 ชุมชน)
- อำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ อ.โพธิ์ชัย (อัตราป่วย 22.73 ต่อประชากรแสนคน) รองลงมา คือ อ.เสลภูมิ (อัตราป่วย 18.14 ต่อประชากรแสนคน) อ.อาจสามารถ (อัตราป่วย 17.43 ต่อประชากรแสนคน) อ.ทุ่งเขาหลวง (อัตราป่วย 16.72 ต่อประชากรแสนคน) และ อ.โพนทราย
(อัตราป่วย 10.84 ต่อประชากรแสนคน)
- อำเภอที่มีจำนวนผู้ป่วยในเดือน ม.ค. – เม.ย.51 มากกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปี ในช่วงเวลาเดียวกัน 8 อำเภอ คือ อ.เกษตรวิสัย อ.โพธิ์ชัย อ.โพนทอง อ.เสลภูมิ อ.สุวรรณภูมิ อ.อาจสามารถ อ.โพนทราย และ อ.ทุ่งเขาหลวง
- พื้นที่ที่มีการระบาดเป็นกลุ่ม คือ ม.14 บ้านสนามม้า ต.ขามเปี้ย อ.โพธิ์ชัย พบผู้ป่วยในช่วงเดือนเมษายน 4 ราย พบผู้ป่วยระหว่างวันที่ 31 มี.ค.51 - 8 เม.ย.51
ตารางที่ 4 จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก เดือน ม.ค. – เม.ย.51 จำแนกรายอำเภอ ปี 2551 เปรียบเทียบ
ปี 2550 และค่ามัธยฐาน 5 ปี ในช่วงเวลาเดียวกัน
อำเภอ ผู้ป่วย ปี 2551 ปี 2550 มัธยฐาน 5 ปี
(ปี 2545 -2549)
ม.ค. ก.พ. มี.ค เม.ย. รวม (ม.ค.- เม.ย.) (ม.ค.- เม.ย.)
เมือง 1 1 0 1 3 42 11
- ในเขตเทศบาล 1 1 0 1 3 10 0
- นอกเขต 0 0 0 0 0 32 11
เกษตรวิสัย 2 3 0 4 9 9 2
ปทุมรัตต์ 0 0 0 0 0 11 2
จตุรพักตรพิมาน 3 0 0 0 3 3 8
ธวัชบุรี 0 0 0 0 0 6 7
พนมไพร 0 0 1 1 2 6 3
โพนทอง 2 1 5 2 10 22 15
โพธิ์ชัย 5 1 2 5 13 6 1
หนองพอก 0 0 0 0 0 7 0
เสลภูมิ 8 3 7 4 22 83 16
สุวรรณภูมิ 3 3 1 3 10 31 7
เมืองสรวง 0 0 0 0 0 6 0
โพนทราย 0 0 2 1 3 1 0
อาจสามารถ 2 3 5 3 13 4 5
เมยวดี 0 0 0 0 0 2 0
ศรีสมเด็จ 0 0 0 0 0 0 0
จังหาร 0 0 0 0 0 19 7
เชียงขวัญ 0 0 0 0 0 1 2
หนองฮี 0 0 0 1 1 0 3
ทุ่งเขาหลวง 3 0 1 0 4 1 0
รวม 29 15 24 25 93 260 89
ข้อมูล ปี 2551 ณ วันที่ 26 เมษายน 2551


ตารางที่ 5 จำนวนผู้ป่วย / อัตราป่วย โรคไข้เลือดออก จำแนกรายอำเภอ จังหวัดร้อยเอ็ด ปี 2551
อำเภอ ประชากร DHF DSS รวม อัตราป่วย DF รวม 3 รหัส อัตราป่วย
(ราย) (ราย) DHF + DSS DHF + DSS (ราย) (ราย) รวม 3 รหัส
เมือง 154,721 1 0 1 0.65 2 3 1.94
-ในเขตเทศบาล 34,694 1 0 1 2.88 2 3 8.65
- นอกเขต 120,027 0 0 0 0.00 0 0 0.00
เกษตรวิสัย 99,084 3 0 3 3.03 6 9 9.08
ปทุมรัตต์ 53,043 0 0 0 0.00 0 0 0.00
จตุรพักตรพิมาน 81,256 2 0 2 2.46 1 3 3.69
ธวัชบุรี 67,941 0 0 0 0.00 0 0 0.00
พนมไพร 74,616 0 0 0 0.00 2 2 2.68
โพนทอง 107,449 7 0 7 6.51 3 10 9.31
โพธิ์ชัย 57,205 8 0 8 13.98 5 13 22.73
หนองพอก 64,988 0 0 0 0.00 0 0 0.00
เสลภูมิ 121,280 5 0 5 4.12 17 22 18.14
สุวรรณภูมิ 117,048 8 0 8 6.83 2 10 8.54
เมืองสรวง 23,541 0 0 0 0.00 0 0 0.00
โพนทราย 27,670 3 0 3 10.84 0 3 10.84
อาจสามารถ 74,587 3 0 3 4.02 10 13 17.43
เมยวดี 22,478 0 0 0 0.00 0 0 0.00
ศรีสมเด็จ 36,954 0 0 0 0.00 0 0 0.00
จังหาร 47,505 0 0 0 0.00 0 0 0.00
เชียงขวัญ 27,825 0 0 0 0.00 0 0 0.00
หนองฮี 25,469 0 0 0 0.00 1 1 3.93
ทุ่งเขาหลวง 23,929 2 0 2 8.36 2 4 16.72
รวมทั้งหมด 1,308,589 42 0 42 3.21 51 93 7.11
ที่มา จากรายงานโรคเร่งด่วน วันที่ 26 เมษายน 2551

สรุปผลการประเมินค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในพื้นที่รับผิดชอบ สคร.6 จ.ขอนแก่น
รอบที่ 1/2551 (สำรวจระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2551)
เกณฑ์การสำรวจ
1. สำรวจทุกอำเภอ โดยสุ่มในเขตเทศบาล 1 ชุมชน และนอกเขตเทศบาล 1 ชุมชน โดยใช้
หลักเกณฑ์การสุ่มสำรวจลูกน้ำยุงลายขององค์การอนามัยโลก ( WHO) ดังนี้
หมู่บ้าน 100-199 หลังคาเรือน สุ่มสำรวจ 45 หลัง
หมู่บ้าน 200-299 หลังคาเรือน สุ่มสำรวจ 51 หลัง
หมู่บ้าน 300-399 หลังคาเรือน สุ่มสำรวจ 54 หลัง
หมู่บ้าน 400-499 หลังคาเรือน สุ่มสำรวจ 55 หลัง
2. สำรวจวัด โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก ทุกแห่งในชุมชนที่สุ่มได้
3. สำรวจโรงพยาบาบในเขตอำเภอละ 1 แห่ง
เป้าหมาย
1. ร้อยละ 80 ของชุมชน มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ค่า HI ไม่เกิน 10
2. ร้อยละ 80 ของโรงพยาบาล วัด โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก มีดัชนีลูกน้ำยุงลาย ค่า CI = 0
ผลการสำรวจ
1. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย
ผลการประเมินค่าดัชนีลุกน้ำยุงลาย ในพื้นที่รับผิดชอบของ สคร.6 จ.ขอนแก่น ในภาพรวม
มีค่า HI = 22.48 และค่า CI = 2.41 จำแนกรายจังหวัด ดังนี้

ค่าดัชนี. ในภาพรวม ขอนแก่น สารคาม ร้อยเอ็ด อุดรธานี หนองคาย เลย หนองบัวลำภู
HI 21.08 34.71 20.26 19.03 19.67 25.95 16.67
CI 2.74 2.45 2.18 1.09 2.45 4.88 1.11

ร้อยละจำนวนแห่งที่สำรวจ
ค่าดัชนี ขอนแก่น สารคาม ร้อยเอ็ด อุดรธานี หนองคาย เลย หนองบัวลำภู
HI < 10 5.45 0 11.90 42.50 8.82 16.67 50.0
CI = 0 58.82 81.25 93.33 90.91 78.95 46.88 82.35


2. ประเภทภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลาย
ชนิดภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลายสูงสุด คือ อ่างอาบน้ำในห้องน้ำ รองลงมา คือ อ่างน้ำราดส้วม
และภาชนะอื่น ๆ ที่ไม่ใช้


3.3 สถานการณ์โรคเลปโตสไปโรซีส จังหวัดร้อยเอ็ด ปี 2551
ตั้งแต่ 1 มกราคม – 26 เมษายน 2551 มีรายงานผู้ป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรซีส จำนวน 9 ราย ไม่มีเสียชีวิต อัตราป่วยเท่ากับ 0.69 ต่อแสนประชากร
พื้นที่เกิดโรค กระจายใน 6 อำเภอ คือ คือ อ.เสลภูมิ 2 ราย อ.พนมไพร 2 ราย
อ.อาจสามารถ 2 ราย อ.เมยวดี อ.ศรีสมเด็จ และ อ.เกษตรวิสัย อำเภอละ 1 ราย
ตารางที่ 6 จำนวนผู้ป่วย โรคเลปโตสไปโรซีส จำแนกรายเดือน ปี 2550
อำเภอ เดือน รวม อัตราป่วย
ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. (ต่อแสน)
เมือง 0 0 0 0 0 0.00
-ในเขตเทศบาล 0 0 0 0 0 0.00
- นอกเขต 0 0 0 0 0 0.00
เกษตรวิสัย 1 0 0 0 1 1.01
ปทุมรัตต์ 0 0 0 0 0 0.00
จตุรพักตรพิมาน 0 0 0 0 0 0.00
ธวัชบุรี 0 0 0 0 0 0.00
พนมไพร 0 0 0 2 2 2.68
โพนทอง 0 0 0 0 0 0.00
โพธิ์ชัย 0 0 0 0 0 0.00
หนองพอก 0 0 0 0 0 0.00
เสลภูมิ 0 0 0 2 2 1.65
สุวรรณภูมิ 0 0 0 0 0 0.00
เมืองสรวง 0 0 0 0 0 0.00
โพนทราย 0 0 0 0 0 0.00
อาจสามารถ 1 1 0 0 2 2.68
เมยวดี 0 0 1 0 1 4.45
ศรีสมเด็จ 0 0 0 1 1 2.71
จังหาร 0 0 0 0 0 0.00
เชียงขวัญ 0 0 0 0 0 0.00
หนองฮี 0 0 0 0 0 0.00
ทุ่งเขาหลวง 0 0 0 0 0 0.00
รวมทั้งหมด 2 1 1 5 9 0.69
ที่มา : จากรายงานโรคเร่งด่วน ณ วันที่ 26 เมษายน 2551

3.4 สถานการณ์โรคเอดส์จังหวัดร้อยเอ็ด ประจำเดือนเมษายน 2551
สถานการณ์โรคเอดส์จังหวัดร้อยเอ็ดจากระบบรายงานผู้ป่วยโรคเอดส์ด้วยโปรแกรม AIDSOI ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งแต่มีนาคม 2532 – เมษายน 2551 มีผู้ ติดเชื้อHIV ทั้งหมด (ผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการและไม่มีอาการ) และผู้ป่วยเอดส์สะสมทั้งสิ้น 6,426 ราย เป็นผู้ติดเชื้อHIV ทั้งหมด (ผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการและไม่มีอาการ) 2,125 ราย ผู้ป่วยเอดส์ (AIDS) จำนวน 4,301 ราย และเสียชีวิตแล้ว 1,003 ราย คิดเป็นร้อยละ 23.3 ของผู้ป่วยเอดส์ทั้งหมด โดยพบผู้ป่วยเอดส์สะสมมากเป็นอันดับแรกที่อำเภอ โพนทอง รองลงมาคือเมืองและสุวรรณภูมิ
ผู้ป่วยเอดส์จำแนกตามกลุ่มอายุ พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในวัยแรงงานอายุระหว่าง 25- 34 ปี ร้อยละ 56.3 อัตราส่วนผู้ป่วยชายต่อผู้ป่วยหญิง 2.4 : 1
อาชีพที่พบมากเป็นอันดับแรกคือเกษตรกรรม ร้อยละ 44.4 รองลงมาคือรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 30.9 เด็กต่ำกว่าวัยเรียน ร้อยละ 3.7 อาชีพแม่บ้าน ร้อยละ 3.4 และอาชีพอื่นๆ ร้อยละ 17.6
ผู้ป่วยเอดส์จำแนกตามปัจจัยเสี่ยง พบว่าร้อยละ 88.9 ของผู้ป่วยเอดส์ติดจากการ มีเพศสัมพันธ์ รองลงมาคือติดเชื้อจากมารดา ร้อยละ 4.9 ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น ร้อยละ 2.2 การรับเลือด ร้อยละ 0.1 และไม่ทราบปัจจัยเสี่ยง ร้อยละ 3.9
โรคติดเชื้อฉวยโอกาสในผู้ป่วยเอดส์ พบมากที่สุดคือ วัณโรค ร้อยละ 27.2 รองลงมาคือ Cryptococcosis ร้อยละ 16.5 โรคปอดบวมจากการติดเชื้อ Pneumocystis carinii ร้อยละ 14.2 Pneumonia recurrent ร้อยละ 7.6 Candidiasis ของหลอดอาหาร หลอดลม ร้อยละ 3.9

ตารางที่ 7 จำนวนผู้ป่วยเอดส์ และผู้ติดเชื้อHIV ทั้งหมด (ผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการและไม่มีอาการ)
จังหวัดร้อยเอ็ด ( มี.ค. 2532 –20 เม.ย.2551 )

ประเภท จำนวนสะสมทั้งหมด ตายทั้งหมด
ชาย หญิง รวม
ผู้ป่วยเอดส์ 3,016 1,285 4,301 1,003
ผู้ติดเชื้อ HIV ทั้งหมด 1,360 765 2,125 110
รวม 4,376 2,050 6,426 1,113

ตารางที่ 8 จำนวนและอัตราต่อแสนของผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อที่มีอาการ จำแนกรายอำเภอ
ตามวันเดือนปีที่เริ่มป่วย จังหวัดร้อยเอ็ด (ข้อมูล ณ วันที่ 20 เมษายน 2551 )

อำเภอ ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ติดเชื้อHIV ทั้งหมด
(ผู้ติดเชื้อHIVที่มีอาการและไม่มีอาการ)
จำนวนสะสม ปี2551 อัตราต่อแสนประชากร จำนวนสะสม ปี2551 อัตราต่อแสนประชากร
เมือง 481 0 0.00 243 0 0.00
เกษตรวิสัย 296 1 1.01 114 9 9.08
ปทุมรัตต์ 114 0 0.00 65 0 0.00
จตุรพักตรพิมาน 230 0 0.00 115 0 0.00
ธวัชบุรี 368 2 2.94 101 2 2.94
พนมไพร 244 0 0.00 165 0 0.00
โพนทอง 483 7 6.51 121 7 6.51
โพธิ์ชัย 152 0 0.00 64 1 1.75
หนองพอก 88 0 0.00 36 0 0.00
เสลภูมิ 337 1 0.82 195 1 0.82
สุวรรณภูมิ 466 5 4.27 443 19 16.23
เมืองสรวง 114 1 4.25 72 2 8.50
โพนทราย 133 0 0.00 62 0 0.00
อาจสามารถ 157 0 0.00 59 0 0.00
เมยวดี 67 0 0.00 13 0 0.00
ศรีสมเด็จ 127 0 0.00 63 0 0.00
จังหาร 140 0 0.00 70 0 0.00
กิ่งเชียงขวัญ 118 1 3.59 44 1 3.59
กิ่งหนองฮี 61 0 0.00 52 0 0.00
กิ่งทุ่งเขาหลวง 123 0 0.00 26 0 0.00
ไม่ทราบอำเภอ 2 0 0.00 2 0 0.00
รวม 4,301 18 1.38 2,125 42 3.21
ที่มา : รายงานจากโปรแกรม AIDSOI สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
* จำนวนสะสม หมายถึงข้อมูลตั้งแต่ พ.ศ. 2532 - 20 เมษายน 2551


โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ปี 2551
ด้วยศูนย์ระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด จะจัดอบรมการใช้โปรแกรม VepiproW ในการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา สำหรับเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยและศูนย์ระบาดวิทยาอำเภอ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการข้อมูลเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาให้มีคุณภาพ ผู้เข้าประชุม คือ เจ้าหน้าที่จากสถานีอนามัยทุกแห่ง ๆ ละ 1 คน และผู้รับผิดชอบงานระบาดวิทยาของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอแห่งละ 1 คน รวม 250 คน โดยจัดการอบรมเป็น 5 รุ่น ๆ ละ 2 วัน ในระหว่างวันที่ 13 - 29 พฤษภาคม 2551 เวลา 08.30–16.30 น ณ ห้องประชุม 2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ดังนี้
- รุ่นที่ 1 วันที่ 13 – 14 พฤษภาคม 2551 ผู้เข้ารับการอบรม คือ เจ้าหน้าที่จากอำเภอเกษตรวิสัย ปทุมรัตต์ จตุรพักตรพิมาน และเมืองสรวง
- รุ่นที่ 2 วันที่ 15 – 16 พฤษภาคม 2551 ผู้เข้ารับการอบรม คือ เจ้าหน้าที่จากอำเภอโพนทอง พนมไพร หนองพอก และเมยวดี
- รุ่นที่ 3 วันที่ 20 – 21 พฤษภาคม 2551 ผู้เข้ารับการอบรม คือ เจ้าหน้าที่จากอำเภอเมืองร้อยเอ็ด อาจสามารถ โพธิ์ชัย และเชียงขวัญ
- รุ่นที่ 4 วันที่ 22 – 23 พฤษภาคม 2551 ผู้เข้ารับการอบรม คือ เจ้าหน้าที่จากอำเภอสุวรรณภูมิ ธวัชบุรี โพนทราย และหนองฮี
- รุ่นที่ 5 วันที่ 28 – 29 พฤษภาคม 2551 ผู้เข้ารับการอบรม คือ เจ้าหน้าที่จากอำเภอเสลภูมิ จังหาร ศรีสมเด็จ และทุ่งเขาหลว
ในการนี้ จึงขอให้ท่านแจ้งรายชื่อผู้เข้ารับการอบรม มายังศูนย์ระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ภายในวันที่ 8 พฤษภาคม 2551 และขอให้ผู้เข้ารับการอบรมนำเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีโปรแกรม HOSXP_PCU มาด้วย สำหรับค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าพาหนะให้เบิกจาก ต้นสังกัด