วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553

ไข้เลือดออก

ไข้เลือดออก
สุรศักดิ์ ตรีนัย
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสแดงกี มียุงลายตัวเมีย เป็นพาหะนำโรค ส่วนใหญ่มักจะเป็นในเด็ก โดยเฉพาะในช่วงอายุ 5-10 ปี และมักจะระบาดในช่วงฤดูฝน
เมื่อไรจะสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก อาการของไข้เลือดออกไม่จำเพาะ อาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ในผู้ใหญ่อาจจะมีไข้สูง ปวดศรีษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ ลักษณะอาการที่สำคัญของไข้เลือกออกคือ
1.ไข้สูงเฉียบพลัน 2-7 วัน : ส่วนใหญ่ไข้จะสูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส ไข้สูงลอย ไม่ลดลง
2.เบื่ออาหาร หน้าแดง ปวดศีรษะ ร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน และอาจมีอาการปวดท้อง กดเจ็บใต้ชายโครงขวาเนื่องจากตับโต
3.บางรายอาจมีจุดเลือดสีแดงขึ้นตามลำตัว แขน ขา อาจมีกำเดาออก หรือเลือดออกตามไรฟัน และถ่ายอุจาระดำเนื่องจากเลือดออก มักเกิดประมาณวันที่ 3 - 4 ของไข้
4.ในรายที่ช็อคจะสังเกตได้จากการที่ไข้ลดแต่ผู้ป่วยซึมลง ตัวเย็น หมดสติและเสียชีวิตได้
จัดสังเกตอาการสำคัญที่เป็นรูปแบบค่อนข้างเฉพาะ 4 ประการ คือ 1)มีไข้สูงลอยแบบเฉียบพลัน 2 - 7 วัน 2)มีจุดเลือดออกที่ผิวหนัง 3)ตับโตซึ่งอาจทำให้ปวดท้องและ 4)อาจมี ภาวะช็อกได้ ฉะนั้นเมื่อบุตรหลาน มีอาการเหล่านี้ จึงควรพาบุตรมาพบแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัย และ การรักษาที่ถูกต้อง การดูแลเมื่อสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก
1.ระยะที่มีไข้สูงให้เช็ดตัวลดไข้และให้ยาลดไข้ พวกพาราเซตามอล ห้ามใช้ยาพวกแอสไพรินเพราะจะทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น
2.ให้ดื่มน้ำผลไม้หรือสารละลายผงน้ำตาลเกลือแร่ (โอ อาร์ เอส) ในรายที่อาเจียนควรให้ดื่มครั้งละน้อย ๆ และดื่มบ่อย ๆ
3.สังเกตอาการคลื่นไส้ อาเจียน การขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
พาไปพบแพทย์ตามนัดหรือเมื่อมีอาการผิดปกติต่อไปนี้
1.อาเจียนมากไม่สามารถดื่มน้ำได้
2.อาเจียนหรือถ่ายอุจจาระเป็นเลือด
* คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


3.ปวดท้องมาก
3.ไข้ลดลงแต่มีอาการซึม กระสับกระส่าย มือเท้าเย็นซึ่งเป็นอาการของช็อก
การป้องกันโรคไข้เลือดออก การป้องกันที่ดีที่สุดก็คือ กำจัดหรือลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และพยายามหาทางป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัดธรรมชาติยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อระบายน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง
การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยร่วมือกันกำจัดทุกวันศุกร์ โดยกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ของยุง ด้วยวิธีการง่ายๆดังนี้ โอ่งน้ำ ควรใช้วิธีปิดฝาให้มิดชิด ถังเก็บน้ำที่ไม่มีฝาปิด ควรใส่ทราย อะเบท 1 กรัมต่อ น้ำ 10 ลิตร แจกัน ควรใช้วิธีเปลี่ยนน้ำทุก 7 วัน ขวดเลี้ยงพลูด่าง ควรใช้วิธีเปลี่ยนน้ำทุก 7 วัน หรือปลูกด้วยดินจานรองขาตู้กับข้าว ควรใช้วิธีเติมน้ำเดือดลงไปทุก 7 วัน หรือใส่ชัน/ขี้เถ้า/เกลือ น้ำส้มสายชู / ผงซักฟอก แทนการใส่ด้วยน้ำ จานรองกระถางต้นไม้ ควรใช้วิธีเทน้ำที่ขังอยู่ทิ้งลงดินทุก 7 วัน หรือใส่ทรายธรรมดาให้ ลึก 3 ใน 4 ส่วนของ จานยางรถยนต์เก่า ควรใช้วิธีปกปิด เจาะรูหรือดัดแปลงให้ขังน้ำไม่ได้ อ่างบัว ควรใช้วิธีใส่ปลากินลูกน้ำ เช่นปลาหางนกยูง ปลาสอด ปลาหัวตะกั่ว ท่อระบายน้ำ ควรใช้วิธีระบายน้ำออก อย่าปล่อยให้ท่ออุดตันหลุมบ่อ แอ่งน้ำ ควรใช้วิธีกลบถมด้วยดินหรือทราย เนื่องจากต้องใส่ทรายกำจัดลูกน้ำเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ทรายกำจัดลูกน้ำมักจะจมลงในโคลนตม ทำให้ออกฤทธิ์กำจัดลูกน้ำไม่ได้นาน
ป้องกันตนเองจากยุงลายกัด โดยกรุหน้าต่าง ประตู และช่องลม ด้วยมุ้งลวด ควรเก็บของในบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ ขณะอยู่ในบ้านควรอยู่ในบริเวณที่มีลมพัดผ่านและมีแสงสว่างเพียงพอเพราะยุงลายชองไปหลบซ่อนตามมุมมืดของห้องและเครื่องเรือนต่าง ๆ ที่รก ๆ เวลานอนหลับตอนกลางวัน ควรกางมุ้งหรือนอนในห้องที่มีมุ้งลวด เปิดพัดลมส่ายเบา ๆ ช่วยไล่ยุงเพราะยุงลายจะชอบกัดตอนกลางวัน หรือถ้าหากที่บ้านมียุงมากจริง ๆ ควรใส่กางเกงขายาว เสื้อมีแขน เพื่อให้เหลือพื้นที่เปล่าเปลือยและเสี่ยงต่อการถูกยุงกัดน้อยที่สุด ใช้ยาพ่น/ทากันยุงยากันยุงที่ปลอดภัยควรเป็นยาที่เป็นสารสกัดจากพืช เช่น ตะไคร้หอม ยูคาลิปตัส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น