วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2553

โรคชิคุนกุน ยา

ชิคุนกุนยาไวรัส (ญี่ปุ่น: チクングンヤ熱; อังกฤษ: Chikungunya virus; CHIKV) เป็นเชื้อไวรัสที่มีแมลงเป็นพาหะนำโรค เป็นไวรัสในจีนัส Alphavirus ซึ่งติดต่อมาสู่มนุษย์ทางยุงลาย (Aedes) [1] การระบาดของ CHIKV ทำให้เกิดการพิการอย่างรุนแรงและทำให้เกิดความเจ็บป่วยและกลุ่มอาการคล้ายโรคไข้เลือดออก (dengue fever) โดยผู้ป่วยจะมีอาการไข้ (acute febrile phase) 2-5 วัน ตามด้วยอาการปวดข้อของแขนและขาเป็นระยะเวลานาน เป็นเวลาหลายอาทิตย์หรือเป็นเดือนๆ (prolonged arthralgic disease) [2][3]

ต้นกำเนิดของไวรัสชิคุนกุนยามาจากทวีปแอฟริกา โดยพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2495 บริเวณตอนใต้ของประเทศแทนซาเนีย ตั้งชื่อตามภาษา "Kimakonde"ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นของแอฟริกา ที่หมายถึงอาการปวดข้อรุนแรง ส่วนในประเทศไทยโรคชิคุนกุนยาถูกพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2501 โดยนายแพทย์ Prof.W McD Hamnon ได้ทำการแยกเชื้อจากผู้ป่วยในโรงพยาบาลเด็ก กรุงเทพฯ และมีการระบาดขึ้นอีกในปี พ.ศ. 2519 ที่ จ.ปราจีนบุรี, ปี พ.ศ. 2531 ที่ จ.สุรินทร์, ปี พ.ศ. 2534 ที่ จ.ขอนแก่น , ปี พ.ศ. 2536 ที่ จ.เลย และพะเยา, ปี พ.ศ. 2538 ที่ จ.นครศรีธรรมราช และหนองคาย[4]

อาการ และอาการแสดงของโรค

การติดเชื้อไวรัสนี้จะมีระยะฟักตัวของเชื้อ (incubation period) 2-4 วัน ทำให้มีไข้ประมาณ 40 องศาเซลเซียส และมีจุดเลือดออกหรือผื่น แดง (petechial or maculopapular rash) ในบริเวณลำตัวและอาจเกิดในบริเวณแขนและขาด้วย และมีอาการปวดข้อในหลายๆข้อ[5] อาการอื่นๆอาจรวมการปวดหัว (headache) เยื่อตาอักเสบหรือติดเชื้อ (conjunctival infection) และแพ้แสงเล็กน้อย (slight photophobia) โดยปกติไข้จะมีอยู่ประมาณ 2 วัน และหายไข้โดยทันที อาการอื่นๆ เช่น การปวดข้อ, การปวดหัวอย่างรุนแรง, นอนไม่หลับ ฯลฯ จะเป็นอยู่นานกว่าอาการไข้ คือตั้งแต่ 5-7 วัน [5] ทั้งนี้อาการปวดข้อของผู้ป่วยยังขึ้นกับอายุของผู้ป่วยด้วย[6][7]
[แก้] การ วินิจฉัยโรค

มักใช้การวินิจฉัยโดยกระบวนการ RT-PCR การแยกเชื้อไวรัส (virus isolation) และ การทดสอบทางระบบภูมิคุ้มกัน (serological tests)

* การแยกเชื้อไวรัสจะให้ผลที่แม่นยำที่สุด แต่ใช้เวลาถึง 1-2 สัปดาห์ และต้องทำการทดลองในห้องปฏิบัติการระดับ 3 (Biosafety level 3 laboratories) [8] โดยใช้วิธีการเก็บตัวอย่างเลือดผู้ป่วยมาตรวจหาเชื้อ
* RT-PCR โดยใช้ nested primer pairs เพื่อเพิ่มจำนวน (amplify) ยีนจำเพาะของเชื้อไวรัสจากเลือด โดยจะได้ผลการตรวจใน1-2วัน[8]
* การทดสอบทางระบบภูมิคุ้มกัน (Serological diagnosis) ต้องใช้เลือดผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก และใช้วิธี ELISAเพื่อตรวจหาระดับแอนติบอดี้-M ต่อเชื้อชิคุนกุนยา (Chikungunya-specific IgM levels) โดยใช้เวลา 2-3 วัน สามารถให้ผลบวกปลอมได้ (false positives) ซึ่งอาจเกิดจากการที่ร่างกายมีแอนติบอดี้ต่อ ไวรัสO'nyong'nyong และ ไวรัสSemliki Forest[8]

[แก้] การ ป้องกันโรค

วิธีในการป้องกันการติดเชื้อที่ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยงการถูกยุงกัดและ การกำจัดลูกน้ำยุงลาย อาจใช้ยากันยุงที่มีสารไล่แมลง เช่น DEET (N,N-Diethyl-meta-toluamide; หรือที่รู้จักในชื่อสูตร N,N'-Diethyl-3-methylbenzamide หรือ NNDB), icaridin (picaridin หรือ KBR3023), PMD (p-menthane-3,8-diol, สารสะกัดจากต้นเลมอนยูคาลิปตัส), หรือ IR3535 เป็นต้น ทั้งนี้สารพวกpyrethroidsซึ่งเป็น ยาฆ่าแมลงก็มีฤทธิ์ในการไล่แมลงได้ด้วย เช่น pyrethroidsแบบระเหิด (ที่ใส่ในขดยากันยุง) ติดมุ้งลวดตามที่อยู่อาศัย ใส่เสื่อผ้าที่มิดชิด เป็นต้น
[แก้] การ รักษา

ทั้งนี้ ยังไม่มีการรักษาหรือวัคซีนสำหรับเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาโดยเฉพาะ โดยจากการทดลองในสหรัฐอเมริกาพบว่าเชื้อจะเกิดการต้านทานต่อวัคซีน[9]

ยาคลอโรควิน (Chloroquine) สามารถช่วยควบคุมการเกิดกลุ่มอาการจากการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาได้ และช่วยลดการอักเสบในข้อต่างๆด้วย แต่ทั้งนี้ยังอยู่ในขั้นการทดลองใช้กับผู้ป่วยในประเทศต่างๆเท่านั้น (ยังไม่จัดเป็นยาที่รักษาจำเพาะต่อเชื้อนี้) ทั้งนี้มีรายงานว่าไม่ควรใช้ยาแก้ปวด เช่น aspirin, ibuprofen, naproxen และ NSAIDs ชนิดอื่นๆที่ใช้กับอาการปวดและมีไข้ในโรคอื่นๆด้วย
[แก้] การ ทำนายอาการโรค

การหายจากโรคจะขึ้นกับอายุของผู้ป่วย ในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยจะหายภายใน 5-15 วัน ผู้ป่วยวัยกลางคนจะหายภายใน 1-2.5 เดือน คือ ยิ่งอายุมากยิ่งหายจากอาการของโรคช้านั่นเอง ซึ่งเป็นแนวโน้มเดียวกับความรุนแรงของอาการของโรคด้วย ซึ่งผู้ที่อายุน้อยและสตรีที่ตั้งครรภ์จะมีความรุนแรงของโรคน้อยกว่า

ตาอักเสบ (Ocular inflammation) แบบ iridocyclitis และอาจเกิดแผลที่เรตินาได้[10]

ขาบวม (Pedal oedema) สามารถพบได้ แต่ยังไม่ทราบความเกี่ยวข้องกับโรคแน่ชัด เพราะโรคไม่ได้มีผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต ตับ หรือไตแต่ประการใด
[แก้] ระบาด วิทยา

ไวรัสชิคุนกุนยาเป็น alphavirus คล้ายกับไวรัส O'nyong'nyong[11] ไวรัสRoss River ในออสเตรเลีย และไวรัสที่ทำให้เกิดโรคสมองอักเสบชนิด eastern equine encephalitis และ western equine encephalitis[12]
ยุง Aedes aegypti กำลังกัดผิวมนุษย์

โดยปรกติ เชื้อจะแพร่โดยยุง Aedes aegypti แต่จากการค้นคว้าของ Pasteur Institute ในปารีส กล่าวว่า ไวรัสชิคุนกุนยาสายพันธุ์ที่ระบาดในปี 2005-2006 บริเวณ Reunion Island ได้เกิดการผ่าเหล่าซึ่งทำให้สามารถถ่ายทอดโดยยุงเสือได้ (Aedes albopictus) [13] ผู้เชี่ยวชาญด้านการระบาดของโรคที่มีแมลงเป็นพาหะที่ University of Texas Medical Branch in Galveston Texas ได้ยืนยันในการผ่าเหล่านี้ว่าเกิดจาก point mutationใน ยีนเอนเวโลป (envelope genes) E1[14].[15] การผ่าเหล่านี้ทำให้การระบาดสามารถขยายวงกว้างไปสู่บริเวณที่มียุงเสือด้วย นั่นเอง

ในแอฟริกา เชื้อจะระบาดแบบ sylvatic cycle คือเชื้อจะอาศัยอยู่ในร่างกายของสัตว์พวก primates และถ่ายทอดวนมาสู่คน[12]

วันที่ 28 พฤษภาคม 2552 ในจังหวัดตรังของประเทศไทยซึ่งไวรัสชิคุนกุนยาระบาดมากในภาคใต้โดยเฉพาะใน หมู่ทหาร แพทย์โรงพยาบาลจังหวัดตรังทำคลอดก่อนกำหนดให้แก่นางขวัญฤทัย สุดเมือง อายุ 28 ปี ผู้ติดไวรัสนี้ เนื่องจากเกรงการส่งผ่านเชื้อระหว่างมารดาสู่ทารก อย่างไรก็ดี เมื่อผ่าตัดทำคลอดนำทารกเพศชายออกมาได้โดยปลอดภัยแล้วกลับพบว่าทารกก็ติด ไวรัสนี้ด้วย โดยมีอาการไม่สามารถหายใจเองได้และไม่สามารถดื่มนมได้ แพทย์จึงเฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิด โดยสันนิษฐานว่าไวรัสชิคุนกุนยาสามารถส่งผ่านจากแม่สู่ลูกได้ ขณะที่ยังไม่มีการยืนยันจากห้องปฏิบัติการถึงข้อสันนิษฐานนี้[16]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น