วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553

โครงการชุมชนสะอาดปราศจากไข้เลือดออก

โครงการชุมชนสะอาดปราศจากยุงลายปลอดภัยไข้เลือดออก
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าลี่
ประจำปี 2552
……………………………….
1.หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปัญหาโรคไข้เลือดออกยังคงคุกคามชีวิตประชาชนชาวไทยคือการที่ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของโรคไข้เลือดออก ทำให้ไม่มีการตื่นตัวร่วมกันป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อันเนื่องจากการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสาธารณสุขยังไม่ครอบคลุมถึงทุกครัวเรือเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชนใน การรณรงค์ การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าลี่ มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 ตามมาตรา 67(3) กล่าวว่าองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ป้องกันและระงับโรคติดต่อ และมาตรา16(19) ในพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กล่าวว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีภารกิจและอำนาจหน้าที่ในด้านสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลท่าลี่ จึงได้จัดทำโครงการจัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออก เพื่อรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกขึ้น

2.วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุของการโรคและการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
2. เพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนในตำบลป้องกันโรคไข้เลือดออก
3. เพื่อเป็นการให้ประชาชนร่วมมือกับทุกภาคส่วนป้องกันและกำจัดยุงลาย
3. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่
4. เพื่อให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
5. เพื่อลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย
6. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
7. เพื่อเป็นการลดอัตราการสูญเสียชีวิตเนื่องจากการเป็นโรคไข้เลือก
8. เพื่อเน้นให้ชุมชนตระหนักถึงอันตรายของยุงลายและโรคไข้เลือกออก



3.ระยะเวลาดำเนินการ
1 ตุลาคม 2551 – 30 กันยายน 2552
4.เป้าหมาย
ราษฎร์ในตำบลท่าลี่ทั้ง 13 หมู่บ้านมีอัตราการเป็นโรคไข้เลือดออกในจำนวนที่ลดลง
5.วิธีดำเนินการ
1. จัดทำโครงการเพื่อเสนอหน่วยงาน
2. จัดหา จัดเตรียม วัสดุอุปกรณ์ให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน
3. ประสานงานกับชุมชนและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
4. แจ้งผู้นำชุมชน และ อสม. เพื่อนัดวันเวลาออกทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและแจกทรายอะเบท
5. ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายและหอกระจายข่าวชุมชนพร้อมทั้งสื่อต่าง ๆ
6. สำรวจลูกน้ำยุงลายตามชุมชน วัด โรงเรียน และสถานบริการสาธารณสุข พร้อมทั้งแจกทรายอะเบท
7. ออกฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัย
8. ออกติดตามตรวจลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านที่สามารถกำจัดลูกน้ำยุงลายได้ดี
9. ประชุมคณะกรรมการเพื่อประเมินหมู่บ้านที่ได้รับรางวัลและมอบรางวัล
10. ประเมินผลโครงการ
6.งบประมาณ 120,000 บาท
- ค่าทรายอะเบท จำนวน 20,000.-บาท
- ค่าน้ำยาพ่นหมอควัน จำนวน 45,000.-บาท
- ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 30,000.-บาท
- ค่าจัดทำสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ จำนวน 15,000.-บาท
- ค่าของรางวัลชุมชนที่ไม่มีไข้เลือดออก จำนวน 10,000.-บาท
7.สถานที่ดำเนินการ
หมู่บ้านในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าลี่ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี
8.ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ประชาชนเกิดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องไข้เลือดออก
2. ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
3. ทำให้สามารถลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย
4. ทำให้สมารถลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
9.หน่วยงานที่รับผิดชอบ
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าลี่ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

โครงการชุมชนสะอาดปราศจากยุงลายปลอดภัยไข้เลือดออก

M1 Mission ความมุ่งหมาย
1. เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุของการโรคและการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
2. เพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนในตำบลป้องกันโรคไข้เลือดออก
3. เพื่อเป็นการให้ประชาชนร่วมมือกับทุกภาคส่วนป้องกันและกำจัดยุงลาย
3. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่
4. เพื่อให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
5. เพื่อลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย
6. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
7. เพื่อเป็นการลดอัตราการสูญเสียชีวิตเนื่องจากการเป็นโรคไข้เลือก
8. เพื่อเน้นให้ชุมชนตระหนักถึงอันตรายของยุงลายและโรคไข้เลือกออก

M2 Money งบประมาณ
งบประมาณดำเนินการ 120,000.-บาท รายละเอียดดังนี้
- ค่าทรายอะเบท จำนวน 20,000.-บาท
- ค่าน้ำยาพ่นหมอควัน จำนวน 45,000.-บาท
- ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 34,000.-บาท
- ค่าจัดทำสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ จำนวน 11,000.-บาท
- ค่าของรางวัลชุมชนที่ไม่มีไข้เลือดออก จำนวน 10,000.-บาท

M3 Message ข่าสาร
มาตรการที่สำคัญที่เร่งดำเนินการคือ การป้องกันไม่ให้ถูกยุงเกิด โดยเร่งอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทั้งในบ้านเรือน และโดยรอบที่พักอาศัย อาทิ ปิดฝาตุ่มน้ำให้มิดชิด ใส่ทรายอะเบสกำจัดลูกน้ำยุงลาย หรือหมั่นเปลี่ยนน้ำตามแจกัน จานรองขาตู้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังเน้นการป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด โดยขอความร่วมมือประชาชนให้เจ้าหน้าที่ออกพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายตัวแก่ในบ้านเรือน ควบคู่ไปกับประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนนอนในมุ้งหากนอนในตอนกลางวัน เนื่องจากยุงลายชอบหากินในเวลากลางวัน ทั้งนี้สิ่งสำคัญในการป้องกันปัญหาโรคไข้เลือดออกคือการกระตุ้นให้ทุกครัวเรือนใส่ใจในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ตามสโลแกนที่ตั้งไว้ คือ “ทำถูก ทำหมด ลดทั้งเมือง ทำไม่ให้เกิด ทำไม่ให้กัด พ้นภัยไข้เลือดออก”




M4 Media สื่อโฆษณา
1. ใช้สื่อวิทยุชุมชนในท้องถิ่น เช่น วิทยุชุมชน ประชาสัมพันธ์การณรงค์โรคไข้เลือก การประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อกระตุ้นให้ชุมชนทราบ ครอบคลุมพื้นที่ได้อย่างกว้างขวาง โดยควรประชาสัมพันธ์โครงการเป็นช่วง ๆ ถ้าช่วงในที่มีการระบาดอย่างหนักควรใช้ความถี่ในการประชาสัมพันธ์มากขึ้น
2. ใช้สื่อ นิตยวาร วารสารท้องถิ่น เช่น จุลสาร อบต.ท่าลี่ เพื่อเป็นการแจ้งข่าวมายังผู้ที่ชอบอ่านหนังสือ
3. สื่อกลางแจ้ง เช่น การขึ้นป้ายประชาสัมพันธ์โดยใช้ความข้อและเนื้อหาที่นาสนใจ ซึ่งเป็นการเน้นให้ประชาชนในพื้นที่ได้เห็นข้อความนั้นซ้ำ ๆ
4. โบว์ชัวร์ การแจกโบว์ชัวร์ให้กับประชาชนเพื่อเป็นการทำให้การรณรงค์เป็นที่น่าสนใจยิ่งขึ้น
5. อินเตอร์เน็ต การลงประชาสัมพันธ์ในอินเตอร์เน็ตซึ่งมีผู้ใช้ค่อนข้างมาก มีต้นทุนที่ต่ำกว่าการทำสื่ออย่างขึ้น
6. เสียงตามสาย ประชาสัมพันธ์โดยใช้ห้อกระจายข่าวในหมู่บ้านเพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้รับทราบ
7. การใช้รถกระจายเสียงประชาสัมพันธ์ ซึ่งใน อบต.มีรถกระจายเสียงสามารถประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนทราบได้โดยตรง
8. การออก อบต.สัญจรเคลื่อที่พบประชาชนเพื่อให้คำแนะนำและดูแลประชาชนในพื้นที่
9. การออกเดินรณรงค์เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ

M5 Measurement การวัดผล
1. อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกตำบลท่าลี่มีอัตราลงลงกว่าปีที่ผ่านมา
2. ผลการสุ่มสำรวจดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายของหมู่บ้านเกิดโรค
3. รายงานการประเมินผลเมื่อสิ้นสุดโครงการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น