วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553

การสอบสวนการระบาดโรคไข้เลือดออก

การสอบสวนการระบาดโรคไข้เลือดออก
บ้านดอนน้ำคำ หมู่ที่ 10 ตำบลสวนจิก อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
ระหว่างวันที่ 29 เมษายน - 7 พฤษภาคม 2552
ประมูล จันนะรา พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ
สถานีอนามัยบ้านสวนจิก
กาลเวลา ดังก้อง หัวหน้าสถานีอนามัยบ้าสวนจิก
………………………………………………………………………………………………………………
บทคัคย่อ
วันที่ 29 เมษายน 2552 เวลา 16.25 น. สถานีอนามัยบ้านสวนจิก ได้รับแจ้งจากศูนย์ปฏิบัติการป้องกันควบคุมโรคติดต่ออำเภอศรีสมเด็จว่าพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกมารับการรักษาพยาบาลที่โรง พยาบาลศรีสมเด็จ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานระบาดวิทยาของสถานีอนามัยบ้านสวนจิกได้ดำเนินการสอบสวนโรคในวันที่ 29 เมษายน 2552 เวลา 17.00 น. ใช้วิธีการศึกษาระบาดวิทยา เชิงพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการคำนวณหาค่าจำนวนร้อยละ และค่าเฉลี่ย โดยเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่นอนพักในโรงพยาบาลและการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในพื้นที่ผู้ป่วยจากการสอบถาม อสม.และประชาชนทั่วไป กำหนดนิยามผู้ป่วยหมายถึงผู้ป่วยที่มีอาการไข้สูง ร่วมกับอาการอื่นๆอย่างน้อย 1 อาการดังนี้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ซึม ปวดท้อง ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ ในช่วงวันที่ 29 เมษายน 2552 -7 พฤษภาคม 2552 ไม่พบผู้ป่วยที่สงสัยในพื้นที่เพิ่มเติม ผลการสอบสวนพบว่าผู้ป่วยชื่อ ชื่อ นายจิรวุธ แก้วไพทูลย์ บ้านเลขที่ 55 หมูที่ 10 ตำบลสวนจิก อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาก่อนป่วยผู้ป่วยไม่ได้เดินทางออกนอกพื้นที่ วันเริ่มป่วยวันที่ 10 เมษายน 2552 มีอาการไข้ปวดศีรษะปวดตามกล้ามเนื้อ จึงไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลศรีสมเด็จ วันที่ 12 เมษายน 2552 ด้วยอาการ ไข้ปวดตามร่างกาย เจ็บคอ แพทย์วินิจฉัย Pharyngitis ให้ยากลับไปรับประทานที่บ้าน อาการไข้ ปวดศีรษะ ยังไม่หายขาด วันที่ 19 เมษายน 2552 มีอาการไข้สูงหนาวสั่น อ่อนเพลียมาก ไปหาหมอที่คลินิกพยาบาล ได้ยามารับประทานที่บ้าน อาการทุเลาแต่ไม่หายขาดยังมีไข้ อ่อนเพลีย รับประทานอาหารได้น้อยมาเรื่อย ๆ ร่วมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลวเป็นน้ำ 5 ครั้ง ร่วมกับถ่ายเป็นสีดำคล้ำ 1 ครั้ง ญาติเห็นอาการไม่ดีจึงพามา โรงพยาบาลศรีสมเด็จ วันที่ 28 เมษายน 2552 ด้วยอาการ ไข้ อ่อนเพลีย รับประทานอาหารได้น้อยคลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลว 5 ครั้ง ถ่ายเป็นน้ำสีดำคล้ำ 1 ครั้ง V/S T = 38.8 องศาเซลเซียส PR = 96 ครั้ง/นาที RR = 40 ครั้ง / นาที BP = 80/60 mmhg แพทย์ให้นอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลศรีสมเด็จ แนวทางการควบคุมป้องกัน ทางเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยบ้านสวนจิกพร้อมกับ อสม.ได้ดำเนินการควบคุมป้องกันโรคโดยการรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย จน ค่า HI เป็น 0 ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าวในหมู่บ้าน ควบคุมและป้องกันโรคทั้งทางด้านชีวภาพและกายภาพอย่างต่อเนื่อง ผลการเฝ้าระวังไม่พบผู้ป่วยในพื้นที่เพิ่มเติม ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน 2552 ถึง วันที่ 7 พฤษภาคม 2552
บทนำ
วันที่ 29 เมษายน 2552 เวลาประมาณ 09.45 น.สถานีอนามัยบ้านสวนจิก ได้รับรายงานทางโทรศัพท์จากศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและควบคุมโรคอำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ว่าพบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 1 ราย ชื่อนายจิราวุธ แก้วไพทูลย์ อายุ 15 ปี ที่อยู่อาศัย บ้านเลขที่ 55 หมู่ที่ 10 บ้านดอนน้ำคำ ตำบลสวนจิก อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ดังนั้นทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วสถานีอนามัยบ้านสวนจิก ตำบลสวนจิก อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด จึงได้ออกสอบสวนโรคในชุมชน วันที่ 29 เมษายน 2552 เวลา 17.00 น.
วัตถุประสงค์
1. เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค
2. เพื่อหาสาเหตุของการเกิดโรค
3. เพื่อค้นหาผู้ป่วยและผู้สัมผัสโรครายใหม่
4. เพื่อหามาตรการและการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไม่ให้การแพร่ระบาดต่อไป

วิธีการสอบสวนโรค
ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังต่อไปนี้
1. เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยจากการใช้แบบสอบสวนโรคสัมภาษณ์ผู้ป่วยจำนวน 1 ราย ทบทวนข้อมูลจากเวชระเบียนเก็บข้อมูลจากการบันทึกทางการแพทย์ของผู้ป่วยและศึก รายละเอียดญาติผู้ป่วยในชุมชนที่เกิดโรค
2. ค้นหาผู้ที่ป่วยของโรคไข้เลือดออก โดยใช้นิยามในการค้นหาดังต่อไปนี้
นิยามผู้ป่วย หมายถึงผู้ป่วยที่มีอาการไข้สูง ร่วมกับอาการอื่นๆอย่างน้อย 1 อาการดังนี้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ซึม ปวดท้อง ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ
ขอบเขตการศึกษา ค้นหาผู้ป่วยในบ้านดอนน้ำคำ หมู่ที่ 10 ตำบลสวนจิก ช่วงระหว่างวันที่ 29 เมษายน 2552 ถึงวันที่ 7 พฤษภาคม 2552
3. ศึกษาข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ที่อยู่อาศัย การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ
4. ใช้แบบสวบสวนโรคไข้เลือดออกและแบบรายงานผลการควบคุมโรคไข้เลือดออก
5. ใช้สถิติค่าดัชนีชี้วัด HI BI CI มาใช้วิเคราะห์ข้อมูล



ผลการสอบสวนโรค
จากการสอบสวนโรคครั้งนี้ พื้นที่บ้านดอนนำคำ หมู่ที่ 10 ตำบลสวนจิก อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ช่วง 5 ปี ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ค่ามัธยฐานเท่ากับศูนย์ ผลการสำรวจค่าความชุกลูกน้ำยุงลายปี 2552 ช่วงเดือน ตุลาคม 2552 ถึงเดือน เมษายน 2552 ดังสรุปได้ดังนี้

แผนภูมิที่ 1 ร้อยละค่าความชุกลูกน้ำยุงลายค่า HI เปรียบเทียบกับค่ามัธยฐาน บ้านดอนน้ำคำ หมู่ที่ 10 ตำบลสวนจิก อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ช่วงเดือน ตุลาคม 2551 - เมษายน 2552


ที่มา.รายงานค่าความชุกลูกน้ำยุงลาย สอ.บ้านสวนจิก

ข้อมูลทั่วไป
ชื่อผู้ป่วย นายจิรวุธ แก้วไพรฑูรย์ อายุ 15 ปี เพศ ชาย อาชีพ นักเรียน
ที่อยู่ขณะป่วยโดยละเอียด
บ้านเลขที่ 55 หมูที่ 10 ตำบลสวนจิก อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาก่อนป่วยผู้ป่วยไม่ได้เดินทางออกนอกพื้นที่ อยู่ในพื้นที่ตลอดเพราะอยู่ในช่วงปิดเทอม
สภาพแวดล้อมบ้านทั่วไป เป็นบ้านไม้ 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นปูนซีเมนต์ อากาศภายในไม่ค่อยถ่ายเทภายในบ้านตอนกลางวันถ้าไม่เปิดไฟ และหน้าต่างจะมืด ปกติผู้ป่วยจะไม่ค่อยไปเล่นที่ไหนจะนอนดู ทีวีในบ้านตอนกลางวัน สอบถามไม่ได้กางมุ้งตอนกลางวัน แต่กลางคืนจะนอนกางมุ้งตลอด

ข้อมูลการเจ็บป่วย
ประวัติการเจ็บป่วยในอีต
ผู้ป่วยไม่มีโรคประจำตัว ไม่เคยเข้ารับการรักษาที่สถานีอนามัยบ้านสวนจิกในรอบ 3 ปี ที่ผ่านมา จากการค้นแฟ้มข้อมูลของผู้ป่วย
ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน
วันที่ 10 เมษายน 2552 วันเริ่มป่วย มีอาการไข้ปวดศีรษะปวดตามกล้ามเนื้อ ซื้อยาแก้ไข้มารับประทานเองที่บ้านแต่อาการยังไม่ดีขึ้นมีอาการปวดศีรษะปวดตามตัวมากขึ้น จึงไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลศรีสมเด็จ วันที่ 12 เมษายน 2552 ด้วยอาการ ไข้ปวดตามร่างกาย เจ็บคอ เป็นมา 3 วัน V/S แรกรับ T = 39 องศาเซลเซียส PR = 92 ครั้ง/นาที RR = 20 ครั้ง / นาที BP = 110/70 mmhg แพทย์วินิจฉัย Pharyngitis ให้ยากลับไปรับประทานที่บ้านให้สุขศึกษา กลับมาถึงบ้านรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง อาการไข้ ปวดศีรษะ ยังไม่หายขาดยังมีอาการมาเรื่อย ๆ ร่วมกับเป็นช่วง วันสงกรานต์ ได้เล่นน้ำสงกรานต์ แล้วอาการไข้ก็กลับมาอีกครั้ง วันที่ 19 เมษายน 2552 มีอาการไข้สูงหนาวสั่น อ่อนเพลียมาก ไปหาหมอที่คลินิกพยาบาล ได้ยามารับประทานที่บ้าน อาการทุเลาแต่ไม่หายขาดยังมีไข้ อ่อนเพลีย รับประทานอาหารได้น้อยมาเรื่อย ๆ ร่วมกับมีอาการคลื่นใส้อาเจียน ถ่ายเหลวเป็นน้ำ 5 ครั้ง ร่วมกับถ่ายเป็นสีดำคล้ำ 1 ครั้ง ญาติเห็นอาการไม่ดีจึงพามา โรงพยาบาลศรีสมเด็จ
วันที่ 28 เมษายน 2552 ไปโรงพยาบาลศรีสมเด็จ (เวลา 04.00 น. ) ด้วยอาการ ไข้ อ่อนเพลีย รับประทานอาหารได้น้อยคลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลว 5 ครั้ง ถ่ายเป็นน้ำสีดำคล้ำ 1 ครั้ง V/S T = 38.8 องศาเซลเซียส PR = 96 ครั้ง/นาที RR = 40 ครั้ง / นาที BP = 80/60 mmhg แพทย์ให้นอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลศรีสมเด็จ
วันที่ 29 เมษายน 2552 ผู้ป่วยยังมีไข้ 37.8 องศาเซลเซียส อาการอ่อนเพลียเล็กน้อย เวลา 12.35 น. ผู้ป่วยมีเลือดกำเดาออกจากจมูกข้างซ้าย แพทย์ให้ Pack gauze ชุบ adenalene vit k 10 vain stat สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เลือดกำเดายังไหลไม่หยุดแพทย์จึงส่งตัวไปรับการรักาต่อที่โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
วันที่ 4 พฤษภาคม 2552 (โรงพยาบาลร้อยเอ็ด)ไข้ลดลงผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ สีหน้าสดชื่น อุณหภูมิร่างกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ แพทย์ตรวจอาการซ้ำ อนุญาตกลับบ้านได้


การรักษา โรงพยาบาลศรีสมเด็จ
- 0.9 % NSS 1000 cc Vain Load 400ml then drip 80 cc /hr
- ampicillin 1 g vain q 6 hr
- paracetamon 500 mg 2 tab ทุก 4-6 hr
- ORS

ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลศรีสมเด็จ
CBC
วันที่ WBC( mm3) PLT(mm3) Hct (%)
28 เมษายน 2552 3100 9100 43
29 เมษายน 2552 2900 6000 41.7
Lepto titer (28 เมษายน 2552 ) Neggative
Dengue titer (28 เมษายน 2552 ) Neggative
วินิจฉัยโรคครั้งสุดท้าย DHF
กิจกรรมการดำเนินงานในชุมชน
1. สำรวจลูกน้ำยุงลายโดยเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยบ้านสวนจิก
ครั้งที่ 1( ก่อนดำเนินการรณรงค์) เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2552 ได้ผลสรุปดังนี้ สำรวจทั้งหมด 25 หลังคาเรือน พบลูกน้ำ จำนวน 6 หลังคาเรือน สำรวจ 85 ภาชนะ พบลูกน้ำ 8 ภาชนะ ค่า HI=24.00 , BI=32.00 , CI= 9.41
ครั้งที่ 2 ( หลังดำเนินการ ) วันที่ 30 เมษายน 2552 สำรวจ 53 หลังคาเรือน พบลูกน้ำ 3 หลังคาเรือน จำนวนภาชนะที่สำรวจ 246 ภาชนะ พบลูกน้ำ 3 ภาชนะ ค่า HI=5.66 ,BI = 5.66 , CI = 1.22
ครั้งที่ 3 วันที่ 4 พฤษภาคม2552 สำรวจ 53หลังคาเรือน พบลูกน้ำ 0 หลังคาเรือน จำนวนภาชนะที่สำรวจ 235 ภาชนะ พบลูกน้ำ 0 ภาชนะ ค่า HI= 0,BI = 0 ,CI = 0
2. ให้ความรู้แจ้งประชาสัมพันธ์
ผ่านสื่อทางหอกระจายข่าวในหมู่บ้านขอความร่วมมือในการรณรงค์ป้องกันโรคในหมู่บ้าน
3. กิจกรรมรณรงค์
วันที่ 29 เมษายน 2552 เวลา 18.00 น. ได้ดำเนินการพ่นหมอกควันกำจัดตัวแก่ยุงลายในเขตรัศมี 200 เมตร จากบ้านผู้ป่วย และกระจายปลากินลูกน้ำ ทรายกำจัดลูกน้ำเป็นบางส่วน ขัดล้างภาชนะเก็บกักน้ำ
วันที่ 30 เมษายน 2552 ได้ดำเนินการพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายตัวแก่ ทุกหลังคาเรือน พร้อมทำกิจกรรมรณรงค์ ทั้งหมู่บ้านร่วมกันทำความสะอาดสิ่งแวดล้อม ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย พร้อมทั้งการประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ทางหอกระจายข่าว
วันที่ 4 พฤษภาคม 2552 ได้ดำเนินการพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายตัวแก่ ทุกหลังคาเรือน พร้อมทำกิจกรรมรณรงค์ ทั้งหมู่บ้านร่วมกันทำความสะอาดสิ่งแวดล้อม ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย พร้อมทั้งการประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ทางหอกระจายข่าว อีกครั้ง พร้อมทั้งกำชับ อสม.ในการช่วยดูและกำกับแนะนำประชาชนในระแวกรับผิดชอบเน้นการดูแลไม่ให้มีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน หากพบผู้ป่วยที่มีอาการไข้ ให้รีบพาไปตรวจที่สถานีอนามัยหรือโรงพยาบาล ทันที

สรุปและอภิปรายผล
จากการศึกษาครั้งนี้ พบว่าผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกรายนี้ เป็นรายแรกของตำบลสวนจิก ในปี 2552 และเป็นรายแรกของหมู่บ้านในรอบ 5 ปี
จากการสอบถามกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยทราบว่าผู้ป่วยอยู่ในพื้นที่ตลอดไม่ได้เดินทางออกนอกพื้นที่ อยู่ในพื้นที่ตลอดเพราะอยู่ในช่วงปิดเทอม สภาพแวดล้อมบ้านทั่วไป เป็นบ้านไม้ 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นปูนซีเมนต์ อากาศภายในไม่ค่อยถ่ายเทภายในบ้านตอนกลางวันถ้าไม่เปิดไฟ และหน้าต่างจะมืด ปกติผู้ป่วยจะไม่ค่อยไปเล่นที่ไหนจะนอนดู ทีวีในบ้านตอนกลางวัน สอบถามไม่ได้กางมุ้งตอนกลางวัน แต่กลางคืนจะนอนกางมุ้งตลอด สรุปได้ว่าผู้ป่วยติดเชื้อไข้เลือดออกในพื้นที่บ้านดอนน้ำคำหมู่ที่ 10 เนื่องจากผู้ป่วยมีอาการเจ็บป่วยมาเรื้อรังตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2552 และได้เข้ารับการตรวจรักษามาเป็นระยะ แต่อาการป่วยยังไม่หายขากเมื่อร่างกายอ่อนแอ ภูมิต้านทานโรคต่ำลง สอดคล้องกับประวัติการทำกิจวัตรประจำวันอยู่ในบ้านตลอด ไม่กางมุ้งตอนกลางวัน ร่วมกับสภาพแวดล้อมไม่ถ่ายเท อาจเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอันเป็นสาเหตุของการติดเชื้อไข้เลือดออกได้ สำหรับมาตรการควบคุมโรคในพื้นที่ได้ให้ อสม. เฝ้าระวังและควบคุมค่าความชุกลูกน้ำในระแวกรับผิดชอบตนเองให้ค่าความชุกลูกน้ำยุงลายต้องเป็นศูนย์ติดต่อกันอย่างน้อย 30 วัน
ข้อเสนอแนะ
1. .ให้สุขศึกษาแก่ประชาชนทั่วไป และเน้นการปฏิบัติงานอย่างจริงจัง มีค่าเป็นศูนย์ อย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์
2. ผู้ป่วยที่สังสัยที่เข้ารับการรักษายาบาลควรมีการทำ Tourniquet test ทุกราย
3. การจัดกิจกรรมเน้นการมีส่วนร่วมให้ชุมชนมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น
4. การรณรงค์ให้ดูแลความสะอาดและปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม ให้สะอาดและเป็นระเบียบ
5. รณรงค์เน้นการเลี้ยงปลากินลูกน้ำแทนการใช้สารเคมี
กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลศรีสมเด็จ ผู้ป่วย ญาติ ที่ให้ความร่วมมือและให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องประกอบการสอบสวนโรคในครั้งนี้
ขอขอบคุณ อสม.ที่ให้ช่วยอำนวยความสะดวกในการสุ่มสำรวจลูกน้ำยุงลายเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูล
ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยบ้านสวนจิก ในการประสานงานหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการเขียนรายงานสอบสวนโรคให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงสาธารณสุข.2542 .แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคเดงกี่.มปท.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค.2546 นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย .พิมพ์ครั้งที่ 2 องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.กรุงเทพฯ.
เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรระบาดวิทยาประยุกต์ สำหรับทีมเฝ้าระวังสอบสวนในหน่วยคู่สัญญาจัดบริการปฐมภูมิ 2552.พิมพ์ที่ หจก.คลังนานาวิทยา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น