ไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออก
(Dengue Haemorrhagic Fever)
สาเหตุและอาการแพร่ระบาด
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคนี้มาสู่คน เชื้อไวรัสที่ก่อโรค คือ เชื้อไวรัสเด็งกี่ ไข้เลือดออกพบมากในประเทศเขตร้อน เช่น เวียตนาม กัมพูชา ไทย พม่า มาเลเวีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี แต่มักจะระบาดมากในช่วงหน้าฝน เพราะยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะของโรคมีจำนวน ชุกชุม ยุงลายตัวเมียจะวางไข่ในภาชนะที่มีน้ำขัง เมื่อยุงไปกัดคนป่วยที่มีเชื้อไวรัสไข้เลือดออกอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าไปเจริญเติบโต เพิ่มจำนวนในเยื่อบุกระเพาะอาหาร หลังจากนั้นจะเข้าไปสู่ต่อมน้ำลายของยุงและพร้อมที่จะแพร่เชื้อเข้าสุ่คนที่ถูกกัดต่อไป เชื้อไวรัสไข้เลือดออกนี้ จะอยู่ในตัวยุงลายได้ตลอดชีวิตของยุง
การแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออก
แหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย
อาการและการติดต่อ
เมื่อยุงลายที่มีเชื้อไวรัสไข้เลือดออกไปกัดคน เชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายจะใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2 - 7 วัน ปวดเมื่อยเนื้อตัวมีจุดแดงๆ หรือ จุดเลือดออกขึ้นตามตัวหรือแขนขา หน้าแดง ผิวหนังแดง เนื่องจากอาการทั่วๆ ไป คล้ายกับเป็นหวัด เมื่อเด็กมีอาการเช่นนี้ พ่อแม่จึงมักคิดว่าเป็น ไข้หวัดธรรมดาจนปล่อยให้อาการรุนแรง แต่สิ่งที่แตกต่างจากไข้หวัดก็คือ จะไม่ไอ ไม่มีน้ำมูกเหมือนหวัด บางคนที่อาการรุนแรงมักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย อาจมีเลือดกำเดาหรือเลือดออกตามไรฟัน มีอาการตับโตเมื่อกดจะเจ็บ จนถึงมีอาการช็อกเนื่องจากมีการไหลเวียนของเลือดล้มเหลว อาการช็อกมักเกิดขึ้นพร้อมกับที่ไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยจะมีอาการซึมลง มือเท้าเย็น ความดันโลหิตเปลี่ยน ตัวเย็น ขอบปากเขียว แต่ยังมีสติพูดคุยได้ บางรายอาจมีการปวดท้องอย่างกระทันหัน และอาจเสียชีวิตได้ภายใน 12-24 ชั่วโมง ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
การรักษา
หลักการรักษาไข้เลือดออกคือ การรักษาให้ทุเลาอาการและป้องกันการช็อก เมื่อเด็กมีไข้สูงจะต้องป้อกันไม่ให้มีอาการชักจากไข้ ด้วยการ เช็ดตัวและให้ยาลดไข้ ไม่ควรใช้ยาจำพวกแอสไพริน เพราะจะทำใก้เกล็ดเลือดเสียการทำงาน จะระคายเคืองกระเพาะอาหารและทำให้เลือดออก ง่าย ควรให้ยาลดไข้จำพวกพาราเซตามอลจะปลอดภัยกว่า รวมทั้งการให้น้ำเพื่อชดเชยน้ำที่ร่างกายเสียไปแก่ผู้ป่วย เช่น น้ำเปล่า น้ำผลไม้ น้ำเกลือแร่ โอ.อาร์.เอส โดยดื่มครั้งละน้อยๆ แต่ดื่มบ่อยๆ และควรกินอาหารอ่อนๆ เช่น โจ๊ก หรือข้าวต้ม เป็นต้น
กลุ่มที่เสี่ยงต่อโรค
โรคไข้เลือดออกมักพบในเด็ก โดยสามารถเกิดกับเด็กช่วงอายุตั้งแต่ 4 เดือน จนถึงวัยรุ่น สำหรับเด็กโต และผู้ใหญ่ส่วนมากจะมีภูมิคุ้มกัน ต่อโรคนี้แล้ว แต่ก็สามารถเป็๋นโรค ไข้เลือดออกได้ ถ้าถูกยุงลายที่มีเชื้อไวรัสไข้เลือดออกกัด
การป้องกันและควบคุม
การป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ดีที่สุดคือ การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรคนี้ โดยกำจัดลูกน้ำในภาชนะต่างๆ ที่มีน้ำขัง ด้วยการปิดฝาภาชนะเก็บน้ำให้มิดชิด เช่น โอ่ง ถังเก็บน้ำ หมั่นเปลี่ยน หรือทิ้งน้ำในภาชนะบรรจุน้ำและภาชนะที่มีน้ำขัง เพื่อป้องกันยุงมาวางไข่ เช่น แจกัน จานรองกระถางต้นไม้ ถ้วยหล่อขาตู้กับข้าว เก็บทำลายเศษวัสดุ เช่น ขวด กระป๋อง ฯลฯ เพื่อไม่ให้รองรับน้ำได้ ตัดต้นไม้ที่รกครึ้ม เพื่อ ให้มีแสงสว่างและอากาศถ่ายเทได้ดี และการเลี้ยงปลากินลูกน้ำไว้ในโอ่ง หรือบ่อที่ใส่น้ำใช้นอกจากทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายแล้ว จะต้องป้องกันตัวเองไม่ให้ยุงลายกัด ด้วยการดูแลหน้าต่าง ประตู ช่องลม ไม่ให้ยุงเข้า จัดข้าวของ ในบ้านไม่ให้กองสุมกัน รวมถึงเลือกใช้ผลิตภัณฑ์กำจัดยุง และทากันยุงให้ถูกต้อง
โรคไข้เลือดออก
(Dengue Haemorrhagic Fever)
จัดทำโดย
นางสาวนฤมล คงพิศุทธิ์ไพศาล
คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
สาขา บริหารทั่วไป
วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น