รายงานการสอบสวนโรคไข้เลือดออกเด็กทรงสิทธิ์ สงเกื้อ
38/6 หมู่ที่ 5 ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
วันที่ 5 มกราคม 2553
1.ความเป็นมา
วันที่ 5 มกราคม 2553 เวลา 09.00 น. ได้รับแจ้งจากนางสาวฉะอ้อน นายสู สมาชิก ทีม SRRT หมู่ที่ 5 เทศบาลตำบลท่าช้าง ว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิขรินทร์ จำนวน 2 ราย คือ ด.ช.ทรงสิทธิ์ สงเกื้อ อายุ 11 ปี ที่อยู่ 38/6 หมู่ที่ 5 ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา เริ่มป่วยวันที่ 30 ธันวาคม 2552 เข้ารับการรักษาวันที่ 31 ธันวาคม 2552 ด้วยอาการ มีไข้สูง ไอมีเสมหะสีขาว น้ำมูกเขียว แพทย์ตรวจรักษาและแนะนำกลับไปรักษาต่อที่บ้าน วันที่ 2 มกราคม 2553 อาการไม่ดีขึ้นผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิขรินทร์ แพทย์รับเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลศิขรินทร์ และ ด.ช.ธนยุทธ สงเกื้อ อายุ 4 ปี เริ่มป่วยวันที่ 31 ธันวาคม 2552 ด้วยอาการไข้สูง น้ำมูกใส ไอมีเสมหะสีขาว เข้ารับการรักษาวันที่ 2 มกราคม 2553 แพทย์รับการรักษาเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลศิขรินทร์
ดังนั้นวันที่ 5 ธันวาคม 2552 เวลา 11.00 น ทีม SRRT เทศบาลตำบลท่าช้าง ได้อออกดำเนินการสวนโรคเพื่อหาสาเหตุการเกิดโรคและค้นหาผู้สัมผัสโรค พร้อมดำเนินการพ่นสารเคมีทำลายยุงตัวเต็มวัยในพื้นที่ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่
2.ผลการสอบสวนโรค
ประวัติผู้ป่วย เด็กชายทรงสิทธิ์ สงเกื้อ อายุ 11 ปี ที่อยู่ 38/6 หมู่ที่ 5 ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา เรียนหนังสือชั้นประถมปีที่ 5 โรงเรียนพลวิทยา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เริ่มป่วย 30 ธันวาคม 2552 เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิขรินทร์ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ด้วยอาการ มีไข้สูง ไอมีเสมหะสีขาว น้ำมูกเขียว วันที่ 2 มกราคม 2553 อาการไม่ดีขึ้นผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิขรินทร์ ด้วยอาการ ไข้สูง ไอมีเสมหะสีเขียว มีน้ำมูกเขียว ปวดเมื่อยตามร้างกาย แพทย์รับเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลศิขรินทร์ จากการสัมภาษณ์มารดาผู้ป่วย ได้ความว่าผู้ป่วยเรียนหนังสือที่โรงเรียนพลวิทยา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ผู้ป่วยเดินทางไป กลับระหว่างบ้านและโรงเรียน
อาการสำคัญ วันที่ 4 มกราคม 2553 ผู้ป่วย มีอาการ ไข้ ไอ น้ำมูกใส
ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน เริ่มป่วย 30 ธันวาคม 2552 เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิขรินทร์ 31 ธันวาคม 2552 ด้วยอาการ มีไข้สูง ไอมีเสมหะสีขาว น้ำมูกเขียว แพทย์ตรวจรักษาแล้วแนะนำไปรักษาตัวที่บ้าน วันที่ 2 มกราคม 2553 อาการไม่ดีขึ้นผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิขรินทร์ ด้วยอาการ ไข้สูง ไอมีเสมหะสีเขียว มีน้ำมูกเขียว ปวดเมื่อยตามร้างกาย แพทย์รับเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลศิขรินทร์
ผลชันสูตรทางห้องปฏิบัติการ
3.ผลการดำเนินงานควบคุมโรค
การสอบสวนโรคที่บ้าน วันที่ 5 มกราคม 2553 จากการเยี่ยมบ้านเพื่อสอบสวนและควบคุมโรคของทีม SRRT เทศบาลตำบลท่าช้าง พบว่า สภาพบ้านผู้ป่วยเป็นบ้านเช่าลักษณะห้องเช่าปูนซีเมนต์ชั้นเดียว และจากการสอบถามมารดาผู้ป่วยพบว่าผู้ป่วยไม่ได้เดินทางไปไหน นอกจากเดินทางไปโรงเรียนในตอนเช้า และเดินทางกลับบ้านตอนเย็นหลังเลิกเรียน ได้สำรวจภาชนะขังน้ำในบ้าน จำนวน 4 ภาชนะ ไม่พบลูกน้ำ สำรวจภาชนะขังน้ำรอบบริเวณห้องเช่า จำนวน 6 ภาชนะไม่พบลูกน้ำยุงลาย และให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออกแก่ มารดาผู้ป่วย โดยแนะนำให้มารดาผู้ป่วยขัดล้างภาชนะในห้องน้ำและดำเนินการใส่ทรายทรีมีฟอร์สในภาชนะ เพื่อป้องกันยุงลายวางไข่ จำนวน 4 ภาชนะ
วันที่ 5 มกราคม 2553 จากสัมภาษณ์ นางจุไลวรรณ สงเกื้อ มารดาผู้ป่วย ได้ความว่า สมาชิกในครอบครัวมีจำนวน 5 คน ดังนี้
1. นายสมบัติ สงเกื้อ อายุ 42 ปี บิดาผู้ป่วย
2. นางจุไรวรรณ สงเกื้อ อายุ 31 ปี มารดาผู้ป่วย
3. เด็กชายทรงสิทธิ์ สงเกื้อ อายุ 11 ปี ผู้ป่วย
4. เด็กชายธนยุทธ สงเกื้อ อายุ 4 ปี น้องชายผู้ป่วย
5. เด็กหญิงเขมจิรา สงเกื้อ อายุ 3/12 ปี น้องผู้ป่วย
มีสมาชิกในครอบครัวป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 1 ราย คือเด็กชายธนยุทธ สงเกื้อ อายุ 4 ปี เริ่มป่วยวันที่ 31 ธันวาคม 2552 เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิขรินทร์ วันที่ 2 มกราคม 2553 แพทย์รับรักษาเป็นผู้ป่วยใน และบิดาผู้ป่วยมีอาการไข้ ไอแห้ง ๆ น้ำมูกใส
การควบคุมโรคในบริเวณใกล้เคียงบ้านผู้ป่วย ได้สำรวจลูกน้ำยุงลายและทำลายแหล่ง เพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในบ้านใกล้เคียงบ้านผู้ป่วย พร้อมพ่นสารเคมีทำลายยุงตัวเต็มวัย จำนวน 20 หลังคาเรือน สำรวจภาชนะทั้งหมด 56 ภาชนะ พบลูกน้ำ จำนวน 14 ภาชนะ
การควบคุมโรคในหมู่บ้าน
ได้ประสานสมาชิกทีม SRRT หมู่ที่ 5 เทศบาลตำบลท่าช้าง เพื่อแจ้งสถานการณ์โรคพร้อมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก รวมทั้งขอความร่วมมือประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่เห็นความสำคัญในการดำเนินการสำรวจ และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในครัวเรือน เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยเน้นกิจกรรมการดำเนินงานดังนี้
1. แนะนำให้ความรู้แก่ญาติผู้ป่วยในเรื่องการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก
2. ดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและพ่นหมอกควันทำลายยุงตัวเต็มวัยในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียง
3. ประสานเจ้าหน้าที่ประจำสถานีอนามัยบ้านป่ายางในการให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ ในเรื่องการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกและเฝ้าระวังติดตาม ดูอาการของประชาชนในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียงเพื่อค้นหาผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับโรคไข้เลือดออกเพื่อประโยชน์ในการรักษาและควบคุมโรคต่อไป
4. ประสานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่ที่ 5 ในการออกให้คำแนะนำประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบเรื่องการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
4. แนวโน้มการระบาดของโรค
จากข้อมูลการสอบสวนและควบคุมโรคของทีม SRRT ตำบลท่าช้าง คาดว่าผู้ป่วยน่าจะได้รับเชื้อจากในหมู่บ้านเนื่องจากผู้ป่วยไม่ได้เดินทางไปค้างคืนที่อื่นและจากการค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในบริเวณบ้านผู้ป่วย พบว่ามีน้องชายป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและบิดาผู้ป่วยมีอาการไข้ มีน้ำมูก ไอมีเสมหะ และการสำรวจภาชนะขังน้ำในบ้านผู้ป่วยจำนวน 4 ภาชนะ ไม่พบลูกน้ำยุงลาย และจากการสำรวจลูกน้ำยุงลายในบริเวณบ้านใกล้เคียงจำนวน 56 ภาชนะ พบลูกน้ำยุงลาย 14 ภาชนะ ทีม SRRT เทศบาลตำบลท่าช้างร่วมกับคุณขนิษฐา ทองเย็น ผู้รับผิดชอบงานระบาดวิทยาและควบคุมโรคโรงพยาบาลบางกล่ำ ได้ประสานขอความร่วมมือจาก คุณฮำดะ หมัดศิริ สมาชิกสภาเทศบาลตำบลท่าช้าง ในการประสานผู้นำชุมชนหมู่ที่ 5 เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเห็นความสำคัญในการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย รวมทั้งประสานผู้รับผิดชอบงานระบาดวิทยาและควบคุมโรค สถานีอนามัยบ้านป่ายาง ในการดำเนินการให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องมาตรการการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออก โดยการแนะนำเจ้าของบ้านให้ดำเนินการขัดล้างภาชนะขังน้ำทุกวันศุกร์หรือให้นำทรายทรีมีฟอร์สใส่ในภาชนะขังน้ำ เช่น ในโอ่งน้ำหรือภาชนะในห้องน้ำพร้อมทำลายภาชนะที่ไม่ใช้ประโยชน์รอบบริเวณบ้านโดยการดำเนินการของเจ้าของบ้านร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขที่รับผิดชอบครัวเรือน ทำให้คาดการได้ว่าแนวโน้มของโรคน่าจะลดลง
5. สรุปความสำคัญเร่งด่วน
จากสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออก ในบ้านเลขที่ 38/6 หมู่ที่ 5 ตำบลท่าช้าง มีผู้ป่วยได้รับการยืนยัน จำนวน 2 ราย และมีผู้มีอาการป่วยที่ยังไม่ได้รับการยืนยันอีก 1 รายประกอบกับช่วงนี้มีฝนตกบ่อย หากไม่ร่วมกันรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายจะส่งผลให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้ จึงมีความจำเป็นที่ต้องหามาตรการการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรค เช่น มีการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายทุกวันศุกร์ มีการปกปิดภาชนะที่มีน้ำขัง หรือมีการขัดล้างภาชนะขังน้ำดูแลบริเวรบ้านเรือนและที่เลี้ยงสัตว์ให้แห้งไม่ให้มีแอ่งน้ำขังเฉอะแฉะ เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคต่อไป
ข้อเสนอแนะ
ประสานงานกับ สถานีอนามัยบ้านป่ายางในการประสานความร่วมมือในการดำเนินงานรวมทั้งประสาน สมาชิกทีม SRRT หมู่ที่ 5 เทศบาลตำบลท่าช้าง และอาสาสมัคสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อประชาสัมพันธ์การสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในเรื่องการป้องกันโรคและหลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงด้วยการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายทุกวันศุกร์ มีการปกปิดภาชนะที่มีน้ำขัง หรือ มีการขัดล้างภาชนะขังน้ำ ดูแลบริเวณบ้านเรือนไม่ให้มีแอ่งน้ำขังเฉอะแฉะ เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคต่อไป
(นายวิทยา ทิพย์มณี)
นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลท่าช้าง
วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น