วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553

แบบเสนอโครงการวิจัย ABCPUS

แบบเสนอโครงการวิจัย ABCPUS

ชื่อโครงการ
(ภาษาไทย) การศึกษาการแพร่กระจายของแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในเขตดุสิตโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
(ภาษาอังกฤษ) The distribution of Aedes aegypti larva in Dusit district by using geographic information system (GIS)

หัวหน้าโครงการวิจัย
ชื่อ-สกุล นางสาวพิมพนัส วิมุกตายน
หน่วยงาน สาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ที่อยู่ สาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เลขที่ 1 ถนนอู่ทองนอก เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทรศัพท์ 0818101224 โทรสาร 022436863
E-mail pimpanas@hotmail.com

ระยะเวลาดำเนินงาน……………6…………….เดือน

งบประมาณ ……………65,000.…………………….….บาท

ปัญหาที่ทำวิจัยและความสำคัญของปัญหา
ยุงลายเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกที่มีปัญหาการระบาดหนักทั่วประเทศ โดยเฉพาะในเขตที่มีประชากรอยู่หนาแน่น ในกรุงเทพฯ พบว่าเขตบางซื่อซึ่งอยู่ติดกับเขตดุสิตเป็นแหล่งเพาะเชื้อไข้เลือดออกที่ติดอันดับต้นๆ ของประเทศ นอกจากเขตบางซื่อ ยังมีเขตที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวังเนื่องจากเป็นจุดเสี่ยงต่อการระบาดของเชื้อไข้เลือดออก ได้แก่ บางพลัด จตุจักร ภาษีเจริญ บางบอน บางคอแหลม จอมทอง และประเวศ
การระบาดของโรคไข้เลือดออกจะพบมากในฤดูฝน โดยมีรอบการระบาดทุก 2 ปี แต่เนื่องจากอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นจากภาวะโลกร้อน ทำให้รอบการระบาดของโรคนี้เกิดเร็วขึ้น วงจรชีวิตของยุงลายสั้นขึ้นจาก 10-14 วัน เหลือเพียง 1 สัปดาห์ แต่ปริมาณการวางไข่ต่อรอบเพิ่มจำนวนสูงขึ้น สถิติผู้ป่วยในกรุงเทพฯ พบว่าเขตบางซื่อมีผู้ป่วยมากที่สุดในรอบครึ่งปีแรกของปี พ.ศ.2550 จำนวนถึง 80 ราย จากการเฝ้าระวังโรคในปี 2551 ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ รวม 40 วัน มีรายงานผู้ป่วยสะสมทั่วประเทศแล้ว 2,824 ราย เสียชีวิต 4 ราย ผู้ป่วยร้อยละ 70 อยู่ในภาคกลาง มีทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ เมื่อเทียบช่วงเดียวกันในปี 2550 ซึ่งมีผู้ป่วยเพียง 1,702 ราย ไม่มีรายงานเสียชีวิต พบว่าจำนวนผู้ป่วยปีนี้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 66 โดยตลอดปี 2550 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกประมาณ 6 หมื่นราย เสียชีวิต 29 ราย และมีสัญญาณว่าโรคนี้จะพบในเด็กโตมากขึ้น
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการศึกษาการแพร่กระจายของเชื้อไข้เลือดออก เนื่องจากทำให้ทราบข้อมูลของแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเพาพะพันธุ์ และการติดเชื้อไข้เลือดออก ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างสูงต่อการเฝ้าระวังและการควบคุมการแพร่กระจายยุงลายและการติดเชื้อ

วัตถุประสงค์
1. เพื่อหาการแพร่กระจายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
2. เพื่อหาลักษณะของคุณภาพน้ำเบื้องต้นที่มีผลต่อการวางไข่ของยุงลาย
3. เพื่อประเมินสถานการณ์ความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายในเขตดุสิต

คำถามการวิจัย
1. ยุงลายมีแหล่งเพาะพันธุ์กระจายอยู่ที่ใดบ้าง
2. ลักษณะของแหล่งน้ำที่ยุงลายวางไข่เป็นแบบใด

กรอบความคิดการวิจัย
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information Systems ,GIS) เป็นระบบเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่ และเชื่อมโยงและผสมผสานข้อมูลทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย ที่เก็บไว้ในฐานข้อมูล เพื่อนำมาช่วยประกอบการตัดสินใจในการป้องกันและควบคุมโรคจะถูกต้อง ชัดเจน และแม่นยำมากขึ้น

ระเบียบวิธีวิจัย
(ดัดแปลงจาก สีใส ยี่สุ่นแสง http://www.en.mahidol.ac.th/gis/document/03.pdf)
รูปแบบการศึกษา
เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive Study)
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา
1. แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
2. ปัจจัยสิ่งแวดล้อม ได้แก่ อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน ความชื้นในอากาศ
3. ดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำเบื้องต้น ได้แก่ อุณหภูมิ ค่าออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ความขุ่น การนำไฟฟ้า ความเป็นกรด-ด่างของน้ำ
4. ข้อมูลตำแหน่งจุดพิกัด (Geo-Reference Point) ของเขตดุสิต โดยพื้นที่ที่เลือกทำการสำรวจการแพร่กระจายพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย จะสำรวจชุมชนรอบๆ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้แก่ ชุมชนชาววัดราชา ชุมชนสวนอ้อย ชุมชนวัดเทวราชกุญชร
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. ชุดคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น ArcViewGIS และ โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล
2. ฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ (SpatialDatabase) ใช้แผนที่ภูมิประเทศเชิงเลขมาตราส่วน 1:50,000 ของกรมแผนที่ทหาร ใช้เป็นแผนที่ฐาน (BaseMap) และแผนที่อื่นๆ เช่น แผนที่ขอบเขตการปกครอง ที่ตั้งหมู่บ้าน เส้นทางคมนาคม สถานีตรวจวัดอากาศ
3. ฐานข้อมูลเชิงคุณลักษณะ (AttributeDatabase) เป็นข้อมูลระดับทุติยภูมิ ซึ่งรวบรวมจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น ข้อมูลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก รายงานการสำรวจลูกน้ำ ปริมาณน้ำฝน จำนวนวันที่ฝนตก
4. แบบสอบถาม ประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไป 2) ความรู้เรื่องไข้เลือดออก 3) ทัศนคติเกี่ยวกับไข้เลือดออก 4) สภาพสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคไข้เลือดออก 5) การมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคของครัวเรือนและชุมชน
การเก็บรวบรวมและจัดการข้อมูล
1. รวบรวมฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ ฐานข้อมูลเชิงคุณลักษณะแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ได้แก่ ภาชนะเก็บกักน้ำหลัก ภายในบ้านสำหรับอุปโภคบริโภค และภาชนะเก็บกักน้ำรอบบ้าน
2. รวบรวมข้อมูลการติดเชื้อไข้เลือดออกจากแบบสอบถามและข้อมูลผู้ป่วยในโรงพยาบาล
3. รวบรวมชนิดข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาใช้ประมวลผลในโปรแกรม ArcViewGIS
การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
ลักษณะทั่วไปของประชากรกลุ่มตัวอย่าง และปัจจัยสิ่งแวดล้อม ใช้สถิติร้อยละ (Percentage)ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean)และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (StandardDeviation)
1. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสิ่งแวดล้อม ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย และจำนวนผู้ป่วยใช้สถิติ PearsonProductMomentCorrelationCoefficient3) การวิเคราะห์สถิติเชิงพื้นที่ในการกำหนดพื้นที่เสี่ยงใช้สถิติจำแนกกลุ่ม (DiscriminantAnalysis) ร่วมกับ การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ (Spatial Analysis)
2. กำหนดระดับเสี่ยงต่อโรคไข้เลือดออกของพื้นที่ศึกษา
1) ชุมชนที่ไม่เคยเกิดโรค แต่อยู่ใกล้พื้นที่เคยเกิดโรคเมื่อ 1-3 ปีที่ผ่านมา
2) ชุมชนที่มีความชุกชุมยุงลายสูง
3) ชุมชนที่มีผู้ป่วยหรือมีการระบาดในปีก่อน หรือมีผู้ป่วยไม่ติดต่อกัน 3 ปี

ดัชนีวัดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย (Larval/Pupal Mosquito Population Density Indices)
House Index คือ ร้อยละของบ้านที่พบลูกน้ำ
H.I = จำนวนบ้านที่พบลูกน้ำ x 100
จำนวนบ้านที่สำรวจทั้งหมด
Container Index คือ ร้อยละของภาชนะที่พบลูกน้ำ
C.I. = จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำ x 100
จำนวนภาชนะที่สำรวจทั้งหมด
Breteau Index คือ จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำต่อบ้าน 100 หลังคาเรือน
B.I. = จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำ x 100
จำนวนบ้านที่สำรวจทั้งหมด
Stegomyia Index คือ จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำต่อประชากรในพื้นที่สำรวจ 1,000 คน
S.I. = จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำ x 1000
จำนวนประชากรในพื้นที่สำรวจ
อัตราบ้านพบตัวโม่ง PHI = จำนวนบ้านที่สำรวจพบตัวโม่ง X 100
จำนวนบ้านที่สำรวจ
อัตราภาชนะพบตัวโม่ง PCI = จำนวนภาชนะที่สำรวจพบตัวโม่ง X 100
จำนวนภาชนะที่สำรวจ

การแปรผล
HI สูง CI สูง = ชุมชนนี้มีปัญหามากโดยรวม
HI ต่ำ CI ต่ำ = ชุมชนนี้มีปัญหาน้อยโดยรวม
HI สูง CI ต่ำ = ชุมชนนี้มีปัญหาทั่วไปกระจายทั้งหมู่
HI ต่ำ CI สูง = ชุมชนนี้มีปัญหาเป็นบางจุดของชุมชน แก้ไขเฉพาะจุดได้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทราบแหล่งแพร่กระจายพันธุ์ของลูกน้ำยุงลายและจัดทำข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์
2. ทราบลักษณะของแหล่งน้ำที่ยุงลายเลือกวางไข่
3. เพื่อการวางแผนควบคุมและเฝ้าระวังแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

งานทบทวนวิจัยที่เกี่ยวข้อง
Alpana B. and Haja A., 2001. Application of GIS in Modeling of Dengue Risk based on Socio Cultural Data: Case of Jalor, Rajasthan India. Paper presented at the 22ndAsian Conference on Remote Sensing. 5-9 November 2001, Singapore. ระบบออนไลน์ แหล่งที่มา : http://geoinformatics.sut.ac.th/sut/student/GISpresent/2003-1/ApplicationofGIS.pdf
กรมควบคุมโรค 2549. สรุปผลการตรวจราชการและนิเทศงานระดับเขต กรณีปกติระดับกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2549 รอบที่ 1 ระบบออนไลน์ แหล่งที่มา http://dpc1.ddc.moph.go.th/technic/Data_Link/Nitret/Summary-Nitret.doc
กระทรวงสาธารณสุข การประเมินผลการควบคุมลูกน้ำยุงลายทุก 7 วัน ปี 2548 ระบบออนไลน์ แหล่งที่มา http://dhf.ddc.moph.go.th/project/Prinsston/assess.ppt
กังสดาล สุวรรณรงค์ และ ศศิธร ตั้งสวัสดิ์ การพัฒนาฐานข้อมูลการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ใน 7 จังหวัดรับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น. ระบบออนไลน์ แหล่งที่มา : http://203.157.15.4/episeminar/abstract/15kungsdal.txt
กิติมา กิจประเสริฐ การศึกษาการเกิดการกระจายและปัจจัยการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่จังหวัดระยอง ปี พ.ศ. 2545-2547. ระบบออนไลน์ แหล่งที่มา : http://202.29.52.57/~48042380187/Gis.ppt
ชบาไพร เสาร์สุวรรณ 2548. โครงการประเมินดัชนีลูกน้ำยุงลายเพื่อเฝ้าระวังความเสี่ยงในพื้นที่ ปี 2548. ระบบออนไลน์ แหล่งที่มา : http://www.dpc1.in.th/insect/datainsect/project48.7.doc
ณัฏฐวุฒิ แก้วพิทูลย์ พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมลูกน้ำยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออกของประชาชนบ้านกลาง ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ระบบออนไลน์ แหล่งที่มา http://www.cmp.ubu.ac.th/~rcpner/admin/att/17-10-2007BeDHF.doc
นันทวัน นารัตน์และคณะ การพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านสาธารณสุขจังหวัดอ่างทองโดยใช้ข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ระบบออนไลน์ แหล่งที่มา http://pubnet.moph.go.th/
พนม พูลสมบัติ ไข้เลือดออก และการสำรวจลูกน้ำยุงลาย ระบบออนไลน์ แหล่งที่มา http://www.nmd.go.th/preventmed/down/download.html
สถานีอนามัยบ้านพันหลัง จังหวัดเชียงใหม่ การคำนวณดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย ระบบออนไลน์ แหล่งที่มา http://www.cliniccom.th.gs/web-c/liniccom/dhfmass.htm
สีใส ยี่สุ่นแสง การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อการวางแผนป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์และพิษณุโลก ระบบออนไลน์ แหล่งที่มา http://www.en.mahidol.ac.th/gis/document/03.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น