วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมสำคัญ ของกลุ่มโรคที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ในปี 2553

กิจกรรมสำคัญ ของกลุ่มโรคที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ในปี 2553
………………………………………………………………………………………………
1.แนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลาย ปีงบประมาณ 2553
1.1. ทุกสถานบริการสาธารณสุข จัดสัปดาห์รณรงค์โรคไข้เลือดออกก่อนฝนตก (ประมาณเดือน
มีนาคม 2553) อย่างจริงจัง เน้นควบคุม กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในทุกหลังคาเรือนและสถานที่สำคัญ เช่น วัด โรงเรียน
1.2. ติดตามการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคถึงระดับตำบล กรณีมีผู้ป่วยติดต่อกัน
2-3 สัปดาห์)
1.3. ประเมินผลการจัดกิจกรรมเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของสำนักงานสาธารณสุข
อำเภอและโรงพยาบาล และจัดอันดับมอบเกียรติบัตร/โล่รางวัล รางวัลที่ 1 (จำนวน 2 รางวัล)
1) สำนักงานสาธารณสุขอำเภอและโรงพยาบาล มีการประเมินค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในทุก
หมู่บ้าน/ชุมชน และ มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายน้อยกว่าหรือเท่ากับ10 (House Index£ 10)
2) ประเมินผลตามตัวชี้วัดงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก
- ความทันเวลาของการได้รับแจ้งเมื่อมีผู้ป่วย
- ความครบถ้วนของการสอบสวนผู้ป่วยรายแรก (Index case) ของทุกหมู่บ้าน
- ความทันเวลาในการควบคุมแหล่งแพร่โรค
- ความครอบคลุมในการควบคุมแหล่งแพร่โรค
- ความพร้อมของทีมควบคุมโรคระดับอำเภอ
3) มีการควบคุม กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย พร้อมกับพ่นเคมีกำจัดยุงลาย
ในสถานศึกษา ก่อนเปิดภาคเรียนทุกแห่ง (ใช้งบประมาณของ คบสอ.)
4) มีกิจกรรม แผนงาน/โครงการพิเศษอื่นๆ เกี่ยวกับการป้องกันควบคุมโรค
5) สถานบริการสาธารณสุขทุกแห่ง ส่งเสริม สนับสนุนโครงการผนึกพลังเยาวชนไทย
ต้านภัยไข้เลือดออก ในโรงเรียน ครอบคลุมร้อยละ 80 ของโรงเรียนในพื้นที่
เน้นกิจกรรมการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายที่บ้านและโรงเรียนทุก 7 วัน
ตามแบบบันทึกกิจกรรมสำรวจลูกน้ำยุงลาย สำหรับนักเรียน
1.4. จัดอบรมทีมพ่นเคมีกำจัดยุงลาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การควบคุมโรค
1.5. จัดอบรมแพทย์ พยาบาลด้านการรักษาผู้ป่วยไข้เลือดออก
1.6. เน้นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงอาการสัญญาณอันตรายของโรคไข้เลือดออก
ที่ต้องรีบไปพบแพทย์ เพื่อลดการเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก
1.7.จัดรณรงค์โรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ด้วยกระบวนการตลาดเชิงสังคม
1.8. การสนับสนุนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคไข้เลือดออกในภาพรวมของจังหวัด





2. แนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมวัณโรค ปีงบประมาณ 2553
2.1. จัดประชุมและรายงานประเมินผลการรักษาผู้ป่วยเมื่อสิ้นสุดรอบการรักษาวัณโรคทุก 3 เดือน
1.1 จัดประชุมปีละ 3 ครั้ง เมื่อสิ้นสุดการดำเนินงานวัณโรคในแต่ละรอบ สถานที่จัดประชุม
จะหมุนเวียนกันไปตามโรงพยาบาลของอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัด
1.2 นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานวัณโรคในแต่ละรอบการรักษา
2.2. ดำเนินการโครงการ “ การสร้างความเข้มแข็งการควบคุมวัณโรคอย่างมีคุณภาพในกลุ่มประชากรด้อยโอกาสและการเสริมสร้างพลังชุมชนเพื่องานวัณโรค ” โดยทุนจากกองทุนโลกด้านวัณโรค รอบที่ 8 ปีที่ 1
2.1 การดำเนินกิจกรรมผสมผสานวัณโรคและโรคเอดส์
2.2 การดูแลผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน
2.3 การดูแลผู้ป่วยเด็ก
2.4 การควบคุมวัณโรคในเรือนจำ
2.3. การดำเนินวัณโรคภายใต้โครงการบริการจัดการโรควัณโรคอย่างครบวงจรในระบบ
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
3.1 ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเจ้าหน้าที่ในการใช้โปรแกรมแบบ offline ในการบันทึกข้อมูล
บริการ เช่น Smart TB หรือโปรแกรมอื่นๆ
3.2 นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานบริหารจัดการวัณโรคครบวงจรของหน่วย
บริการในสังกัด
2.4. จัดโครงการประกวดเจ้าหน้าที่คลินิกวัณโรค เจ้าหน้าที่ชันสูตรงานวัณโรค และผู้ประสานงานวัณโรค
ระดับอำเภอดีเด่นประจำปี 2553
4.1 ประเมินผลความสำเร็จของโครงการ พิจารณาจาก
- ด้านการสนับสนุนเชิงนโยบาย
- ด้านการสนับสนุนการทำ EQA
- ด้านการสนับสนุนการจัดทำรายงานวัณโรค
4.2 มอบโล่รางวัลผู้มีผลงานดีเด่น
2.5. การวิจัยประเมินผลในการดำเนินงานป้องกันควบคุมวัณโรคของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ปี 2553
5.1 ปัจจัยและสาเหตุของการเสียชีวิตในผู้ป่วยใหม่เสมหะบวกทุกรายในแต่ละรอบการรักษา
5.2 ปัจจัยและสาเหตุของการรักษาล้มเหลวในผู้ป่วยใหม่เสมหะบวกทุกรายในแต่ละรอบการรักษา






3. แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนก ปีงบประมาณ 2553
3.1. การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคในคน
- พัฒนาศักยภาพ อสม. ให้มีความรู้และแนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค
- อสม.เฝ้าระวังการป่วย – ตาย ของสัตว์ปีก และเฝ้าระวังค้นหาผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายไข้หวัด
หรือไข้หวัดใหญ่ในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง
- เร่งรัดและเพิ่มระดับความเข้มข้นการเฝ้าระวังโรค โดยสถานบริการสาธารณสุขและทีม SRRT
3.2. การรักษาโรค
- โรงพยาบาลมีความพร้อมด้านบุคลากรในการให้บริการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย
- โรงพยาบาลจัดระบบบริการผู้มีอาการคล้ายไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่แบบ ONE STOP SERVICE
โดยจัดให้มีจุดคัดกรองและปฏิบัติตามแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างเคร่งครัด
- จัดระบบขั้นตอนการให้คำปรึกษาและส่งต่อผู้ป่วย
- สนับสนุนสถานบริการเอกชนและโรงพยาบาลนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมเป็นเครือข่าย
ด้านการรักษาพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงบริการด้านการรักษาที่สะดวก รวดเร็ว
3.3. การเตรียมความพร้อมในวงกว้าง
การดำเนินงานก่อนการระบาด
- จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกัน ควบคุมโรคทุกระดับ
- จัดทำและซ้อมแผน แนวทางการดำเนินงาน เตรียมความพร้อมรับการระบาดของโรคไข้หวัดนก
และการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่
- จัดและเตรียมความพร้อมของทีม SRRT ทุกระดับ
- ประสานเครือข่ายความร่วมมือภาคประชาชน องค์กรท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้าง
การมีส่วนร่วมในการให้ความร่วมมือช่วยเหลือเฝ้าระวังป้องกันโรคในชุมชน ดูแลผู้ป่วย/ประชาชน
เมื่อเกิดภาวะวิกฤตการระบาดของโรค
- โรงพยาบาลมีการป้องกันการแพร่เชื้อในโรงพยาบาล
- โรงพยาบาลเตรียมความพร้อมด้านยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์ป้องกันตนเอง สำรองตามเกณฑ์ โดย
เบิก – จ่าย ผ่านระบบ VMI จากส่วนกลาง
- โรงพยาบาลมีห้องแยกที่มีคุณภาพและเตรียมหอผู้ป่วยสำหรับรองรับกรณีมีผู้ป่วยในจำนวนมาก
หรือกรณีที่มีการระบาดใหญ่
- เฝ้าระวัง ป้องกันโรคในสถานศึกษา หน่วยงาน สถานประกอบการต่าง ๆ และสถานที่เสี่ยง
- เร่งรัดเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชนในการป้องกันโรค ผ่านสื่อ
ต่างๆ เช่น สื่อมวลชน ป้ายประชาสัมพันธ์ แผ่นพับ แผ่นปลิว เว็บไซต์ และจัดให้มีระบบบริการ
สายด่วน(call center)ในโรงพยาบาล/สสจ. เพื่อเปิดช่องทางให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาหรือ
คำแนะนำที่ถูกต้องและจัดทำแผน/แนวทาง การให้ข้อมูลข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ เมื่อเกิดการ
ระบาดฉุกเฉิน

- สนับสนุนด้านวิชาการ สื่อเอกสาร วิทยากร ในการให้ความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันระดับ
บุคคลและสังคม ในการจัดประชุมของหน่วยงานต่างๆที่มีการจัดกลุ่มประชุม สัมมนา
การดำเนินงานเมื่อเกิดการระบาด
- เปิดศูนย์ปฏิบัติการฯ จังหวัด เพื่อบริหารจัดการ บัญชาการ วางแผน ประสานงาน ควบคุมกำกับ
แก้ไขปัญหา การระบาดของโรคแบบบูรณาการ
- เครือข่ายสถานบริการ ทีม SRRT เครือข่ายภาคประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ
ตามแผน/แนวทางการปฏิบัติงานทั้งด้านการป้องกัน ควบคุมโรค การให้ความช่วยเหลือบรรเทา
ทุกข์แก่ประชาชน
- ประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนตามแผน/แนวทาง เพื่อลดความตื่นตระหนก
และเกิดความร่วมมือในการป้องกัน ควบคุมโรค ของประชาชน
- ใช้มาตรการควบคุมโรค และ การแพร่กระจายของเชื้อในการจัดการศพ
- อพยพประชาชนในกรณีระบาดรุนแรงตามแผน
การดำเนินงานเมื่อหลังการระบาด
- สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ อาสาสมัครและแกนนำอื่น ๆ ที่ปฏิบัติงานในช่วงที่
มีการระบาดของโรค
- ฟื้นฟูสภาพจิตของผู้ป่วย ญาติ ชุมชน
- ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เพื่อการป้องกัน ควบคุมโรคแก่ประชาชนในชุมชน
- ประเมินผลการปฏิบัติงานทบทวนจุดอ่อนของการดำเนินงานทุกระบบ เพื่อการพัฒนาปรับปรุง
วางแผนปฏิบัติงาน


……………………………………………

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น