วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553

รายงานการสอบสวนโรคไข้เลือดออก

รายงานการสอบสวนโรคไข้เลือดออก (DHF)
บ้านก่อ หมู่ที่ 2 ตำบลดอนเมย อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
ระหว่างวันที่ 13 – 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

ผู้รายงาน
1. นายวิสุทธิ์ สุริพล นักวิชาการสาธารณสุข 5

บทคัดย่อ
การสอบสวนโรคไข้เลือดออก (DHF) ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ยืนยัน การระบาดของโรค ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาของโรค ค้นหาสาเหตุและการแพร่กระจายของโรค และวางแนวทางในการควบคุมและป้องกันโรคในครั้งนี้และในครั้งต่อๆไป โดยการสำรวจสิ่งแวดล้อม ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการสอบสวนพบว่า ผู้ป่วยชื่อ นายสุรศักดิ์ เพียรคำ 36หมู่ที่ 1 ตำบลแสรอบ เกิดวันที่ 2 มกราคม 2541 อายุ 8 ปี ที่อยู่ 125 หมู่ 1 บ้านตาวัง อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ บิดาชื่อ นายเสร็จ แรงรอบ มารดาชื่อ นางตำรา อินทร์ดี มีอาชีพทำนา มีบุตร 2 คน คนแรกเป็นผู้ชาย ผู้ป่วยเป็นบุตรคนที่ 2 กำลังศึกษาชั้น ประถมศึกษาปีที่ 2 /1 โรงเรียนบ้านตาวัง เริ่มป่วยวันที่ 12 มีนาคม 2549 ด้วยอาการ ไข้สูง ไม่มีน้ำมูก ไม่ไอ ไม่ อาเจียน ซึม ปวดกล้ามเนื้อ รับประทานอาหารไม่ได้ อ่อนเพลีย และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลบัวเชด เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2549 แพทย์วินิจฉัยสงสัยว่าป่วยด้วยโรคไข้เดงกี่ (Dengue Fever) รับรักษาเป็นผู้ป่วยใน จำนวน 3 วัน ผู้ป่วยอาการดีขึ้นและออกจากโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2549 การค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในหมู่บ้านไม่พบว่ามีผู้ป่วยที่มีอาการเข้าข่ายโรคไข้เดงกี่ (Dengue Fever) จากการศึกษาข้อมูลย้อนหลังพบว่าบ้านตาวังเป็นบ้านที่มีการรายงานผู้ป่วยทุกปี สภาพสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปของหมู่บ้านมีป่ากล้วยทุกหลังคาเรือนอยู่ในสภาพที่รกและมีคอกสัตว์เลี้ยงใต้ถุนบ้าน การสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน ค่า HI 18.3 ซึ่งแสดงว่ามีปัจจัยเสี่ยงต่อการระบาดของโรค และจากการศึกษาผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบ Platlete (count) 111,000 และ Hct. 33.8 ซึ่งต่ำกว่าค่าปกติ ส่วน W.B.C., Neutrophils อยู่ในเกณฑ์ปกติ แพทย์ผู้รักษาสรุปผลการวินิจฉัยครั้งสุดท้ายว่า ไข้จากการติดเชื้อไวรัส (Viral Infection)


บทนำ
วันที่ 14 มีนาคม 2549 เวลา 10.00 น. ศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่ออำเภอบัวเชด ได้รับรายงานจากโรงพยาบาลบัวเชด ว่า พบผู้สงสัยว่าป่วยด้วยโรคไข้เดงกี่ (Dengue Fever) ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีอนามัยตำบลตาวัง ตำบลตาวัง อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 1 ราย ชื่อ เด็กหญิง จันทิมา แรงรอบ อายุ 8 ปี ที่อยู่บ้านเลขที่ 125 หมู่ 1 บ้านตาวัง ตำบลตาวัง อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ กำลังศึกษาชั้น ประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านตาวัง เข้ารับการรักษาด้วยอาการ ไข้ อาเจียน ซึม รับประทานอาหารไม่ได้ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ เริ่มป่วย 12 มีนาคม 2549 วันพบผู้ป่วย 14 มีนาคม 2549 เนื่องจากเป็นผู้สงสัยว่าป่วยรายแรกของหมู่บ้านและเป็นรายแรกของตำบล ศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่ออำเภอบัวเชด ขอให้ทีมเฝ้าระวังและควบคุมโรคตำบลตาวังประสานผู้เกี่ยวข้อง ออกดำเนินการสอบสวนโรค วางแผนควบคุมและป้องกันโรค พร้อมรายงานผลการดำเนินงาน ให้ศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่ออำเภอบัวเชด ทราบต่อไป
ในการนี้ทีมเฝ้าระวังและควบคุมโรคตำบลตาวังได้ประสานผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ทีมเฝ้าระวังและควบคุมโรคตำบลสะเดาและทีมเฝ้าระวังและควบคุมโรคตำบลสำเภาลูน โดยได้ออกดำเนินการสอบสวน ควบคุมและป้องกันโรคเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2549 เวลา 13.00 น.

วัตถุประสงค์
1. เพื่อยืนยันการระบาดของโรค
2. เพื่อหาสาเหตุของการระบาดของโรค
3. เพื่อศึกษาลักษณะการเกิดโรค แหล่งโรค และวิธีถ่ายทอดโรค
4. เพื่อหาแนวทางในการควบคุมและป้องกันการระบาด การแพร่กระจาย ของโรค

วิธีการศึกษา/สอบสวนโรค
1. ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา เพื่อหาลักษณะ ความเสี่ยง แหล่งเพาะพันธุ์โรค และขอบเขตการเกิด และการกระจายของโรคตามลักษณะของบุคคล เวลา และสถานที่ ทั้งข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและข้อมูลของการเกิดโรคที่ผ่านมา โดย
1.1 รวบรวมข้อมูลของผู้ป่วยจากแฟ้มครอบครัว (Family Folder) และข้อมูลการเจ็บป่วยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลบัวเชด จากเวชระเบียนผู้ป่วย OPD Card
1.2 ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม โดย สอบถามผู้ปกครองแต่ละคุ้ม ครูและเพื่อนนักเรียนว่ามี ผู้ป่วยเพิ่มเติมหรือไม่ รวมทั้งสอบถามถึงอาการป่วย ระยะเวลาการป่วย โดยนิยามการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก (Dengue Haemorrhagic Fever) ตามประเภทผู้ป่วย (Case Classification) ดังนี้
ผู้ป่วยที่สงสัย (Suspected case) หมายถึงผู้ป่วยที่มีอาการทางคลินิก คือ ไข้เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและสูงลอยประมาณ 2-7 วัน และไม่มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 14 มีนาคม 2549
ผู้ป่วยเข้าข่าย (Probable case) หมายถึงผู้ป่วยที่มีอาการทางคลินิกร่วมกับการทดสอบทูร์นิเกต์ให้ผลบวกและมีข้อมูลทางระบาดวิทยาเชื่อมโยงกับผู้ป่วยยืนยัน
ผู้ป่วยที่ยืนยัน (Confirmed case) หมายถึงผู้ป่วยที่มีอาการทางคลินิกร่วมกับมีอาการเลือดออก ตับโต การมีภาวการณ์ไหลเวียนโลหิตล้มเหลวหรือช็อก ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการมีเกล็ดเลือดลดลงและHematocrit สูงขึ้น
2. ศึกษาสภาพสิ่งแวดล้อม สุขาภิบาล โดยวิธีการสังเกต บริเวณบ้านผู้ป่วย คุ้มบ้านใกล้เคียง หมู่บ้าน วัด โรงเรียน และบ้านญาติผู้ป่วย เพื่อ นำข้อมูลที่ได้มาประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรค แหล่งโรคและแนวโน้มการเกิดและการกระจายของโรค
3. ศึกษาค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย โดยการสำรวจ ในหมู่บ้าน บ้านผู้ป่วย บ้านใกล้เคียง คุ้ม หมู่บ้าน วัด และโรงเรียน และบ้านญาติผู้ป่วย นำข้อมูลที่ได้มาประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรค แหล่งโรคและแนวโน้มการเกิดและการกระจายของโรค
4. ศึกษาผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ(Laboratory Criteria) โดยการตรวจ Complete Blood count(CBC)ทางห้องปฏิบัติการ เพื่อดูค่า Platlete (count), W.B.C., Hct., และ Neutrophils เพื่อสนับสนุนและยืนยันคำวินิจฉัยของแพทย์

ผลการศึกษา/สอบสวนโรค
1. ข้อมูลผู้ป่วย
1.1 ประวัติผู้ป่วย/ครอบครัว
ผู้ป่วยชื่อ เด็กหญิงจันทิมา แรงรอบ เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2541 อายุ 8 ปี ที่อยู่ 125 หมู่ 1 บ้านตาวัง อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 /1 โรงเรียนบ้านตาวัง บิดาชื่อ นายเสร็จ แรงรอบ มารดาชื่อ นางตำรา อินทร์ดี อาชีพทำนา มีบุตร 2 คน คนแรกเป็นผู้ชาย ผู้ป่วยเป็นบุตรคนที่ 2 ผู้ป่วยไม่มีประวัติเคยป่วยหรือสงสัยว่าป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมาก่อน
1.2 ประวัติการเจ็บป่วยและประวัติการเดินทาง
ระหว่างวันที่ 1 - 10 มีนาคม 2549 ผู้ป่วยได้ไปพักกับพี่ชายซึ่งอาศัยอยู่กับญาติที่บ้านไทยเจริญ หมู่ที่ 9 ตำบลสำเภาลูน อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ เป็นพื้นที่ติดต่อกับบ้านไทยเดิมและบ้านไทยเดิมน้อย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีผู้ที่สงสัยว่าป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกปี 2549 จำนวน 5 ราย และเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2549 ได้มารับการตรวจรักษาที่สถานีอนามัยตำบลตาวัง ด้วยอาการ ไข้ แต่อาการไม่ดีขึ้น มารดาได้พาไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลบัวเชด ในวันที่ 14 มีนาคม 2549 ด้วยอาการ ไข้ ซึม ปวดกล้ามเนื้อ รับประทานอาหารไม่ได้ อ่อนเพลีย ผลทดสอบ Tourniquet Test ให้ผลบวก แพทย์ผู้รักษาวินิจฉัยเบื้องต้นสงสัยว่าป่วยด้วยโรคไข้เดงกี่ (R/O DF)

1.3 การค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม ดำเนินการโดย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสอบถามผู้ปกครองแต่ละคุ้ม ครูและเพื่อนนักเรียนว่ามี ผู้ป่วยเพิ่มเติมหรือไม่ ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2549 ถึง 14 มีนาคม 2549 โดยมีอาการของโรค ตามนิยามที่กำหนดไว้ ปรากฏว่าไม่พบผู้ป่วยด้วยอาการดังกล่าว พบผู้ป่วยติดเชื้อระบบทางเดินหายใจด้วยอาการไข้ ไอ เจ็บคอ จำนวน 5 รายและทั้งหมดได้รับการรักษาที่สถานีอนามัยและอาการดีขึ้น
1.4 การตั้งข้อสมมติฐาน ผู้ป่วยอาจถูกยุงลายที่มีเชื้อกัดและติดเชื้อไข้เดงกี่ จากบ้านญาติที่บ้านไทยเจริญหรือถูกยุงลายที่มีเชื้อกัดและติดเชื้อไข้เดงกี่ จากบ้านของผู้ป่วยเองหรือบ้านใกล้เคียง
1.5 ข้อมูลผู้ป่วย ผู้ที่สงสัยว่าป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 - ปี พ.ศ.2549 บ้านตาวัง หมู่ที่ 1 ตำบลตาวัง พบว่ามีผู้ป่วยทุกปี โดยปี 2547 พบผู้ป่วยที่สงสัยว่าป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและไข้แดงกี่มากที่สุด จำนวน 5 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 8.6 ต่อพันประชากร (ประชากรบ้านตาวัง 581 คน) ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลผู้ป่วยที่สงสัยว่าป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกบ้านตาวัง หมู่ที่ 1 ตำบลตาวัง

ปี พ.ศ จำนวน อัตราป่วย/พันประชากร
2545 2 3.4
2546 3 5.1
2547 5 8.6
2548 2 3.4
2549 1 1.7
ที่มา จาก ข้อมูล E1 ปี 2545- ปี 2549 สรุปข้อมูล ณ วันที่ 15 มีนาคม 2549
2. สภาพสิ่งแวดล้อมทั่วไป
2.1 บ้านตาวัง หมู่ที่ 1 ตำบลตาวัง อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ จำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด 109 หลังคา ประชากรชาย จำนวน 295 คน ประชากรหญิง 286 รวม 581 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ แบ่งเป็น 7 คุ้ม บ้านผู้ป่วยอยู่คุ้มที่ 1 มีจำนวน หลังคาเรือน 24 หลังคาเรือน สภาพสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปไม่ดี มีป่ากล้วยทุกหลังคาเรือนอยู่ในสภาพที่รก มีคอกสัตว์เลี้ยงใต้ถุนบ้านและกองฟางใกล้บ้านเป็นจำนวนมาก มีสภาพคับแคบ หลังคาเรือนมีเป็นจำนวนมากและแออัด โรงเรียนไม่มีที่ระบายน้ำ ภาชนะกักเก็บน้ำ ยางรถยนต์ มีเป็นจำนวนมาก แสดงถึงประชาชนยังขาดความตระหนักในการดูแลและควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุง การจัดระเบียบและผังของหมู่บ้านยังไม่ดี ดังแสดงในแผนที่ ภาพที่ 1
2.2 บ้านไทยเจริญ หมู่ที่ 9 ตำบลสำเภาลูน อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ จำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด 125 หลังคา ประชากรชาย จำนวน 336 คน ประชากรหญิง 341 รวม 677 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ แบ่งเป็น 8 คุ้ม บ้านผู้ป่วยไปพักอยู่คุ้มที่ 1 มีจำนวน หลังคาเรือน 18 หลังคาเรือน สภาพสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปไม่ดี มีสวนข้างบ้านทุกหลังคาเรือนและมีสภาพรก
ภาพที่ 1 แสดงแผนที่บ้านตาวังหมู่ที่ 1 ตำบลตาวัง อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ แยกคุ้มต่างๆ
2.2 บ้านผู้ป่วย คุ้มบ้านใกล้เคียง สภาพบ้านเป็นบ้านไม้ชั้นเดียว ใต้ถุนสูงและใช้เป็นคอกวัว มีผู้อาศัยอยู่ทั้งหมด 3 คน คือ พ่อ แม่ และบุตรซึ่งเป็นผู้ป่วย มีโอ่งน้ำขนาด 2,000 ลิตร จำนวน 1 ใบ และโอ่งน้ำขนาด 200 ลิตร จำนวน 4 ใบ มีห้องส้วมอยู่ด้านหลังบ้าน มีโอ่งใส่น้ำไว้ใช้ในห้องส้วม รอบๆ บริเวณบ้านปลูกต้นกล้วยและมีกอไผ่ สภาพสิ่งแวดล้อมบ้านผู้ป่วยโดยรวมไม่ดี จำนวนบ้านที่อยู่ติดบ้านผู้ป่วย จำนวน 5 หลัง สภาพสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปไม่ดีเช่นกัน มีป่ากล้วย กอไผ่และไม้ยูคาติดแนวรั้ว มีภาชนะโอ่ง น้ำขนาด 2,000 ลิตรและโอ่งขนาด 200 ลิตร วางเรียงข้างบ้านเป็นจำนวนมาก
2.3 โรงเรียน สำนักสงฆ์ โรงเรียนมีอาคารเรียน จำนวน 1 หลัง มีหอประชุม 1 หลัง บ้านพักครู จำนวน 3 หลัง หน้าฝนน้ำจะท่วมหลังบ้านพัก ไม่มีที่ระบาย มีภาชนะเก็บน้ำคือ ฝ.33 จำนวน 1 แห่ง โอ่งขนาด 2,000 ลิตร จำนวน 2 ใบ โอ่งขนาด 200 ลิตร จำนวน 5 ใบ มีห้องน้ำด้านหลังอาคาร จำนวน 4 ห้อง ที่สนามเด็กเล่นมียางรถยนต์จำนวน 12 เส้น สภาพโดยรวมหน้าฝนไม่ค่อยดี ส่วนสำนักสงฆ์ มีที่พักสงฆ์ จำนวน 3 หลัง มีห้องน้ำจำนวน 2 ห้อง มีโอ่งขนาด 200 ลิตร จำนวน 4 ใบ สภาพโดยทั่วไปดี
2.4 สภาพทางภูมิศาสตร์ระหว่างบ้านผู้ป่วยและบ้านญาติผู้ป่วย ผู้ป่วยอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 125 บ้านตาวัง หมู่ที่ 1 ตำบลตาวัง อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ และบ้านญาติผู้ป่วยอาศัยอยู่บ้านเลขที่ หมู่ที่ 9 บ้านไทยเจริญ ตำบลสำเภาลูน อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ มีหลังคาเรือนทั้งหมด 125 หลังคาเรือน มีประชากรชาย 336 คน ประชากรหญิง 341 รวม 677 คน ทั้งสองตำบลมีเขตแดนติดต่อกันโดยตำบลตาวัง มีทั้งหมด 10 หมู่บ้านประกอบด้วยบ้านตาวัง บ้านนา บ้านกะเพอโร บ้านตะแบง บ้านแสนสำราญ บ้านหนองโจงโลง บ้านจบก บ้านโคกสำโรง บ้านหนองเหล็ก และบ้านไทรโยง มีประชากรรวมประมาณ 6,000 คน ติดต่อกับตำบลสำเภาลูนทางด้านใต้ และตำบลสำเภาลูน มีทั้งหมด 10 หมู่บ้าน ประกอบด้วย บ้านสำเภาลูน บ้านตาปัน บ้านไทยเดิม บ้านสวาท บ้านโคกสมอง บ้านแกรง บ้านไทยเดิมน้อย บ้านใหม่พัฒนา บ้านไทยเจริญ บ้านโคกเพชร มีประชากรประมาณ 4,800 คน ติดต่อกับบ้านตาวังทางทิศเหนือทางบ้านไทยเดิมและบ้านไทยเดิมน้อย มีระยะทางห่างกัน ประมาณ 3 กิโลเมตร จากรายงานการเฝ้าระวังโรคติดต่อโดยศูนย์ควบคุมโรคติดต่ออำเภอบัวเชด พบว่า พบผู้ป่วยที่สงสัยว่าป่วยด้วยโรคไข้เดงกี่ในเขตพื้นที่บ้านไทยเดิม บ้านไทยเดิมน้อย และ บ้านไทยเจริญ จำนวน 5 ราย ซึ่งทั้งสามหมู่บ้านมีพื้นที่ติดต่อกันโดยใช้ถนนในหมู่บ้านแบ่งเขตหมู่บ้าน และจากการศึกษาข้อมูลการระบาดย้อนหลังพบว่าทั้ง 3 หมู่บ้าน มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก มากที่สุดเมื่อปี 2546 จำนวน 15 ราย ดังรายละเอียด ในภาพที่ 2
ภาพที่ 2 แสดงแผนที่อำเภอบัวเชด แยกตำบลต่างๆ
3. ศึกษาค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย/แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
3.1 บ้านผู้ป่วย
-จำนวนภาชนะที่สำรวจทั้งหมด จำนวน 10 ชิ้น พบลูกน้ำ จำนวน 2 ชิ้น
3.2 บ้านใกล้เคียง
-จำนวนบ้านที่สำรวจ 5 หลังคาเรือน พบลูกน้ำ จำนวน 2 หลังคาเรือน
-จำนวนภาชนะที่สำรวจ 32 ชิ้น พบลูกน้ำ จำนวน 5 ชิ้น
3.3 โรงเรียน
-จำนวนภาชนะที่สำรวจ 27 ชิ้น ไม่พบภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลาย
3.4 สำนักสงฆ์
-จำนวนภาชนะที่สำรวจ 8 ชิ้น ไม่พบภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลาย
3.5 บ้านญาติที่บ้านไทยเจริญ
- จำนวนภาชนะที่สำรวจ 7 ชิ้น จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำ 1 ชิ้น
3.6 ดำเนินการสำรวจค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านของผู้ป่วย จากการสำรวจทั้งหมด 109 หลังคาเรือน พบหลังคาเรือนที่ลูกน้ำยุงลาย จำนวน 20 หลังคาเรือน (HI = 18.34) และ จากการสำรวจภาชนะทั้งหมด 411 ชิ้น พบ 42 ชิ้น (CI = 10.21) ดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 สรุปค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายบ้านตาวัง หมู่ที่1 แยกคุ้ม (สำรวจ 100 %)

คุ้มที่ จำนวนหลังคา
ที่สำรวจ จำนวนหลังคา
สำรวจพบ ค่าHI จำนวนภาชนะที่
สำรวจทั้งหมด จำนวนภาชนะ
ที่สำรวจพบ ค่า CI
1 24 5 20.8 120 12 10.00
2 14 3 21.4 56 7 12.50
3 14 2 14.2 49 5 10.21
4 17 3 17.6 50 4 8.00
5 19 4 21 60 7 11.60
6 11 2 18 41 5 12.10
7 10 1 10 35 2 5.70
รวม 109 20 18.34 411 42 10.21

ที่มา จากการสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายของคณะกรรมการ SRRT โซนเหนือและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2549

3.7 ดำเนินการสำรวจค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านญาติผู้ป่วย จากการสำรวจทั้งหมด 125 หลังคาเรือน พบหลังคาเรือนที่ลูกน้ำยุงลาย จำนวน 12 หลังคาเรือน (HI = 9.60) และ จากการสำรวจภาชนะทั้งหมด 458 ชิ้น พบ 36 ชิ้น (CI = 8.19) ดังตารางที่ 3

ตารางที่ 3 สรุปค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายบ้านไทยเจริญ หมู่ที่ 9 แยกคุ้ม (สำรวจ 100 %)

คุ้มที่ จำนวนหลังคา
ที่สำรวจ จำนวนหลังคา
สำรวจพบ ค่าHI จำนวนภาชนะที่
สำรวจทั้งหมด จำนวนภาชนะ
ที่สำรวจพบ ค่า CI
1 18 8 44.44 64 21 32.81
2 14 0 0 47 0 0
3 15 1 6.66 54 7 7.40
4 17 2 11.76 51 5 9.80
5 15 0 0 62 0 0
6 16 0 0 58 0 0
7 17 1 5.88 63 3 4.76
8 13 0 0 59 0 0
รวม 125 12 9.6 458 36 8.19

ที่มา จากการสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายของคณะกรรมการ SRRT โซนเหนือและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2549


4 ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
4.1 ผลการตรวจ Complete Blood Count (CBC) วันที่ 14 มีนาคม 2549 พบ Platelete (count) 111,000 และ Hct 33.8 ซึ่งต่ำกว่าค่าปกติ ส่วน W.B.C., Neutrophils อยู่ในเกณฑ์ปกติ ดังรายละเอียด ตารางที่ 4

ตารางที่ 4 แสดงผลการตรวจ Complete Blood Count (CBC) วันที่ 14 มีนาคม 2549
รายการตรวจ ผลการตรวจ ค่าปกติ
HGB 11.5 12-16.5
Hct 33.8 37-50
W.B.C. 5,300 5,000-10,000
Neutrophils 61 55-75%
Lymphocytes 32 25-35%
Eosinophils 0 0-5%
Monocytes 5 2-7%
Basophil 0 0-1%
Atypical lymphocyte 2 0-5%
Platelete (count) 118,000 140,000-400,000
R.B.C. 5.31 3.8-5.8
MCV 64 83-97
MCH 21.7 27-34
MCHC 34.0 31-35
RDW 14.2 12-15
ที่มา จากผลตรวจทางห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลบัวเชด วันที่ 14 มีนาคม 254
4.2 ผลการตรวจ Complete Blood Count (CBC) วันที่ 15 มีนาคม 2549 พบ Platelete (count) 111,000 ซึ่งตำกว่าค่าปกติ ส่วน W.B.C., Hct., Neutrophils อยู่ในเกณฑ์ปกติ ดังรายละเอียด
ตารางที่ 5

ตารางที่ 5 แสดงผลการตรวจ Complete Blood Count (CBC) วันที่ 15 มีนาคม 2549
รายการตรวจ ผลการตรวจ ค่าปกติ
HGB 12.0 12-16.5
Hct 37.3 37-50
W.B.C. 8,000 5,000-10,000
Neutrophils 59 55-75%
Lymphocytes 32 25-35%
Eosinophils 0 0-5%
Monocytes 3 2-7%
Basophils 0 0-1%
Atypical lymphocyte 6 0-5%
Platelete (count) 111,000 140,000-400,000
R.B.C. 5.66 3.8-5.8
MCV 66 83-97
MCH 21.2 27-34
MCHC 32.1 31-35
RDW 14.1 12-15
ที่มา จากผลตรวจทางห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลบัวเชด
สรุปผลการสอบสวนโรค
การสอบสวนโรคไข้เดงกี่ (Dengue Fever) ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ยืนยัน การระบาดของโรค ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาของโรค ค้นหาสาเหตุและการแพร่กระจายของโรค และวางแนวทางในการควบคุมและป้องกันโรคในครั้งนี้และในครั้งต่อๆไป โดยการสำรวจสิ่งแวดล้อม ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการสอบสวนพบว่า ผู้ป่วยชื่อ เด็กหญิงจันทิมา แรงรอบ เกิดวันที่ 2 มกราคม 2541 อายุ 8 ปี ที่อยู่ 125 หมู่ 1 บ้านตาวัง อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ บิดาชื่อ นายเสร็จ แรงรอบ มารดาชื่อ นางตำรา อินทร์ดี มีอาชีพทำนา มีบุตร 2 คน คนแรกเป็นผู้ชาย ผู้ป่วยเป็นบุตรคนที่ 2 กำลังศึกษาชั้น ประถมศึกษาปีที่ 2 /1 โรงเรียนบ้านตาวัง เริ่มป่วยวันที่ 12 มีนาคม 2549 ด้วยอาการ ไข้สูง ซึม ปวดกล้ามเนื้อ รับประทานอาหารไม่ได้ อ่อนเพลีย และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลบัวเชด เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2549 แพทย์ผู้รักษาวินิจฉัยเบื้องต้นว่าสงสัยว่าป่วยด้วยโรคไข้เดงกี่ (Dengue Fever) รับรักษาเป็นผู้ป่วยใน ผู้ป่วยอาการดีขึ้นและออกจากโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2549 การค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในหมู่บ้านไม่พบว่ามีผู้ป่วยที่มีอาการเข้าข่ายโรคไข้เดงกี่ (Dengue Fever) จากการศึกษาข้อมูลย้อนหลังพบว่าบ้านตาวังเป็นบ้านที่มีการรายงานผู้ป่วยทุกปี สภาพสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปของหมู่บ้านมีสวนรอบบ้าน ในสภาพรก การสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน ค่า HI 18.3 ซึ่งแสดงว่ามีปัจจัยเสี่ยงต่อการระบาดของโรค และจากการศึกษาผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบ Platelete (count) 111,000 และ Hct. 33.8 ซึ่งต่ำกว่าค่าปกติ ส่วน W.B.C., Neutrophils อยู่ในเกณฑ์ปกติ แพทย์ผู้รักษาสรุปผลการวินิจฉัยครั้งสุดท้ายว่า ไข้จากการติดเชื้อไวรัส (Viral Infection)

อภิปรายผล
1. จากการสอบสวนพบว่า ผู้ป่วยชื่อ เด็กหญิงจันทิมา แรงรอบ เกิดวันที่ 2 มกราคม 2541 อายุ 8 ปี ที่อยู่ 125 หมู่ 1 บ้านตาวัง อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ บิดาชื่อ นายเสร็จ แรงรอบ มารดาชื่อ นางตำรา อินทร์ดี มีอาชีพทำนา มีบุตร 2 คน คนแรกเป็นผู้ชาย ผู้ป่วยเป็นบุตรคนที่ 2 กำลังศึกษาชั้น ประถมศึกษาปีที่ 2 /1 โรงเรียนบ้านตาวัง เริ่มป่วยวันที่ 12 มีนาคม 2549 ด้วยอาการ ไข้สูง ไม่มีน้ำมูก ไม่ไอ ไม่ อาเจียน ซึม ปวดกล้ามเนื้อ รับประทานอาหารไม่ได้ อ่อนเพลีย และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลบัวเชด เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2549 ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ไม่พบความผิดปกติของผลเลือดมากนัก โดยวันที่ 14 มีนาคม 2549 พบว่า Platelete (count) 111,000 และ Hct 33.8 ซึ่งต่ำกว่าค่าปกติ ส่วน W.B.C., Neutrophils อยู่ในเกณฑ์ปกติ และวันที่ 15 มีนาคม 2549 พบว่า PLATELET (count) 111,000 ซึ่งต่ำกว่าค่าปกติ ส่วน W.B.C., Hct., Neutrophils อยู่ในเกณฑ์ปกติ แพทย์วินิจฉัยสงสัยว่าป่วยด้วยโรคไข้เดงกี่ (Dengue Fever) รับรักษาเป็นผู้ป่วยใน ผู้ป่วยอาการดีขึ้นและออกจากโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2549 การค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในหมู่บ้านไม่พบว่ามีผู้ป่วยที่มีอาการเข้าข่ายโรคไข้เดงกี่ (Dengue Fever) และเป็นการรายงานผู้ป่วยรายแรกของพื้นที่ บ้านตาวัง หมู่ที่ 1 ตำบลตาวัง อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ จึงยืนยันได้ว่ามีการระบาดของโรคไข้เดงกี่ (Dengue Fever) ในพื้นที่
2. สาเหตุของการระบาดของโรค น่าจะเกิดจากยุงที่มีเชื้อเดงกี่ไวรัส ที่อยู่บริเวณของผู้ป่วยและบ้านญาติของผู้ป่วยที่ผู้ป่วยไปพักอาศัยในช่วงปิดเทอมกัดผู้ป่วย โดยจากการสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายพบว่า ในบริเวณคุ้มบ้านที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่และคุ้มที่ผู้ป่วยไปพักอาศัยอยู่มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายค่อนข้างสูง 20.80 และ 44.44 ตามลำดับ และสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปทั้งสองแห่ง ไม่ดีมีสภาพแออัดและพื้นที่รอบบ้านมีป่ากล้วยและกอไผ่จำนวนมาก ประกอบกับมีการรายงานผู้ป่วยในพื้นที่ดังกล่าวทุกปี แสดงว่ามีภาวะเสี่ยงสูงต่อการระบาดของโรค
3. ลักษณะการเกิดโรค แหล่งโรค และวิธีถ่ายทอดโรค จากสาเหตุการเกิดโรค เมื่อดำเนินการสอบสวนพบว่ามีผู้ป่วยเข้าข่ายเพียง 1 ราย โดยแหล่งที่คาดว่าเป็นแหล่งรังโรคคือบริเวณบ้านของผู้ป่วยและบริเวณบ้านญาติที่ผู้ป่วยไปพักอาศัยในช่วงปิดเทอม คือบ้านไทยเจริญ หมู่ที่ 9 ตำบลสำเภาลูน อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งจากการสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายพบว่า ในบริเวณคุ้มบ้านที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่และคุ้มที่ผู้ป่วยไปพักอาศัยอยู่มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายค่อนข้างสูง 20.80 และ 44.44 ตามลำดับ และสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปทั้งสองแห่ง ไม่ดีมีสภาพแออัดและพื้นที่รอบบ้านมีป่ากล้วยและกอไผ่จำนวนมาก
4. แนวทางในการควบคุมและป้องกันการระบาด การแพร่กระจาย ของโรค ในระยะเร่งด่วนได้ดำเนินการร่วมกับ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สำรวจค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายโดยแยกเป็นคุ้มๆแต่ละคุ้มจะมีเจ้าหน้าที่ร่วม พร้อมทั้งกำจัดลูกน้ำยุงลาย ใส่ทรายเคลือบสาร อื่นๆ โดยทรายเคลือบสารพร้อมกับการพ่นหมอกควันบริเวณบ้านผู้ป่วยและบ้านใกล้เคียงรัศมี 100 เมตรก่อนหลังจากนั้นก็จะพ่นหมอกควันครบทุกหลังคาเรือน พร้อมประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบข้อมูลเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และรู้จักป้องกันตัวเอง หากมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ไม่ไอ ไม่เป็นหวัดให้รีบไปสถานีอนามัยหรือโรงพยาบาล และเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ คณะกรรมการได้กำหนดประชุมประชาคมไข้เลือดออก ในวันที่ 15 มีนาคม 2549 ในการดำเนินการควบคุมป้องกันโรคได้ดำเนินการทั้งสองพื้นที่เนื่องจากสงสัยว่าเป็นแหล่งโรคทั้งสองแห่ง
การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้แดงกี่
การดำเนินงานเร่งด่วน
ทีม SRRT โซนเหนือหลังจากได้รับแจ้งจากศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่ออำเภอ
บัวเชด วันที่ 14 มีนาคม 2549 แล้ว ได้ดำเนินการเร่งด่วนดังนี้
1. ขออนุมัติผู้บังคับบัญชานำทีมออกสอบสวนโรค
2. ประสานงานกับองค์การบริหารส่วนตำบลตาวัง แจ้งผู้นำหมู่บ้านและดำเนินการประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ให้ทราบว่ามีโรคระบาดเกิดขึ้นในหมู่บ้านพร้อมทั้งขอความร่วมมือประชาชนในการดำเนินการควบคุมโรค
3. ทีม SRRT ออกสอบสวนโรค เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวางแผนแก้ปัญหาระยะเร่งด่วนและยั่งยืน
4. ดำเนินการร่วมกับ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สำรวจค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายโดยแยกเป็นคุ้มๆแต่ละคุ้มจะมีเจ้าหน้าที่ร่วม พร้อมทั้งกำจัดลูกน้ำยุงลาย ใส่ทรายเคลือบสาร และเทน้ำที่ลูกน้ำทิ้งแล้วลางขัด รวมทั้งการปล่อยปลากินลูกน้ำ
5. ดำเนินการพ่นหมอกควันร่วมกับ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โดยพ่นหมอกควันบริเวณบ้านผู้ป่วยและบ้านใกล้เคียงรัศมี 100 เมตรก่อนหลังจากนั้นก็จะพ่นหมอกควันครบทุกหลังคาเรือนและพ่นซ้ำ อีกหลังจาก 1 สัปดาห์
6. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบข้อมูลเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และรู้จักป้องกันตัวเอง หากมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ไม่ไอ ไม่เป็นหวัดให้รีบไปสถานีอนามัยหรือโรงพยาบาล
7. แจ้งกำหนดประชุมประชาคมไข้เลือดออก ในวันที่ 15 มีนาคม 2549
สรุปผลการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เดงกี่ระยะเร่งด่วน
1. พ่นหมอกควันวันที่ 14 มีนาคม 2549 จำนวน 7 คุ้ม 109 หลังคาเรือน (100%) โดยใช้
งบประมาณทั้งหมด 4,000 บาท จากงบ สสม. 3,000 บาท จาก อบต. 1,000 บาท ดำเนินการพ่นหมอกควันโดย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ควบคุมการพ่นหมอกควันโดยคณะกรรมการ SRRT โซนเหนือ ซึ่งประกอยด้วย ตำบลตาวัง ตำบลสะเดา ตำบลสำเภาลูน
2. ใส่ทรายเคลือบสาร ในภาชนะน้ำใช้ ภาชนะในห้องน้ำ จำนวน 7 คุ้ม 109 หลังคาเรือน (100%) ภาชนะที่ใส่ทรายเคลือบสาร จำนวน 255 ใบ โดยคณะกรรมการ SRRT โซนเหนือ อำเภอบัวเชดและคณะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
3. ปล่อยปลากินลูกน้ำ (จากบ่อเลี้ยงปลาสถานีอนามัยตำบลตาวัง) ในน้ำดื่ม โอ่ง 2,000 ลิตร และในภาชนะห้องน้ำ จำนวน 80 หลังคาเรือน จำนวน 80 ใบ ๆ ละ 2 ตัว ใช้ปลาทั้งหมด 160 ตัว (ใช้เฉพาะปลากินลูกน้ำตัวผู้) และปล่อยปลาในห้องน้ำทั้งหมด 50 หลังคาเรือน 50 ภาชนะๆละ 2 ตัว ใช้ปลาทั้งหมด 100 ตัว ใช้ปลากินลูกน้ำทั้งสิ้น 260 ตัว
4. เพื่อการป้องกันและกำจัดยุงลายและยุงชนิดอื่นๆ ได้ใส่น้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว ในท่อส้วมที่แตก ยางรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และภาชนะอื่นๆ เช่น กระถางต้นไม้ รวมทั้งที่มีน้ำขัง ที่ชื้นแชะ โดยใส่ในท่อส้วมที่แตกและปิดไม่สนิท จำนวน 38 หลังคาเรือน ใส่ยางนอกรถยนต์และยางนอกรถจักยานยนต์ที่ทิ้งข้างบ้านจำนวนทั้งสิ้น 30 เส้น ใส่กระถางต้นไม้โรงเรียนบ้านตาวังจำนวน 12 ใบ ใส่บริเวณที่ชื้นแชะมีน้ำขังไม่มีที่ระบาย จำนวน 10 แห่ง

การดำเนินงานที่ต่อเนื่อง
1. จัดประชุมประชาคมไข้เลือดออกทุกฝ่ายเพื่อหาแนวทางร่วมกันในการแก้ปัญหาวันที่ 15 มีนาคม 2549 และได้ข้อสรุปดังนี้
1.1 ที่ประชุมประชาคมหมู่บ้าน ร่วมกันกำหนดข้อบังคับ
1.2 นักเรียนร่วมรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำโดยมีอาจารย์ควบคุมทุกวันศุกร์
1.3 สำรวจค่า HI,CI โดย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านประจำคุ้มและเจ้าหน้าที่ร่วมติดตามทุกวันศุกร์
1.4 ทำความสะอาดบริเวณบ้านและสิ่งแวดล้อมทุกวันศุกร์
1.5 ทำความสะอาดภายในบ้านแต่ละหลังคาเรือนทุกวันศุกร์
1.6 รณรงค์กำจัด/ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายเช่นเผาและฝังภาชนะแหล่งเพาะพันธุ์ทุกวันศุกร์
1.7 ล้างภาชนะ โอ่งน้ำ/ ห้องน้ำ ทุกวันศุกร์
1.8 ปิดฝาโอ่งน้ำกินให้มิดชิด
1.9 กำจัดและเผาขยะมูลฝอยให้แต่ละคุ้มดำเนินการทุกสัปดาห์
1.10 ใส่ทรายเคลือบสารทุก 2 เดือน และตรวจสอบทุกสัปดาห์
1.11สนับสนุนการเลี้ยงปลาหางนกยูงทุกหลังคาเรือนและทุกคุ้ม โดยใส่ปลาในห้องน้ำและโอ่งน้ำ 2,000 ลิตร เป็นหลัก
1.12ใส่ทรายหรือเกลือในแจกันหรือจานรองขาตู้
1.13 มาตรการการปรับกรณีตรวจพบลูกน้ำในบริเวณบ้านครั้งแรกถ้าพบลูกน้ำจะตักเตือนครั้งต่อไปจะปรับเพิ่มขึ้นครั้งละ 10 บาท ผู้นำ สมาชิก อบต. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ถ้าพบลูกน้ำจะปรับครั้งละ 30 บาท
1.14 คณะกรรมการประจำคุ้มตรวจสอบบ้านปลอดลูกน้ำ
1.15 รายงานผู้ใหญ่บ้านทุกวันเสาร์
1.16 ผู้ใหญ่บ้านตักเตือนทางหอกระจายข่าวและรายงานผลทุกวันอาทิตย์
2. แต่งตั้งผู้ตรวจสอบประจำคุ้ม มีหน้าที่ ตรวจสอบ สำรวจค่า HI,CI และรายงานผลให้ผู้ใหญ่บ้านทราบทุกวันเสาร์และผู้ใหญ่บ้านตักเตือนทางหอกระจายข่าวพร้อมทั้งรายงานผลทุกวันอาทิตย์ ดังรายละเอียดดัง ตารางที่ 6
3. ที่ประชุมเสนอให้กำหนดข้อบังคับของตำบล โดยเสนอให้ อบต.กำหนดข้อบังคับออกมา ให้ผู้นำ สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน นำข้อบังของตำบลมาใช้โดยเคร่งครัดและต่อเนื่อง
ตารางที่ 6 แสดงการแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบและรับผิดชอบประจำคุ้ม

คุ้มที่ ชื่อ-สกุล ตำแหน่ง รับผิดชอบ(หลังคาเรือน)
1 นางประไพ งามฉลาด อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 24
นางมินตรา หงษ์เจือ กรรมการคุ้ม
2 นางลำไย สอนงาม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 14
นางจำเนียร หงส์เจือ กรรมการคุ้ม
3 นางพะสิทธิ ภูหอม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 14
นางโสรญา ชื่นรส กรรมการคุ้ม
4 นางนางขวัญ โชคเกิด อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 17
นางนันทนา หงษ์เจือ กรรมการคุ้ม
5 นายสมเกียรติ ภูหอม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 19
นางกรรณิกา จันทร์แสง กรรมการคุ้ม
6 นายทองอิน อินทร์ดี อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 11
นางพันนิภา พุฒหอม กรรมการคุ้ม
7 นายเสียน แรงทอง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 10
นางนางสุบ สายแก้ว กรรมการคุ้ม
ที่มา จากที่ประชุมประชาคมไข้เลือดออกบ้านตาวัง 15 มีนาคม 2549
ปัญหาและอุปสรรค
1. ประชาชนยังไม่ตระหนักเท่าที่ควร เมื่อเกิดโรคภาระก็จะตกอยู่กับเจ้าหน้าที่และ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
2. องค์การบริหารส่วนตำบลขาดเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานสาธารณสุขโดยตรง ภาระงานส่วนใหญ่จึงเป็นของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย
3. เมื่อควบคุมโรคไม่ประสบผลสำเร็จท่าที่ควร เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยจะถูกตำหนิและถูกมองว่าไม่มีประสิทธิภาพในการทำงานทั้งที่มีปัจจัยหลายๆด้านที่เข้ามาเกี่ยวข้อง
4. งบประมาณในการควบคุมโรคระบาดแต่ละครั้งไม่เพียงพอต้องอาศัยงบประมาณจากเงินสนับสนุนสาธารณสุขมูลฐานของหมู่บ้านซึ่งมีจำนวนจำกัด
5. เจ้าหน้าที่มีภาระงานมาก การเฝ้าระวังโรคจึงไม่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน
6. การรายงานการเกิดโรคบางรายล่าช้าทำให้เกิดการแพร่กระจายของโรคทำให้ควบคุมลำบาก
7. เครื่องพ่นหมอกควันเสียบ่อย อะไหล่เครื่องแพง เจ้าหน้าที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษา

ข้อเสนอแนะ
1. การใช้น้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วใส่ลงภาชนะเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงรำคาญและยุงลาย เช่น ท่อส้วมที่แตก ยางรถยนต์และยางรถจักรยานยนต์รวมทั้งภาชนะอื่นๆที่ปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายและใช้ฆ่าลูกน้ำยุงได้
2. ควรดำเนินการจัดอบรมเจ้าหน้าที่เรื่องการสอบสวนโรค ที่ถูกหลักวิชาการ และขยายจำนวนให้มากขึ้น เนื่องจากเจ้าหน้าที่บางคนยังคิดว่าเป็นเรื่องที่ยากและยังหารูปแบบที่ดีที่สุดไม่ได้
3. การปล่อยปลากินลูกน้ำ ถือว่าเป็นวิธีที่ดีอย่างหนึ่ง และประหยัดงบประมาณได้มาก โดยส่วนใหญ่จะปล่อยในโอ่งน้ำ 2,000 ลิตรและภาชนะในห้องน้ำ ในภาชนะที่ใส่น้ำ ให้สัตว์ดื่ม โดยวิธีที่ดีที่สุดคือปล่อยปลาตัวผู้ 2 ตัว ปลาตัวผู้เพราะปลาตัวผู้ไม่ขยายพันธุ์และปล่อยครั้งละ 2 ตัว เพราะว่าปลาจะเดินเป็นคู่และจะมีเพื่อนแย่งอาหารกัน
4. ควรส่งเจ้าหน้าที่ไปอบรมซ่อมเครื่องและจัดงบประมาณไว้ซ่อมเครื่องพ่นหมอกควัน เพราะเครื่องพ่นหมอกควันจะเสียบ่อย และซ่อมยาก อะไหล่มีราคาแพง
5. ควรสร้างความตระหนัก ให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรค โดยใช้มาตรการทางกฎหมายหรือข้อบังคับขององค์การบริหารส่วนตำบล หรือข้อบังคับของชุมชน/หมู่บ้านที่มีคณะกรรมการดูแลอย่างเคร่งครัด
คณะกรรมการ SRRT โซนเหนือ ร่วมสอบสวนโรคประกอบด้วย
1. นายอรุณ เครือเนียม เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข 6 ประธานกรรมการ
2. นายเฉลิมชัย สาแก้ว เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 5 กรรมการ
3. นายปฐม อุปลิขิต พนักงานสุขภาพชุมชน กรรมการ
4. นายบุญลือ ระหาร พนักงานผู้ช่วยสถานีอนามัย กรรมการ
5. นายอุทัย จุมพิต พนักงานผู้ช่วยสถานีอนามัย กรรมการ
6. นายอัฐพล แรงจบ นักวิชาการสาธารณสุข 7 กรรมการ/เลขานุการ
เอกสารอ้างอิง

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. คู่มือการเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ ; 2546.
กระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย ; 2544.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานเฝ้าระวังโรค สำนักระบาดวิทยา ; 2546.
สถานีอนามัยตำบลตาวัง. แผนงาน/โครงการตำบลตาวังปลอดลูกน้ำยุงลาย ; 2548
สุจิตรา นิมานนิตย์ และคณะ,บรรณาธิการ. แนววินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกแดงกี่.พิมพ์
ครั้งที่1.กรุงเทพ : กระทรวงสาธารณสุข; 2542 .
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. คู่มือการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกปี 2542 จังหวัดสุรินทร์ ; 2542
รายงานการสอบสวนโรคไข้แดงกี่ (Dengue Fever)
บ้านตาวัง หมู่ที่ 1 ตำบลตาวัง อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์
ระหว่างวันที่ 14-15 มีนาคม พ.ศ. 2549
โดย…
แสงชัย ดีเลิศ
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบัวเชด
อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์

กิตติกรรมประกาศ


การสอบสวนโรคไข้เดงกี่ (Dengue Fever) บ้านตาวัง หมู่ที่ 1 ตำบลตาวัง อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ยืนยัน การระบาดของโรค ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาของโรค ค้นหาสาเหตุและการแพร่กระจายของโรค และวางแนวทางในการควบคุมและป้องกันโรคในครั้งนี้ และในครั้งต่อๆไป โดยการสำรวจสิ่งแวดล้อม ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ขอขอบพระคุณ พันตรีศตวรรษ สินประสิทธิ์กุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบัวเชด ประธาน คปสอ.บัวเชด นายศุภรัฐ พูนกล้า สาธารณสุขอำเภอบัวเชด นายโกวิทย์ สมควร หัวหน้าฝ่ายห้องปฏิบัติการและชันสูตรโรคโรงพยาบาลบัวเชด ที่อำนวยความสะดวกในการดำเนินงานสอบสวนโรครวมทั้งการสนับสนุนวัสดุควบคุมโรค
ขอขอบพระคุณ ทีม SRRT อำเภอบัวเชด และผู้นำชุมชน อบต. ,อสม. และประชาชนบ้านตาวัง หมู่ที่ 1 ทุกคน ที่ให้ความร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรคและวางมาตรการการควบคุมป้องกันโรค เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในพื้นที่
ขอขอบพระคุณอาจารย์จากสำนักงานควบคุมป้องกันโรคที่ 5 นครราชสีมา ผู้รับผิดชอบงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ ที่ได้สละเวลาในการตรวจและให้คำแนะนำการจัดทำรายงานสอบสวนโรคฉบับสมบูรณ์
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การสอบสวนโรคในครั้งนี้ คงเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจ เพื่อเป็นแนวทางในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


แสงชัย ดีเลิศ

สารบัญ

หน้า
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญตาราง
สารบัญภาพ
บทคัดย่อ 1
บทนำ 2
วัตถุประสงค์ 2
วิธีการศึกษา/สอบสวนโรค 2
ผลการศึกษา/สอบสวนโรค 3
สรุปผลการสอบสวนโรค 12
อภิปรายผล 12
การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เดงกี่ 13
ปัญหาและอุปสรรค 16
ข้อเสนอแนะ 17

สารบัญตาราง


ตาราง หน้า

1 แสดงข้อมูลผู้ป่วยที่สงสัยว่าป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกบ้านตาวัง หมู่ที่ 1 ตำบลตาวัง 4
2 สรุปค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายบ้านตาวัง หมู่ที่ 1 แยกคุ้ม (สำรวจ 100%) 8
3 สรุปค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายบ้านไทยเจริญ หมู่ที่ 9 แยกคุ้ม (สำรวจ 100%) 9
4 แสดงผลการตรวจ Complete Blood Count (CBC) วันที่ 14 มีนาคม 2549 10
5 แสดงผลการตรวจ Complete Blood Count (CBC) วันที่ 15 มีนาคม 2549 11
6 แสดงการแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบและรับผิดชอบประจำคุ้ม 16

สารบัญภาพ


ภาพ หน้า

1 แสดงแผนที่บ้านตาวัง หมู่ที่ 1 ตำบลตาวัง อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ แยกคุ้มต่างๆ 4
2 แสดงแผนที่อำเภอบัวเชด แยกตำบลต่างๆ 7

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น