โครงการผนึกพลังเยาวชนไทย ต้านภัยไข้เลือดออก ปี 2550
*************************************************
หลักการและเหตุผล
ตามที่กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ ได้ร่วมมือดำเนินการรณรงค์เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 และดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตามสถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกยังคงมีการระบาดทุกปี ซึ่งพบมากในกลุ่มเด็กอายุ 5 -14 ปี ถึงร้อยละ 70 และกลุ่มอายุ 15 -19 ปี มีแนวโน้มสูงขึ้น ดังนั้น จึงต้องดำเนินการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในโรงเรียน บ้านและชุมชนของนักเรียนทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ได้กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความตระหนักรู้ถึงภัยอันตรายจากโรคไข้เลือดออก ซึ่งส่งผลร้ายต่อสุขภาพและชีวิต โดยบรรจุเนื้อหาการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกเข้าในหลักสูตรการเรียนการสอน พร้อมทั้งจัดกิจกรรมเสริม ที่สำคัญคือให้นักเรียนได้สำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายที่บ้านและชุมชน ทุกวันศุกร์ จากโครงการ “ผนึกพลังเยาวชนไทยต้านภัยไข้เลือดออก” ในปีการศึกษา 2548 พบว่าได้รับการตอบรับจากนักเรียนเป็นอย่างดี มีนักเรียนจำนวนมากเขียนจดหมายเล่าถึงกิจกรรมกำจัดลูกน้ำยุงลาย มีการก่อตั้งชมรมฯ และทำให้ความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายในหลายพื้นที่ลดลง
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเขาย้อยและโรงพยาบาลเขาย้อย จึงมีความเห็นร่วมกันที่จะให้นักเรียนทุกคนในอำเภอเขาย้อย เป็นผู้มีบทบาทกระตุ้นเตือนชุมชน และร่วมกันกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน จึงได้ทำโครงการผนึกพลังเยาวชนไทยต้านภัยไข้เลือดออก ปี 2549 ต่อเนื่องจากโครงการเดิมซึ่งจัดเป็นกิจกรรมหนึ่งในโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โดยให้ครอบคลุมโรงเรียนระดับประถมและมัธยมทั่วประเทศ ยุทธศาสตร์ของโครงการเน้นให้นักเรียนกำจัดลูกน้ำยุงลายในบ้าน โรงเรียนและชุมชนของตน และให้เกิดความร่วมมือกับหน่วยงานระดับท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาไข้เลือดออกในพื้นที่ มีจุดเน้นอย่างชัดเจนต่อชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่หรือโรงเรียนตั้งอยู่ เพื่อหวังผลในการลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย ซึ่งส่งผลให้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและการแพร่ระบาดของ โรคไข้เลือดออกลดลงจนเหลือน้อยที่สุด
2. วัตถุประสงค์
2.1 ครู นักเรียน และผู้ปกครองเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการรณรงค์เฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก
2.2 ให้เกิดกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่โรงเรียน บ้านและชุมชนของนักเรียน อย่างต่อเนื่อง
ทุกสัปดาห์
3. กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนในโรงเรียนรัฐบาลรวม 25 แห่ง
ระดับชั้น - ประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 6
- มัธยมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3
4. วิธีดำเนินการ
4.1 คปสอ.เขาย้อยร่วมกันพิจารณาจัดทำโครงการ
4.2 สสอ.เขาย้อยประสานกับ สพท. เพื่อร่วมปรึกษาแนวทางและขั้นตอนการดำเนินงาน
4.3 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเขาย้อย ร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประชุมชี้แจงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ,CUP และโรงเรียนเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออก โดยสนับสนุนให้นักเรียนเป็นผู้ดำเนินการ
กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายร่วมกับผู้ปกครองและชุมชน
4.4 ผู้บริหารโรงเรียนรับนโยบายและมอบหมายให้ครูรับผิดชอบทำโครงการระดับโรงเรียน
4.5 ครูผู้รับผิดชอบจัดทำโครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกระดับโรงเรียน โดยกำหนดกิจกรรม
การเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ตัวอย่าง เช่น
- จัดตั้งชมรม มือปราบน้อย ตามรอยลูกน้ำ
- ให้นักเรียนจัดทำโครงงาน ลูกน้ำหาย ยุงลายหมด ลดไข้เลือดออก
- จัดสัปดาห์รณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ฯลฯ
4.6 นักเรียนสำรวจแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย กำจัดลูกน้ำยุงลายและรายงานผลในแบบบันทึกกิจกรรม
และตอบแบบสอบถามการเข้าร่วมกิจกรรม ฯ (กรมควบคุมโรคสนับสนุนตัวอย่างแบบบันทึกกิจกรรม
และแบบสอบถามการเข้าร่วมกิจกรรมผ่านทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา)
4.7 ครูประจำชั้น กระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจ โดยอธิบายให้ทราบถึงผลดีของการควบคุมและทำลายลูกน้ำ
ยุงลายและใช้เป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาเกณฑ์วัดผลในกลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา
รวมทั้งบันทึกในสมุดบันทึกความดี
4.8 ในระดับอำเภอ จัดให้มีการประกวดโรงเรียนที่มีโครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกดีเด่น
หลักเกณฑ์การพิจารณาและรางวัล ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการประกวดระดับอำเภอ
โดย CUP สนับสนุนเงินรางวัลส่วนหนึ่งให้
5. การประเมินผล
โดยหน่วยงานสังกัดกระทรวงศึกษาธิการระดับอำเภอ / สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
5.1 หน่วยงานสังกัดกระทรวงศึกษาธิการระดับอำเภอประเมินผลความสำเร็จของโครงการ พิจารณาจาก
- โรงเรียนมีโครงการ / ผลงาน / กิจกรรมดำเนินการอย่างจริงจังและมีประสิทธิผล
- นักเรียนทำกิจกรรมสำรวจและควบคุมลูกน้ำยุงลายอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง
5.2 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
- สถิติจำนวนและอัตราป่วยในช่วงระหว่างดำเนินโครงการ
- สำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ของโรงเรียน (CI) และของชุมชน (HI) ของนักเรียน
6. ระยะเวลาดำเนินการ
เดือน พฤษภาคม - ธันวาคม 2550
7. งบประมาณ
จากเงินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (PP Com. Base) เครือข่ายบริการโรงพยาบาลเขาย้อย
เป็นเงินรางวัลโรงเรียนดีเด่นระดับอำเภอ (รวม 17,000.00 บาท) ดังนี้
- รางวัลที่ 1 เป็นเงิน 7,000.00 บาท
- รางวัลที่ 2 เป็นเงิน 4,000.00 บาท
- รางวัลที่ 3 เป็นเงิน 3,000.00 บาท
- รางวัลชมเชย 3 รางวัล ๆ ละ 1,000.00 บาท เป็นเงิน 3,000.00 บาท
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
8.1 ได้แนวทางการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมไข้เลือดออกที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียน ครู
8.2 ครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนตระหนัก มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกำจัด
ลูกน้ำยุงลาย จนเป็นกิจวัตรทั้งที่บ้าน โรงเรียน และชุมชน
8.3 เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในท้องถิ่น ดำเนินกิจกรรมกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง
8.4 โรงเรียน บ้านและชุมชนของนักเรียนปลอดลูกน้ำยุงลาย
8.5 ลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนบ้าน ชุมชนทั่วประเทศ
9. หน่วยงานดำเนินการ
9.1 หน่วยงานในสังกัด กระทรวงศึกษาธิการ :
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 เพชรบุรี / โรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา 25 แห่ง
9.2 หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข : สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น