ไข้เลือดออก
นายจารุพงศ์ พลเดช
ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี
ในวันนี้ (9 กรกฎาคม 2551) เป็นวันที่จังหวัดลพบุรีได้เปิดกิจกรรมรณรงค์ร่วมกันกำจัดลูกน้ำยุงลายกัน ทั้งจังหวัด
โรคไข้เลือดออก ไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออกนอกจากจะเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยแล้ว ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น และก่อให้ เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ การป้องกันโรคไข้เลือดออกในบทความนี้จะบอกถึงโรคไข้เลือดออกในแง่การดูแลผู้ป่วยซึ่งมีหัวข้อดังต่อไปนี้
อุบัติการณ์ของโรคไข้เลือดออก เมื่อ ค.ศ. 1970 มีการระบาดของไข้เลือดออกเป็นครั้งคราว 9 ประเทศ ปัจจุบันไข้เลือดออกมีการระบาดเพิ่มมากขึ้น ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันไข้เลือดออกเป็นโรคประจำท้องถิ่น endemic ของประเทศมากกว่า 100 ประเทศ ในแถบแอฟริกา อเมริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีความรุนแรงมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ western pacific ประชากรประมาณ 2,500 ล้านคน ในประเทศที่มีการระบาดจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้เลือดออก ประมาณว่าจะมีการติดเชื้อปีละ 50 ล้านคน และต้องนอนโรงพยาบาลมากกว่า 500,000 คนต่อปี อัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 2.5 แต่อาจจะสูงถึงร้อยละ 20 หากให้การรักษาอย่างดีอัตราการเสียชีวิตอาจจะลดลงต่ำกว่าร้อยละ 1
สาเหตุของไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย Aedes aehyti ตัวเมียบินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกโดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไวรัสแดงจะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน เชื้อไวรัสแดงจะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วัน ในช่วงที่มีไข้ หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝนยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อระบายน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง เมื่อไรจะสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก อาการของไข้เลือดออกไม่จำเพาะอาการมีได้หลายอย่าง ในแด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ในผู้ใหญ่อาจจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หากไม่คิดโรคนี้อาจจะทำให้การรักษาช้า ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิตลักษณะที่สำคัญของไข้เลือดออกคือ
- ไข้สูงเฉียบพลัน ประมาณ 2-7 วัน
- เบื่ออาหาร หน้าแดง ปวดศีรษะ ร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน และอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย
- บางรายอาจมีจุดเลือดสีแดงขึ้นตามลำตัว แขน ขา อาจมีกำเดาออก หรือเลือดออกตามไรฟัน และถ่ายอุจจาระดำ เนื่องจากเลือดออก และอาจทำให้เกิดอาการช็อกได้
- ในรายที่ช็อกจะสังเกตได้จามการที่ไข้ลดแต่ผู้ป่วยซึมลง ตัวเย็น หมดสติ และเสียชีวิตได้
การรักษา
ไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับโรคไข้เลือดออก การรักษาเพียงประคับประคองอย่างใกล้ชิดโดยการเฝ้าระวังภาวะช็อกและเลือดออก และการให้สารน้ำอย่างเหมาะสมก็จะทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลงต่ำกว่าร้อยละ 1
วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก การผลิตวัคซีนกลังอยู่ในขั้นพัฒนาแต่มีปัญหาเนื่องจากเชื้อมี 4 สายพันธุ์ คาดการณ์ว่าจะสำเร็จและใช้ได้ในอนาคตอันใกล้ การป้องกันและการควบคุม วิธีที่จะป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกที่ดีที่สุดคือการควบคุมการแพร่กระจายของยุงลาย
- กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เช่น กะลา ยาง กระป๋อง
- หาฝาปิดภาชนะ เช่น โอ่ง ถังน้ำ
- ในแหล่งน้ำสาธารณะอาจจะเลี้ยงปลาเพื่อกินลูกน้ำ หรือใส่สารเคมีเพื่อฆ่าลูกน้ำ
การป้องกันโรคไข้เลือดออก
วิธีป้องกันไข้เลือดออกที่ได้ผลดีและยั่งยืนต้องเป็นแบบบูรณการโดยการร่วมมือของทุกฝ่าย
- ภาคครัวเรือนต้องป้องกันโดยการกำจัดแหล่งน้ำที่เพาะพันธุ์ยุง และการป้องกันส่วนบุคคล จัดโปรแกรมสำหรับเด็กและครอบครัวเพื่อกำจัด ภาคชุมชนจะต้องมีการรณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งลูกน้ำในชุมชนอย่างน้อยปีละ 2-3 ครั้งและจะต้องทำพร้อมกันทั่วประเทศโดยการโฆษณาผ่านสื่อต่าง ๆ
- สำหรับชุมชนที่ห่างไกลก็อาจจะต้องใช้อาสาสมัคร
- จัดโปรแกรมสำหรับเด็ก และครอบครัวเพื่อกำจัดลูกน้ำ
- กระตุ้นให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดสิ่งแวดล้อม
- จัดการประกวดพื้นที่ปลอดภัยจากไข้เลือดออก
การป้องกันส่วนบุคคล
ใส่เสื้อผ้าที่หนาพอสมควร ควรจะใส่เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว เด็กนักเรียนหญิงควรกางเกง
- การใช้ยาฆ่ายุง เช่น pyrethrum ก้อนสารเคมี
- การใช้กลิ่นกันยุง เช่น ตะไคร้ หรือสารเคมีอื่น ๆ
- นอนในมุ้งลวด หรือมุ้ง
การควบคุมยุงโดยทางชีวะ
- การใช้ยาฆ่าลูกน้ำ วิธีการนี้สิ้นเปลืองและไม่เหมาะที่จะใช้อย่างต่อเนื่องวิธีการนี้จะเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีการระบาดและได้มีการสำรวจพบว่าทีความชุกของยุงมากมากกว่าปกติ จัดการประกวดพื้นที่ปลอดภัย จากไข้เลือดออก they cannot be test
- Temephos 1 % sand granules โดยการใส่ทรายที่มีสารเคมีนี้ตามอัตราส่วนที่กำหนดซึ่งไม่อันตรายต่อคน
- การใช้สารเคมีพ่นตามบ้านเพื่อฆ่ายุง วิธีการนี้ใช้ในประเทศเอเชียหลายประเทศมามากกว่า 20 ปี แต่จากสถิติของการระบาดไม่ได้ลดลงเลย การพ่นหมอกควันเป็นรูปธรรมที่มองเห็นว่ารัฐบาลได้ทำอะไรเกี่ยวกับการระบาด แต่การพ่นหมอกควันไม่ได้ลดจำนวนประชากรของยุงข้อเสีย คือทำให้คนละเลยความปลอดภัยการพ่นหมอกควันจะมีประโยชน์ในกรณีที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก
การปฏิบัติเมื่อมีคนในบ้าน / ข้างบ้านเป็นไข้เลือดออก
- เนื่องจากไข้เลือดออกระบาดโดยมียุงเป็นตัวแพร่พันธุ์ ดังนั้นเมื่อมีคนในบ้านหรือข้างบ้านเป็นไข้เลือดออก ควรจะบอกคนในบ้านว่ามีไข้เลือดออก ta type. .MSG_Mi
- แจ้งสาธารณสุขให้มาฉีดยาหมอกควันเพื่อฆ่ายุง
- ให้สมาชิกในครอบครัวป้องกันการถูกยุงกัดโดยการป้องกันส่วนบุคคลดังกล่าวข้างต้น
- สำรวจภายในบ้าน รอบบ้าน รวมทั้งเพื่อนบ้านว่ามีแหล่งแพร่พันธุ์ยุงหรือไม่ หากมีให้จัดการเสีย
- เฝ้าดูอาการของสมาชิกในบ้านหรือข้างบ้านว่าทีไข้หรือไม่หากมีไข้ให้ระวังว่าอาจจะเป็นไข้เลือดออกยุงลาย การระบาดของไข้เลือดออกในประเทศไทยและส่วนใหญ่ในประเทศเอเชีย เกิดจากการกัดของยุงลายหรือที่เรียกว่า Aedes aegypti แหล่งที่อยู่ ยุงลายจะพบมากในเขตร้อนชื้น โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยุงชนิดนี้จะพบมากในเขตชุมชนโดยเฉพาะในถิ่นที่แออัดเนื่องจากมีแหล่งน้ำให้ยุงแพร่พันธุ์ แต่ในชุมบทโดยเฉพาะที่เริ่มแออัดก็จะพบว่ามียุงลายเพิ่มมากขึ้นความกดอากาศก็มีผลต่อความเป็นอยู่ของยุง พบว่าจะมีความหนาแน่นของยุงมาก แต่ในพื้นที่เป็นภูเขาจะพบยุงชนิดนี้น้อย การสืบพันธุ์ ตัวเมียจะวางไข่ในน้ำ ถ้าอุณหภูมิและความชื้นเหมาะสมจะเป็นตัวอ่อนในไข่ในเวลา 48 ชั่วโมง และไข่ที่มีตัวอ่อนจะอยู่ได้เป็นปี เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมจึงออกมาเป็นตัวอ่อน เมื่อตัวอ่อนออกจากไข่จะใช้เวลา 8 วันจนกลายเป็นยุง แต่หากสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสมอาจจะใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยุงส่วนใหญ่จะวางไข่ในแหล่งกักน้ำ เช่น กะลา กระป๋อง ยางรถเก่า ถังเก็บน้ำ ถาดรองแอร์ แก้วรองขาโต๊ะ แจกัน เป็นต้น การหาอาหาร เมื่อเป็นตัวแก่มันจะเริ่มหาอาหารใน 24-36 ชั่วโมง อาหารที่สำคัญคือเลือดของสัตว์เลือดอุ่น ยุงจะออกหาอาหารวันละ 2 ครั้ง คือตอนเช้า และตอนบ่ายจนค่ำอาหารแต่ละมื้อยุงอาจจะกัดหลายคนก็ได้ซึ่งเราจะพบว่าอาจจะพบคนที่เป็นไข้เลือดออกพร้อม ๆ กันหลายคนในครอบครัวเดียวกัน ยุงลายมักจะไม่ออกหากินในเวลากลางคืน แต่มีแสงสว่างเพียงพอยุงก็อาจจะหากินตอนกลางคืน ยุงชอบอยู่ในที่มืดและชื้น เช่น ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องครัว โดยเกาะใต้เฟอร์นิเจอร์หรือตามเสื้อผ้าที่แขวนอยู่ ม่าน ผนังระยะทางที่ยุงบิน โดยทั่วไปยุงจะบินไม่เกิน 100 เมตรจากที่มันกลายเป็นตัวแก่ แต่จากรายงานบางประเทศยุงอาจจะบินได้ไกล 400 เมตร ดังนั้นจะเห็นได้ว่าหากเราช่วยกันใส่ใจดูแลบริเวณรอบบ้านเพียงแค่ 100 เมตร เราก็อาจจะปลอดภัยจากไข้เลือดออก อายุของยุง โดยเฉลี่ยยุงจะมีอายุ 8 วัน แต่ฤดูฝนจะมีอายุยาวกว่านี้ซึ่งอาจจะทำให้มีการแพร่พันธุ์ของไข้เลือดออกมากขึ้น
การดำเนินโรคของไข้เลือดออก
แบ่งออกเป็น 3 ระยะดังต่อไปนี้ ระยะไข้ ระยะวิกฤติ / ช็อก และระยะฟื้นตัว
1. ระยะไข้สูง
- ลักษณะเป็นไข้สูงเฉียบพลัน 39 – 41 องศาเซลเซียน เป็นเวลา 2-7 วัน ผู้ป่วยอาจมีอาการชักได้ มักมีหน้าแดง ไม่มีน้ำมูกหรือไอ ในเด็กโตอาจบ่นปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อเบื่ออาหาร อาเจียน เลือดออก ตับโตและกดเจ็บแต่ตัวไม่เหลือง มีผื่นตามตัว ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่มีอาการน้ำมูกไหลหรือไอซึ่งจะช่วยในการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกจากพวกหัดหรือไข้หวัด
- ในระยะไข้อาการทางเดินอาหารที่พบบ่อยได้แต่เบื่ออาหาร อาเจียน บางรายอาจจะมีอาการปวดท้องร่วมด้วย ในระยะแรกจะปวดทั่วไป แต่ต่อมาจะปวดชายโครงด้านขวาเนื่องจากตับโต
- ไข้ส่วนใหญ่จะอยู่ลอย 2-7 วัน ประมาณร้อยละ 70 จะมีไข้ 4-5 วัน รายที่มีอาการเร็วที่สุดคือ 2 วัน ร้อยละ 15 จะมีไข้เกิด 7 วัน
- อาการเลือดออกที่พบบ่อยที่สุดคือจุดเลือดออกตามผิวหนังเนื่องจากเส้นเลือดเปราะ หรือการทำ tourniquet test จุดเลือดออกจะพบตามแขน ขา ลำตัว รักแร้ อาจจะมีเลือดกำเดา เลือดออกตามไรฟัน อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด
2. ระยะวิกฤติหรือระยะช็อก
- ระยะวิกฤติหรือระยะช็อกมักเกิดขึ้น พร้อม ๆ กับการที่ผู้ป่วยมีไข้ลง เกิดจากการรั่วของพลาสมาโดยระยะรั่วจะประมาณ 24-48 ชั่วโมง ประมาณหนึ่งในสามจะมีอาการรุนแรงมีภาวะความดันโลหิตต่ำเนื่องจากเกิดการรั่วของพลาสมาไปยังปอดหรือช่องท้องซึ่งจะเกิดพร้อม ๆ กับไข้ลง ซึ่งอาจจะเกิดได้ตั้งแต่วันที่ 3-8 ของไข้ ผู้ป่วยจะกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเร็วความดันโลหิตต่ำ ในรายที่ไม่รุนแรงผู้ป่วยดีขึ้น บางรายอาจมีเหงื่อออก มือเท้าเย็นชีพจรเบา ความดันเลือดลดลงมากกว่า 20 มิลลิเมตรปรอท ผู้เป็นไข้เลือดออกที่อยู่ในภาวะช็อกจะรู้สติดี พูดรู้เรื่อง อาจจะบ่นกระหายน้ำ บางรายอาจจะมีภาวะปวดท้อง
ภาวะช็อกจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาผู้ป่วยจะมีอาการเลวลงอย่างรวดเร็ว รอบปากเขียว ผิวสีม่วง ตัวเย็น วัดความดันไม่ได้ ผู้ป่วยจะเสียชีวิตใน 12-24 ชั่วโมง
ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดอยากจะขอเตือนพี่น้องประชาชนทุกคน ได้ตระหนักถึงภัยอันตรายจากโรคไข้เลือดออก และระมัดระวังรักษาตนเอง คนในครอบครัวทุกคนให้ปลอดภัยจากไข้เลือดออกนี้ตลอดไป
บันทึกความทรงจำ
9 กรกฎาคม 2551
วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น