สรุปรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ประจำเดือนเมษายน 2551
1. การส่งบัตรรายงาน
ตั้งแต่ 23 มีนาคม ถึง 25 เมษายน 2551 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ได้รับรายงานโรคที่เฝ้าระวังทางระบาดวิทยา จากบัตรรายงาน 506 จำนวน 3,555 บัตร โดยได้รับบัตรรายงาน จากสถานีอนามัย 202 แห่ง ( 786 บัตร) และจากโรงพยาบาลทุกแห่ง (2,769 บัตร)
ความทันเวลาในการส่งบัตรรายงาน 506 พบว่า ในภาพรวมสถานีอนามัย มีการส่งรายงาน ทันเวลา ร้อยละ 95.41 สำหรับโรงพยาบาล มีความทันเวลาในการรายงาน ร้อยละ 96.7
ความทันเวลาในการส่งรายงานในเดือนนี้
- สสอ.ที่มีความทันเวลาในการส่งรายงานได้ตามเกณฑ์ (มากกว่า ร้อยละ 80) 19 แห่ง
- สสอ. ที่มีความทันเวลาต่ำกว่าเกณฑ์ 1 แห่ง คือ สสอ.หนองพอก
- รพ.ที่มีความทันเวลาในการส่งรายงานได้ตามเกณฑ์ (มากกว่าร้อยละ 80) ครบทุกแห่ง
2. สถานการณ์โรคเฝ้าระวังปี 2551 (ตั้งแต่ 1 มกราคม – 25 เมษายน 2551)
โรคที่มีรายงานผู้ป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ อุจจาระร่วง รองลงมา คือ สุกใส อาหารเป็นพิษ ปอดบวม และตาแดง
ตารางที่ 1 จำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา 10 อันดับแรก จ.ร้อยเอ็ด ปี 2551
โรค ปี 2551 รวม
(ราย) อัตราป่วย
(ต่อแสน ปชก)
ม.ค.(ราย) ก.พ.(ราย) มี.ค. (ราย) เม.ย. (ราย)
1. อุจจาระร่วง 3,458 2,790 2,835 1,850 10,933 835.48
2. สุกใส 239 388 575 196 1,398 106.83
3. อาหารเป็นพิษ 363 274 365 216 1,218 93.08
4. ปอดบวม 213 198 220 96 727 55.56
5. ตาแดง 142 148 135 70 495 37.83
6. ไข้ไม่ทราบสาเหตุ 95 106 119 93 413 31.56
7. ไข้เลือดออก 29 15 24 25 93 7.11
8. วัณโรคปอด 43 37 11 2 93 7.11
9. งูสวัส 23 13 24 17 77 5.88
10. มือ เท้า ปาก 42 21 5 2 70 5.35
ตารางที่ 2 จำนวนและร้อยละสถานบริการที่ส่งบัตรรายงาน 506 และความทันเวลา รายอำเภอ
ระหว่าง 23 มีนาคม – 25 เมษายน 2551
อำเภอ จำนวน
ครั้งที่ส่ง รายงาน (ครั้ง) จำนวน
สอ.ที่ส่งรายงาน
/ สอ.ทั้งหมด จำนวนบัตรทันเวลา
/ บัตรทั้งหมด ทันเวลา
ร้อยละ โรงพยาบาล จำนวนบัตร
ทันเวลา / บัตรทั้งหมด ทันเวลา
ร้อยละ
1. เมือง 22 17 / 17 74 / 74 100.0 1. ร้อยเอ็ด 502 / 520 96.5
2.เกษตรวิสัย 16 14 / 15 89 / 90 98.9 2.เกษตรวิสัย 76 / 76 100.0
3. ปทุมรัตต์ 10 11 / 12 26 / 26 100.0 3. ปทุมรัตต์ 37 / 37 100.0
4.จตุรพักตร ฯ 20 11 / 12 55 / 60 91.7 4.จตุรพักตร ฯ 365 / 374 97.6
5. ธวัชบุรี 5 6 / 11 22 / 22 100.0 5. ธวัชบุรี 93 / 93 100.0
6. พนมไพร 23 13 / 15 40 / 46 86.9 6. พนมไพร 239 / 239 100.0
7. โพนทอง 10 19 / 21 24 / 25 96.0 7. โพนทอง 234 / 239 97.9
8. โพธิ์ชัย 14 8 / 9 36 / 36 100.0 8. โพธิ์ชัย 85 / 106 80.2
9. หนองพอก 4 11 / 12 11 / 17 64.7 9. หนองพอก 107 / 112 95.5
10.เสลภูมิ 18 25 / 25 110 / 125 88.0 10.เสลภูมิ 151 / 161 93.7
11.สุวรรณภูมิ 14 15 / 17 47 / 48 97.9 11.สุวรรณภูมิ 213 / 214 99.5
12. เมืองสรวง 8 4 / 5 8 / 8 100.0 12. เมืองสรวง 48 / 48 100.0
13. โพนทราย 11 3 / 5 3 / 3 100.0 13. โพนทราย 102 / 103 99.0
14. อาจสามารถ 15 13 / 13 36 / 36 100.0 14. อาจสามารถ 246 / 249 98.8
15. เมยวดี 6 2 / 5 18 / 18 100.0 15. เมยวดี 24 / 24 100.0
16. ศรีสมเด็จ 11 7 / 7 57 / 57 100.0 16. ศรีสมเด็จ 85 / 85 100.0
17. จังหาร 11 9 / 10 37 / 37 100.0 17. จังหาร 72 / 89 80.9
18. เชียงขวัญ 6 7 / 7 36 / 36 100.0
19. หนองฮี 3 3 / 7 9 / 10 90.0
20. ทุ่งเขาหลวง 6 4 / 5 12 / 12 100.0
รวม 202 / 230 750 / 786 95.41 2679 / 2769 96.7
สถานีอนามัย ที่ไม่มีการส่งรายงานในเดือนนี้ 28 แห่ง ดังนี้
* อ.เกษตรวิสัย 1 แห่ง คือ สอ.บ้านแจ่มอารมณ์
* อ.ปทุมรัตต์ 1 แห่ง คือ สอ.บ้านสวนปอ
* อ.จตุรพักตรพิมาน 1 แห่ง คือ สอ.บ้านใส
* อ.ธวัชบุรี 5 แห่ง คือ สอ.บ้านอุ่มเม้า สอ.บ้านปรางค์กู่ สอ.บ้านหนองบั่ว สอ.บ้านดอนงัว และ สอ.บ้านราชธานี
* อ.พนมไพร 2 แห่ง คือ สอ.บ้านกุดน้ำใส และ สอ.บ้านนานวล
* อ.โพนทอง 2 แห่ง คือ สอ.บ้านป้อง และ สอ.บ้านหนองกุง
* อ.โพธิ์ชัย 1 แห่ง คือ สอ.บ้านหนองแวงใหญ่
* อ.หนองพอก 1 แห่ง คือ สอ.บ้านหนองคำใหญ่
* อ.สุวรรณภูมิ 2 แห่ง คือ สอ.บ้านสระโพนทอง และ สอ.บ้านคำพรินทร์
* อ.เมืองสรวง 1 แห่ง คือ สอ.บ้านหนองยาง
* อ.โพนทราย 2 แห่ง คือ สอ.บ้านเกาะแก้ว และ สอ.บ้านศรีสว่าง
* อ.เมยวดี 3 แห่ง คือ สอ.บ้านชุมพร สอ.บ้านคำนางตุ้ม และ สอ.บ้านชมสะอาด
* อ.จังหาร 1 แห่ง คือ สอ.บ้านแซงแหลม
* อ.หนองฮี 4 แห่ง คือ สอ.บ้านสาวแห สอ.บ้านวารีเกษม สอ.บ้านขมิ้น และ สอ.บ้านดอนกลอย
* อ.ทุ่งเขาหลวง 1 แห่ง คือ สอ.บ้านมะบ้า
* สอ. ส่ง zero report เดือนนี้
- อ.เสลภูมิ 7 แห่ง คือ สอ.บ้านใหม่สามัคคี สอ.บ้านนาโพธิ์ สอ.บ้านหวาย สอ.บ้านดงหวาย
สอ.บ้านบะหลวง สอ.บ้านโนนสนาม และ สอ.บ้านสะอาดนาดี
3. สถานการณ์โรคที่สำคัญ
3.1 สรุปข่าวการระบาดในช่วงเดือนเมษายน 2551
3.1.1 อาหารเป็นพิษ จากการรับประทานมันบวด ที่งานศพ บ้านบ่อแก ม.7 ต.บึงเกลือ อ.เสลภูมิ วันที่ 30 มีนาคม2551 พบผู้ป่วยรวม 39 ราย เป็นเพศหญิง 29 ราย เพศชาย 10 ราย อายุระหว่าง 28-81 ปี เริ่มป่วยวันที่ 30 มีนาคม 2551 เวลา 18.30 – 20.30 น. อาการที่พบ คือ วิงเวียนศีรษะ ร้อยละ 82.05 คลื่นไส้อาเจียน ร้อยละ 53.8 แขนขาอ่อนแรง ร้อยละ 51.3 มึนชาตามใบหน้า ร้อยละ 43.6 ตะคริว ร้อยละ 35.9 ตาพร่า ร้อยละ 25.6 ใจสั่น ร้อยละ 20.5 ปวดท้อง ร้อยละ 15.4 เหงื่อออกมาก ร้อยละ 10.3 เข้ารับการรักษาที่ รพ.เสลภูมิ ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม 2551 - 1 เมษายน 2551 ผู้ป่วยนอก 6 ราย ผู้ป่วยใน 10 ราย รักษาที่คลินิกเอกชน 2 ราย และมีอาการเล็กน้อยไม่ได้รับการรักษา 21 ราย จากการสอบสวนโรค พบว่า ผู้ที่มีอาการป่วยทุกราย ให้ประวัติไปรับประทานอาหารเย็นที่งานศพ ที่บ้านบ่อแก ม.7 ต.บึงเกลือ มีผู้ไปร่วมงานประมาณ 60 คน รายการอาหารมี ดังนี้ เนื้อแดดเดียว เนื้อวัวลวก ผัดกระเพราหมู แกงเห็ดฟาง ซุปเห็ดฟาง ไข่เจียว น้ำพริก ผักลวก ผัดผักรวมมิตร และมันบวด อาหารที่สงสัยคือ มันบวด พบว่า อัตราป่วยในกลุ่มผู้รับประทานมันบวด ร้อยละ 88.64 ส่วนใหญ่จะมีอาการป่วยหลังรับประทาน ประมาณ 30 นาที – 3 ชั่วโมง สำหรับหัวมันที่นำมาทำบวดมัน เป็นมันเผิ่ม ซึ่งญาติจากต่างอำเภอนำมาให้ 1 กระสอบปุ๋ย และเจ้าของบ้านได้ขุดหัวมัน (ไม่ทราบชนิด) ที่อยู่หลังบ้านมาเพิ่มอีก 5 หัว แม่ครัวได้นำหัวมันมาปอกเปลือกล้างน้ำแล้วหั่น มาต้มใส่กะทิและน้ำตาล นำเลี้ยงแขกที่มาร่วมงานในระหว่างเวลา 19.30 น. – 20.00 น. ทีม SRRT อำเภอเสลภูมิ ได้เก็บตัวอย่างมันเผิ่ม และเปลือกมันที่ขุดมาเพิ่มเติม ให้สำนักงานเกษตรอำเภอเสลภูมิ ตรวจสอบยืนยันชนิดและความเป็นพิษ พบว่า หัวมันเผิ่มที่ญาตินำมาให้ เป็นมันชนิดกินได้ไม่มีพิษ สำหรับหัวมันที่ขุดจากหลังบ้าน ไม่สามารถระบุชนิดได้เนื่องจากส่วนที่ส่งตรวจมีเฉพาะเปลือกมันที่เหลือ จากการสอบถาม ลักษณะมันที่ขุดมาจากหลังบ้าน มีลักษณะคล้ายกับหัวกลอย ซี่งแม่ครัวที่ประกอบอาหารแยกไม่ออกว่าแตกต่างกันอย่างไร จึงไม่ได้นำมาแช่น้ำเพื่อกำจัดพิษให้หมดก่อน จากลักษณะอาการอาการแสดงผู้ป่วยในครั้งนี้ เข้าได้กับการได้รับพิษจากกลอย
กลอย
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dioscorea hispida Dennst. วงศ์ Dioscoreaceae เป็นไม้เถา เลื้อยพันไปบนต้นไม้อื่น ส่วนของลำต้นที่อยู่เหนือดินมีขนและหนาม ใบประกอบเรียงสลับ ก้านใบประกอบยาวประมาณ 25 ซม. มีหนาม มีใบย่อย 3 ใบ ปลายแหลม โคนสอบแคบ แผ่นใบกว้าง ดอกเพศผู้ไม่มีก้าน อัดรวมแน่นบนช่อดอก มีกลิ่นหอม ดอกเพศเมียเรียงกันอยู่ห่างๆ บนช่อดอก ไม่มีก้านดอกเช่นกัน ผลยาวประมาณ 5 ซม. มี 3 ครีบ เมล็ดมีปีกเฉพาะที่โคน หัวค่อนข้างกลม ส่วนบนและส่วนล่างแบน ไม่ฝังลึกลงในดิน ส่วนที่อยู่เหนือพื้นดินมักเป็นลอนตื้นๆ หัวมีขนาดต่างๆ กัน ผิวสีฟางหรือเทา เนื้อในสีขาวถึงขาวนวล กลอยพบได้ทั่วไปในเขตป่าฝน ในเขตร้อน ตั้งแต่ประเทศอินเดียไปจนถึงเทือกเขาหิมาลัย ในหัวกลอยจะมีคาร์โบไฮเดรต ในปริมาณสูง 81.45-81.89% และมีสารพิษ คือ ไดออสคอรีน (Dioscorine) ปริมาณสารพิษจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับฤดูกาล ที่เก็บ ในช่วงฤดูฝน (เดือนสิงหาคม) กลอยจะมีพิษมากที่สุด และในฤดูร้อน (เดือนเมษายน) จะมีพิษน้อยที่สุด ในช่วงฤดูร้อนกลอย จะเก็บง่าย หัวใหญ่โผล่พ้นดิน จึงไม่ต้องขุดลงไปลึกมาก เถาจะแห้งตาย ชาวบ้านจึงนิยมเก็บหัวกลอยในฤดูร้อน
สารพิษในกลอย
ไดออสคอรีน (dioscorine) ซึ่งเป็นสารพิษในกลอย เป็นอัลคาลอยด์กลุ่มโทรเปน อาการพิษเริ่มแรกคือ ใจสั่น วิงเวียน คันคอ คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก ซีด ตาพร่า ชีพจรเบาเร็ว อึดอัด เป็นลม ตัวเย็น อาจมีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ ระยะต่อมากดระบบประสาทส่วนกลาง จากการทดลองของวรา จันทร์ศิริศรี และคณะ โดยฉีดน้ำสกัดกลอยเข้าทางเส้น เลือดดำของหนูถีบจักร พบว่ากลอยจะไปกระตุ้นในระยะแรก แล้วตามด้วยการกดระบบประสาทส่วนกลาง ผลต่อการเคลื่อนไหว (motor activity) ของหนูถีบจักรจะลดลงภายหลังฉีดน้ำสกัดกลอยในขนาดที่เริ่มทำให้เกิดพิษ แต่ถ้าฉีดในขนาดสูงมากจนสัตว์ ทดลองตาย หนูถีบจักรจะชักในระยะแรก แล้วในที่สุดจะตายเนื่องจากระบบการหายใจถูกกด เช่นเดียวกับผลการทดลองของ ขวัญฤดี เดชาติวงศ์ และคณะ เมื่อให้สารสกัดหัวกลอยด้วยเอธิลแอลกอฮอล์ 95% ขนาดน้อยคือ 0.7-0.9 mg/kg และ 1.0-2.0 mg/kg ในหนูถีบจักรและหนูขาวตามลำดับ จะทำให้หนูมีอาการซึมเพียงอย่างเดียว และเมื่อให้ขนาดมากขึ้นจะทำให้หนูมีอาการ กระวนกระวาย หอบ และชัก จนถึงตายได้ ในการศึกษาของบุญยงค์ ตันติสิระ และคณะ พบว่าสารสกัดจากกลอยมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางใน หนูถีบจักรอย่างรุนแรง จนทำให้ชักและตาย (ก่อนเกิดการชักจะทำให้สัตว์ทดลองเคลื่อนไหวน้อย) ขนาดของสารสกัดที่ทำให้ หนูถีบจักรตายครึ่งหนึ่งเท่ากับ 31.6 mg/kg ผลของไดออสคอรีนต่อความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจ ผลการศึกษาที่ได้ยังมีความแตกต่างกัน นอกจากนี้กลอยบางชนิดยังมีผลึกแคลเซี่ยมออกซาเลต ทำให้เกิดอาการระคายเคือง และบางชนิดมีสารพิษพวกซาโปนิน ซึ่งออกฤทธิ์ทำลายเม็ดเลือดได้
การกำจัดพิษจากกลอย
ก่อนที่จะนำกลอยมารับประทาน จำเป็นต้องกำจัดสารพิษออกให้หมด วิธีการกำจัดสารพิษจะมีความคล้ายคลึงกันในแต่ ละชุมชน ดังนี้
ชุมชนทางภาคเหนือ หากเก็บกลอยในฤดูร้อน จะลอกผิวออก ฝานเป็นแผ่นบางๆ นำไปตากจนแห้งเก็บไว้ได้นาน เป็นเดือนหรือเป็นปี ก่อนจะนำมาประกอบอาหาร ก็นำกลอยแห้งนั้นใส่ภาชนะแช่ในน้ำไหลเป็นเวลา 1 วัน 1 คืน แล้วนำมานวดให้นุ่ม จากนั้นนำไปผึ่งแดดพอหมาดๆ นำกลอยไปใส่ภาชนะแช่น้ำเช่นเดิมทำซ้ำๆ กัน 2-3 ครั้ง จนกลอยนุ่มดีแล้ว จึงนำไปประกอบอาหาร แต่ถ้าเก็บกลอยในฤดูฝนจะมีพิษมาก ภายหลังจากลอกผิวและฝานเป็นชิ้นแล้ว ต้องนำไปแช่ในรางน้ำ หมักไว้ 3 คืนโดยใช้ใบชุม เห็ดเทศคลุมข้างบน และใช้ท่อนหินหรือท่อนไม้ทับไว้จนเนื้อกลอยนุ่ม จากนั้นนำมานวดให้นุ่มมากขั้น (ส่วนใหญ่ใช้วิธีเหยียบ) แล้วหมักไว้เป็นก้อนเช่นนั้น รุ่งขึ้นนำไปแช่น้ำไหลอีก 1 วัน 1 คืน แล้วนำมานวดผึ่งแดดพอหมาด นำกลับไปหมักไว้ใหม่ทำซ้ำเช่นนี้ 2-3 ครั้ง ก็นำไปประกอบอาหารได้ หรือตากแห้งเก็บไว้รับประทาน (ก่อนนำไปรับประทานต้องนำมาแช่น้ำให้นุ่มแล้วจึงนำไปนึ่งให้สุก เพื่อประกอบอาหารต่อไป)
ชุมชนบริเวณจังหวัดชายทะเล นิยมนำกลอยที่หั่นบางๆ แล้วไปแช่น้ำทะเล เพื่อให้เกลือช่วยทำลายพิษแต่ต้องหมั่น เปลี่ยนน้ำ ส่วนใหญ่ใช้เวลาแช่และทับประมาณ 7 วัน นำไปตากแห้งจะเก็บไว้ได้นาน เมื่อจะนำมาประกอบอาหารก็แช่น้ำอีก 1 หรือ 2 คืน แล้วคั้นน้ำทิ้งก่อนที่จะทำการหุงต้ม บางคนนำมาแช่ในน้ำเกลือ แล้วถ่ายน้ำทิ้งหลายๆ ครั้ง หรือแช่น้ำไหล 7 วัน หรือมากกว่านี้ก่อนนำมาทำอาหาร
วิธีรักษาอาการพิษ
1. ให้ Phenobarbital หรือ Diazepam เพื่อป้องกันอาการชัก แต่ต้องระวังไม่ให้ในรายที่ขนาดของกลอยที่ได้รับนั้น ทำให้เกิดพิษลด motor activity หรือกดระบบประสาทส่วนกลางแล้ว ยาเหล่านี้อาจไปเสริมฤทธิ์แทนที่จะต้านฤทธิ์ของกลอย
2. การหยุดหายใจ อาจแก้โดยใช้ neostigmine
3. รักษาตามอาการ
* ข้อมูลจาก จุลสารข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีที่ 15 ฉบับที่ 4 กรกฎาคม 254
3.1..2 อาหารเป็นพิษจากการรับประทานกุ้งจ่อม ที่ ม.14 ต.โพนทราย อ.โพนทราย วันที่ 20 เมย.51
พบผู้ป่วย 9 ราย เพศชาย 5 ราย เพศหญิง 4 ราย อายุระหว่าง 31 - 66 ปี เข้ารับการรักษาที รพ.โพนทราย วันที่ 20 เม.ย.51 ผู้ป่วยนอก 7 ราย ผู้ป่วยใน 2 ราย อาการที่พบคือ คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง และถ่ายเป็นน้ำ จากการสอบสวนโรค พบว่า ผู้ป่วยทั้งหมดเป็นคณะกรรมการที่หน่วยเลือกตั้งที่ 21 หอประชุมโรงเรียนทรายทองวิทยา หมู่ที่ 14 ต.โพนทราย วันที่ 20 เม.ย.51 คณะกรรมการทั้งหมด 11 คน ได้รับประทานอาการเช้าร่วมกันที่หน่วยเลือกตั้ง อาหารที่รับประทาน มีดังนี้ ขนมปังปิ้ง เนื้อทอด กุ้งจ่อม ข้าวเหนียว และกาแฟ (เนื้อทอด ขนมปัง และข้าวเหนียว ซื้อมาจากตลาดสด อ.โพนทราย ส่วนกุ้งจ่อม
คณะกรรมการเลือกตั้งคนหนึ่ง เป็นคนทำเอง ในวันที่ 14 เม.ย.51 มีญาตินำกุ้งฝอยมาให้ 3 ถุง 2 ถุงแรกนำมาประกอบอาหารปรุงสุก ส่วนอีก 1 ถุง นำมาหมักทำเป็นกุ้งจ่อม และนำมา รับประทานในวันที่ 20 เม.ย.51 โดยไม่ได้ปรุงให้สุกก่อนรับประทาน อัตราป่วยในกลุ่มผู้ที่รับประทานกุ้งจ่อมเท่ากับ ร้อยละ 100 มีอาการหลังรับประทาน 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง 30 นาที การเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ RSC ผู้ป่วย 2 ราย อาเจียนผู้ป่วย1 ตัวอย่าง ไม่พบเชื้อก่อโรค ตัวอย่างอาหารที่เหลือ จากการรับประทาน จำนวน 3 ตัวอย่าง ตรวจพบเชื้อ Staphylococcus Coagulase positive ในตัวอย่างกุ้งจ่อม ทีม SRRT อ.โพนทราย ได้ให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนในพื้นที่ ค้นหาผู้ป่วยรายอื่นในชุมชนและติดตามเฝ้าระวังโรคอย่างต่อเนื่อง พบว่า ไม่มีผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้นอีก
3.2 สถานการณ์ไข้เลือดออก
ประเทศไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 25 เมษายน 2551 )
ตั้งแต่ 1 มกราคม – 25 เมษายน 2551 มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกทั้งประเทศรวม 11,856 ราย
ผู้ป่วยเสียชีวิต 13 ราย อัตราป่วยเท่ากับ 18.81 ต่อแสนประชากร อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.11
จำแนกรายภาค พบว่า ภาคกลาง มีอัตราป่วยสูงสุด ( อัตราป่วย 33.30 ต่อแสนประชากร) รองลงมา คือ ภาคใต้ ภาคเหนือ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อัตราป่วย 23.30 , 14.35 และ 5.15 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ
จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ จ.อ่างทอง (110.05 ต่อแสนประชากร) รองลงมา คือ จ.กระบี่ (95.46 ต่อแสนประชากร) จ.อยุธยา ( 64.81 ต่อแสนประชากร) จ.ราชบุรี (53.28 ต่อแสนประชากร) และจ.ประจวบคีรีขันธ์ ( 50.75 ต่อแสนประชากร)
เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 7
ตั้งแต่ 1 มกราคม – 25 เมษายน 2551 มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 230 ราย
ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต อัตราป่วย 3.05 ต่อแสนประชากร พบผู้ป่วย ในทุกจังหวัด จ.ร้อยเอ็ด มีอัตราป่วยสูงสุด รองลงมา คือ จ.มหาสารคาม และ จ.เลย
ตารางที่ 3 จำนวนผู้ป่วยและอัตราป่วยไข้เลือดออก จำแนกรายจังหวัด เขตตรวจสาธารณสุขที่ 7 ปี 2551
จังหวัด ประชากร ผู้ป่วย ผู้ป่วยตาย อัตราป่วย อัตราป่วยตาย
(ราย) (ราย) (ต่อแสน ปชก) (ร้อยละ)
เขตสาธารณสุขที่ 7
เขต 10 3,546,445 64 0 1.80 0.00
หนองคาย 902,618 14 0 1.55 0.00
หนองบัวลำภู 497,603 3 0 0.60 0.00
เลย 615,538 21 0 3.41 0.00
อุดรธานี 1,530,686 26 0 1.70 0.00
เขต 12 3,997,008 166 0 4.15 0.00
ขอนแก่น 1,752,414 46 0 2.62 0.00
มหาสารคาม 936,005 32 0 3.42 0.00
ร้อยเอ็ด 1,308,589 88 0 6.72 0.00
รวม 7,543,453 230 0 3.05 0.00
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก จ.ร้อยเอ็ด ปี 2551
ตั้งแต่ 1 มกราคม 2550 - 26 เมษายน 2551 มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก 93 ราย ยังไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต อัตราป่วยเท่ากับ 7.11 ต่อแสนประชากร
จ.ร้อยเอ็ด มีอัตราป่วยอยู่ในลำดับที่ 53 ของประเทศ ลำดับที่ 6 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จำนวนผู้ป่วยในเดือนมกราคม – มีนาคม 2551 ใกล้เคียงกับค่ามัธยฐาน 5 ปี แต่น้อยกว่าปี 2550 ในช่วงเวลาเดียวกัน สำหรับในเดือนเมษายน จำนวนผู้ป่วยน้อยกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปี และน้อยกว่าปี 2550 ในช่วงเวลาเดียวกัน ดังนั้นเพื่อป้องกันการระบาดในช่วงฤดูฝนที่จะมาถึง ขอให้ทุกพื้นที่เร่งรัดกิจกรรมการป้องกันโรคล่วงหน้า การกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
รูปที่ 1 จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก จำแนกรายเดือน ปี 2550 เปรียบกับปี 2549 target line และมัธยฐาน 5 ปี
พื้นที่พบผู้ป่วยในปี 2551
- พบผู้ป่วยใน 12 อำเภอ ( 45 ตำบล 62 หมู่บ้าน 3 ชุมชน)
- อำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ อ.โพธิ์ชัย (อัตราป่วย 22.73 ต่อประชากรแสนคน) รองลงมา คือ อ.เสลภูมิ (อัตราป่วย 18.14 ต่อประชากรแสนคน) อ.อาจสามารถ (อัตราป่วย 17.43 ต่อประชากรแสนคน) อ.ทุ่งเขาหลวง (อัตราป่วย 16.72 ต่อประชากรแสนคน) และ อ.โพนทราย
(อัตราป่วย 10.84 ต่อประชากรแสนคน)
- อำเภอที่มีจำนวนผู้ป่วยในเดือน ม.ค. – เม.ย.51 มากกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปี ในช่วงเวลาเดียวกัน 8 อำเภอ คือ อ.เกษตรวิสัย อ.โพธิ์ชัย อ.โพนทอง อ.เสลภูมิ อ.สุวรรณภูมิ อ.อาจสามารถ อ.โพนทราย และ อ.ทุ่งเขาหลวง
- พื้นที่ที่มีการระบาดเป็นกลุ่ม คือ ม.14 บ้านสนามม้า ต.ขามเปี้ย อ.โพธิ์ชัย พบผู้ป่วยในช่วงเดือนเมษายน 4 ราย พบผู้ป่วยระหว่างวันที่ 31 มี.ค.51 - 8 เม.ย.51
ตารางที่ 4 จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก เดือน ม.ค. – เม.ย.51 จำแนกรายอำเภอ ปี 2551 เปรียบเทียบ
ปี 2550 และค่ามัธยฐาน 5 ปี ในช่วงเวลาเดียวกัน
อำเภอ ผู้ป่วย ปี 2551 ปี 2550 มัธยฐาน 5 ปี
(ปี 2545 -2549)
ม.ค. ก.พ. มี.ค เม.ย. รวม (ม.ค.- เม.ย.) (ม.ค.- เม.ย.)
เมือง 1 1 0 1 3 42 11
- ในเขตเทศบาล 1 1 0 1 3 10 0
- นอกเขต 0 0 0 0 0 32 11
เกษตรวิสัย 2 3 0 4 9 9 2
ปทุมรัตต์ 0 0 0 0 0 11 2
จตุรพักตรพิมาน 3 0 0 0 3 3 8
ธวัชบุรี 0 0 0 0 0 6 7
พนมไพร 0 0 1 1 2 6 3
โพนทอง 2 1 5 2 10 22 15
โพธิ์ชัย 5 1 2 5 13 6 1
หนองพอก 0 0 0 0 0 7 0
เสลภูมิ 8 3 7 4 22 83 16
สุวรรณภูมิ 3 3 1 3 10 31 7
เมืองสรวง 0 0 0 0 0 6 0
โพนทราย 0 0 2 1 3 1 0
อาจสามารถ 2 3 5 3 13 4 5
เมยวดี 0 0 0 0 0 2 0
ศรีสมเด็จ 0 0 0 0 0 0 0
จังหาร 0 0 0 0 0 19 7
เชียงขวัญ 0 0 0 0 0 1 2
หนองฮี 0 0 0 1 1 0 3
ทุ่งเขาหลวง 3 0 1 0 4 1 0
รวม 29 15 24 25 93 260 89
ข้อมูล ปี 2551 ณ วันที่ 26 เมษายน 2551
ตารางที่ 5 จำนวนผู้ป่วย / อัตราป่วย โรคไข้เลือดออก จำแนกรายอำเภอ จังหวัดร้อยเอ็ด ปี 2551
อำเภอ ประชากร DHF DSS รวม อัตราป่วย DF รวม 3 รหัส อัตราป่วย
(ราย) (ราย) DHF + DSS DHF + DSS (ราย) (ราย) รวม 3 รหัส
เมือง 154,721 1 0 1 0.65 2 3 1.94
-ในเขตเทศบาล 34,694 1 0 1 2.88 2 3 8.65
- นอกเขต 120,027 0 0 0 0.00 0 0 0.00
เกษตรวิสัย 99,084 3 0 3 3.03 6 9 9.08
ปทุมรัตต์ 53,043 0 0 0 0.00 0 0 0.00
จตุรพักตรพิมาน 81,256 2 0 2 2.46 1 3 3.69
ธวัชบุรี 67,941 0 0 0 0.00 0 0 0.00
พนมไพร 74,616 0 0 0 0.00 2 2 2.68
โพนทอง 107,449 7 0 7 6.51 3 10 9.31
โพธิ์ชัย 57,205 8 0 8 13.98 5 13 22.73
หนองพอก 64,988 0 0 0 0.00 0 0 0.00
เสลภูมิ 121,280 5 0 5 4.12 17 22 18.14
สุวรรณภูมิ 117,048 8 0 8 6.83 2 10 8.54
เมืองสรวง 23,541 0 0 0 0.00 0 0 0.00
โพนทราย 27,670 3 0 3 10.84 0 3 10.84
อาจสามารถ 74,587 3 0 3 4.02 10 13 17.43
เมยวดี 22,478 0 0 0 0.00 0 0 0.00
ศรีสมเด็จ 36,954 0 0 0 0.00 0 0 0.00
จังหาร 47,505 0 0 0 0.00 0 0 0.00
เชียงขวัญ 27,825 0 0 0 0.00 0 0 0.00
หนองฮี 25,469 0 0 0 0.00 1 1 3.93
ทุ่งเขาหลวง 23,929 2 0 2 8.36 2 4 16.72
รวมทั้งหมด 1,308,589 42 0 42 3.21 51 93 7.11
ที่มา จากรายงานโรคเร่งด่วน วันที่ 26 เมษายน 2551
สรุปผลการประเมินค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในพื้นที่รับผิดชอบ สคร.6 จ.ขอนแก่น
รอบที่ 1/2551 (สำรวจระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2551)
เกณฑ์การสำรวจ
1. สำรวจทุกอำเภอ โดยสุ่มในเขตเทศบาล 1 ชุมชน และนอกเขตเทศบาล 1 ชุมชน โดยใช้
หลักเกณฑ์การสุ่มสำรวจลูกน้ำยุงลายขององค์การอนามัยโลก ( WHO) ดังนี้
หมู่บ้าน 100-199 หลังคาเรือน สุ่มสำรวจ 45 หลัง
หมู่บ้าน 200-299 หลังคาเรือน สุ่มสำรวจ 51 หลัง
หมู่บ้าน 300-399 หลังคาเรือน สุ่มสำรวจ 54 หลัง
หมู่บ้าน 400-499 หลังคาเรือน สุ่มสำรวจ 55 หลัง
2. สำรวจวัด โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก ทุกแห่งในชุมชนที่สุ่มได้
3. สำรวจโรงพยาบาบในเขตอำเภอละ 1 แห่ง
เป้าหมาย
1. ร้อยละ 80 ของชุมชน มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ค่า HI ไม่เกิน 10
2. ร้อยละ 80 ของโรงพยาบาล วัด โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก มีดัชนีลูกน้ำยุงลาย ค่า CI = 0
ผลการสำรวจ
1. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย
ผลการประเมินค่าดัชนีลุกน้ำยุงลาย ในพื้นที่รับผิดชอบของ สคร.6 จ.ขอนแก่น ในภาพรวม
มีค่า HI = 22.48 และค่า CI = 2.41 จำแนกรายจังหวัด ดังนี้
ค่าดัชนี. ในภาพรวม ขอนแก่น สารคาม ร้อยเอ็ด อุดรธานี หนองคาย เลย หนองบัวลำภู
HI 21.08 34.71 20.26 19.03 19.67 25.95 16.67
CI 2.74 2.45 2.18 1.09 2.45 4.88 1.11
ร้อยละจำนวนแห่งที่สำรวจ
ค่าดัชนี ขอนแก่น สารคาม ร้อยเอ็ด อุดรธานี หนองคาย เลย หนองบัวลำภู
HI < 10 5.45 0 11.90 42.50 8.82 16.67 50.0
CI = 0 58.82 81.25 93.33 90.91 78.95 46.88 82.35
2. ประเภทภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลาย
ชนิดภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลายสูงสุด คือ อ่างอาบน้ำในห้องน้ำ รองลงมา คือ อ่างน้ำราดส้วม
และภาชนะอื่น ๆ ที่ไม่ใช้
3.3 สถานการณ์โรคเลปโตสไปโรซีส จังหวัดร้อยเอ็ด ปี 2551
ตั้งแต่ 1 มกราคม – 26 เมษายน 2551 มีรายงานผู้ป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรซีส จำนวน 9 ราย ไม่มีเสียชีวิต อัตราป่วยเท่ากับ 0.69 ต่อแสนประชากร
พื้นที่เกิดโรค กระจายใน 6 อำเภอ คือ คือ อ.เสลภูมิ 2 ราย อ.พนมไพร 2 ราย
อ.อาจสามารถ 2 ราย อ.เมยวดี อ.ศรีสมเด็จ และ อ.เกษตรวิสัย อำเภอละ 1 ราย
ตารางที่ 6 จำนวนผู้ป่วย โรคเลปโตสไปโรซีส จำแนกรายเดือน ปี 2550
อำเภอ เดือน รวม อัตราป่วย
ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. (ต่อแสน)
เมือง 0 0 0 0 0 0.00
-ในเขตเทศบาล 0 0 0 0 0 0.00
- นอกเขต 0 0 0 0 0 0.00
เกษตรวิสัย 1 0 0 0 1 1.01
ปทุมรัตต์ 0 0 0 0 0 0.00
จตุรพักตรพิมาน 0 0 0 0 0 0.00
ธวัชบุรี 0 0 0 0 0 0.00
พนมไพร 0 0 0 2 2 2.68
โพนทอง 0 0 0 0 0 0.00
โพธิ์ชัย 0 0 0 0 0 0.00
หนองพอก 0 0 0 0 0 0.00
เสลภูมิ 0 0 0 2 2 1.65
สุวรรณภูมิ 0 0 0 0 0 0.00
เมืองสรวง 0 0 0 0 0 0.00
โพนทราย 0 0 0 0 0 0.00
อาจสามารถ 1 1 0 0 2 2.68
เมยวดี 0 0 1 0 1 4.45
ศรีสมเด็จ 0 0 0 1 1 2.71
จังหาร 0 0 0 0 0 0.00
เชียงขวัญ 0 0 0 0 0 0.00
หนองฮี 0 0 0 0 0 0.00
ทุ่งเขาหลวง 0 0 0 0 0 0.00
รวมทั้งหมด 2 1 1 5 9 0.69
ที่มา : จากรายงานโรคเร่งด่วน ณ วันที่ 26 เมษายน 2551
3.4 สถานการณ์โรคเอดส์จังหวัดร้อยเอ็ด ประจำเดือนเมษายน 2551
สถานการณ์โรคเอดส์จังหวัดร้อยเอ็ดจากระบบรายงานผู้ป่วยโรคเอดส์ด้วยโปรแกรม AIDSOI ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งแต่มีนาคม 2532 – เมษายน 2551 มีผู้ ติดเชื้อHIV ทั้งหมด (ผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการและไม่มีอาการ) และผู้ป่วยเอดส์สะสมทั้งสิ้น 6,426 ราย เป็นผู้ติดเชื้อHIV ทั้งหมด (ผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการและไม่มีอาการ) 2,125 ราย ผู้ป่วยเอดส์ (AIDS) จำนวน 4,301 ราย และเสียชีวิตแล้ว 1,003 ราย คิดเป็นร้อยละ 23.3 ของผู้ป่วยเอดส์ทั้งหมด โดยพบผู้ป่วยเอดส์สะสมมากเป็นอันดับแรกที่อำเภอ โพนทอง รองลงมาคือเมืองและสุวรรณภูมิ
ผู้ป่วยเอดส์จำแนกตามกลุ่มอายุ พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในวัยแรงงานอายุระหว่าง 25- 34 ปี ร้อยละ 56.3 อัตราส่วนผู้ป่วยชายต่อผู้ป่วยหญิง 2.4 : 1
อาชีพที่พบมากเป็นอันดับแรกคือเกษตรกรรม ร้อยละ 44.4 รองลงมาคือรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 30.9 เด็กต่ำกว่าวัยเรียน ร้อยละ 3.7 อาชีพแม่บ้าน ร้อยละ 3.4 และอาชีพอื่นๆ ร้อยละ 17.6
ผู้ป่วยเอดส์จำแนกตามปัจจัยเสี่ยง พบว่าร้อยละ 88.9 ของผู้ป่วยเอดส์ติดจากการ มีเพศสัมพันธ์ รองลงมาคือติดเชื้อจากมารดา ร้อยละ 4.9 ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น ร้อยละ 2.2 การรับเลือด ร้อยละ 0.1 และไม่ทราบปัจจัยเสี่ยง ร้อยละ 3.9
โรคติดเชื้อฉวยโอกาสในผู้ป่วยเอดส์ พบมากที่สุดคือ วัณโรค ร้อยละ 27.2 รองลงมาคือ Cryptococcosis ร้อยละ 16.5 โรคปอดบวมจากการติดเชื้อ Pneumocystis carinii ร้อยละ 14.2 Pneumonia recurrent ร้อยละ 7.6 Candidiasis ของหลอดอาหาร หลอดลม ร้อยละ 3.9
ตารางที่ 7 จำนวนผู้ป่วยเอดส์ และผู้ติดเชื้อHIV ทั้งหมด (ผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการและไม่มีอาการ)
จังหวัดร้อยเอ็ด ( มี.ค. 2532 –20 เม.ย.2551 )
ประเภท จำนวนสะสมทั้งหมด ตายทั้งหมด
ชาย หญิง รวม
ผู้ป่วยเอดส์ 3,016 1,285 4,301 1,003
ผู้ติดเชื้อ HIV ทั้งหมด 1,360 765 2,125 110
รวม 4,376 2,050 6,426 1,113
ตารางที่ 8 จำนวนและอัตราต่อแสนของผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อที่มีอาการ จำแนกรายอำเภอ
ตามวันเดือนปีที่เริ่มป่วย จังหวัดร้อยเอ็ด (ข้อมูล ณ วันที่ 20 เมษายน 2551 )
อำเภอ ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ติดเชื้อHIV ทั้งหมด
(ผู้ติดเชื้อHIVที่มีอาการและไม่มีอาการ)
จำนวนสะสม ปี2551 อัตราต่อแสนประชากร จำนวนสะสม ปี2551 อัตราต่อแสนประชากร
เมือง 481 0 0.00 243 0 0.00
เกษตรวิสัย 296 1 1.01 114 9 9.08
ปทุมรัตต์ 114 0 0.00 65 0 0.00
จตุรพักตรพิมาน 230 0 0.00 115 0 0.00
ธวัชบุรี 368 2 2.94 101 2 2.94
พนมไพร 244 0 0.00 165 0 0.00
โพนทอง 483 7 6.51 121 7 6.51
โพธิ์ชัย 152 0 0.00 64 1 1.75
หนองพอก 88 0 0.00 36 0 0.00
เสลภูมิ 337 1 0.82 195 1 0.82
สุวรรณภูมิ 466 5 4.27 443 19 16.23
เมืองสรวง 114 1 4.25 72 2 8.50
โพนทราย 133 0 0.00 62 0 0.00
อาจสามารถ 157 0 0.00 59 0 0.00
เมยวดี 67 0 0.00 13 0 0.00
ศรีสมเด็จ 127 0 0.00 63 0 0.00
จังหาร 140 0 0.00 70 0 0.00
กิ่งเชียงขวัญ 118 1 3.59 44 1 3.59
กิ่งหนองฮี 61 0 0.00 52 0 0.00
กิ่งทุ่งเขาหลวง 123 0 0.00 26 0 0.00
ไม่ทราบอำเภอ 2 0 0.00 2 0 0.00
รวม 4,301 18 1.38 2,125 42 3.21
ที่มา : รายงานจากโปรแกรม AIDSOI สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
* จำนวนสะสม หมายถึงข้อมูลตั้งแต่ พ.ศ. 2532 - 20 เมษายน 2551
โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ปี 2551
ด้วยศูนย์ระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด จะจัดอบรมการใช้โปรแกรม VepiproW ในการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา สำหรับเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยและศูนย์ระบาดวิทยาอำเภอ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการข้อมูลเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาให้มีคุณภาพ ผู้เข้าประชุม คือ เจ้าหน้าที่จากสถานีอนามัยทุกแห่ง ๆ ละ 1 คน และผู้รับผิดชอบงานระบาดวิทยาของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอแห่งละ 1 คน รวม 250 คน โดยจัดการอบรมเป็น 5 รุ่น ๆ ละ 2 วัน ในระหว่างวันที่ 13 - 29 พฤษภาคม 2551 เวลา 08.30–16.30 น ณ ห้องประชุม 2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ดังนี้
- รุ่นที่ 1 วันที่ 13 – 14 พฤษภาคม 2551 ผู้เข้ารับการอบรม คือ เจ้าหน้าที่จากอำเภอเกษตรวิสัย ปทุมรัตต์ จตุรพักตรพิมาน และเมืองสรวง
- รุ่นที่ 2 วันที่ 15 – 16 พฤษภาคม 2551 ผู้เข้ารับการอบรม คือ เจ้าหน้าที่จากอำเภอโพนทอง พนมไพร หนองพอก และเมยวดี
- รุ่นที่ 3 วันที่ 20 – 21 พฤษภาคม 2551 ผู้เข้ารับการอบรม คือ เจ้าหน้าที่จากอำเภอเมืองร้อยเอ็ด อาจสามารถ โพธิ์ชัย และเชียงขวัญ
- รุ่นที่ 4 วันที่ 22 – 23 พฤษภาคม 2551 ผู้เข้ารับการอบรม คือ เจ้าหน้าที่จากอำเภอสุวรรณภูมิ ธวัชบุรี โพนทราย และหนองฮี
- รุ่นที่ 5 วันที่ 28 – 29 พฤษภาคม 2551 ผู้เข้ารับการอบรม คือ เจ้าหน้าที่จากอำเภอเสลภูมิ จังหาร ศรีสมเด็จ และทุ่งเขาหลว
ในการนี้ จึงขอให้ท่านแจ้งรายชื่อผู้เข้ารับการอบรม มายังศูนย์ระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ภายในวันที่ 8 พฤษภาคม 2551 และขอให้ผู้เข้ารับการอบรมนำเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีโปรแกรม HOSXP_PCU มาด้วย สำหรับค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าพาหนะให้เบิกจาก ต้นสังกัด
วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น