1. ชื่อโครงการ : โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกเครือข่ายโรงพยาบาลห้วยพลู
2. หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศนานกว่า 40 ปี โดยพบทั่วไปทั้งในเขตเมืองและในเขตชนบท โดยเฉพาะในเขตปริมณฑลที่มีประชากรหนาแน่นและมีการคมนาคมสะดวก สถานการณ์ไข้เลือดออกจังหวัดนครปฐม พบว่าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 20 กันยายน พ.ศ. 2551 นี้พบผู้ป่วยไข้เลือดออกแล้ว จำนวน 1,862 ราย (อัตราป่วย 225.78 ต่อแสนประชากร) มีผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย ติดอันดับที่ 5 ของประเทศ (แหล่งข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม สืบค้น ณ วันที่ 27 กันยายน 2551)
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก เครือข่ายโรงพยาบาลห้วยพลู ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณพบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 164 ราย (อัตราป่วย 385.24 ต่อแสนประชากร) โดยปีนี้มีการระบาดของเชื้อไข้เลือดออกสายพันธุ์ 1 และ 3 ซึ่งไม่มีการระบาดจากสายพันธุ์นี้มาหลายปีแล้ว จึงเห็นได้ว่าถึงแม้จะมีการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก ทุก 3 เดือนอย่างสม่ำเสมอก็ยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกตลอด และจะมีการระบาดในช่วงฤดูฝน
ทุกสถานบริการในเครือข่ายตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโรงพยาบาลห้วยพลู เห็นความสำคัญดำเนินการควบคุมและการป้องกันโรคที่เข้มแข็งและมีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการประสานความร่วมมือกับชุมชนในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของส่วนราชการ องค์กรท้องถิ่นและชุมชน เพื่อให้สามารถควบคุมและป้องกันตนเองรวมทั้งควบคุมไม่ให้โรคไข้เลือดออกระบาดในชุมชนต่อไป และสามารถลดการระบาดของโรคได้ในที่สุด
3. วัตถุประสงค์
3.1 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 111 ต่อประชากรแสนคน (ลด 20 % ของค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง)
3.2 เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินงานทั้งภาครัฐ และกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในเครือข่ายโรงพยาบาลห้วยพลู
3.3 เพื่อลดจำนวนลูกน้ำยุงลายในภาชนะ ( ค่า HI และ CI ) ของชุมชนในเครือข่ายโรงพยาบาลห้วยพลู
4. ขอบเขตของโครงการ
ชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบของเครือข่ายโรงพยาบาลห้วยพลู จำนวน 10 ตำบล
5. วิธีดำเนินการ
5.1 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
5.2 ประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินงานรณรงค์ไข้เลือดออกในแต่ละช่วง
5.3 จัดซื้อทรายเคลือบสารทีมีฟอสและน้ำยาเคมีสนับสนุนการรณรงค์ และใช้ในการควบคุมโรคในกรณีที่มีการระบาด
5.4 จัดทำกิจกรรมตามแนวคิดของที่ประชุม
5.5 ประเมินผลการดำเนินงานในแต่ละช่วงของการรณรงค์ โดยเปรียบเทียบจากค่า HI,CI ครั้งที่ผ่านมา
5.6 ประเมินผลอัตราป่วยในแต่ละตำบล
6. ระยะเวลาดำเนินการ
สัปดาห์การรณรงค์ไข้เลือดออกตามกระทรวงสาธารณสุข
ครั้งที่1 กลางเดือนพฤศจิกายน 2551
ครั้งที่ 2 กลางเดือนกุมภาพันธ์ 2552
ครั้งที่ 3 กลางเดือนพฤษภาคม 2552
ครั้งที่ 4 กลางเดือนสิงหาคม 2552
7. ผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการ
7.1 ผลผลิต
จำนวนหลังคาเรือนในเครือข่ายโรงพยาบาลห้วยพลู จำนวน 10 ตำบล ได้รับการดูแลกำจัดลูกน้ำยุงลาย 7.2 ผลลัพธ์
จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงกว่าปีที่ผ่านมา
8. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง ไม่เกิน 111 ต่อแสนประชากร (ลด 20 % ของค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง)
9. ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์
9.1 ยุทธศาสตร์การสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม
ตัวชี้วัดที่ 1 จำนวนโรคที่เป็นปัญหาของจังหวัดนครปฐมที่สามารถลดหรือควบคุมอัตราป่วยได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด
9.2 ยุทธศาสตร์ของเครือข่าย
ตัวชี้วัดที่ 1 จำนวนโรคที่เป็นปัญหาของเครือข่ายโรงพยาบาลห้วยพลูที่สามารถลดหรือควบคุมอัตราป่วยได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด
10. ทรัพยากรและงบประมาณ
10.1 ทรัพยากร
เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลและสถานีอนามัยในเครือข่ายโรงพยาบาลห้วยพลู
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
ผู้นำชุมชน
องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
ครู ชมรมต่าง ๆ ในเครือข่ายโรงพยาบาลห้วยพลู
10.2 งบประมาณ
ใช้งบประมาณจาก งบ PP. community ปีงบประมาณ 2552 ดังรายการต่อไปนี้
- ค่าทรายอะเบท หลังคาเรือนละ 60 กรัม จำนวน 10 สถานบริการสาธารณสุข รวมครั้งละ 28 ถัง ราคาถังละ 3,500 บาท เป็นเงิน 98,000 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 196,000 บาท
2. ค่าน้ำยาพ่นยุงตัวแก่ หมู่ละ 1 ขวด ราคาขวดละ 1,200 บาท จำนวน 42 หมู่ เป็นเงิน 50,400 บาท
3. ค่าอาหารและเครื่องดื่มสำหรับออกรณรงค์ไข้เลือดออก หมู่ละ 1,000 บาท จำนวน 42 หมู่ เป็นเงิน 42,000 บาท จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 168,000 บาท
4. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในการออกรณรงค์ไข้เลือดออก หมู่ละ 500 บาท จำนวน 42 หมู่
เป็นเงิน 21,000 บาทจำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 84,000 บาท
รวมเป็นเงิน 498,400 บาท
หมายเหตุ สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ
11. การประเมินผล
11.1 เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในเครือข่ายโรงพยาบาลห้วยไม่เกิน 111 ต่อประชากรแสนคน
11.2 เกิดความร่วมมือในการดำเนินงานระหว่างหน่วยราชการและกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในเครือข่าย โรงพยาบาลห้วยพลู
11.3. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในวัด โรงเรียนมีค่าเท่ากับ 0
11.4 ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชน (HI) น้อยกว่า 10 จำนวนมากกว่าร้อยละ 80 ของหลังคาเรือน
12. ประโยชน์ที่ได้รับ
12.1 สามารถพัฒนาแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
12.2 มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐและชุมชนในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
ลงชื่อ ………………………….. ผู้รับผิดชอบโครงการ (นางสาวพิมพ์ลดา อนันต์สิริเกษม)
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
ลงชื่อ ………………………… ผู้เสนอโครงการ
(นางสาวอุไร บุญญะกรรจ์)
หัวหน้ากลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน
ลงชื่อ ………………………… ผู้เห็นชอบโครงการ
(นายสมบูรณ์ มณฑาสุวรรณ)
สาธารณสุขอำเภอนครชัยศรี
ลงชื่อ …………………………….. ผู้เห็นชอบโครงการ
(นายมนตรี บุญญเลสนิรันตร์)
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลห้วยพลู
ลงชื่อ …………………………….. ผู้อนุมัติโครงการ
ผังกำกับงาน โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกเครือข่ายโรงพยาบาลห้วยพลู
กิจกรรม ต.ค. พ.ย. ธ.ค ม.ค ก.พ มี.ค เม.ย พ.ค. มิ.ย ก.ค ส.ค. ก.ย.
จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
ประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการรณรงค์
จัดทำกิจกรรมตามแนวคิดของที่ประชุม
ประเมินผลการดำเนินงานในแต่ละช่วงของการรณรงค์
ประเมินผลอัตราป่วยในแต่ละตำบล
ใช้ใน Excel
แผนปฏิบัติการสาธารณสุข ประจำปี 2552
หน่วยงาน โรงพยาบาลห้วยพลู ตำบลห้วยพลู อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
ชื่อแผนงาน โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกเครือข่ายโรงพยาบาลห้วยพลู
สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ที่ (ของจังหวัดและหรือเครือข่าย)
การบูรณาการโครงการ ( / ) เครือข่าย ( ) อบต. ( )โรงเรียน อื่น ๆ ระบุ
รายละเอียดกิจกรรม
วัตถุประสงค์
กลุ่มเป้าหมาย
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
แหล่งงบประมาณ
งบประมาณ (บาท)
ระยะเวลาดำเนินการ พื้นที่ดำเนินการ
ตำบล หมู่บ้าน
- จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
- ประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
- จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการรณรงค์
- จัดทำกิจกรรมตามแนวคิดของที่ประชุม
- ประเมินผลการดำเนินงานในแต่ละช่วงของการรณรงค์
- ประเมินผลอัตราป่วยในแต่ละตำบล - เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 111 ต่อประชากรแสนคน (ลด 20 % ของค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง
- เพื่อลดจำนวนลูกน้ำยุงลายในภาชนะ ( ค่า HI และ CI ) ของชุมชนในเครือข่ายโรงพยาบาลห้วยพลู
ชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบของเครือข่ายโรงพยาบาลห้วยพลู จำนวน 10 ตำบล
อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง ไม่เกิน 111 ต่อแสนประชากร งบประมาณจาก งบ PP. community ปี งบประมาณ 2552 498,400 สัปดาห์การรณรงค์ไข้เลือดออกตามกระทรวงสาธารณสุข
ครั้งที่1 กลางเดือนพฤศจิกายน 2551
ครั้งที่ 2 กลางเดือนกุมภาพันธ์ 2552
ครั้งที่ 3 กลางเดือนพฤษภาคม 2552
ครั้งที่ 4 กลางเดือนสิงหาคม 2552 10 ตำบลเครือข่ายโรงพยาบาลห้วยพลู 42 หมู่บ้านเครือข่ายโรงพยาบาลห้วยพลู
วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น