วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553

เรื่อง การดำเนินงานควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก

เรื่อง การดำเนินงานควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก
หน่วยงาน สำนักงานสาธารณสุขกิ่งอำเภอดงเจริญ ผู้บันทึก น.ส.บรรเจิด สละชุ่ม เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 6
เป้าหมายการเรียนรู้ของชุมชนนักปฏิบัติ.. ....การดำเนินงานควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก
เรื่องเล่า
ข้อมูลพื้นฐาน
1. กราฟแสดงจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ปี พ.ศ. 2550 เปรียบเทียบค่ามัธยฐาน 3 ปีย้อนหลัง อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร


จากการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร มีกลวิธีการดำเนินงานดังนี้
1. แบ่งพื้นที่ เป็นพื้นที่เสี่ยงสูง เสี่ยงปานกลาง เสี่ยงต่ำ โดยมี
พื้นที่เสี่ยงสูง 18 หมู่บ้าน ดำเนินการ ดังนี้
- สำรวจ และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุก 7 วัน (โดย อสม.ดำเนินการละแวกที่ตนเองรับผิดชอบ)
- สุ่มสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุก 1 เดือน (ในหมู่บ้านที่ตนเองรับผิดชอบ โดย จนท.ทำร่วมกับ อสม.)
- รณรงค์สร้างกระแส และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุก 3 เดือน (ทั้งอำเภอพร้อมกัน)
- ดำเนินการใส่ทรายทีมีฟอสทุก 3 เดือน
- พ่นสารเคมี ทุก 3 เดือน
(โดยได้รับจัดสรรทรายทีมีฟอส และน้ำยาพ่นยุงจากองค์การบริหารส่วนตำบล/เทศบาล)
พื้นที่เสี่ยงปานกลาง 37 หมู่บ้าน ดำเนินการ ดังนี้
- สุ่มสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุก 1 เดือน (ในหมู่บ้านที่ตนเองรับผิดชอบ โดย จนท.ทำร่วมกับ อสม.)
- รณรงค์สร้างกระแส และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุก 3 เดือน (ทั้งอำเภอพร้อมกัน)
- ดำเนินการใส่ทรายทีมีฟอสทุก 3 เดือน
- พ่นสารเคมี ไม่เน้น ขึ้นอยู่กับความพร้อมของตำบล
2. จัดกิจกรรมรณรงค์ในชุมชน ทุก 3 เดือน
- ระดม จนท.สอ.จากทุก สอ.ในพื้นที่อำเภอดงเจริญ เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ โดยนัดให้ อสม.แต่ละหมู่บ้าน
เข้ามาร่วมรับฟังนโยบาย สถานการณ์โรคในพื้นที่อำเภอดงเจริญ (รวมทั้งโรคไข้หวัดนก) โดยสาธารณสุขอำเภอดงเจริญ/ปศุสัตว์อำเภอดงเจริญ/นายกองค์การบริหารส่วนตำบล/ตัวแทน ผอ.ร.ร.ในพื้นที่
- เมื่อรับฟังนโยบายเรียบร้อยแล้ว แบ่ง จนท. เดินรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย/สำรวจสัตว์ปีก
ร่วมกับ อสม.ทุกหมู่บ้าน โดย 1 หมู่บ้าน ให้ จนท.รับผิดชอบ 1 คน แต่ถ้าเป็นหมู่ที่มีจำนวนหลังคาเรือนมาก จะให้ จนท. 2 คน รับผิดชอบ
- ในส่วนของสถานที่ราชการในพื้นที่ เช่น โรงเรียน /อบต. /วัด สาธารณสุขอำเภอดงเจริญ ร่วมกับ
ผู้รับผิดชอบงานควบคุมโรคอำเภอ และปศุสัตว์อำเภอ จะดำเนินการเดินรณรงค์เอง
- ในส่วนของวัสดุ อุปกรณ์ ได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบล / ปศุสัตว์อำเภอ
- มีการจัดรณรงค์ควบคุมโรคไข้เลือดออก ในรูปพหุภาคี ครอบคลุมจากทุกส่วนราชการ


ประโยชน์ที่ได้รับ
1. อสม./ประชาชน/องค์กรชุมชน ในพื้นที่เกิดการตื่นตัว เนื่องจากเห็น จนท.จากทุก สอ./องค์กรชุมชน / โรงเรียน
เข้าร่วมรณรงค์
2. เป็นการทำงานในรูปพหุภาคี คือได้ดำเนินการรณรงค์ทั้งโรคไข้เลือดออก/ไข้หวัดนก
3. เป็นการเชื่อมสัมพันธภาพระหว่าง อสม.ในพื้นที่ กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ อำเภอดงเจริญ
4. เสริมสร้างความสามัคคี การทำงานเป็นทีม การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ให้กับ จนท.ด้วยกันเอง
5. ได้ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลระหว่าง จนท. กับ อสม. เพื่อทราบสถานการณ์ความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย
6. จนท.สอ. ได้เห็นจุดเด่น จุดด้อย ของ สอ.แต่ละแห่ง เพื่อนำกลับไปพัฒนา สอ.ตนเอง(เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน)
7. อสม.ได้แสดงความคิดเห็นกับเหตุการณ์ที่พบในชุมชนที่เป็นปัญหา ที่ตัว อสม.ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ให้กับ
จนท.ที่ลงไปในหมู่บ้านรับฟัง เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา
8. เมื่อนำการสำรวจสัตว์ปีกเข้าไปดำเนินการพร้อมกับสำรวจลูกน้ำยุงลาย ไม่เป็นการเพิ่มงานให้ อสม. และทำให้ได้
ข้อมูลที่เป็นจริง เนื่องจาก จนท.ได้ลงพื้นที่ร่วมด้วย
9. การสำรวจสัตว์ปีกทำให้ข้อมูลที่ได้รับทั้งในส่วนของปศุสัตว์ และสาธารณสุข เป็นข้อมูลตัวเดียวกัน สามารถนำมาวางแผนงานร่วมกันได้
10.การรณรงค์ในช่วงเดียวกันทั้งอำเภอ ทำให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค
11. องค์กรชุมชนให้ความร่วมมือ เนื่องจากได้มีการเชิญองค์กรปกครองท้องถิ่น (นายกองค์การบริหารส่วนตำบล) มาชี้แจงในเรื่องของงบประมาณที่สนับสนุนให้ชุมชน ในการควบคุมโรคไข้เลือดออก/ไข้หวัดนก
12. เป็นการเชื่อมสัมพันธภาพอันดีระหว่างหน่วยงานทั้งในระดับตำบล และในระดับอำเภอ เช่น สาธารณสุข/อสม./ปศุสัตว์/อบต./ร.ร.
13. เกิดการแข่งขันในการจัดสรรงบประมาณขององค์กรปกครองท้องถิ่น ให้กับหน่วยงานสาธารณสุข
14. มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง 3 เดือน/ครั้ง ทำให้ ประชาชนเกิดการตื่นตัว
กรณีมี case โรคไข้เลือดออก
1. ประสานองค์กรปกครองท้องถิ่น แจ้งมีการระบาดของโรคไข้เลือดออก เพื่อเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในการออกพ่น พร้อมทั้งนัดหมายเวลาในการออกดำเนินการ (ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากได้รับแจ้ง case)
2. ประสาน อสม.ในพื้นที่ร่วมออกสอบสวนโรค โดยให้ อสม.ร่วมกับทีม SRRT ควบคุมโรค สำรวจลูกน้ำยุงลาย พร้อมทั้งทำลายแหล่งเพาะพันธุ์
3. จนท.สอ. ออกประกาศหอกระจายข่าว เสียงตามสายในหมู่บ้าน เพื่อให้ความรู้ และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนป้องกัน และร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในบ้านตนเอง

การประชาสัมพันธ์
1. เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน จะมีการจัดทำประกาศอำเภอดงเจริญ แจกให้กับ
- กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ในวันประชุม
- หัวหน้าส่วนราชการ
- วัด/โรงเรียน
2. เมื่อมีการรณรงค์ ทุก 3 เดือน จัดทำเอกสารแผ่นพับให้ความรู้ เรื่องโรคไข้เลือดออก/ไข้หวัดนก แจกให้ประชาชนในพื้นที่
3. เมื่อโรงเรียนใกล้ปิดเทอม จะทำหนังสือแจ้งให้โรงเรียนดำเนินการใส่ทราย หรือปล่อยน้ำในห้องน้ำทิ้งให้หมด
แหล่งข้อมูล
1. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร
2. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอดงเจริญ
3. สำนักงานปศุสัตว์อำเภอดงเจริญ
4. ที่ว่าการอำเภอดงเจริญ
สิ่งที่ภาคภูมิใจ
1. สามารถทำให้อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด
2. เกิดการทำงานเป็นทีม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น