กิตติกรรมประกาศ
การสอบสวนโรคไข้เลือดออก (Denque Haemorrhagic Fever) บ้านห้วยสะแบก หมู่ที่ 5 ตำบลโคกสำราญ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ยืนยันการวินิจฉัยโรค การระบาดของโรค ลักษณะการเกิดโรค ค้นหาแหล่งโรค และวิธีการถ่ายทอดโรค และวางแนวทางในการควบคุมและป้องกันการระบาด การแพร่กระจายของโรคในครั้งนี้ และในครั้งต่อ ๆ ไป โดยการสำรวจสิ่งแวดล้อม ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ขอขอบพระคุณ นายแพทย์ศิษฏิคม เบ็ญจขันธ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช เลิงนกทา ประธาน คปสอ.เลิงนกทา ที่อำนวยความสะดวกในการดำเนินงานสอบสวนโรครวมทั้งให้คำปรึกษาและเสนอแนะในการนำเสนอรายงานการสอบสวนโรค
ขอขอบคุณทีมสอบสวนโรค (SRRT) อำเภอเลิงนกทา และผู้นำชุมชน อบต., อสม. และประชาชนบ้านห้วยสะแบก หมู่ที่ 5 ทุกคน ทีให้ความร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรคและวางมาตรการการควบคุมป้องกันโรค เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในพื้นที่
ขอขอบพระคุณอาจารย์จากสำนักงานควบคุมป้องกันโรคที่ 7 อุบลราชธานี ผู้รับผิดชอบงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ที่ได้ให้การวิพากษ์ และให้คำแนะนำในการปรับปรุงการเขียนรายงาน เพื่อการจัดทำรายงานสอบสวนโรคฉบับสมบูรณ์
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การสอบสวนโรคในครั้งนี้ คงจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจ เพื่อเป็นแนวทางในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สันติ โสมรักษ์
รายงานการสอบสวนโรคไข้เลือดออก (Denque Haemorrhagic Fever)
บ้านห้วยสะแบก หมู่ที่ 5 ตำบลโคกสำราญ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
ระหว่างวันที่ 11-18 มกราคม 2550
ผู้รายงาน
1. นายสันติ โสมรักษ์ เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 5
บทคัดย่อ
การสอบสวนโรคไข้เลือดออก (Denque Haemorrhagic Fever) ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ยืนยันการวินิจฉัยโรค การระบาดของโรค ลักษณะการเกิดโรค ค้นหาแหล่งโรค และวิธีการถ่ายทอดโรค และวางแนวทางในการควบคุมและป้องกันการระบาด การแพร่กระจายของโรค โดยการสำรวจสิ่งแวดล้อม ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการสอบสวนพบว่า ผู้ป่วยเป็นเพศชาย อายุ 12 ปี ที่อยู่ปัจจุบันบ้านเลขที่ 124 หมู่ที่ 5 ตำบลโคกสำราญ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองยางห้วยสะแบก ซึ่งเป็นโรงเรียนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีอนามัยหนองยาง ระหว่างที่ป่วยอาศัยอยู่กับตา ยาย พ่อ แม่ และน้องชายอีก 1 คน ผู้ป่วยเริ่มป่วยวันที่ 7 มกราคม 2550 ด้วยอาการไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย รับประทานอาหารได้น้อย ต่อมาเริ่มมีอาการไข้สูงขึ้น เจ็บคอ อาเจียน 1 ครั้ง และเข้ารับการรักษาที่สถานีอนามัยหนองยาง เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2550 เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยให้การตรวจรักษาและวินิจฉัยเป็นทอลซิลอักเสบ ต่อมาเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2550 ผู้ป่วยมีไข้สูง ซึมมากขึ้น ญาตินำส่งโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช เลิงนกทา แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นไข้จากการติดเชื้อไวรัส (Viral infection) รับรักษาไว้เป็นผู้ป่วยในจำนวน 1 วัน ผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้นและมีถ่ายดำร่วมด้วย แพทย์จึงนำส่งโรงพยาบาลยโสธร แพทย์ผู้รักษาสรุปผลการวินิจฉัยขั้นสุดท้ายว่าเป็นไข้เลือดออก (Denque Haemorrhagic Fever) การค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในหมู่บ้าน พบว่ามีผู้ป่วยที่เข้าข่ายตามนิยามอยู่ในละแวกเดียวกัน จำนวน 7 คน จากการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง พบว่าบ้านห้วยสะแบกเป็นบ้านที่มีรายงานผู้ป่วยปีเว้นปี สภาพสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปของหมู่บ้านมีสวนกล้วยรอบ ๆ หมู่บ้าน อยู่ในสภาพที่รก มีพุ่มไม้ กอไผ่ และต้นไม้เตี้ย ๆ ขึ้นตามบริเวณบ้าน มีคลองระบายน้ำรอบหมู่บ้าน และมีน้ำขังเป็นช่วง ๆ การสำรวจค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน ค่า HI 18 ซึ่งแสดงว่ามีปัจจัยเสี่ยงต่อการระบาดของโรค และจากการศึกษาผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบ Platlete (Count) 73,000 ซึ่งต่ำกว่าปกติ ส่วน Hct. 58 และ W.B.C. 5,200 อยู่ในเกณฑ์ปกติ ในส่วนของการสำรวจค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนบ้านหนองยางห้วยสะแบก ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ผู้ป่วยศึกษาอยู่ และมีเด็กนักเรียนจากทั้ง 4 หมู่บ้าน ในเขตรับผิดชอบของสถานีอนามัยหนองยาง ค่า HI 0 ซึ่งแสดงว่าไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการระบาดของโรคและไม่น่าจะเป็นแหล่งรังโรค จึงคาดว่าแหล่งรังโรคอาจจะอยู่ในคุ้มที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ ประกอบกับสภาพแวดล้อมที่มีลักษณะเป็นแหล่งรังโรคดังกล่าว ดังนั้น จึงได้ดำเนินการควบคุมโรคโดยใช้มาตรการด้านการประชาสัมพันธ์ การประสานงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การประสานงานร่วมกับหน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง การพ่นหมอกควัน การพ่นยาฆ่าแมลง (Nock down) การรณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เพิ่มนวัตกรรมติดสติ๊กเกอร์ประกาศ ขอบคุณที่บ้านนี้ปลอดลูกน้ำยุงลาย การปักธงเขียวสำหรับบ้านปลอดลูกน้ำ ธงแดงสำหรับบ้านที่พบลูกน้ำ และให้ อสม. ออกตรวจประเมินทุกสัปดาห์ เพื่อทำให้บ้านทุกบ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย การประกวดหมู่บ้าน และ อสม. ดีเด่นด้านการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกตามโครงการของสถานีอนามัย จนสามารถควบคุมดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายได้ในระดับที่ไม่เสี่ยงต่ออการระบาดของโรค และพบว่าตลอดการดำเนินการควบคุมโรคไม่มีผู้ป่วยตลอดช่วงระยะเวลา 2 เท่าของระยะฟักตัวอีก จึงถือได้ว่าสามารถควบคุมโรคให้สงบลงได้
บทนำ
ด้วยงานระบาดวิทยาสถานีอนามัยหนองยาง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ได้รับรายงานการแจ้งข่าวการระบาดของโรคจากศูนย์ระบาดวิทยาอำเภอเลิงนกทา เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2550 เวลา 09.00 น. ว่ามีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (Denque Haemorrhagic Fever) โดยแพทย์วินิจฉัยครั้งแรกว่าเป็นไข้จากการติดเชื้อไวรัส (Viral infection) ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีอนามัยหนองยาง ตำบลโคกสำราญ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร จำนวน 1 ราย เป็นผู้ป่วยเพศชาย อายุ 12 ปี ที่อยู่บ้านเลขที่ 124 หมู่ที่ 5 ตำบลโคกสำราญ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร กำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองยางห้วยสะแบก เข้ารับการรักษาด้วยอาการไข้สูง ซึม อาเจียน เจ็บคอ รับประทานอาหารได้น้อย เริ่มป่วยเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2550 วันพบผู้ป่วย 10 มกราคม 2550 เนื่องจากเป็นผู้ป่วยรายแรกของสถานีอนามัย และเป็นรายแรกของตำบล อำเภอ และจังหวัด ทีมสอบสวนโรค (SRRT) ของอำเภอเลิงนกทา โดยเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยหนองยาง ผู้รับผิดชอบงานระบาดวิทยาเป็นหนึ่งในทีมสอบสวนโรค ได้ออกติดตามสอบถามอาการของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง หลังจากได้รับรายงานการแจ้งข่าวการระบาดจากศูนย์ระบาดวิทยาอำเภอเลิงนกทา และได้ลงพื้นที่เพื่อสอบสวนโรคในเบื้องต้น ในวันที่ 11 มกราคม 2550 เวลา 08.00 น. ได้มีการประชุมเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานโรคติดต่อ และงานระบาดวิทยาของสถานีอนามัยทุกแห่ง เพื่อปรึกษา วางแผนควบคุมและป้องกันโรค และทีมสอบสวนโรค (SRRT) ได้ออกดำเนินการสอบสวนโรคดังกล่าว เวลา 13.00 น. ในวันเดียวกัน เพื่อหาสาเหตุ แหล่งโรค ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม และควบคุมป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรครุนแรงเพิ่มขึ้น พร้อมรายงานผลการดำเนินงานให้สาธารณสุขอำเภอทราบต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคและการระบาดของโรค
2. เพื่อศึกษาลักษณะการเกิดโรค ค้นหาแหล่งโรค และวิธีการถ่ายทอดโรค
3. เพื่อหาแนวทางในการควบคุมและป้องกันการระบาด การแพร่กระจายของโรค
วิธีการศึกษา
1. ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา เพื่อหาลักษณะของการเกิดโรค ความเสี่ยง แหล่งโรค ขอบเขตของการเกิดโรค และการกระจายของโรคตามลักษณะของบุคคล เวลา และสถานที่ ทั้งข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและข้อมูลการรักษาที่ผ่านมา โดย
1.1 ทบทวนบันทึกการรักษาผู้ป่วย ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา จากเวชระเบียนผู้ป่วย OPD Card ตั้งแต่วันที่ 11-18 มกราคม 2550
1.2 ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม โดยการสอบถามในแต่ละครัวเรือนจากผู้ปกครองเด็กแต่ละคุ้ม ครูและเพื่อนนักเรียนว่ามีผู้ป่วยเพิ่มเติมหรือไม่ รวมทั้งสอบถามถึงอาการป่วย ระยะเวลาการป่วย ในช่วงวันที่ 11-18 มกราคม 2550 โดยนิยามการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก (Denque Haemorrhagic Fever) ดังนี้
ผู้ป่วยที่สงสัย (Suspected case) หมายถึง ผู้ป่วยที่มีอาการทางคลินิก คือ ไข้สูงเฉียบพลัน และสูงลอยประมาณ 2-7 วัน และปวดศีรษะ ร่วมกับกับมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งได้แก่ อาเจียน ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หรือผลการทำ Tourniquet test ให้ผลบวก
ผู้ป่วยที่เข้าข่าย (Probable case) หมายถึง ผู้ป่วยที่มีอาการทางคลินิก คือ ไข้สูงเฉียบพลัน และสูงลอยประมาณ 2-7 วัน และปวดศีรษะ ร่วมกับกับมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งได้แก่ อาเจียน ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ ร่วมกับมีผลการทำ Tourniquet test ให้ผลบวกและมีข้อมูลทางระบาดวิทยาที่เชื่อมโยงกับผู้ป่วยรายแรก (Index case)
2. ศึกษาสภาพสิ่งแวดล้อม สุขาภิบาล โดยวิธีการสังเกตและการสำรวจบริเวณบ้านผู้ป่วย คุ้มบ้านใกล้เคียง หมู่บ้าน วัด โรงเรียน ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ และบ้านญาติผู้ป่วย เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรค แหล่งโรคและแนวโน้มการเกิดและการกระจายของโรค
3. ศึกษาค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย โดยการสำรวจ ในหมู่บ้าน บ้านผู้ป่วย บ้านใกล้เคียง(รัศมี 100 เมตร) คุ้ม หมู่บ้าน วัด โรงเรียน ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ และบ้านญาติผู้ป่วย เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรค แหล่งโรคและแนวโน้มการเกิดและการกระจายของโรค
4. ศึกษาผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Laboratory Criteria) โดยการตรวจเจาะเลือดผู้ป่วยส่งตรวจเพื่อประกอบการวินิจฉัยและการรักษา โดยใช้เกณฑ์ มีเกล็ดเลือด (Platelet) ต่ำกว่า 100,000 เซล/มม3. และมี Hematocrit (Hct.) เพิ่มขึ้นร้อยละ 10-20 จากเดิม หรือจำนวนเม็ดเลือดขาว (W.B.C.) ต่ำกว่าปกติ (< 5,000 เซล/มม3.)
5. การศึกษาข้อมูลผู้ป่วยไข้เลือดออกของศูนย์ระบาดวิทยาอำเภอเลิงนกทา โดยศึกษาข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี เพื่อดูแนวโน้มของการเกิดโรคของหมู่บ้าน พื้นที่รับผิดชอบของสถานีอนามัยหนองยาง และภาพรวมของอำเภอ
เครื่องมือที่ใช้ในการสอบสวนโรค
การสอบสวนโรคในครั้งนี้ ทีมสอบสวนโรค (SRRT) อำเภอเลิงนกทา ได้ใช้แบบสอบสวนโรคที่สร้างขึ้นโดยมีเนื้อหาครอบคลุมถึงลักษณะการเกิดโรค ค้นหาแหล่งโรค และวิธีการถ่ายทอดโรค รวมถึงการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยสอบถามในแต่ละครัวเรือน ครูและเพื่อนนักเรียน ในบ้าน ห้วยสะแบก บ้านหนองยาง บ้านหนองยางใต้ บ้านหนองยางคำ ตำบลโคกสำราญ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
การวิเคราะห์ข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วย โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายลักษณะส่วนบุคคลของผู้ป่วยและประเภทของโรคตามการวินิจฉัยของแพทย์ ด้วยสถิติ จำนวน ร้อยละ ละค่าเฉลี่ย
ผลการสอบสวนโรค
1.ข้อมูลผู้ป่วย
1.1 ประวัติผู้ป่วย/ครอบครัว
ผู้ป่วยเพศชาย เกิดเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2537 อายุ 12 ปี ที่อยู่ปัจจุบันบ้านเลขที่ 124 หมู่ที่ 5 บ้านห้วยสะแบก ตำบลโคกสำราญ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองยางห้วยสะแบก อาศัยอยู่กับตา ยาย พ่อ และแม่ อาชีพทำนา พ่อและแม่มีบุตร 2 คน ผู้ป่วยเป้นบุตรคนแรก และมีน้องชายอีก 1 คน ผู้ป่วยไม่มีประวัติเคยป่วยหรือสงสัยว่าป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมาก่อน
1.2 ประวัติการเจ็บป่วยและการรักษา (Index case)
ผู้ป่วยเริ่มป่วยเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2550 ด้วยอาการไข้ต่ำ ๆ ยายซึ่งเป็นผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด ได้ซื้อยาพาราเซตามอลตามร้านค้าให้รับประทาน 1 เม็ด อาการทุเลาลง แต่ยังมีอ่อนเพลีย และรับประทานอาหารได้น้อย และเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2550 ได้มารับการตรวจรักษาที่สถานีอนามัยหนองยาง ด้วยอาการไข้สูง เจ็บคอ และมีอาเจียน 1 ครั้ง เจ้าหน้าที่ให้การตรวจรักษา วินิจฉัยเป็นทอลซิลอักเสบ และได้ให้ยาแก้อักเสบ (Penicillin 125 mg. จำนวน 20 เม็ด รับประทานก่อนอาหาร 4 เวลา) และยาแก้ไข้ (Paracetamol 325 mg. จำนวน 15 เม็ด รับประทาน 1 เม็ด เวลาปวด มีไข้ หรือซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง) และให้คำแนะนำในการดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย พร้อมกับนัดมาดูอาการอีกครั้งในวันที่ 10 มกราคม 2550 แต่ในวันที่ 10 มกราคม 2550 ผู้ป่วยยังมีอาการไข้สูง และมีอาการซึมมากขึ้น ญาติจึงตัดสินใจนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช เลิงนกทา เวลา 09.00 น. แรกรับผู้ป่วยมีไข้สูง 39 องศาเซลเซียส และมีอาการซึมเช่นเดิม หลังแพทย์ผู้รักษาได้ทำการตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาในวันเดียวกันนี้ แพทย์จึงวินิจฉัยเบื้องต้นเป็นไข้จากการติดเชื้อไวรัส (Viral infection) และรับรักษาเป็นผู้ป่วยใน พร้อมทั้งได้แจ้งศูนย์ระบาดวิทยาอำเภอเลิงนกทาเพื่อประสานหน่วยงานที่มีพื้นที่เกิดการระบาดของโรค ให้ดำเนินการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก จนในวันที่ 11 มกราคม 2550 ผู้ป่วยมีอาการไม่ดีขึ้น และมีถ่ายดำร่วมด้วย แพทย์จึงให้นำส่งโรงพยาบาลยโสธร และแพทย์ได้ทำการรักษาและสรุปผลการวินิจฉัยขั้นสุดท้ายว่าเป็นไข้เลือดออก (Denque Haemorrhagic Fever)
2. สภาพสิ่งแวดล้อมทั่วไป
บ้านห้วยสะแบก หมู่ที่ 5 ตำบลโคกสำราญ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร มีจำนวน หลังคาเรือนทั้งหมด 187 หลังคาเรือน มีประชากร 924 คน แยกเป็นประชากรชาย 460 คน ประชากรหญิง 464 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ แบ่งเป็น 4 คุ้ม บ้านผู้ป่วยอยู่คุ้มที่ 4 มีจำนวนหลังคาเรือน 28 หลังคาเรือน สภาพสิ่งแวดล้อมทั่วไปไม่ค่อยดี มีสวนกล้วยรอบ ๆ หมู่บ้าน อยู่ในสภาพที่รก มีพุ่มไม้ กอไผ่ ต้นไม้เตี้ย ๆ ขึ้นตามบริเวณบ้าน มีคลองระบายน้ำรอบ ๆ หมู่บ้านและมีน้ำขังเป็นช่วง ๆ และสภาพพื้นที่หมู่บ้านเป็นที่ราบลุ่ม ทำให้อากาศโดยทั่วไปร้อนชื้น สิ่งเหล่านี้เหมาะแก่การเพาะพันธุ์และหลบซ่อนอาศัยของยุงลาย ซึ่งยากต่อการกำจัด อีกทั้งประชาชนยังขาดความตระหนักในการดูแลและควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอีกด้วย
ภาพที่ 1 แผนที่หลังคาเรือนที่พบผู้ป่วยตามนิยามและผู้ป่วยไข้เลือดออก บ้านห้วยสะแบก หมู่ที่ 5 ตำบลโคกสำราญ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ปีระบาดวิทยา 2550
แทนหลังคาเรือนที่พบผู้ป่วยตามนิยาม
แทนหลังคาเรือนที่พบผู้ป่วยไข้เลือดออก
จากการสอบสวนเพื่อค้นหาการระบาดของโรคของทีมสอบสวนโรค (SRRT) อำเภอเลิงนกทา ในวันที่ 11 มกราคม 2550 โดยใช้นิยามผู้ป่วยที่ทีมสอบสวนโรค (SRRT) กำหนด โดยการทบทวนข้อมูลบันทึกการรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาล ไปพร้อมกับการค้นหาผู้ป่วยในชุมชน พบว่า ในวันเดียวกันมีผู้ป่วยทีมีอาการเข้าได้กับนิยาม ที่เป็นผู้ป่วยบ้านห้วยสะแบก อีกจำนวน 3 ราย ที่กำลังรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา ดังนั้นทีมสอบสวนโรค (SRRT) จึงกำหนดให้มีการสอบสวนโรคและค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม ต่อเนื่องไปอีก 7 วัน จากวันที่พบผู้ป่วยรายแรก (Index case) ซึ่งกำหนดถึงวันที่ 18 มกราคม 2550 ซึ่งจากการค้นหาผู้ป่วยในชุมชน พบผู้ป่วยในช่วงดำเนินการสอบสวนโรคเพิ่มเติมอีก 4 ราย และได้แนะนำ พร้อมกับส่งต่อผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา เพื่อการตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป
ภาพที่ 2 จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกตามนิยาม ในพื้นที่สถานีอนามัยหนองยาง ตำบลโคกสำราญ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร จำแนกตามวันเริ่มป่วย ระหว่างวันที่ 6-11 มกราคม 2550
3. การศึกษาทางคลินิกและห้องปฏิบัติการ
จากการสอบสวนโรค โดยการเก็บข้อมูลการซักประวัติและการตรวจร่างกายของแพทย์ผู้ทำการรักษาผู้ป่วยไข้เลือดออก ตามนิยามอาการป่วยของไข้เลือดออก ซึ่งพบผู้ป่วยที่เข้าได้ตามนิยาม 8 ราย รวมรายที่ได้รับรายงาน (Index case) ด้วย พบว่า ผู้ป่วยทุกรายจะมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ รองลงมามีอาการอาเจียน ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ และผลการทำ Tourniquet test ให้ผลบวก โดยมีส่วนน้อยที่มีผื่นแดง ตับโตกดเจ็บ และมีเลือดออกทางอวัยวะภายใน ทั้งนี้มีผู้ป่วยเพียง 1 ราย ที่มีภาวะช็อค รายละเอียดดังภาพที่ 3
ภาพที่ 3 จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกตามนิยาม ในพื้นที่สถานีอนามัยหนองยาง ตำบลโคกสำราญ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร จำแนกตามลักษณะทางคลินิก ระหว่างวันที่ 6-11 มกราคม 2550
อาการ
จำนวน (คน)
จากการทบทวนข้อมูลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา ในผู้ป่วยไข้เลือดออกตามนิยาม ตั้งแต่แรกรับจนถึงวันจำหน่าย ทั้ง 8 ราย เพื่อประกอบการวินิจฉัยโรคเบื้องต้นและการรักษาของแพทย์ จาก W.B.C., Platelet, Hct. เทียบกับเกณฑ์ของ WHO พบว่า มีเพียงรายที่ 8 ที่มีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการค่า WBC, Platelet เป็นไปตามเกณฑ์ของ WHO ส่วนผู้ป่วยรายอื่น ๆ ทุกรายผลตรวจไม่สอดคล้องกับเกณฑ์ แต่ในผู้ป่วยรายแรก ซึ่งเป็นผู้ป่วยไข้เลือดออกที่ได้รับรายงาน (Index case) แม้ว่าจะมีเพียง Platelet ที่เป็นไปตามเกณฑ์ แต่ผู้ป่วยมีอาการช็อคร่วมด้วย แพทย์จึงวินิจฉัยดังกล่าว ในขณะที่ผู้ป่วยรายอื่นๆ แพทย์ใช้อาการทางคลินิกและประวัติการอยู่ในพื้นที่เสี่ยงคือเป็นผู้อยู่ใกล้ชิด อาศัยอยู่ในละแวกใกล้บ้านผู้ป่วยเป็นเกณฑ์ รายละเอียดดังตารางที่ 1 และ 2
ตารางที่ 1 ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกตามนิยาม ทางห้องปฏิบัติการ ในพื้นที่สถานีอนามัยหนองยาง ตำบลโคกสำราญ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
ผู้ป่วย
รายที่ WBC < 5,000 เซล/มม3. Platelet < 100,000 เซล/มม3.
ครั้งที่ส่งตรวจ/วันที่ตรวจ ครั้งที่ส่งตรวจ/วันที่ตรวจ
1 2 3 1 2 3
1 5,200
10/1/50 5,700
11/1/50 5,200
12/1/50 10,200
10/1/50 15,100
11/1/50 73,000
12/1/50
2 3,900
9/1/50 4,200
10/1/50 - 138,000
9/1/50 12,600
10/1/50 -
3 4,500
11/1/50 4,700
12/1/50 - 188,000
11/1/50 180,000
12/1/50 -
4 2,800
12/1/50 4,500
13/1/50 4,200
14/1/50 176,000
12/1/50 207,000
13/1/50 134,000
14/1/50
5 7,300
13/1/50 6,000
14/1/50 4200
15 1/50 176,000
13/1/50 183,000
14/1/50 221,000
15/1/50
6 5,100
13/1/50 2,900
15/1/50 - 264,000
13/1/50 250,000
15/1/50 -
7 4,200
13/1/50 2,700
17/1/50 3,500
18/1/50 216,000
13/1/50 107,000
17/1/50 118,000
18/1/50
8 1,900
18/1/50 2,100
19/1/50 4,300
20/1/50 78,000
18/1/50 78,000
19/1/50 85,000
20/1/50
หมายเหตุ
รายที่ 1 ชื่อ ด.ช.ธนาดุล กลางประพันธ์ บ้านห้วยสะแบก หมู่ที่ 5 ต.โคกสำราญ
รายที่ 2 ชื่อ ด.ญ.อัจฉรา อุนาวงศ์ บ้านห้วยสะแบก หมู่ที่ 5 ต.โคกสำราญ
รายที่ 3 ชื่อ ด.ช.นฤเบศร์ พลดงนอก บ้านห้วยสะแบก หมู่ที่ 5 ต.โคกสำราญ
รายที่ 4 ชื่อ ด.ช.อลงกรณ์ ทองโกฏิ บ้านห้วยสะแบก หมู่ที่ 5 ต.โคกสำราญ
รายที่ 5 ชื่อ นายวันเฉลิม ชินนะแสง บ้านหนองยางใต้ หมู่ที่ 11 ต.โคกสำราญ
รายที่ 6 ชื่อ นายธีระวุฒิ กัลยา บ้านห้วยสะแบก หมู่ที่ 5 ต.โคกสำราญ
รายที่ 7 ชื่อ ด.ช.ปกรณ์ แขกวันวงศ์ บ้านห้วยสะแบก หมู่ที่ 5 ต.โคกสำราญ
รายที่ 8 ชื่อ ด.ช.คงพันธ์ เนาวบัตร บ้านห้วยสะแบก หมู่ที่ 5 ต.โคกสำราญ
ตารางที่ 2 ผลการตรวจ Hematocrit ของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกตามนิยาม ทางห้องปฏิบัติการ ในพื้นที่สถานีอนามัยหนองยาง ตำบลโคกสำราญ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
ผู้ป่วย
รายที่ Hct >10 – 20% จากเดิม
ครั้งที่ส่งตรวจ/วันที่ตรวจ/เวลา
1 2 3 4 5 6 7
1 49%
10/1/50
22.45 น. 52%
11/1/50
02.00 น. 58%
11/1/50
06.00 น. 58%
11/1/50
10.00 น. 49%
11/1/50
11.45 น. 50%
11/1/50
18.00 น. 48%
11/1/50
22.00 น.
2 36%
9/1/50
10.00 น 36%
9/1/50
18.00 น. 35%
9/1/50
24.00 น. 36%
10/1/50
07.00 น. 34%
10/1/50
18.00 น. 33%
10/1/50
24.00 น.
3 38%
11/1/50
10.00 น. 35%
11/1/50
18.00 น. 33%
11/1/50
24.00 น. 37%
12/1/50
06.00 น. 35%
12/1/50
18.00 น. 34%
12/1/50
24.00 น. 38%
13/1/50
06.00 น.
4 39%
12/1/50
18.00 น. 43%
13/1/50
06.00 น. 40%
14/1/50
12.00 น. 39%
14/1/50
18.00 น. 39%
14/1/50
24.00 น. 40%
15/1/50
06.00 น. 39%
15/1/50
12.00 น.
5 45%
13/1/50
14.00 น. 43%
13/1/50
18.00 น. 40%
13/1/50
24.00 น. 42%
14/1/50
06.00 น. 44%
11/1/50
18.00 น. 42%
15/1/50
24.00 น. 39%
15/1/50
06.00 น.
6 40%
13/1/50
18.00 น. 41%
13/1/50
24.00 น. 39%
14/1/50
06.00 น. 40%
14/1/50
12.00 น. 38%
14/1/50
18.00 น. 40%
14/1/50
24.00 น. 41%
15/1/50
06.00 น.
7 37%
13/1/50
11.30 น. 37%
13/1/50
18.00 น. 33%
13/1/50
24.00 น. 37%
14/1/50
06.00 น. 39%
14/1/50
12.00 น. 39%
14/1/50
18.00 น. 38%
14/1/50
24.00 น.
8 50%
18/1/50
12.00 น. 47%
18/1/50
16.00 น. 47%
18/1/50
20.00 น. 48%
18/1/50
24.00 น. 44%
19/1/50
04.00 น. 48%
19/1/50
08.00 น. 48%
19/1/50
12.00 น.
4. การศึกษาสิ่งแวดล้อมและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค
4.1 แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
จากการสำรวจบ้านของผู้ป่วยรายแรกที่ได้รับรายงานการระบาดของโรค ที่บ้านห้วยสะแบก หมู่ที่ 5 ตำบลโคกสำราญ อำเภอเลิงนกทา ซึ่งห่างจากตัวอำเภอไปทางทิศเหนือประมาณ 12 กิโลเมตร ในวันที่ 11 มกราคม 2550 พบว่า ลักษณะบ้านที่อยู่เป็นบ้านคอนกรีตชั้นเดียว อยู่ติดกับ ทุ่งนาบริเวณหลังบ้าน และอยู่ห่างจากบ้านหลังอื่น ๆ ประมาณ 5 เมตร บริเวณรอบ ๆ บ้านมีสวนกล้วย และต้นไม้ขึ้นบ้างหลายหลังคาเรือน ภายในตัวบ้านส่วนใหญ่ไม่ค่อยเปิดหน้าต่างรับแสงจากภายนอก มีตู้เสื้อผ้า 2 ตู้และมีเสื้อผ้าแขวนอยู่ มีภาชนะเก็บกักน้ำ 4 ใบ ลักษณะนิสัยส่วนใหญ่ของผู้ป่วยชอบอยู่แต่ในบ้านดูโทรทัศน์ และชอบนอนกลางวันเปิดพัดลม ไม่ชอบนอนกลางมุ้ง ไม่ใช้ยากันยุง หลังบ้านมีต้นไม้เตี้ย ๆ ขึ้นอยู่ และมีหญ้าขึ้นสูง เพราะส่วนใหญ่จะมีน้ำเสียถูกระบายไปทางหลังบ้านลงสู่ทุ่งนา ซึ่งจากการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
- บ้านผู้ป่วย มีจำนวนภาชนะที่สำรวจมี 4 ภาชนะ พบลูกน้ำยุงลาย 1 ภาชนะ คิดค่า CI=25
- รอบบ้านผู้ป่วยในรัศมี 100 เมตร สำรวจ 50 หลังคาเรือน พบลูกน้ำยุงลาย 9 หลังคาเรือน จำนวนภาชนะที่สำรวจมี 269 ภาชนะ พบลูกน้ำยุงลาย 23 ภาชนะ คิดค่า CI=8.55 HI=18
- ในหมู่บ้านไม่มีโรงเรียน
- มีวัดอยู่ 1 แห่ง สำรวจภาชนะทั้งหมด 10 ภาชนะ พบลูกน้ำยุงลาย 3 ภาชนะ คิดค่า CI=30
- แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอื่นๆ นอกจากภาชนะที่มนุษย์ทำขึ้น เช่น น้ำขังบนใบพืช กาบต้นกล้วย เป็นต้น พบว่า ส่วนใหญ่ไม่พบลูกน้ำยุงลายในพืชประเภทนี้ และแหล่งน้ำขังส่วนใหญ่เป็นน้ำมาจากน้ำประปาของหมู่บ้านซึ่งเปิด-ปิดเป็นเวลา อีกอย่างช่วงนี้เป็นช่วงต้นปี ยังไม่เข้าสู่ฤดูฝน ทำให้ไม่ค่อยมีน้ำขัง เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลาย
ภาพที่ 4 สภาพบ้านและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายบริเวณรอบ ๆ บ้านผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกรายแรก บ้านห้วยสะแบก หมู่ที่ 5 ตำบลโคกสำราญ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
นอกจากนี้ ในวันที่ 11 มกราคม 2550 คณะทำงานทีมสอบสวนโรค (SRRT) ได้ดำเนินการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเพื่อหาแหล่งรังโรคไข้เลือดออกครอบคลุมทั้งหมู่บ้าน ที่บ้านห้วยสะแบก พร้อมทั้งควบคุมการระบาดของโรคจากจุดเริ่มต้นที่บ้านผู้ป่วย และจาการสำรวจค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย พบว่า ในคุ้มที่ 3 และ 4 เป็นคุ้มที่มีผู้ป่วยไข้เลือดออก รายละเอียด ดังตารางที่ 3 ส่วนในรงเรียนบ้านหนองยางห้วยสะแบก ซึ่งห่างจากคุ้มบ้านผู้ป่วย ประมาณ 900 เมตร จำนวนภาชนะที่สำรวจมี 16 ภาชนะ พบลูกน้ำยุงลาย 0 ภาชนะ และในวัด 1 แห่ง ภายในบริเวณวัดมีกุฏิของพระสงฆ์ จำนวน 2 หลัง และมีศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์อยู่ด้วย 1 แห่ง (มีเด็กจำนวน 70 คน) สำรวจภาชนะทั้งหมด 24 ภาชนะ พบลูกน้ำยุงลาย 9 ภาชนะ ส่วนใหญ่จะพบลูกน้ำยุงลายอยู่ในห้องน้ำของวัด บาตรพระเก่า ๆ และที่ ล้างเท้า เป็นต้น ค่า CI=37.50 นอกจากนี้จากการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอื่น ๆ นอกจากภาชนะที่มนุษย์ทำขึ้น ไม่พบลูกน้ำยุงลายเลย
ตารางที่ 3 จำนวนหลังคาเรือน และภาชนะที่สำรวจพบลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน บ้านห้วยสะแบก หมู่ที่ 5 ตำบลโคกสำราญ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร สำรวจวันที่ 11 มกราคม 2550
คุ้มที่ หลังคาเรือนที่สำรวจ หลังคาเรือนที่พบลูกน้ำ ค่า HI ภาชนะที่สำรวจ ภาชนะที่พบ ค่า CI
1 45 5 11.11 89 6 6.74
2 46 7 15.22 91 9 9.89
3 48 11 22.92 97 11 11.34
4 48 10 20.83 97 13 13.40
รวม 187 33 17.65 374 39 10.43
4.2 แหล่งโรค
จากการสอบสวนญาติและตัวผู้ป่วย เพื่อหาแหล่งของการติดเชื้อของผู้ป่วยรายแรก บ้านห้วยสะแบก หมู่ที่ 5 ตำบลโคกสำราญ พบว่า
1) ในช่วง 14 วัน ก่อนป่วย ผู้ป่วยไม่เคยไปที่ไหนเลย นอกจากไปเรียนหนังสือประจำที่โรงเรียนบ้านหนองยางห้วยสะแบก
2) ไม่มีผู้ที่อาศัยร่วมบ้านเดียวกัน ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกในช่วง 14 วัน ก่อนวันเริ่มป่วยของผู้ป่วยรายนี้
3) มีผู้ป่วยเป็นนักเรียนจากโรงเรียนบ้านหนองยางห้วยสะแบก ที่มีอาการสงสัยไข้เลือดออก จำนวน 2 ราย นับจากวันที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกในช่วง 14 วัน ก่อนวันเริ่มป่วยของผู้ป่วยรายนี้
4) มีผู้ป่วย ซึ่งเป็นนักเรียนดังข้อที่ 3 จำนวน 2 ราย ที่อยู่บ้านติดกันหรือละแวกบ้านเดียวกัน ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกในช่วง 14 วัน ก่อนวันเริ่มป่วยของผู้ป่วยรายนี้
จากผลการสอบสวนเพื่อหาแหล่งรังโรคดังกล่าว สรุปได้ว่า การระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่บ้านห้วยสะแบกในครั้งนี้ มีแหล่งรังโรคอยู่ในชุมชน โดยเฉพาะคุ้มที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ ซึ่งพบค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายมีค่าสูง ประกอบกับผลการสำรวจดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะที่สำรวจ และไม่พบผู้ป่วยไข้เลือดออกจากหมู่บ้านอื่นที่มาเข้าศึกษาอยู่ที่โรงเรียนแห่งนี้ ในช่วง 14 วันก่อนวันเริ่มป่วยของผู้ป่วยรายนี้ พร้อมทั้งภายหลังจากการติดตามสอบสวนโรคต่อเนื่องไปอีก 1 สัปดาห์ ก็ไม่พบผู้ป่วยในหมู่บ้านอื่น ๆ อีก
5. การศึกษาข้อมูลผู้ป่วยไข้เลือดออกย้อนหลัง 5 ปี
จากการศึกษาข้อมูลผู้ป่วยไข้เลือดออกย้อนหลัง 5 ปี ในพื้นที่เขตรับผิดชอบของสถานีอนามัยหนองยาง ตำบลโคกสำราญ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 – 2550 เพื่อดูแนวโน้มของการเกิดโรค พบว่า มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก ลักษณะหรือแนวโน้มของการระบาดเป็นปีเว้นปี ซึ่งในปี พ.ศ. 2548-2550 มีการระบาดของโรคเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง รายละเอียดดังภาพที่ 7
ภาพที่ 5 จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่สถานีอนามัยหนองยาง ตำบลโคกสำราญ อำเภอ เลิงนกทา จำแนกรายปีตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2545 – 2550
จำนวน (คน)
ปี พ.ศ.
ส่วนการศึกษาข้อมูลผู้ป่วยไข้เลือดออกย้อนหลัง 5 ปี เฉพาะพื้นที่ของบ้านห้วยสะแบก หมู่ที่ 5 ตำบลโคกสำราญ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545–2550 เพื่อดูแนวโน้มของการเกิดโรค พบว่า มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก ลักษณะปีเว้นปี รายละเอียดดังภาพที่ 8 ประกอบกับในปี 2550 นี้ พบว่า การระบาดเริ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปี ทั้งที่ยังไม่เข้าสู่ฤดูกาลระบาด ดังนั้นจึงสามารถพยากรณ์ได้ว่า ในปี 2550 เป็นปีที่จะมีการระบาดรุนแรง ตามหลักการหรือแนวโน้มทางระบาดวิทยา
ภาพที่ 6 จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก บ้านห้วยสะแบก หมู่ที่ 5 ตำบลโคกสำราญ อำเภอเลิงนกทา จำแนกรายปีตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2540–2550
จำนวน (คน) ปี พ
จากข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมดทำให้ได้สมมติฐานว่า ลักษณะการระบาดของโรคเป็นแบบการระบาดจากแหล่งแพร่เชื้อร่วม โดยมียุงลายที่มีเชื้อไข้เลือดออกเป็นพาหะนำโรค ซึ่งแหล่งรังโรคของผู้ป่วยไข้เลือดออกที่เข้าได้ตามนิยามทั้งหมด น่าจะเกิดจากการติดเชื้อไข้เลือดออกในหมู่บ้าน บ้านห้วยสะแบกหมู่ที่ 5 แห่งนี้ โดยเฉพาะบ้านผู้ป่วยรายแรก ซึ่งสำรวจพบแหล่งเพาะพันธุ์ที่มีลูกน้ำยุงลาย คิดค่า CI=25
เนื่องจากพบผู้ป่วยสงสัยไข้เลือดออกจากหมู่บ้านอื่นอีก 1 ราย (รายที่5) ที่บ้านหนองยางใต้ หมู่ที่ 11 แต่ไม่มีการกระจายเชื้อในรายอื่น ๆ ในหมู่บ้าน ทำให้ทีมสอบสวนโรค (SRRT) สันนิษฐานว่า เกิดการแพร่เชื้อของโรคโนโรงเรียนบ้านหนองยางห้วยสะแบกหรือไม่ แต่จากการสอบสวนโรคผู้ป่วย รายนี้ พบว่า ผู้ป่วยจะชอบไปเล่นกับเพื่อนหลังเลิกเรียนทุกวัน เนื่องจากผู้ป่วยเป็นเพื่อนสนิทร่วมชั้นเรียนกับผู้ป่วยอีกหนึ่งราย คือรายที่ 6 และจาการสอบสวนโรคพบว่า ผู้ป่วยรับเชื้อไข้เลือดออกในวันเดียวกันกับผู้ป่วยรายที่ 6 ประกอบกับผลการสำรวจดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะที่สำรวจ ซึ่งแสดงว่าไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการระบาดของโรค พร้อมทั้งภายหลังจากการติดตามสอบสวนโรคต่อเนื่องไปอีก 1 สัปดาห์ ก็ไม่พบผู้ป่วยรายอื่นเพิ่มขึ้นอีกในหมู่บ้าน
นอกจากนี้ เมื่อดูแนวโน้มของโรคไข้เลือดออกของอำเภอเลิงนกทา พบว่า ลักษณะของการระบาด จะเป็น 3 ปีเว้น 1 ปี ปีที่มีอัตราป่วยสูงที่สุดคือ ปี 2546 อัตราป่วยต่อแสนเท่ากับ 87.13 รองลงมาคือ ปี 2545 อัตราป่วยต่อแสนเท่ากับ 63.85 และปี 2544 อัตราป่วยต่อแสนเท่ากับ 48.59 ซึ่งในปี 2550 ก็สามารถพยากรณ์แนวโน้มของการเกิดโรคได้ว่าจะมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกอยู่แต่ไม่ถึงกับเป็นการระบาดใหญ่ แต่ถ้าหากไม่มีการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคที่เข้มแข็งก็สามารถที่จะเกิดการระบาดของโรคได้เช่นกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยของฤดูกาลสิ่งแวดล้อม และแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่มนุษย์สร้างขึ้น
ภาพที่ 7 ข้อมูลอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร จำแนกรายปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 – 2550
อัตราป่วยต่อแสนประชากร
ที่มา: งานระบาดวิทยา ศูนย์ระบาดวิทยาอำเภอเลิงนกทา ณ วันที่ 10 กรกฎาคม 2550
มาตรการควบคุมและป้องกันโรค
1. มาตรการควบคุมโรค
ที่ทีมสอบสวนโรค (SRRT) และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา ได้ดำเนินการร่วมกับสถานีอนามัยหนองยาง และสถานีอนามัยในกลุ่มเครือข่าย มีดังนี้
1. เตรียมชุมชน ประชุมผู้นำ, อสม., อบต. และประชาชนในหมู่บ้าน เพื่อขอความร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรคอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง ในวันที่ 11 - 18 มกราคม 2550
2. แจ้งประชาชนให้ทราบถึงการระบาดของโรคไข้เลือดออก ผ่านทางหอกระจายข่าวหมู่บ้าน โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. ผู้นำชุมชน ทุกวัน และประกาศให้ทุกหลังคาเรือนร่วมกันรณรงค์กำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เก็บและทำลายภาชนะที่ไม่ใช้ให้หมด ปิดฝาโอ่งน้ำใช้หรือใช้ผ้าปิดฝาโอ่งน้ำดื่มให้มิดชิด
3. ประสานหน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง จังหวัดยโสธร เข้าสำรวจดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายร่วมกับ อสม. บ้านห้วยสะแบก หมู่ที่ 5 ดำเนินการในวันที่ 12 มกราคม 2550 มีค่า HI=1.12 CI=0.28
4. ประสาน อบต.โคกสำราญ ในวันที่ 12 มกราคม 2550 เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการ
5. พ่นหมอกควันทำลายยุงตัวแก่ที่บ้านห้วยสะแบกในรัศมี 100 เมตร และครอบคลุมพื้นที่ทุกหลังคาเรือน ในวันที่ 12 มกราคม 2550 และพ่นซ้ำอีกในวันที่ 18 มกราคม 2550
6. สนับสนุนยาพ่นฆ่าแมลงกำจัดยุงตัวแก่ (Nock down) ในบ้านผู้ป่วยและหลังคาเรือนอื่นๆ รอบรัศมี 50 เมตร บ้านห้วยสะแบก หมู่ที่ 5 ดำเนินการในวันที่ 12 และ 18 มกราคม 2550
7. ให้ อสม. บ้านห้วยสะแบก หมู่ที่ 5 เดินใส่ทรายทีมีฟอส ครอบคลุมพื้นที่ทุกหลังคาเรือน โดยดำเนินการในวันที่ 12 มกราคม 2550
8. ประชุม อสม. ทั้ง 4 หมู่บ้าน เพื่อช่วยกันร่วมรณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในการเอกซเรย์ให้ครอบคลุมพื้นที่หมู่บ้านห้วยสะแบกทุกหลังคาเรือน วัด ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ โดยดำเนินการวันที่ 16 มกราคม 2550
9. ประชุมทีม SRRT กลุ่มสถานีอนามัยเครืออข่ายใต้ เพื่อหามาตรการ และแนวทางการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ในวันที่ 17 มกราคม 2550 และผลการประชุมดังกล่าวได้กำหนดมาตรการเสริมเพื่อการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกแบบยั่งยืนดังนี้
9.1 ตรวจประเมินความชุกลูกน้ำยุงลาย โดยคณะกรรมการหมู่บ้าน และ อสม. ทุกสัปดาห์ โดยใช้สัญลักษณ์ธงเขียวธงแดง และสติ๊กเกอร์ขอบคุณที่บ้านนี้ปลอดลูกน้ำยุงลาย
9.2 จัดประกวดบ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย
10. รณรงค์สำรวจดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และพ่นหมอกควันกำจัดยุงตัวเต็มวัย พร้อมกันทุกหมู่บ้าน โดยทีม SRRT กลุ่มสถานีอนามัยเครือข่ายใต้ หน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ผู้นำชุมชน อสม. อบต. และประชาชนในแต่ละหมู่บ้าน ดำเนินการในวันที่ 18 มกราคม 2550
11. เฝ้าระวังผู้ป่วยในหมู่บ้าน ทุกกลุ่มอายุที่มีอาการไข้สูงเฉียบพลัน และให้ทำ Tourniquet test ทุกรายในช่วง 1 เดือนนับจากวันเริ่มป่วยของผู้ป่วยรายแรกของหมู่บ้าน โดย อสม.รายงานผู้สงสัยในเขตรับผิดชอบของตนเองให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที
2. ผลการเฝ้าระวังและควบคุมโรค
จากการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคของทีม SRRT และทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเครือข่าย ผู้นำชุมชน อบต. อสม. และประชาชน หลังการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคโดยการเฝ้าระวังผู้ป่วยตั้งแต่วันเริ่มป่วยของผู้ป่วยรายแรกเป็นระยะเวลา 2 เท่าของระยะฟักตัวที่ยาวที่สุดคือ 15 วัน ให้เฝ้าระวังเป็น 30 วัน บ้านห้วยสะแบก หมู่ที่ 5 ให้เฝ้าระวังตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2550 ถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2550 ซึ่งเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเฝ้าระวังและดำเนินการควบคุมอย่างต่อเนื่องตามมาตรการที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย พบว่า บ้านห้วยสะแบก หมู่ที่ 5 ไม่มีผู้สงสัยหรือผู้ป่วยไข้เลือดออกรายใหม่เพิ่มขึ้นอีก
สรุปผลการสอบสวนโรค
จากการศึกษาครั้งนี้ สรุปได้ว่าการระบาดของโรคไข้เลือดออกที่เกิดขึ้นใน หมู่บ้านห้วยสะแบก หมู่ที่ 5 ตำบลโคกสำราญ ในช่วงเดือนมกราคม 2550 เป็นการติดเชื้อในพื้นที่ จากแหล่งแพร่เชื้อร่วม ไม่ได้นำเข้าจากที่อื่น เนื่องจากพบแหล่งเพาะพันธุ์และอัตราความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายอยู่ในเกณฑ์ที่มีความเสี่ยงของการเกิดโรคสูง มีผู้ป่วยอยู่ในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกัน เป็นผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 10 ปี มี 3 ราย อายุระหว่าง 10-14 ปี มี 3 ราย และ อายุระหว่าง 15-19 ปี มี 2 ราย อายุเฉลี่ย 11 ปี สำหรับปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคคือการที่ถูกยุงลายที่มีเชื้อไข้เลือดออกกัดบ่อยๆ ในช่วงระยะเวลาหากินตามธรรมชาติของยุงลายโดยผู้ป่วยไม่ได้นอนกางมุ้ง ชอบดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ อยู่แต่ในบ้าน หรือไปวิ่งเล่นกับเพื่อนๆ แหล่งที่สงสัยเป็นแหล่งชุกชุมของยุงลาย โดยมีต้นไม้ขึ้นรกและมีคลองน้ำขัง บ้านที่พักอาศัยบริเวณในและนอกบ้านพบทั้งลูกน้ำยุงลายและยุงตัวแก่ซึ่งมีค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายอยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่าค่าที่กำหนด เมื่อได้ดำเนินการควบคุมป้องกันโรคควบคู่ไปกับการเฝ้าระวังโรคเป็นระยะเวลา 2 เท่าของระยะฟักตัว พบว่า ไม่มีผู้ป่วยหรือผู้สงสัยเป็นไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น
อภิปรายผล
จากการสอบสวนโรคไข้เลือดออกโดยทีมสอบสวนโรค (SRRT) อำเภอเลิงนกทา ที่บ้าน ห้วยสะแบก หมู่ที่ 5 ตำบลโคกสำราญ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ระหว่างวันที่ 11-18 มกราคม 2550 โดยใช้วิธีการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาในครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าเป็นการระบาดของโรคไข้เลือดออก โดยมีข้อมูลที่สนับสนุนดังนี้
1) วันที่เริ่มป่วยของผู้ป่วยไข้เลือดออก ซึ่งอาจจะถูกยุงลายกัดและติดเชื้อ มีระยะฟักตัวของโรคจนมีอาการในช่วงวันที่ใกล้เคียงกันจากผู้ป่วยรายแรก จนถึงผู้ป่วยรายต่อ ๆ มา โดยมีระยะเวลาสั้นที่สุด 3 วัน ยาวที่สุด 15 วัน (กรมควบคุมโรค, 2545) จากการอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเดียวกันและมีแหล่งโรคเดียวกัน
2) อาการและการตรวจพบทางคลินิก ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการที่สำคัญของโรคไข้เลือดออก (กรมควบคุมโรค, 2536, 2545) อันดับแรก คือ ไข้สูงเฉียบพลัน และตามมาด้วยอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระบอกตา Tourniquet test ให้ผลบวก มีเลือดออกอวัยวะภายใน
3) ข้อมูลทางระบาดวิทยา จากการศึกาสิ่งแวดล้อมและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค ดดยการหาแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย แหล่งโรคในบ้าน นอกบ้าน บ้านใกล้เคียงที่อยู่ในรัสมี 100 เมตร วัดและโรงเรียน ของผู้ป่วยแต่ละราย ก่อนการรณรงค์ควบคุมโรค รวมทั้งข้อมูลผู้ป่วยไข้เลือดออกย้อนหลัง 5 ปี ของแต่ละหมู่บ้านเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแนวโน้มของการเกิดโรค โดยใช้ข้อมูลค่า CI และ HI เป้นดัชนีในการวัดความเสี่ยงของการเกิดโรคเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน พบว่า ค่า CI ในคุ้มที่มีการระบาดของโรคมีค่ามากกว่า 10 , HI มีค่ามากกว่า 10 ซึ่งการแปรผลค่าดัชนีทางกีฏวิทยาโดย Pant and Self (ใน WHO, 1993 อ้างใน กรมควบคุมโรค, 2545 : 86) พบว่ามีโอกาสหรือความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านเมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน
4) ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการตั้งแต่การเริ่มเข้ารับการรักษาจนกระทั่งสิ้นสุดการรักษาโดยแพทย์ผู้ให้การรักษา เพื่อใช้ผลดังกล่าวยืนยันผู้ป่วยแต่ละรายว่าเข้าเกณฑ์ผู้ป่วยไข้เลือดออกหรือไม่ รวมทั้งเฝ้าระวังภาวะเสี่ยง คือ ภาวะการช็อค ซึ่งเป็นความรุนแรงของโรคที่จะนำมาซึ่งการเสียชีวิตได้ โดยการเจาะเลือดส่งตรวจ CBC เพื่อให้แพทย์ใช้ประกอบการวินิจฉัยโรคเบื้องต้น และตัดสินใจในการรักษา ซึ่งใช้ผลของ W.B.C., Platelet, Hct. เทียบกับเกณฑ์ของ WHO (กระทรวงสาธารณสุข, 2544) พบว่า ผู้ป่วยไข้เลือดออกตามนิยามทั้ง 8 ราย มีผลเลือดที่เข้าได้กับเกณฑ์ทั้ง 3 อย่าง เพียง 1 ราย
ปัญหาและข้อจำกัดในการดำเนินงาน มีดังนี้
1) ความพร้อมด้านวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงาน เนื่องจากการระบาดในครั้งนี้ เป็นการระบาดตั้งแต่ต้นปี ซึ่งการเตรียมพร้อมในการรับการระบาดของ SRRT ทั้งระดับกลุ่มเครือข่ายสถานีอนามัย และระดับอำเภอยังไม่ดีเท่าที่ควร
2) สภาพพื้นที่ดำเนินงานควบคุมโรค เป็นพื้นที่ที่มีสวนครัว ป่ากล้วย บริเวณหลังและรอบบ้าน ทำให้การดำเนินการสำรวจและควบคุมโรคทำได้ยาก มีแหล่งที่เป็นที่หลบซ่อนของยุงมากมาย
3) ประชาชนในพื้นที่ยังความเข้าใจและความตระหนักต่อปัญหาโรคไข้เลือดออก เนื่องจากเป็นการระบาดตั้งแต่ต้นปี ทำให้ประชาชนบางส่วนไม่เชื่อว่าจะเป็นการระบาดของโรคไข้เลือดออก และยังไม่รู้สึกตื่นกลัว ส่งผลให้การให้ความร่วมมือในระยะแรกๆ มีน้อย ซึ่งต้องอาศัยการกระตุ้นจากหลายฝ่ายร่วมกัน
ข้อเสนอแนะ
1) ควรประสานการดำเนินงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความพร้อมในการดำเนินงานควบคุมโรคอย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา สามารถดำเนินการได้ทันต่อเหตุการณ์การระบาด
2) ควรมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้ และรณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงของวงจรชีวิตยุงและลักษณะการระบาดในสถานการณ์ปัจจุบัน
3) ในช่วงการระบาดรุนแรง ควรนำมาตรการเสริมด้านแรงจูงใจเข้ามาใช้ร่วมในการดำเนินงาน เช่น การประกวด การให้รางวัล เป็นต้น
ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ร่วมสอบสวนโรคประกอบด้วย
1. นายสันติ โสมรักษ์ เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 5 สถานีอนามัยหนองยางอำเภอเลิงนกทา
2. นายศิริรักษ์ คุณสุทธิ์ นักวิชาการสาธารณสุข 7 ว สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา
3. นายประเสริฐ ประสมรักษ์ นักวิชาการสาธารณสุข 7 ว สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา
4. นางวาณีรัตน์ ไชยสัจ เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข 6 โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา
เอกสารอ้างอิง
กองระบาดวิทยา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย 2544. กระทรวงสาธารณสุข, 2544.
กองโรคติดต่อ กรมควบคุมโรคติดต่อ. ไข้เลือดออก. กระทรวงสาธารณสุข, 2536.
กำพล ศรีวัฒนกุล. คู่มือการใช้ยาฉบับสมบูรณ์. บริษัทสกายบุ๊กส์ จำกัด. พิมพ์ครั้งที่ 3, 2541.
กลุ่มระบาดวิทยา. คู่มือพัฒนาทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี, 2548.
ธีระ รัฐถาวร และ ประหยัด แดงสุภา. ระบาดวิทยาเชิงปฏิบัติการ. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2537.
เพ็ญจันทร์ สุวรรณแสง โมไนยพงศ์. การวิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการสำหรับพยาบาล. ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. พิมพ์ครั้งที่ 5, 2535.
สำนักงานควบคุมโรคไข้เลือดออก กรมควบคุมโรคติดต่อ. โรคไข้เลือดออก ฉบับประเกียรณก. กระทรวงสาธารณสุข, 2543.
วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น