โรคไข้เลือดออก ด้วยความปรารถนาดีจาก องค์การบริหารส่วนตำบลไสหร้า
ข้ายเหลือดอ๋อก
ไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออกนอกจากจะเป็นปัญหาสาธารณะสุขของประเทศไทยแล้ว ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่่วโลก โดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้นและก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ บทความนี้จะบรรยายถึงโรคไข้เลือดออกในแง่การดูแลผู้ป่วยซึ่งมีหัวข้อดังต่อไปนี้
อุบัติการณีของโรคไข้เลือดออก
เมื่อ คศ 1970มีการระบาดของไข้เลือดออกเป็นครั้งคราว epidermic 9 ประเทศ ปัจจุบันไข้เลือดออกมีการระบาดเพิ่มมากขึ้นในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันไข้เลือดออก เป็นโรคประจำท้องถิ่น endemic ของประเทศมากว่า 100 ประเทศในแถบแอฟริกา อเมริกา เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ western pacific โดยมีความรุนแรงมากในแถบ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ western pacific
ประชากรประมาณ 2500 ล้านคนในประเทศที่มีการระบาดจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้เลือดออก ประมาณว่าจะมีการติดเชื้อปีละ 50 ล้านคน และต้องนอนโรงพยาบาลมากกว่า 500000 คนต่อปี อัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 2.5 แต่อาจจะสูงถึงร้อยละ 20 หากให้การรักษาอย่างดีอัตราการเสียชีวิตอาจจะลดลงต่ำกว่าร้อยละ1
สาเหตุของไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย Aedes aegyti ตัวเมีย บินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกโดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไ/วรัสแดงกีจะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน เชื้อไวรัสแดงกี่จะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วันในช่วงที่มีไข้ หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อระบายน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง
เมื่อไรจะสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก
อาการของไข้เลือดออกไม่จำเพาะ อาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ใผู้ใหญ่อาจจะมีไข้สูง ปวดศรีษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หากไม่คิดโรคนี้อาจจะทำให้การรักษาช้า ผู้ป่วยอาจจะสียชีวิต ลักษณะที่สำคัญของไข้เลือกออกคือ
• ไข้สูงเฉียบพลัน ประมาณ 2-7 วัน
• เบื่ออาหาร หน้าแดง ปวดศีรษะ ร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน และอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย
• บางรายอาจมีจุดเลือดสีแดงขึ้นตามลำตัว แขน ขา อาจมีกำเดาออก หรือเลือดออกตามไรฟัน และถ่ายอุจาระดำเนื่องจากเลือดออก และอาจทำให้เกิดอาการช็อคได้
• ในรายที่ช็อคจะสังเกตได้จากการที่ไข้ลดแต่ผู้ป่วยซึมลง ตัวเย็น หมดสติและเสียชีวิตได้
การเจาะเลือดตรวจวินิจฉัย
การรักษา
ไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับโรคไข้เลือดออก การรักเพียงประคับประคองอย่างใกล้ชิดโดยการเฝ้าระวังภาวะช็อค และเลือดออก และการให้สารน้ำอย่างเหมาะสมก็จะทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลงต่ำกว่าร้อยละ 1
วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก
การผลิตวัคซีนกำลังอยู่ในขั้นพัฒนา แต่มีปัญาเนื่องเชื้อมี 4 สายพันธุ์ คาดการณ์ว่าจะสำเร็จและใช้ได้ในอนาคตอันใกล้ การป้องกันและการควบคุม
วิธีที่จะป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกที่ดีที่สุดคือการควบคุมการแพร่กระจายของยุงลาย
• กำจัดแหล่งเพราะพันธุ์ยุง เช่น กะละ ยาง กระป๋อง
• หาฝาปิดภาชนะ เช่น โอ่ง ถังน้ำ
• ในแหล่งน้ำสาธารณะอาจจะเลี้ยงปลาเพื่อกินลูกน้ำ หรือใส่สารเคมีเพื่อฆ่าลูกน้ำ
ขนิดของเชื้อแดงกีเชื้อไวรัสแดงกี เป็น single strnded RNA ไวรัสมีด้วยกัน 4 ชนิด(serotype) DEN1 DEN2 DEN3 DEN4 ซึ่งมี antigen ร่วมกันบางส่วนทำให้เทื่อเกิดการติดเชื้อชนิดหนึ่ง จะเกิดภูมิคุ้มกันต่อเชื้ออีกชนิดหนึ่ง แต่ภูมิที่เกิดจะอยู่ได้ 6-12 เดือน ส่วนภูมิที่เกิดกับเชื้อที่ป่วยจะมีตลอดชีวิต เช่นหากเป็นไข้เลือดออกจากเชื้อ DEN1 ผู้ป่วยจะมีภูมิต่อเชื้อนี้ตลอดชีวิต แต่จะมีภูมิต่อเชื้อแดงกีชนิดอื่นเพียง 6-12 เดือนเท่านั้นจาการศึกษาพบว่าการติดเชื้อซ้ำ หรือการติดเชื้อครั้งที่สองจะเป็นสาเหตุของโรคแดงกีได้ถึงร้อยละ 80-90 ในสมัยก่อนปี 2543พบว่าการระบาดของเชื้อแดงกีเกิดจากสายพันธ์ที่สอง DEN2 แต่หลังจากนั้นพบลดลง แต่จะพบสายพันธ์ DEN3 มากขึ้น แต่หลังจากปี 2543 เชื้อสายพันธ์ที่สอง DEN2 เริ่มกลับมาพบมากขึ้นและมีอัตราการตายสูงเนื่องจากเป็นเชื้อที่หากเป็นแล้วจะเกิดอาการรุนแรงการ
อาการของโรคติดเชื้อไข้เลือดออก
ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไข้เลือดออกอาจจะไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย หรืออาจจะเกิดอาการรุนแรงจนเสียชีวิต เมื่อหายร่างกายจะมีภูมิต่อเชื้อนั้นตลอดชีวิต ความรุนแรงของการติดเชื้อขึ้นกับอายุ ภาวะภูมิคุ้มกัน และความรุนแรงของเชื้อ ติดเชื้อไวรัสแดงกิวมีอาการได้ 3 แบบคือ
• การติดเชื้อไข้แดงกิ่ว Denque Fever
• ไข้เลือดออก [Dengue hemorrhagic fever-DHF]
• สำหรับไข้เลือดออกแดงกิวที่ช็อก Denque Shock Syndrome DSS
การดำเนินของโรค
ความรุนแรงของโรค
ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไข้เลือดออกแดงกิว จะต้องมีหลักฐานการรั่วของพลาสมา (มีความเข้มข้นของเลือด[Hct]เพิ่มขึ้น 20% หรือมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด หรือในช่องท้อง) และมีเกร็ดเลือดต่ำกว่า 100,000 ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกจัดได้เป็น 4 ระดับ
• Grade 1 ผู้ป่วยไม่ช็อก เป็นไข้เลือดออกโดยที่ไม่มีจุดเลือดออก ทำ touniquet test ให้ผลบวก
• Grade 2 ผู้ป่วยไม่ช็อก มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง มีเลือดกำเดาไหล หรืออาเจียนเป็นเลือด
• Grade 3 ผู้ป่วย่ช็อก มีความดันโลหิตต่ำ ชีพขจรเร็ว pulse pressure แคบ เหงื่อออก กระสับกระส่าย
• Grade 4 ผู้ป่วย่ช็อกรุนแรง วัดความดันโลหิตไม่ได้
การดูแลผู้ป่วย
เมื่อไรจะให้กลับบ้าน
• ไม่มีไข้ 24 ชั่วโมงโดยที่ไม่ได้รับยาลดไข้ ผู้ป่วยอยากอาหาร
• ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นอย่างชัดเจน
• ความเข้มของเลือดคงที่
• 3วันหลังจากรักษาภาวะช็อค
• เกร็ดเลือดมากกว่า 50000
• ไม่มีอาการแน่ท้องหรือแน่หน้าอกจากน้ำในท้องหรือช่องเยื่อหุ้มปอด
ภาวะโรคแทรกซ้อนอื่นๆ
• ตับวาย
• ไตวาย
• สมองทำงานผิดปกติ
การป้องกันโรคไข้เลือดออก
วิธีป้องกันไข้เลือดออกที่ได้ผลดี และยั้งยืนต้องเป็นแบบบูรณการโดยการร่วมมือของทุกฝ่าย
• ภาคครัวเรือนต้องป้องกันโดยการกำจัดแหล่งน้ำที่เพาะพันธุ์ยุง และการป้องกันส่วนบุคคล
• ภาคชุมชนจะต้องมีการรณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งลูกน้ำในชุมชนอย่างน้อยปีละ 2-3 ครั้ง และจะต้องทำพร้อมกันถั่วประเทศโดยการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ
• สำหรับชุมชนที่ห่างไกลก็อาจจะต้องใช้อาสาสมัคร
• จัดโปรแกรมสำหรับเด็กและครอบครัวเพื่อกำจัดลูกน้ำ
• กระตุ้นให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดสิ่งแวดล้อม
• จัดการประกวดพื้นที่ปลอดภัยจากไข้เลือดออก
ข้อสำคัญของไข้เลือดออก
ให้สงสัยว่าจะเป็นไข้เลือดออกในผู้ที่มีไข้เฉียบพลัน ไข้สูง โดยที่ไม่มีอาการของไข้หวัดร่วมกับ มีจุดเลือดออก
• หรือทำ touniquet test
• หากตับโตจะช่วยสนับสนุนว่าเป็นไข้เลือดออก
• ช่วงที่วิกฤตคือช่วงที่ไข้เริ่มลง หากเกร็ดเลือดต่ำลง ร่วมกับความเข้มข้นของเลือดเพิ่มขึ้นก่อนไข้ลง ให้สงสัยว่าจะเกิด
• ยาลดไข้ไม่ได้ทำให้ระยะเวลาที่เป็นไข้ลดลง การให้ยาไม่ถูกต้องอาจจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน
• หากเลือดมีความเข้มข้นมากขึ้น 20% แสดงว่ามีการรั่วของพลาสม่า จำเป็นต้องได้รับน้ำเกลืออย่างเหมาะสม แต่การให้น้ำเกลือก่อนที่ จะมีการรั่วของพลาสม่าไม่เกิดประโยชน์
• ภาวะ DSS เกิดจากการรั่งของพลาสม่าทำให้ร่างกายขาดน้ำ ต้องรีบให้น้ำเกลืออย่างรวดเร็ว และอาจจะจำเป็นต้องให้ Dextran 40
• การให้น้ำเกลือจะให้เท่ากับพลาสม่าที่รั่ว โดยดูจากความเข้มของเลือดและปริมาณปัสสาวะที่ออก
• การได้รับน้ำเกลือมากเกินไปอาจจะเกิดน้ำท่วมปอดการเกิดภาวะเป็นกรดจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆตามมา
วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น