วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553

โรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออก (Dengue fever, Dengue haemorrhagic fever, Dengue shock syndrome)

ในปี พ.ศ. 2549 สำนักระบาดวิทยา ได้รับรายงานผู้ป่วยจำนวน 46,829 ราย อัตราป่วย 74.78 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 59 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.13 ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2540 - 2549) อัตราป่วยสูงสุดในปี พ.ศ. 2544 (224.3 ต่อประชากรแสนคน) รองลงมาปี พ.ศ. 2541 (210.98 ต่อประชากรแสนคน) อัตราป่วยต่ำสุด ใน ปี พ.ศ. 2543 (30.14 ต่อประชากรแสนคน) และอัตราป่วยลดลง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 - 2547 เป็นต้นมา และเริ่มสูงขึ้นอีกในปี พ.ศ. 2548 - 2549 (รูปที่ 1)
การกระจายการเกิดโรคไข้เลือดออกตามกลุ่มอายุ ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 0 - 24 ปี อัตราป่วยสูงสุด คือ กลุ่มอายุ 10 -14 ปี (291.87 ต่อประชากรแสนคน) รองลงมา คือ กลุ่มอายุ 5 - 9 ปี 15 - 24 ปี 0 - 4 ปี 25 - 34 ปี 35 - 44 ปี และกลุ่มอายุอื่น (รูปที่ 2)
โรคไข้เลือดออกจำแนกตามกลุ่มอาการได้ 3 กลุ่ม คือ Dengue Fever (DF), Dengue Haemorhagic Fever (DHF) และ Dengue Shock Syndrome (DSS) ในปี พ.ศ. 2549 มีสัดส่วนของผู้ป่วยตามกลุ่มอาการดังนี้ ผู้ป่วยไข้เดงกี (DF) 17,062 ราย ร้อยละ 36.43 ผู้ป่วยไข้เลือดออก (DHF) 29,024 ราย ร้อยละ 61.98 ผู้ป่วยไข้เลือดออกช็อก (DSS) 743 ราย ร้อยละ 1.59 สัดส่วนผู้ป่วยไข้เดงกีเพิ่มขึ้น สัดส่วนผู้ป่วยไข้เลือดออก และไข้เลือดออกช็อกลดลง (รูปที่ 3)
กลุ่มอาการ และกลุ่มอายุ มีความคล้ายกันในแต่ละกลุ่มอาการ ทั้งกลุ่มอาการไข้เดงกี (DF), ไข้เลือดออก (DHF) และไข้เลือดออกช็อก (DSS) จะพบกลุ่มอายุที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ กลุ่มอายุ 10 - 14 ปี รองลงมา คือ กลุ่มอายุ 5 - 9 ปี, 15 - 24 ปี, 0 - 4 ปี, 25 - 34 ปี และ 35 ปีขึ้นไป ตามลำดับ (รูปที่ 4)
อัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชาย เท่ากับ 1:1.1 ส่วนใหญ่เป็นนักเรียน ร้อยละ 47.72 รองลงมา คือ อาชีพรับจ้าง และเกษตรกรรม ร้อยละ 13.04 และ 5.0 ตามลำดับ เป็นผู้ป่วยนอก ร้อยละ 20.18 ผู้ป่วยใน ร้อยละ 79.75 และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลชุมชนมากที่สุด ร้อยละ 39.92 รองลงมา คือ โรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลเอกชน และโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 38.22, 13.35 และ 6.84 ตามลำดับ เป็นผู้ป่วยต่างชาติ ร้อยละ 1.31 ชาติเมียนมาร์มีสัดส่วนมากที่สุด ร้อยละ 0.91 รองลงมา คือ ชาติลาว กัมพูชา และจีน ร้อยละ 0.15, 0.08 และ 0.01 ตามลำดับ เป็นชาติอื่น ๆ ร้อยละ 0.16
กลุ่มผู้ป่วยไข้เดงกี (DF) ไม่มีผู้เสียชีวิต กลุ่มผู้ป่วยไข้เลือดออก (DHF) เสียชีวิต 15 ราย ร้อยละ 25.42 ผู้ป่วยไข้เลือดออกช็อก (DSS) 44 ราย ร้อยละ 74.58 อัตราป่วยตายในกลุ่มไข้เลือดออก (DHF) ร้อยละ 0.05 และในกลุ่มไข้เลือดออกช็อก (DSS) สูงสุด ร้อยละ 5.92
ในภาพรวมของประเทศการกระจายของโรค ยังคงเป็นไปตามฤดูกาล คือ พบผู้ป่วยจำนวนมากในช่วงฤดูฝน ระหว่าง เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม (รูปที่ 5)
ภาคกลาง มีอัตราป่วยสูงสุด 97.07 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาเป็น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 69.23 ภาคเหนือ 60.80 และภาคใต้ 53.82 ต่อประชากรแสนคน อัตราป่วยย้อนหลัง 5 ปี พบว่า ภาคกลาง และภาคใต้ มีอัตราป่วยสูงกว่าภาคอื่น ยกเว้นปี พ.ศ. 2549 ภาคใต้กลับมีอัตราป่วยต่ำสุด (รูปที่6)
จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูง 10 อันดับแรก ส่วนใหญ่เป็นจังหวัดในภาคกลาง เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ นนทบุรี ระยอง ตาก ราชบุรี กรุงเทพมหานคร จันทบุรี แพร่ สมุทรปราการ และลพบุรี (รูปที่ 7) ผู้ป่วยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ร้อยละ 65.3 เขตเทศบาล ร้อยละ 34.7
จากรายงานการสอบสวนโรคไข้เลือดออกที่สำนักระบาดวิทยาได้รับในปี พ.ศ. 2549
1. ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในวันที่ 6 - 7 นับตั้งแต่เริ่มมีอาการป่วย ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการไข้ ปวดศีรษะ ไม่ไอ ไม่เจ็บคอ แต่บางรายมีอาการไอ และเจ็บคอ ผู้ป่วยมักจะไปรับการรักษาที่สถานีอนามัย หรือคลินิกทางการแพทย์ในระยะ 1 - 3 วันแรกของการป่วย แต่อาการจะไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยจะกลับมาที่สถานีอนามัย หรือคลินิกที่รักษาครั้งแรก และจะได้รับคำแนะนำให้ไปรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาล ซึ่งจะเป็นวันที่ 4 ของการป่วย ผู้ป่วยเริ่มมีอาการเลือดออก และมีภาวะช็อก ทำให้เสียชีวิตในวันที่ 6 - 7 ของการป่วย
2. จากรายงานการสอบสวนการระบาดที่ได้รับ จากจังหวัดกาฬสินธุ์ สุรินทร์ นครสวรรค์ ลพบุรี พิจิตร ยโสธร ฯลฯ การระบาดในบางพื้นที่เป็นแบบ sporadic มักจะมีผู้ป่วยเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องภายในหมู่บ้าน ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ 2 - 4 สัปดาห์ โรคจึงจะสงบ จะมีจำนวนผู้ป่วยประมาณ 9 - 15 ราย ค่าดัชนีลูกน้ำ (HI) ที่สำรวจได้จะมีค่า  10 (สำรวจหลังจากควบคุมโรคแล้ว)
ส่วนการระบาดใหญ่ที่มีจำนวนผู้ป่วยมากอย่างผิดปกติ จะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว เช่น จังหวัดภูเก็ต หลังจากเหตุการณ์สึนามิ 29 ธันวาคม 2547 – 31 มกราคม 2548 ในระยะเวลา 4 สัปดาห์ พบผู้ป่วย 54 ราย (ไม่เกี่ยวกับสึนามิ เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอถลาง ซึ่งอยู่ห่างจากเหตุการณ์สึนามิ) การระบาดใหญ่ที่พบในศูนย์อพยพ เช่น การระบาดที่ศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านถ้ำหิน จังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ. 2546 ตั้งแต่ 25 มีนาคม – 28 พฤษภาคม 2546 มีผู้ป่วยทั้งสิ้น 220 ราย อัตราป่วย 22.2 ต่อประชากรพันคน เสียชีวิต 2 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 2.0 ค่าดัชนีลูกน้ำ (HI) ที่สำรวจได้ มีค่าเท่ากับ 13.8 ค่า BI เท่ากับ 25.9 และค่า CI เท่ากับ 4.5 (สำรวจหลังจากควบคุมโรคแล้ว)(1) ศูนย์อพยพอีกแห่งที่เกิดการระบาด คือ ศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านแม่หละ จังหวัดตาก ตั้งแต่เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2547 มีผู้ป่วยทั้งสิ้น 455 ราย อัตราป่วย 11.1 ต่อประชากรพันคน การระบาดต่อเนื่องมาถึงเดือนกรกฎาคม 2548 (มกราคม - กรกฎาคม 2548) มีผู้ป่วยทั้งสิ้น 1,572 ราย อัตราป่วย 30.0 ต่อประชากรพันคน เสียชีวิต 4 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.25 ค่าดัชนีลูกน้ำ (HI) ที่สำรวจได้จะมีค่าเท่ากับ 38.0 ค่า BI เท่ากับ 42.0(2)
ผลการตรวจยืนยันการติดเชื้อ Dengue virus โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทั้งหมด 11,161 ราย พบผลยืนยันการติดเชื้อ Dengue virus ร้อยละ 81.7 ผลลบ ร้อยละ 9.1 และไม่สามารถสรุปผลได้ ร้อยละ 9.6 จากเชื้อ Dengue virus ที่แยกเชื้อได้ทั้งหมด 1,766 ราย พบสัดส่วนของ Dengue serotype 1 มากที่สุด ร้อยละ 46.3 รองลงมา คือ serotype 4, 2 และ 3 พบ ร้อยละ 26.7, 19.8 และ 7.2 ตามลำดับ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 - 2548 ส่วนใหญ่พบสัดส่วน Dengue serotype 1 และ 2 มากที่สุดสลับกัน Dengue serotype 3 พบในสัดส่วนที่น้อยลงแต่เริ่มเพิ่มมากขึ้นในปี พ.ศ. 2549 ในทางตรงกันข้าม Dengue serotype 4 พบได้ในสัดส่วนที่มากขึ้นแต่เริ่มลดลงในปี พ.ศ. 2549(3) (รูปที่ 8)
จำแนกการตรวจพบ Dengue serotype ตามภาค ได้ดังนี้ ภาคเหนือ พบ serotype 1, 4, 2 และ 3 ร้อยละ 54.2, 32.4, 7.1 และ 6.3 ตามลำดับ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบ serotype 1, 2, 4 และ 3 ร้อยละ 40.6, 32.7, 20.7 และ 6.0 ตามลำดับ ภาคกลาง พบ serotype 1, 4, 2 และ 3 ร้อยละ 54.6, 31.7, 7.2 และ 6.5 ตามลำดับ ภาคใต้ พบ serotype 1, 2, 4 และ 3 ร้อยละ 42.9, 30.4, 19.6 และ 7.1 ตามลำดับ (3)
โดยรวมแล้ว รูปแบบการเกิดโรคไข้เลือดออกของประเทศไทยยังคงไม่เปลี่ยนแปลง เช่น ลักษณะการเปลี่ยนแปลงตามเวลา ยังมีลักษณะเป็นตามฤดูกาล คือ มีผู้ป่วยมากในช่วงฤดูฝน กลุ่มบุคคลเสี่ยงยังคงเป็นกลุ่มอายุ 0 - 14 ปี พบสัดส่วนของผู้ป่วยเดงกี (DF) มากขึ้น ในขณะที่สัดส่วนของผู้ป่วยไข้เลือดออก (DHF) ลดลง การเกิดโรคตามพื้นที่พบกระจายทั่วทุกจังหวัด โดยเฉพาะภาคกลางเป็นพื้นที่ที่มีอัตราป่วยสูงกว่าภาคอื่น ๆ ในปี พ.ศ. 2549 นี้ ภาคใต้ซึ่งเคยเป็นพื้นที่ที่มีอัตราป่วยสูงกว่าภาคอื่น ๆ กลับมีอัตราป่วยต่ำสุด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือกลับมีอัตราป่วยสูงขึ้นในปีนี้

เอกสารอ้างอิง
1. พจมาน ศิริอารยาภรณ์. การสอบสวนการระบาดโรคไข้เลือดออกศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้าน ถ้ำหิน จังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ. 2546 25 มีนาคม – 28 พฤษภาคม 2546 (นำเสนอในการประชุม The Consultation Meeting on Disease Surveillance, Outbreak Investigation and Disease Control in Displaced Persons Camps along Thailand-Myanmar Border.
2. กนกทิพย์ ทิพย์รัตน์. รายงานสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกในศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านแม่หละ จังหวัดตาก สิงหาคม 2549, ใน : สมศักดิ์ วัฒนศรี, รุ่งนภา ประสานทอง, ชุลีพร จิระพงษา, ธนรักษ์ ผลิพัฒน์, ปรีชา เปรมปรี, วรรณา หาญเชาว์วรกุล, และคณะบรรณาธิการ. รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ประจำสัปดาห์. ปีที่ 37 ฉบับที่ 39. 6 ตุลาคม 2549 กรุงเทพมหานคร : องค์การรับส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์ ; 2549. หน้า 685 - 9
3. สุรภี อนันตปรีชา, Dengue serotypes in Thailand, 2006. [cited 5 May 2007]; Available from: URL: http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_nih/a_nih_3_001c.asp?info_id=1140

ผู้เรียบเรียง : กนกทิพย์ ทิพย์รัตน์ และสุรภี อนันตปรีชา








Fig. 7 Reported Cases of Dengue Haemorrhagic Fever per 100,000 Population, by Province, Thailand, 2006
























































































































































โรคไข้เลือดออก (Dengue fever, Dengue haemorrhagic fever, Dengue shock syndrome)

ในปี พ.ศ. 2549 สำนักระบาดวิทยา ได้รับรายงานผู้ป่วยจำนวน 46,829 ราย อัตราป่วย 74.78 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 59 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.13 ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2540 - 2549) อัตราป่วยสูงสุดในปี พ.ศ. 2544 (224.3 ต่อประชากรแสนคน) รองลงมาปี พ.ศ. 2541 (210.98 ต่อประชากรแสนคน) อัตราป่วยต่ำสุด ใน ปี พ.ศ. 2543 (30.14 ต่อประชากรแสนคน) และอัตราป่วยลดลง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 - 2547 เป็นต้นมา และเริ่มสูงขึ้นอีกในปี พ.ศ. 2548 - 2549 (รูปที่ 1)
การกระจายการเกิดโรคไข้เลือดออกตามกลุ่มอายุ ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 0 - 24 ปี อัตราป่วยสูงสุด คือ กลุ่มอายุ 10 -14 ปี (291.87 ต่อประชากรแสนคน) รองลงมา คือ กลุ่มอายุ 5 - 9 ปี 15 - 24 ปี 0 - 4 ปี 25 - 34 ปี 35 - 44 ปี และกลุ่มอายุอื่น (รูปที่ 2)
โรคไข้เลือดออกจำแนกตามกลุ่มอาการได้ 3 กลุ่ม คือ Dengue Fever (DF), Dengue Haemorhagic Fever (DHF) และ Dengue Shock Syndrome (DSS) ในปี พ.ศ. 2549 มีสัดส่วนของผู้ป่วยตามกลุ่มอาการดังนี้ ผู้ป่วยไข้เดงกี (DF) 17,062 ราย ร้อยละ 36.43 ผู้ป่วยไข้เลือดออก (DHF) 29,024 ราย ร้อยละ 61.98 ผู้ป่วยไข้เลือดออกช็อก (DSS) 743 ราย ร้อยละ 1.59 สัดส่วนผู้ป่วยไข้เดงกีเพิ่มขึ้น สัดส่วนผู้ป่วยไข้เลือดออก และไข้เลือดออกช็อกลดลง (รูปที่ 3)
กลุ่มอาการ และกลุ่มอายุ มีความคล้ายกันในแต่ละกลุ่มอาการ ทั้งกลุ่มอาการไข้เดงกี (DF), ไข้เลือดออก (DHF) และไข้เลือดออกช็อก (DSS) จะพบกลุ่มอายุที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ กลุ่มอายุ 10 - 14 ปี รองลงมา คือ กลุ่มอายุ 5 - 9 ปี, 15 - 24 ปี, 0 - 4 ปี, 25 - 34 ปี และ 35 ปีขึ้นไป ตามลำดับ (รูปที่ 4)
อัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชาย เท่ากับ 1:1.1 ส่วนใหญ่เป็นนักเรียน ร้อยละ 47.72 รองลงมา คือ อาชีพรับจ้าง และเกษตรกรรม ร้อยละ 13.04 และ 5.0 ตามลำดับ เป็นผู้ป่วยนอก ร้อยละ 20.18 ผู้ป่วยใน ร้อยละ 79.75 และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลชุมชนมากที่สุด ร้อยละ 39.92 รองลงมา คือ โรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลเอกชน และโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 38.22, 13.35 และ 6.84 ตามลำดับ เป็นผู้ป่วยต่างชาติ ร้อยละ 1.31 ชาติเมียนมาร์มีสัดส่วนมากที่สุด ร้อยละ 0.91 รองลงมา คือ ชาติลาว กัมพูชา และจีน ร้อยละ 0.15, 0.08 และ 0.01 ตามลำดับ เป็นชาติอื่น ๆ ร้อยละ 0.16
กลุ่มผู้ป่วยไข้เดงกี (DF) ไม่มีผู้เสียชีวิต กลุ่มผู้ป่วยไข้เลือดออก (DHF) เสียชีวิต 15 ราย ร้อยละ 25.42 ผู้ป่วยไข้เลือดออกช็อก (DSS) 44 ราย ร้อยละ 74.58 อัตราป่วยตายในกลุ่มไข้เลือดออก (DHF) ร้อยละ 0.05 และในกลุ่มไข้เลือดออกช็อก (DSS) สูงสุด ร้อยละ 5.92
ในภาพรวมของประเทศการกระจายของโรค ยังคงเป็นไปตามฤดูกาล คือ พบผู้ป่วยจำนวนมากในช่วงฤดูฝน ระหว่าง เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม (รูปที่ 5)
ภาคกลาง มีอัตราป่วยสูงสุด 97.07 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาเป็น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 69.23 ภาคเหนือ 60.80 และภาคใต้ 53.82 ต่อประชากรแสนคน อัตราป่วยย้อนหลัง 5 ปี พบว่า ภาคกลาง และภาคใต้ มีอัตราป่วยสูงกว่าภาคอื่น ยกเว้นปี พ.ศ. 2549 ภาคใต้กลับมีอัตราป่วยต่ำสุด (รูปที่6)
จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูง 10 อันดับแรก ส่วนใหญ่เป็นจังหวัดในภาคกลาง เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ นนทบุรี ระยอง ตาก ราชบุรี กรุงเทพมหานคร จันทบุรี แพร่ สมุทรปราการ และลพบุรี (รูปที่ 7) ผู้ป่วยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ร้อยละ 65.3 เขตเทศบาล ร้อยละ 34.7
จากรายงานการสอบสวนโรคไข้เลือดออกที่สำนักระบาดวิทยาได้รับในปี พ.ศ. 2549
1. ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในวันที่ 6 - 7 นับตั้งแต่เริ่มมีอาการป่วย ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการไข้ ปวดศีรษะ ไม่ไอ ไม่เจ็บคอ แต่บางรายมีอาการไอ และเจ็บคอ ผู้ป่วยมักจะไปรับการรักษาที่สถานีอนามัย หรือคลินิกทางการแพทย์ในระยะ 1 - 3 วันแรกของการป่วย แต่อาการจะไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยจะกลับมาที่สถานีอนามัย หรือคลินิกที่รักษาครั้งแรก และจะได้รับคำแนะนำให้ไปรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาล ซึ่งจะเป็นวันที่ 4 ของการป่วย ผู้ป่วยเริ่มมีอาการเลือดออก และมีภาวะช็อก ทำให้เสียชีวิตในวันที่ 6 - 7 ของการป่วย
2. จากรายงานการสอบสวนการระบาดที่ได้รับ จากจังหวัดกาฬสินธุ์ สุรินทร์ นครสวรรค์ ลพบุรี พิจิตร ยโสธร ฯลฯ การระบาดในบางพื้นที่เป็นแบบ sporadic มักจะมีผู้ป่วยเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องภายในหมู่บ้าน ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ 2 - 4 สัปดาห์ โรคจึงจะสงบ จะมีจำนวนผู้ป่วยประมาณ 9 - 15 ราย ค่าดัชนีลูกน้ำ (HI) ที่สำรวจได้จะมีค่า  10 (สำรวจหลังจากควบคุมโรคแล้ว)
ส่วนการระบาดใหญ่ที่มีจำนวนผู้ป่วยมากอย่างผิดปกติ จะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว เช่น จังหวัดภูเก็ต หลังจากเหตุการณ์สึนามิ 29 ธันวาคม 2547 – 31 มกราคม 2548 ในระยะเวลา 4 สัปดาห์ พบผู้ป่วย 54 ราย (ไม่เกี่ยวกับสึนามิ เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอถลาง ซึ่งอยู่ห่างจากเหตุการณ์สึนามิ) การระบาดใหญ่ที่พบในศูนย์อพยพ เช่น การระบาดที่ศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านถ้ำหิน จังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ. 2546 ตั้งแต่ 25 มีนาคม – 28 พฤษภาคม 2546 มีผู้ป่วยทั้งสิ้น 220 ราย อัตราป่วย 22.2 ต่อประชากรพันคน เสียชีวิต 2 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 2.0 ค่าดัชนีลูกน้ำ (HI) ที่สำรวจได้ มีค่าเท่ากับ 13.8 ค่า BI เท่ากับ 25.9 และค่า CI เท่ากับ 4.5 (สำรวจหลังจากควบคุมโรคแล้ว)(1) ศูนย์อพยพอีกแห่งที่เกิดการระบาด คือ ศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านแม่หละ จังหวัดตาก ตั้งแต่เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2547 มีผู้ป่วยทั้งสิ้น 455 ราย อัตราป่วย 11.1 ต่อประชากรพันคน การระบาดต่อเนื่องมาถึงเดือนกรกฎาคม 2548 (มกราคม - กรกฎาคม 2548) มีผู้ป่วยทั้งสิ้น 1,572 ราย อัตราป่วย 30.0 ต่อประชากรพันคน เสียชีวิต 4 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.25 ค่าดัชนีลูกน้ำ (HI) ที่สำรวจได้จะมีค่าเท่ากับ 38.0 ค่า BI เท่ากับ 42.0(2)
ผลการตรวจยืนยันการติดเชื้อ Dengue virus โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทั้งหมด 11,161 ราย พบผลยืนยันการติดเชื้อ Dengue virus ร้อยละ 81.7 ผลลบ ร้อยละ 9.1 และไม่สามารถสรุปผลได้ ร้อยละ 9.6 จากเชื้อ Dengue virus ที่แยกเชื้อได้ทั้งหมด 1,766 ราย พบสัดส่วนของ Dengue serotype 1 มากที่สุด ร้อยละ 46.3 รองลงมา คือ serotype 4, 2 และ 3 พบ ร้อยละ 26.7, 19.8 และ 7.2 ตามลำดับ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 - 2548 ส่วนใหญ่พบสัดส่วน Dengue serotype 1 และ 2 มากที่สุดสลับกัน Dengue serotype 3 พบในสัดส่วนที่น้อยลงแต่เริ่มเพิ่มมากขึ้นในปี พ.ศ. 2549 ในทางตรงกันข้าม Dengue serotype 4 พบได้ในสัดส่วนที่มากขึ้นแต่เริ่มลดลงในปี พ.ศ. 2549(3) (รูปที่ 8)
จำแนกการตรวจพบ Dengue serotype ตามภาค ได้ดังนี้ ภาคเหนือ พบ serotype 1, 4, 2 และ 3 ร้อยละ 54.2, 32.4, 7.1 และ 6.3 ตามลำดับ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบ serotype 1, 2, 4 และ 3 ร้อยละ 40.6, 32.7, 20.7 และ 6.0 ตามลำดับ ภาคกลาง พบ serotype 1, 4, 2 และ 3 ร้อยละ 54.6, 31.7, 7.2 และ 6.5 ตามลำดับ ภาคใต้ พบ serotype 1, 2, 4 และ 3 ร้อยละ 42.9, 30.4, 19.6 และ 7.1 ตามลำดับ (3)
โดยรวมแล้ว รูปแบบการเกิดโรคไข้เลือดออกของประเทศไทยยังคงไม่เปลี่ยนแปลง เช่น ลักษณะการเปลี่ยนแปลงตามเวลา ยังมีลักษณะเป็นตามฤดูกาล คือ มีผู้ป่วยมากในช่วงฤดูฝน กลุ่มบุคคลเสี่ยงยังคงเป็นกลุ่มอายุ 0 - 14 ปี พบสัดส่วนของผู้ป่วยเดงกี (DF) มากขึ้น ในขณะที่สัดส่วนของผู้ป่วยไข้เลือดออก (DHF) ลดลง การเกิดโรคตามพื้นที่พบกระจายทั่วทุกจังหวัด โดยเฉพาะภาคกลางเป็นพื้นที่ที่มีอัตราป่วยสูงกว่าภาคอื่น ๆ ในปี พ.ศ. 2549 นี้ ภาคใต้ซึ่งเคยเป็นพื้นที่ที่มีอัตราป่วยสูงกว่าภาคอื่น ๆ กลับมีอัตราป่วยต่ำสุด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือกลับมีอัตราป่วยสูงขึ้นในปีนี้

เอกสารอ้างอิง
1. พจมาน ศิริอารยาภรณ์. การสอบสวนการระบาดโรคไข้เลือดออกศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้าน ถ้ำหิน จังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ. 2546 25 มีนาคม – 28 พฤษภาคม 2546 (นำเสนอในการประชุม The Consultation Meeting on Disease Surveillance, Outbreak Investigation and Disease Control in Displaced Persons Camps along Thailand-Myanmar Border.
2. กนกทิพย์ ทิพย์รัตน์. รายงานสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกในศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านแม่หละ จังหวัดตาก สิงหาคม 2549, ใน : สมศักดิ์ วัฒนศรี, รุ่งนภา ประสานทอง, ชุลีพร จิระพงษา, ธนรักษ์ ผลิพัฒน์, ปรีชา เปรมปรี, วรรณา หาญเชาว์วรกุล, และคณะบรรณาธิการ. รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ประจำสัปดาห์. ปีที่ 37 ฉบับที่ 39. 6 ตุลาคม 2549 กรุงเทพมหานคร : องค์การรับส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์ ; 2549. หน้า 685 - 9
3. สุรภี อนันตปรีชา, Dengue serotypes in Thailand, 2006. [cited 5 May 2007]; Available from: URL: http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_nih/a_nih_3_001c.asp?info_id=1140

ผู้เรียบเรียง : กนกทิพย์ ทิพย์รัตน์ และสุรภี อนันตปรีชา








Fig. 7 Reported Cases of Dengue Haemorrhagic Fever per 100,000 Population, by Province, Thailand, 2006

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น