การสอบสวนโรคไข้เลือดออก อ.กุดชุม จ.ยโสธร
เดือน พฤศจิกายน 2550
*********************
1. ความเป็นมา
ด้วยงานระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ได้รับรายงานจากงานระบาดวิทยาโรงพยาบาลกุดชุม ในระหว่างวันที่ 21 - 25 เมษายน 2549 ว่า มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก(DHF) จำนวน 5 ราย เข้ารับการรักษาที่ตึกผู้ป่วยใน เป็นผู้ป่วยที่บ้าน บ้านคำผักกูด หมู่ 2 ตำบลหนองแหน อำเภอกุดชุม จำนวน 2 ราย โดยผู้ป่วยรายแรกเริ่มมีอาการป่วย ตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2549 ผู้ป่วยรายที่สองของหมู่บ้านเริ่มมีอาการป่วยในวันที่ 28 เมษายน 2549 และเป็นผู้ป่วยที่บ้าน บ้านกำแมด หมู่ 1 ตำบลกำแมด อำเภอกุดชุม จำนวน 3 ราย ซึ่งผู้ป่วยรายแรกของหมู่บ้านเริ่มมีอาการป่วยตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2549 รายที่สองเริ่มป่วยวันที่ 17 เมษายน 2549 รายที่สามเริ่มป่วยวันที่ 19 เมษายน 2549 งานระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกุดชุม จึงได้แจ้งให้หัวหน้าสถานีอนามัยและผู้รับผิดชอบงานโรคติดต่อของสถานีอนามัยทุกแห่ง ทางโทรศัพท์และวิทยุสื่อสารให้เข้าร่วมประชุมหารือแนวทางการควบคุมและป้องกันโรค ในวันที่ 21 เมษายน 2549 เวลา 15.05 น. พร้อมทั้งให้เตรียมเครื่องมือในการควบคุมป้องกันโรคและออกดำเนินการในหมู่บ้านดังกล่าวในวันที่ 22 - 30 เมษายน 2549 เวลา 08.00 น. เป็นต้นไป โดยให้รายงานผลการควบคุมป้องกันโรคให้สาธารณสุขอำเภอกุดชุมทราบภายในวันที่ 26 เมษายน 2549 ทั้งนี้ ทีมสอบสวนโรค SRRT อ.กุดชุม ได้ออกสอบสวนโรคดังกล่าวในวันที่ 22 -28 เมษายน 2549 เวลา 08.00 -16.00น. เพื่อหาสาเหตุ แหล่งโรค ค้นหาผู้ป่วยในชุมชนเพิ่มเติมและควบคุมป้องกันไม่ให้โรคระบาดเพิ่มขึ้น
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคและการระบาดของโรค
2.2 เพื่อค้นหาแหล่งรังโรคและควบคุมป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคต่อไป
2.3 เพื่อศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาของโรคในผู้ป่วยแต่ละราย
3. วิธีการศึกษา
3.1 การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา
1) ทบทวนบันทึกการรักษาผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอำเภอกุดชุม ที่สถานีอนามัยคำผักกูด ตำบลหนองแหน และที่สถานีอนามัยกำแมด ตำบลกำแมด ตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน – 28 เมษายน 2549 โดยมีนิยามผู้ป่วย ตาม WHO ดังนี้
นิยามผู้ป่วย
ไข้เดงกี่ (Denque Virus) คือ ผู้ป่วยที่มีไข้ขึ้นมาทันทีร่วมกับมีอาการอื่น ๆ อย่าง
น้อย 2 อาการ ต่อไปนี้คือ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูกหรือข้อต่อ มีผื่น มีอาการเลือดออก tourniquet test ให้ผลบวก
ไข้เลือดออก คือ ผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายไข้เดงกี่ แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงทางระบบ
ไหลเวียนของโลหิต บางรายอาจจะมีอาการช็อกหรืออาการแสดง 2 ข้อแรก
1.ไข้เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและสูงลอย 2 – 7 วัน
2. มีอาการเลือดออกอย่างน้อยมีการทดสอบทูร์นิเกต์(tourniquet test)ให้ผลบวก
ร่วมกับอาการเลือดออกอย่างอื่น เช่นจุดเลือดที่ผิวหนัง เลือดกำเดา อาเจียนและหรือถ่ายเป็นเลือด
3. มีตับโตกดเจ็บ
4. มีภาวการณ์ไหลเวียนล้มเหลวหรือภาวะช็อก
2) ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในบ้านคำผักกูด ต.หนองแหน และบ้านกำแมด ต.กำแมด อ.กุดชุม
3.2 การศึกษาทางห้องปฏิบัติการ
เจาะเลือดผู้ป่วยส่งตรวจเพื่อประกอบการวินิจฉัยเบื้องต้นและการรักษา โดยใช้เกณฑ์ ดังนี้
1) ไข้เดงกี่ (dengue fever ) หมายถึง ผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ทางคลินิก ร่วมกับมี
จำนวนเม็ดเลือดขาว(WBC) ต่ำกว่าปกติ ( < 5,000 เซล/มม3.) โดยมีสัดส่วน lymphocyte สูง
2) ไข้เลือดออก ( dengue hemorrhagic fever ) หมายถึงผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์
ทางคลินิก ร่วมกับเกณฑ์ทางห้องปฏิบัติการทั่วไป 2 อย่าง คือ มีเกล็ดเลือด (Platelet) ต่ำกว่า 100,000 เซล/มม3. และมี Hematocrit (Hct) เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 – 20 จากเดิม
3) ไข้เลือดออกช็อก ผู้ป่วยไข้เลือดออกที่มีภาวะความดันโลหิตลดต่ำลง(shock)
3.3 การศึกษาสิ่งแวดล้อมปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค
1) สำรวจแหล่เพาะพันธุ์ยุงลายและลูกน้ำยุงลาย
1. ในบ้านผู้ป่วย
2. รอบบ้านผู้ป่วยในรัศมี 100 เมตร
3.ในโรงเรียนที่ผู้ป่วยเรียน
4.ในวัด/ศูนย์เด็กเล็ก
5. แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอื่นๆนอกจากภาชนะที่มนุษย์ทำขึ้น เช่น น้ำขังบนกาบใบ
พืช
2) แหล่งรังโรค
1. ในช่วง 14 วัน ก่อนป่วย ผู้ป่วยเคยเดินทางไปที่ไหนบ้าง
2. ผู้ที่อาศัยร่วมบ้านเดียวกัน ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกในช่วง 14 วัน ก่อนวันเริ่ม
ป่วยของผู้ป่วยรายนี้
3. ที่โรงเรียน/เพื่อน/ครู ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกในช่วง 14 วัน ก่อนวันเริ่มป่วย
ของผู้ป่วยรายนี้
4. ผู้ที่อยู่บ้านติดกันหรือละแวกบ้านเดียวกัน ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกในช่วง 14
วัน ก่อนวันเริ่มป่วยของผู้ป่วยรายนี้
3.4 การศึกษาข้อมูลผู้ป่วยไข้เลือดออกย้อนหลัง 10 ปี ของแต่ละหมู่บ้านจากข้อมูลศูนย์ระบาด
วิทยาอำเภอกุดชุม เพื่อดูแนวโน้มของการเกิดโรคในแต่ละหมู่บ้าน
4. ผลการศึกษา
4.1 การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา
จากการทบทวนบันทึกการรักษาผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลกุดชุม ตั้งแต่วันที่
21 เมษายน – 5 พฤษภาคม 2549 มีผู้ป่วย 5 ราย เป็นผู้ป่วยที่บ้านคำผักกูด หมู่ 2 ต.หนองแหน อ.กุดชุม จำนวน 2 ราย และเป็นผู้ป่วยที่บ้านกำแมด หมู่ 1 ต.กำแมด อ.กุดชุม จำนวน 3 ราย ผู้ป่วยทั้ง 5 ราย เป็นเพศชาย 1 ราย เพศหญิง 4 ราย อายุ 11 ปี, 13 ปี, 16 ปี, 23 ปี และ 29 ปี จากการสอบสวนโรคตามลักษณะเวลา สถานที่และบุคคล ได้ดังนี้
ภาพที่ 1 จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำแนกตามวันที่เริ่มป่วย(Epidemic curve) หมู่ 2
บ้านคำผักกูด อ.กุดชุม จ.ยโสธร, 16 - 28 เมษายน 2549(N = 2)
จำนวนผู้ป่วย(คน)
วันเริ่มป่วย
จากภาพที่ 1 พบว่า ผู้ป่วยไข้เลือดออกบ้านคำผักกูด มีผู้ป่วย 2 ราย รายแรกคือน.ส.อาภัสรา อุ่นทอง เป็นผู้ป่วยรายที่ 1 ของอำเภอกุดชุม อายุ 16 ปี เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกุดชุมวิทยาคม ซึ่งเป็นโรงเรียนในอำเภอ ระหว่างที่ป่วยอยู่ในช่วงปิดภาคเรียน อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 131 หมู่ 2 บ้านคำผักกูด ต.หนองแหน อ.กุดชุม อยู่ร่วมกับยาย น้า และหลาน ๆ อีก 2 คน มีประวัติเริ่มป่วยวันที่ 16 เมษายน 2549 มารับการรักษาที่สถานีอนามัยคำผักกูด เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2549 ด้วยอาการไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว เจ็บคอ เจ้าหน้าที่ที่ให้การรักษาวินิจฉัยโรคเป็นคออักเสบและได้ให้ยาแก้ไข้ ( Paracetamol 500 mg. 10 tab ) และนัดมาดูอาการอีกครั้งในวันที่ 20 เมษายน 2549 ซึ่งพบว่า มีอาการปวดศีรษะอย่างแรง แต่ไข้ลดลง เจ้าหน้าที่จึงได้ให้ยา Paracetamol 500 mg. 10 tab และ Paracetamol 1 mg. แบบฉีด วันต่อมาคือวันที่ 21 เมษายน 2549 คนไข้กลับมารักษาตัวที่สถานีอนามัยอีกครั้งด้วยอาการ ปวดท้อง อ่อนเพลีย มีไข้ต่ำ ๆ มีเลือดออกทางช่องคลอด (เป็นประจำเดือน ) เจ้าหน้าที่ได้ให้ยา Hyoscin 10 tab, Ibuprofen 400 mg 10 tab. และ ORS 3 ซอง และได้ส่งตัวไปรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลกุดชุม ในวันที่ 21 เมษายน 2549 แพทย์วินิจฉัยขั้นต้นเป็น DHF และรับ Admit จนถึงวันที่ 25 เมษายน 2549 ผู้ป่วยอาการดีขึ้น ไม่มีไข้ อาการทั่วไปปกติ เหลือแต่ผื่นแดงที่ขึ้นตามร่างกายซึ่งยังมีอาการคันอยู่ แพทย์จึงให้กลับบ้านเมื่อเวลา 09.00น การวินิจฉัยขั้นสุดท้ายเป็น DHF ซึ่งจากการที่ทีม SRRT ได้ออกสอบสวนโรคและควบคุมโรคในวันที่ 22 เมษายน 2549 พบว่า ในละแวกบ้านใกล้เคียงกับบ้านผู้ป่วยยังไม่มีใครมีอาการสงสัยหรือป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น
ผู้ป่วยอีกคนชื่อ ด.ญ.นุชจรี เฉียบแหลม อายุ 13 ปี เป็นผู้ป่วยรายที่ 2 ของหมู่บ้าน และเป็นรายที่ 5 ของอำเภอกุดชุม เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกุดชุมวิทยาคม อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 9 หมู่ 2 บ้านคำผักกูด ต.หนองแหน อ.กุดชุม อยู่ร่วมกับพ่อ แม่ และน้องชาย 1 คน มีประวัติเริ่มป่วยห่างจากผู้ป่วยรายแรก 12 วัน คือวันที่ 28 เมษายน 2549 มารับการรักษาที่สถานีอนามัยคำผักกูด เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2549 ด้วยอาการไข้สูง ปวดศีรษะ ไอเล็กน้อย เจ้าหน้าที่ที่ให้การรักษาวินิจฉัยโรคเป็นหวัดและได้ให้ยาแก้ไข้ ( Paracetamol 500 mg. 10 tab ) และนัดมาดูอาการอีกครั้งในวันที่ 2 พฤษภาคม 2549 ซึ่งจากการสอบถามพบว่า ยังมีไข้เป็น ๆ หาย ๆ เจ้าหน้าที่ได้ให้ผงน้ำตาลเกลือแร่กลับไปกินที่บ้านต่ออีก 3 ซอง วันต่อมาคือวันที่ 3 พฤษภาคม 2549 ผู้ป่วยกลับมาที่สถานีอนามัยอีกครั้งด้วยอาการปวดท้อง อ่อนเพลีย มีไข้ เจ้าหน้าที่จึงได้ส่งตัวให้ไปรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลกุดชุม ซึ่งแพทย์ได้วินิจฉัยขั้นต้นเป็น DSS และส่งตัวให้ไปรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลยโสธร จนถึงวันที่ 5 พฤษภาคม 2549 ผู้ป่วยอาการดีขึ้น ไม่มีไข้ อาการทั่วไปปกติ แพทย์จึงให้กลับบ้าน การวินิจฉัยขั้นสุดท้ายเป็น DSS
ภาพที่ 2 จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำแนกตามวันที่เริ่มป่วย(Epidemic curve) หมู่ 1
บ้านกำแมด อ.กุดชุม จ.ยโสธร, 17 - 20 เมษายน 2549(N = 3)
จำนวนผู้ป่วย(คน)
วันเริ่มป่วย
จากภาพที่ 2 ผู้ป่วยไข้เลือดออกบ้านกำแมด หมู่ 1 ต.กำแมด อ.กุดชุม มีผู้ป่วย 3 ราย คนแรกคือนายสมพาน ลามะเริง อายุ 22 ปี เป็นผู้ป่วยรายที่ 1 ของหมู่บ้าน แต่เป็นรายที่ 2 ของอำเภอกุดชุม อยู่บ้านเลขที่ 140 หมู่ 1 บ้านกำแมด ขณะป่วยบวชเป็นพระอยู่ที่วัดบ้านกำแมด หมู่ 1 ต.กำแมด เริ่มมีอาการป่วยตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2549 ด้วยอาการไข้สูง ปวดหัว จึงไปรับการรักษาที่สถานีอนามัยกำแมด เจ้าหน้าที่ที่ให้การรักษาวินิจฉัยเป็นไข้ปวดหัว และได้ให้ยาแก้ไข้ (Paracetamol 500 mg. 10 tab ) กลับไปกินที่บ้าน วันที่ 19 เมษายน 2549 ไข้ไม่ลด ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตามตัวและข้อ จึงมาที่สถานีอนามัยกำแมดอีกครั้ง เจ้าหน้าที่จึงให้ยาคลายกล้ามเนื้อคือ Ibuprofen 400 mg จำนวน 10 tab กลับไปกินต่อที่บ้าน วันที่ 22 เมษายน 2549 อาการไม่ดีขึ้นมีเลือดออกที่ตาขาวทั้ง 2 ข้าง มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน กินได้น้อยลง จึงมารับการรักษาที่โรงพยาบาลกุดชุมแพทย์วินิจฉัยขั้นต้นเป็น DHF และ Admit ภายในวันนั้นจนถึงวันที่ 25 เมษายน 2549 ระหว่างที่ผู้ป่วยรายนี้ รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลกุดชุม ทีม SRRT ได้ออกสอบสวนโรคและควบคุมโรคในวันที่ 23 เมษายน 2549 พบว่า ในละแวกบ้านใกล้เคียงกับบ้านผู้ป่วยมี ด.ญ. ศิริวิภา บรรลือหาญ ซึ่งเป็นผู้ป่วยรายที่ 2 ของหมู่บ้าน และเป็นรายที่ 3 ของอำเภอกุดชุม อายุ 12 ปี และนางสุดใจ ทองใบ ผู้ป่วยรายที่ 3 ของหมู่บ้าน และเป็นรายที่ 4 ของอำเภอกุดชุม อายุ 29 ปี สองแม่ลูก อยู่บ้านเลขที่ 35 หมู่ 1 เริ่มป่วยตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2549 และวันที่ 19 เมษายน 2549 ตามลำดับ ซึ่ง ด.ญ. ศิริวิภา บรรลือหาญ มารับการรักษาที่โรงพยาบาลกุดชุมในวันที่ 24 เมษายน 2549 ด้วยอาการไข้ อาเจียน กินอาหารได้น้อย ปวดท้อง แพทย์วินิจฉัยเป็น DHF ซึ่งก่อนหน้านี้วันที่ 17 เมษายน 2549 เคยไปรับการรักษาที่คลินิกแพทย์เอกชนในอำเภอและได้รับการวินิจฉัยโรคว่าเป็นไข้เลือดออก แต่อาการไม่ดีขึ้น จึงได้มาที่โรงพยาบาลกุดชุม ส่วนผู้เป็นแม่คือนางสุดใจ ทองใบ มีไข้ไม่ลด กินอาหารได้น้อย แพทย์จึงรับAdmit ไว้ และวินิจฉัยเป็น DHF รักษาตัวอยู่จนถึงวันที่ 27 เมษายน 2549 อาการดีขึ้นแพทย์จึงให้กลับบ้านเมื่อเวลา 09.00น การวินิจฉัยขั้นสุดท้ายเป็น DHF
จากการซักประวัติและการตรวจร่างกายของแพทย์ผู้ทำการรักษาผู้ป่วยไข้เลือดดก ทั้ง 5 ราย มีอาการทางคลินิก ดังนี้
ภาพที่ 3 ลักษณะทางคลินิกผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก บ้านคำผักกูดและบ้านกำแมด อ.กุดชุม จ.ยโสธร
17 - 28 เมษายน 2549 (N = 5)
อาการ จำนวน
จากภาพที่ 3 พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อาเจียนปวดกระบอกตา มีผื่นแดง ตับโตกดเจ็บ มีเลือดออกทางอวัยวะภายในและผลการทำ Tourniquet test ให้ผลบวก ซึ่งเป็นลักษณะอาการทางคลินิกของผู้ป่วยไข้เลือดออก โดยผู้ป่วยไข้เลือดออกรายที่ 3 คือ ด.ญ. ศิริวิภา บรรลือหาญ หลังจากเข้ารับการรักษาที่ รพ.กุดชุม ได้ 1 วัน อาการก็ไม่ดีขึ้น มีไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว ปลายมือ ปลายเท้าเขียว ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตต่ำ (วันที่ 24 เมษายน 2549 เวลา 10.30 น. BP = 90/80 mmhg. , P = 20 ครั้ง/นาที, เวลา 16.30 น. BP = 80/50 mmhg. , P = 30 ครั้ง/นาที) แต่รู้สึกตัวดี ไม่มีอาการปวดท้อง ไม่มีอาเจียน แพทย์สงสัยจะเป็น DSS จึงส่งตัวไปรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลยโสธร เมื่อเวลา 18.00 น. ส่วน ด.ญ.นุชจรี เฉียบแหลม แพทย์ได้ส่งตัวให้เข้าไปรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลยโสธรตั้งแต่วันแรกเนื่องจากผู้ป่วยอาการไม่ดีเข้าเกณฑ์ของโรคไข้เลือดออกช็อก เช่นกัน
4.2 การศึกษาทางห้องปฏิบัติการ
ตัวอย่างจากผู้ป่วย 5 ราย เจาะเลือดส่งตรวจ Complete Blood Count ( CBC ) ที่โรงพยาบาลกุดชุม เพื่อให้แพทย์ประกอบการวินิจฉัยโรคเบื้องต้นและเพื่อการรักษา โดยดูจาก WBC, Platelet, Hct เทียบกับเกณฑ์ของ WHO มีผลการตรวจ ดังนี้
ตารางที่ 1 ผลการตรวจเลือดผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกทางห้องปฏิบัติการ
WHO DHF Criteria
ผู้ป่วย WBC < 5,000 เซล/มม3. Platelet < 100,000 เซล/มม3.
รายที่ ครั้งที่ส่งตรวจ/วันที่ตรวจ ครั้งที่ส่งตรวจ/วันที่ตรวจ
1 2 3 1 2 3
1 3,600/
21/4/49 5,800/ 22/4/49 5,400/
24/4/49 92,000/
21/4/49 81,000/
22/4/49 199,000/
24/4/49
2 4,100/
23/4/49 7,300/
24/4/49 - 67,000/
23/4/49 91,000/
24/4/49 -
3 3,400/
24/4/49 2,900
25/04/49 2,200
26/04/49 69,000/24/4/49 52,000
25/04/49 80,000
26/04/49
4 5,900/
24/4/49 6,000/
26/4/49 - 98,000/
24/4/49 133,000/
26/4/49 -
5 4,200/
3/5/49 7,500
4/05/49 3,300
5/05/49 57,000/
3/5/49 72,000
4/05/49 98,000
5/05/49
หมายเหตุ
ผู้ป่วยรายที่ 1 ชื่อ น.ส.อาภัสรา อุ่นทอง อยู่ที่บ้านคำผักกูด หมู่ 2
ผู้ป่วยรายที่ 2 ชื่อนายสมพาน ลามะเริง อยู่ที่บ้านกำแมด หมู่ 1
ผู้ป่วยรายที่ 3 ชื่อ ด.ญ. ศิริวิภา บันลือหาญ อยู่ที่บ้านกำแมด หมู่ 1
ผู้ป่วยรายที่ 4 ชื่อ นางสุดใจ ทองใบ อยู่ที่บ้านกำแมด หมู่ 1
ผู้ป่วยรายที่ 5 ชื่อ ด.ญ.นุชจรี เฉียบแหลม อยู่ที่บ้านคำผักกูด หมู่ 2
ตารางที่ 2 ผลการตรวจ Hematocrit ของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกทางห้องปฏิบัติการ
WHO DHF Criteria
ผู้ป่วย Hct >10 – 20% จากเดิม
รายที่ ครั้งที่ส่งตรวจ/วันที่ตรวจ/เวลา
1 2 3 4 5 6 7
1 36.8/
21/4/49/10.00น 36/
21/4/49/
18.00น. 35/
21/4/49
24.00น. 36/
22/4/49
07.00น. 33/
22/4/49
18.00น. 33/
24/4/49/
24.00น. 34.2/
24/4/49
09.39
2 45/
23/4/49
09.00น. 44/
23/4/49
18.00น. 45/
23/4/49
24.00น. 43.3/
24/4/49
18.00น. 42/
25/4/49
09.00น. - -
3 39/
24/4/49
10.00น. 45
25/4/49
09.00น. 47
25/4/49
24.00น. 44
26/4/49
09.00น. 43
26/4/49
18.00น. 40
27/4/49
09.00น. -
4 42.9/
24/4/49
16.00น. 38/
25/4/49
09.00น. 37/
25/4/49
24.00 น. 34/
26/4/49
09.00น. 34/
26/4/49
18.00น. 34/
27/4/49
09.00น.
5 43
3/5/49 42
3/05/49
09.00น. 47
03/05/49
24.00น. 45
04/05/49
09.00น. 43
4/05/49
18.00น. 39
5/05/49
09.00น.
จากตารางที่ 1 และ 2 พบว่า ผู้ป่วยไข้เลือดออกทั้ง 5 ราย มีผลเลือดทางห้องปฏิบัติการ ที่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยเบื้องต้นตาม WHO ทั้ง 3 อย่าง เพียง 4 ราย คือ ผู้ป่วยรายที่ 1 - 3 และ รายที่ 5 ส่วนรายที่ 4 แพทย์ใช้อาการทางคลินิกและประวัติการอยู่ในพื้นที่เสี่ยงคือเป็นผู้อยู่ใกล้ชิด อาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกันกับผู้ป่วยรายที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ที่มีอาการของโรคไข้เลือดออกช็อก เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจให้การรักษา โดยผู้ป่วยรายที่ 3 ได้ส่งตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการเพียงครั้งเดียวเนื่องจากอาการไม่ดีขึ้น ชีพจรเบาเร็วและความดันโลหิตลดต่ำลง แพทย์จึงส่งต่อให้ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลยโสธร ในการตรวจ Hct ของผู้ป่วยไข้เลือดออกแพทย์จะสั่งให้เจาะตรวจทุก 6 ชั่วโมง ส่วน CBC จะสั่งเจาะครั้งแรกและเมื่อผู้ป่วยอาการทางคลินิกดีขึ้นเพื่อจะพิจารณาจำหน่ายให้ผู้ป่วยกลับไปพักฟื้นที่บ้านต่อไป
จากข้อมูลดังกล่าว เพื่อจะหาแหล่งรังโรคหรือปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค จึงได้ทำการศึกษาสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยทั้ง 5 รายต่อไป
4.3 การศึกษาสิ่งแวดล้อมและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค
4.3.1 แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
จากการสำรวจบ้านของผู้ป่วยรายแรกคือ น.ส. อาภัสรา อุ่นทอง ที่บ้านคำผักกูด หมู่ 1
ต.หนองแหน อ.กุดชุม ซึ่งห่างจากตัวอำเภอไปทางทิศตะวันตกประมาณ 15 กิโลเมตร ในวันที่ 21 เมษายน 2549 พบว่า ลักษณะบ้านที่อยู่เป็นบ้าน 2 ชั้น ครึ่งปูนครึ่งไม้ อยู่ห่างจากบ้านหลังอื่น ๆประมาณ 20 เมตร บริเวณรอบ ๆ หน้าบ้านและด้านข้างทั้ง 2 ข้างของบ้านมีต้นไม้ขึ้นบ้าง แต่มีเศษขยะดูไม่ค่อยสะอาด บริเวณหลังบ้าน มีต้นไม้เตี้ย ๆ ขึ้นพอประมาณ มีห้องน้ำแยกออกจากตัวบ้านห่างประมาณ 5 เมตร ภายในห้องน้ำมียุงตัวแก่บินอยู่ 4 – 5 ตัว ภายในตัวบ้านส่วนใหญ่ไม่ค่อยเปิดหน้าต่าง มีตู้เสื้อผ้า 2 ตู้และเสื้อผ้าแขวนอยู่ ภายในบ้านพบยุงตัวแก่ประมาณ 10 กว่าตัว บินและเกาะอยู่ตามเสื้อผ้า ลักษณะนิสัยส่วนใหญ่ของผู้ป่วยชอบอยู่แต่ในบ้านดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือและชอบนอนกลางวันเปิดพัดลม ไม่ชอบนอนกลางมุ้ง ไม่ใช้ยากันยุง มีจุดที่น่าสังเกตคือบ้านหลังหนึ่งที่อยู่ทางหลังบ้านผู้ป่วยห่างประมาณ 15 เมตร เป็นบ้านของข้าราชการ ไม่ค่อยอยู่บ้าน ภายในบ้านมืดทึบเพราะไม่ค่อยเปิดหน้าต่างและประตู ในครัวมีเสื้อผ้าเก่า ๆ แขวนอยู่ประมาณ 4 – 6 ตัว มียุงตัวแก่เกาะและบินวนอยู่ประมาณ 10 กว่าตัว ที่ห้องน้ำติดครัวก็พบว่ามียุงตัวแก่เกาะอยู่ตามผนังห้องน้ำหลายตัว และมีลูกน้ำยุงลายในอ่างอาบน้ำจำนวนมาก รอบ ๆ บ้านมีตุ่มใส่น้ำดื่มและน้ำใช้ 5 ตุ่ม พบลูกน้ำยุงลาย 3 ตุ่ม หลังบ้านมีต้นไม้เตี้ย ๆ ขึ้นอยู่ร่มรื่น รวมทั้งหญ้าขึ้นสูง เพราะส่วนใหญ่น้ำเสียจะถูกระบายไปทางหลังบ้านซึ่งหันไปทางบ้านผู้ป่วยไข้เลือดออกรายนี้ ซึ่งจากการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
- ในบ้านผู้ป่วย พบข้อมูลดังนี้
จำนวนภาชนะในบ้านที่สำรวจมี 3 ภาชนะ พบลูกน้ำยุงลาย 1 ภาชนะ
ส่วนภาชนะนอกบ้านที่สำรวจมี 6 ภาชนะ พบลูกน้ำยุงลาย 2 ภาชนะ
คิดค่า CI = 33.33 %
- รอบบ้านผู้ป่วยในรัศมี 100 เมตร สำรวจทั้งหมด 50 หลังคาเรือน พบลูกน้ำยุงลาย 28 หลังคา
เรือน
จำนวนภาชนะในบ้านที่สำรวจมี 166 ภาชนะ พบลูกน้ำยุงลาย 19 ภาชนะ
จำนวนภาชนะนอกบ้านที่สำรวจ 397 ภาชนะ พบลูกน้ำยุงลาย 49 ภาชนะ
คิดค่า CI = 12.08% , HI 56.00 %, BI = 242.86 %
- ในหมู่บ้านไม่มีโรงเรียน
- มีวัดอยู่ 1 แห่ง สำรวจภาชนะทั้งหมด 27 ภาชนะ พบลูกน้ำยุงลาย 6 ภาชนะ
คิดค่า CI = 22.22 %
- แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอื่น ๆ นอกจากภาชนะที่มนุษย์ทำขึ้น เช่น น้ำขังบนใบพืช กาบต้นกล้วย เป็นต้น พบว่า ส่วนใหญ่ไม่มีพืชประเภทนี้ และแหล่งน้ำขังส่วนใหญ่เป็นน้ำมาจากน้ำประปาของหมู่บ้านซึ่งเปิด - ปิดเป็นเวลา ส่วนช่วงนี้ฝนขาดช่วงทำให้ไม่ค่อยมีน้ำขังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
ภาพที่ 4 สภาพบ้านและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายบริเวณรอบ ๆ บ้านผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกรายที่ 1
บ้านคำผักกูด หมู่ 2 ต. หนองแหน อ. กุดชุม
ส่วนการสำรวจบ้านของผู้ป่วยรายที่ 2 ของหมู่บ้าน(รายที่ 5 ของอำเภอ) ในวันที่ 29 เมษายน 2549 พบว่า ลักษณะบ้านที่อยู่เป็นบ้าน 2 ชั้น ครึ่งปูนครึ่งไม้ ห่างจากบ้านผู้ป่วยรายแรก ประมาณ 100 เมตร บริเวณรอบ ๆ บ้านไม่ค่อยมีต้นไม้ เป็นที่โล่ง ๆ มีเศษขยะดูไม่ค่อยสะอาด บริเวณหลังบ้าน มีต้นไม้เตี้ย ๆ ขึ้นพอประมาณ มีห้องน้ำอยู่ภายตัวบ้าน มียุงตัวแก่บินอยู่ 10 – 20 ตัว มีโอ่งน้ำใช้ 2 โอ่ง ภายในตัวบ้านส่วนใหญ่ไม่ค่อยเปิดหน้าต่าง มีตู้เสื้อผ้า 2 ตู้และเสื้อผ้าแขวนอยู่ ภายในบ้านพบยุงตัวแก่ประมาณ 10 กว่าตัว บินและเกาะอยู่ตามเสื้อผ้า ลักษณะนิสัยส่วนใหญ่ของผู้ป่วยชอบอยู่แต่ในบ้านดูโทรทัศน์โดยเฉพาะช่วงตอนเย็น ซึ่งถูกยุงกัดบ่อย ๆ ส่วนตอนกลางวันออกไปเล่นกับเพื่อน ๆ ใกล้ ๆ บ้าน ไม่ชอบนอนกลางมุ้ง จากการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
- ในบ้านผู้ป่วย พบข้อมูลดังนี้
จำนวนภาชนะในบ้านที่สำรวจมี 2 ภาชนะ พบลูกน้ำยุงลาย 0 ภาชนะ
ส่วนภาชนะนอกบ้านที่สำรวจมี 4 ภาชนะ พบลูกน้ำยุงลาย 1 ภาชนะ
คิดค่า CI = 16.67 %
- จากการสำรวจข้อมูลบ้านคำผักกูดมีทั้งหมด 135 หลังคาเรือน สำรวจลูกน้ำยุงลายทั้งหมด 121
หลังคาเรือน พบลูกน้ำยุงลาย 5 หลังคาเรือน
จำนวนภาชนะในบ้านที่สำรวจมี 219 ภาชนะ พบลูกน้ำยุงลาย 5 ภาชนะ
จำนวนภาชนะนอกบ้านที่สำรวจ 530 ภาชนะ พบลูกน้ำยุงลาย 10 ภาชนะ
คิดค่า CI = 2.00% , HI 4.13 %, BI = 12.40 %
- มีวัดอยู่ 1 แห่ง สำรวจภาชนะทั้งหมด 25 ภาชนะ พบลูกน้ำยุงลาย 3 ภาชนะ CI = 12.00 %
- แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอื่น ๆ นอกจากภาชนะที่มนุษย์ทำขึ้น ไม่มี
สำหรับการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเพื่อหารังโรคของผู้ป่วยไข้เลือดออกที่บ้านกำแมด หมู่ 1 ต.กำแมด อ.กุดชุม ซึ่งอยู่ห่างจากตัวอำเภอไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 16 กิโลเมตร เนื่องจากผู้ป่วยทั้ง 3 ราย ได้มารับการรักษาที่ รพ.กุดชุม ในระยะเวลาใกล้เคียงกันคือวันที่ 22, 23 และ 24 เมษายน 2549 ตามลำดับ ทีม SRRT ได้ออกสอบสวนโรคและค้นหาผู้ป่วยที่มีอาการสงสัยเพิ่มเติมในวันที่ 23 เมษายน 2549 พร้อมทั้งควบคุมการระบาดโดยผู้ป่วยรายที่ 1 มีแม่เป็น อสม. ผู้ป่วยเพิ่งจะบวชเป็นพระในวันที่ 22 เมษายน 2549 และมา Admit ที่ รพ.กุดชุม ในวันนี้เวลา 14.00 น. จุดเริ่มต้นที่ทีม SRRT ออกสำรวจคือบ้านผู้ป่วย กุฏิวัดและบริเวณวัดสุริโยบ้านกำแมด ซึ่งเป็นที่ผู้ป่วยพักอยู่ ส่วนใหญ่ตอนกลางวันและกลางคืนจะไปพักที่วัดเพื่อเตรียมตัวก่อนบวชตั้งแต่วันที่ 14 เมษายน 2549 ลักษณะบ้านผู้ป่วยเป็นบ้านครึ่งปูนครึ่งไม้ 2 ชั้น อยู่ติดชิดกันหลายหลัง ห่างจากวัดประมาณ 50 เมตร ภายในตัวบ้านมืดทึบ มีตู้เสื้อผ้าเรียงกัน 2 ตู้ กั้นห้องครัวกับตัวบ้าน ไม่เปิดหน้าต่าง บริเวณภายนอกบ้านมีต้นไม้เตี้ย ๆ อยู่หน้าบ้านและข้างบ้านด้านหนึ่ง ปลูกยาวไปจนสุดหลังบ้าน ส่วนอีกด้านหนึ่งติดกับบ้านเพื่อนบ้านมีโอ่งน้ำใช้วางอยู่ 4 โอ่ง ส่วนบ้านของผู้ป่วยรายที่ 2 และ 3 ของหมู่บ้าน จะเป็นบ้านสองชั้น ใต้ถุนบ้านยกสูง ข้างล่างใช้เป็นคอกเลี้ยงวัว รอบ ๆ บ้านมีต้นไม้ขึ้นสูงทึบทุกด้าน บ้านอยู่ติดกับกำแพงวัดสุริโย ลักษณะนิสัยส่วนใหญ่ของผู้ป่วยทั้ง 3 ราย ชอบอยู่แต่ในบ้านดูโทรทัศน์โดยเฉพาะช่วงตอนเย็น ส่วนตอนกลางวันชอบนอนไม่กลางมุ้งเพราะอากาศร้อน นอนถอดเสื้อ ยุงกัดบ่อย ๆ ไม่ใช้ยากันยุง จากการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
- ในบ้านผู้ป่วยรายที่ 1 พบข้อมูลดังนี้
จำนวนภาชนะในบ้านที่สำรวจมี 2 ภาชนะ พบลูกน้ำยุงลาย 1 ภาชนะ
ส่วนภาชนะนอกบ้านที่สำรวจมี 4 ภาชนะ พบลูกน้ำยุงลาย 1 ภาชนะ
CI = 33.33 %
- ในบ้านผู้ป่วยรายที่ 2, 3 พบข้อมูลดังนี้
จำนวนภาชนะในบ้านที่สำรวจมี 3 ภาชนะ พบลูกน้ำยุงลาย 1 ภาชนะ
ส่วนภาชนะนอกบ้านที่สำรวจมี 2 ภาชนะ พบลูกน้ำยุงลาย 1 ภาชนะ
CI = 40.00 %
- รอบบ้านผู้ป่วยในรัศมี 100 เมตร ซึ่งมีบ้านของผู้ป่วยรายที่ 2, 3 อยู่ติดกับกำแพงวัดใกล้ ๆ กุฏิที่
ผู้ป่วยรายที่ 1 พักอยู่ สำรวจทั้งหมด 28 หลังคาเรือน พบลูกน้ำยุงลาย 21 หลังคาเรือน
จำนวนภาชนะในบ้านที่สำรวจมี 40 ภาชนะ พบลูกน้ำยุงลาย 15 ภาชนะ
จำนวนภาชนะนอกบ้านที่สำรวจ 70 ภาชนะ พบลูกน้ำยุงลาย 25 ภาชนะ
คิดค่า CI = 36.36% , HI 75.00 %, BI = 142.86 %
- ในหมู่บ้านมีโรงเรียน 2 โรงเรียน ห่างจากบ้านผู้ป่วยรายที่ 1, 2 และ 3 ประมาณ 2 กิโลเมตรและช่วงนี้ปิดภาคเรียนจากการสอบถามผู้ป่วยได้บอกว่าไม่ได้ไปโรงเรียนเลยตั้งแต่ปิดภาคเรียนมานี้ จึงไม่ได้ไปสำรวจข้อมูลทั้ง 2 โรงเรียน
- สำหรับวัดมีอยู่ 1 แห่ง ภายในบริเวณวัดมีศูนย์เด็กเล็กอยู่ด้วย 1 แห่ง มีเด็กเล็กจำนวน 15 คน มีครูพี่เลี้ยง 2 คน กุฏิของพระสงฆ์ จำนวน 4 หลัง สำรวจภาชนะทั้งหมด 24 ภาชนะ พบลูกน้ำยุงลาย 9 ภาชนะ ส่วนใหญ่ลูกน้ำยุงลายอยู่ในห้องน้ำของศูนย์เด็กเล็กและที่บาตรพระเก่า ๆ ที่ล้างเท้าก่อนขึ้นศาลา และกุฏิที่พักของเจ้าอาวาสมีอ่างน้ำ ที่ใส่น้ำให้ไก่และนกกิน เป็นต้น คิดค่า CI = 37.50 %
- แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอื่น ๆ นอกจากภาชนะที่มนุษย์ทำขึ้น ไม่พบ เพราะแหล่งน้ำขังส่วนใหญ่เป็นน้ำมาจากน้ำประปาของหมู่บ้านซึ่งเปิด – ปิดเป็นเวลา ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องน้ำใช้ไม่ค่อยพอเพียง ส่วนช่วงนี้ฝนขาดช่วงทำให้ไม่ค่อยมีน้ำขังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
ภาพที่ 5 สภาพบ้านและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายบริเวณรอบ ๆ บ้านผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกรายที่ 1
บ้านกำแมด หมู่ 1 ต. กำแมด อ. กุดชุม
ภาพที่ 6 สภาพบ้านและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายบริเวณรอบ ๆ บ้านผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกรายที่ 2, 3
บ้านกำแมด หมู่ 1 ต.กำแมด อ.กุดชุม
ภาพที่ 7 กุฏิวัดที่ผู้ป่วยรายที่ 2 พักอยู่ และแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายบริเวณรอบ ๆ วัดบ้านกำแมด
หมู่ 1 ต.กำแมด อ.กุดชุม
4.3.2 แหล่งรังโรค เพื่อจะหาแหล่งของการติดเชื้อของผู้ป่วย
- ผู้ป่วยรายที่ 1 บ้านคำผักกูด จากการซักถามญาติและตัวผู้ป่วยถึงประวัติก่อนป่วย
1) ในช่วง 14 วัน ก่อนป่วย ผู้ป่วยเคยเดินทางไปที่ไหนบ้าง ได้คำตอบว่าไม่เคยไปที่ไหนเลย
2) ผู้ที่อาศัยร่วมบ้านเดียวกัน ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกในช่วง 14 วัน ก่อนวันเริ่ม
ป่วยของผู้ป่วยรายนี้ ปรากฏว่าไม่มี
3) ที่โรงเรียน/เพื่อน/ครู ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกในช่วง 14 วัน ก่อนวันเริ่มป่วย
ของผู้ป่วยรายนี้ ไม่มีเนื่องจากช่วงนี้ปิดภาคเรียน
4) ผู้ที่อยู่บ้านติดกันหรือละแวกบ้านเดียวกัน ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกในช่วง
14 วัน ก่อนวันเริ่มป่วยของผู้ป่วยรายนี้ ก็ไม่มี
- ผู้ป่วยรายที่ 2 บ้านคำผักกูด จากการซักถามญาติผู้ป่วยถึงประวัติก่อนป่วย
1) ในช่วง 14 วัน ก่อนป่วย ผู้ป่วยเคยเดินทางไปที่ไหนบ้าง ได้คำตอบว่าไม่เคยไปที่ไหนเลย
2) ผู้ที่อาศัยร่วมบ้านเดียวกัน ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกในช่วง 14 วัน ก่อนวันเริ่ม
ป่วยของผู้ป่วยรายนี้ ไม่มี
3) ที่โรงเรียน/เพื่อน/ครู ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกในช่วง 14 วัน ก่อนวันเริ่มป่วย
ของผู้ป่วยรายนี้ ไม่มีเนื่องจากช่วงนี้ปิดภาคเรียน
4) ผู้ที่อยู่บ้านติดกันหรือละแวกบ้านเดียวกัน ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกในช่วง
14 วัน ก่อนวันเริ่มป่วยของผู้ป่วยรายนี้ มี 1 ราย คือ น.ส.อาภัสรา อุ่นทอง
- สำหรับผู้ป่วยรายที่ 1, 2 และ 3 บ้านกำแมด จากการซักถามญาติและตัวผู้ป่วยถึงประวัติ
ก่อนป่วย
1) ในช่วง 14 วัน ก่อนป่วย ผู้ป่วยเคยเดินทางไปที่ไหนบ้าง ได้คำตอบว่าผู้ป่วยรายที่ 1 ก่อนป่วย 14 วันผู้ป่วยอยู่ที่ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และกลับมาบ้านเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2549 เพื่อมาเที่ยวสงกรานต์และกลับมาบวช เมื่อมาอยู่ที่นี่ก็ไม่ได้ไปไหน เนื่องจากต้องไปเตรียมตัวก่อนบวช ส่วนใหญ่จะนอนอ่านหนังสือธรรมะที่บ้านและวัด ส่วนผู้ป่วยรายที่ 2 และ 3 ไม่เคยไปที่ไหนเลย
2) ผู้ที่อาศัยร่วมบ้านเดียวกัน ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกในช่วง 14 วัน ก่อนวันเริ่ม
ป่วยของผู้ป่วยรายที่ 1, 2 และ 4 ปรากฏว่าไม่มี
3) ที่โรงเรียน/เพื่อน/ครู ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกในช่วง 14 วัน ก่อนวันเริ่มป่วย
ของผู้ป่วยรายที่ 1, 2 และ 3 ไม่มีเนื่องจากช่วงนี้ปิดภาคเรียน
4) ผู้ที่อยู่บ้านติดกันหรือละแวกบ้านเดียวกัน ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกในช่วง 14
วัน ก่อนวันเริ่มป่วยของผู้ป่วยรายที่ 1 (เริ่มป่วยวันที่ 18 เมษายน 2549) ช่วงที่อยู่ที่อำเภอวังน้อย จังหวัด
พระนครศรีอยุธยา ไม่มีผู้ป่วยไข้เลือดออก แต่เมื่อมาอยู่ที่บ้านกำแมด หมู่ 1 ปรากฏว่า ผู้ป่วยรายที่ 2 มีอาการเริ่มป่วยก่อนเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2549 และไปรับการรักษาที่คลินิกแพทย์เอกชนในตัวอำเภอ แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคไข้เลือดออก และกลับมารักษาตัวอยู่ที่บ้าน ส่วนผู้ป่วยรายที่ 3 ซึ่งเป็นแม่ของผู้ป่วยรายที่ 2 เริ่มป่วยมีไข้สูงเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2549 ไปรับการรักษาที่สถานีอนามัยกำแมด เจ้าหน้าที่วินิจฉัยเป็นคออักเสบ พร้อมให้ยา พาราเซตามอล 500 mg 10 เม็ด และ แก้อักเสบ Amoxycin 250 mg 12 เม็ด กลับไปกินที่บ้าน
4.4 การศึกษาข้อมูลผู้ป่วยไข้เลือดออกย้อนหลัง 10 ปี
จากการศึกษาข้อมูลผู้ป่วยไข้เลือดออกย้อนหลัง 10 ปี ของบ้านคำผักกูด หมู่ 2 ตำบล
หนองแหน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 – 2549 เพื่อดูแนวโน้มของการเกิดโรค พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ดังนี้
ภาพที่ 8 จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกของบ้านคำผักกูด หมู่ 2 ต. หนองแหน อ.กุดชุม
จำแนกรายปีตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2540 - 2549
จำนวน(คน)
ปี พ.ศ.
จากภาพที่ 8 พบว่า ข้อมูลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกย้อนหลัง 10 ปี มีลักษณะหรือแนวโน้มของการระบาดเป็นปีหรือสองปีแล้วเว้นสามปี ซึ่งในปี พ.ศ. 2549 ก็อาจจะคาดการณ์หรือพยากรณ์ว่าจะมีการระบาดของโรคเกิดขึ้นได้
และจากการศึกษาข้อมูลผู้ป่วยไข้เลือดออกย้อนหลัง 10 ปี ของบ้านกำแมด หมู่ 1 ต.
กำแมด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 – 2549 เพื่อดูแนวโน้มของการเกิดโรค พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ดังนี้
ภาพที่ 9 จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกของบ้านกำแมด หมู่ 1 ต.กำแมด อ.กุดชุม
จำแนกรายปีตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2540 - 2549
จำนวน(คน)
ปี พ.ศ.
จากภาพที่ 9 พบว่า ข้อมูลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกย้อนหลัง 10 ปี ตั้งแต่ปี 2540 – 2549 มีผู้ป่วยในปี 2545 และ ปี 2546 แล้วเว้นไป 2 ปี ลักษณะหรือแนวโน้มของการระบาดของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกบ้านกำแมด หมู่ 1 จึงยังไม่สามารถพยากรณ์หรือคาดการณ์ได้ว่าจะมีรอบการระบาดของโรคในกี่ปีจึงต้องมีการเก็บข้อมูลในรอบปีข้างหน้าถัดไปก่อน แต่ในปี 2550 ก็อาจจะคาดการณ์ได้ว่าอาจจะมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านได้อีกเนื่องจากเกิดการระบาดของโรคในปี 2549 จำนวนมากกว่าปีที่ผ่านมา
เพราะฉะนั้น จากข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมดทำให้ได้สมมติฐานว่า ลักษณะการระบาดของโรคเป็นแบบการระบาดจากแหล่งแพร่เชื้อร่วม โดยมียุงลายที่มีเชื้อไข้เลือดออกเป็นพาหะนำโรค ซึ่งแหล่งของรังโรคผู้ป่วยไข้เลือดออกรายที่ 1 บ้านคำผักกูด น่าจะเกิดจากการติดเชื้อไข้เลือดออกในหมู่บ้านแห่งนี้ โดยเฉพาะบ้านผู้ป่วยซึ่งพบแหล่งเพาะพันธุ์ที่มีลูกน้ำยุงลายทั้งในและนอกบ้านคิดค่า CI = 33.33% ส่วนบ้านที่อยู่ใกล้ ๆ ในรอบรัศมี 100 เมตร พบดัชนีความชุกชุมลูกน้ำยุงลาย ดังนี้ CI = 12.08% ,HI = 56.00% และ BI = 242.86% ซึ่งจากการสำรวจของทีม SRRT พบยุงตัวแก่จำนวนมาก ส่วนรายที่ 2 น่าจะเกิดจากการที่ยุงลายที่มีเชื้อไข้เลือดออกกัด โดยรอดชีวิตจากการกำจัดในช่วงรณรงค์ให้หมดไป และบ้านก็อยู่ใกล้ ๆ กันกับผู้ป่วยรายที่ 1 ด้วย พบค่า CI ในบ้านผู้ป่วยเท่ากับ 16.67% ซึ่งจากการสำรวจหลังการรณรงค์ควบคุมโรคทั้งหมู่บ้านเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ พบค่าดัชนีความชุกชุมลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน CI = 2.00% , HI = 4.13%, BI = 12.40 % ในวัด CI = 12.00%
ส่วนผู้ป่วยรายที่ 1, 2 และ 3 บ้านกำแมด ลักษณะการระบาดของโรคเกิดจากแหล่งแพร่เชื้อร่วม โดยมียุงลายที่มีเชื้อไข้เลือดออกเป็นพาหะนำโรค ซึ่งแหล่งของรังโรคอาจจะมาจากวัด และผู้ป่วยรายที่ 1 ไปรับเชื้อไข้เลือดออกมาเพราะช่วงกลางวันและกลางคืนส่วนใหญ่จะนอนอยู่ที่วัด โดยพบว่า ค่า CI ทีวัด = 37.50 % กุฏิที่พักก็อยู่ใกล้กับบ้านผู้ป่วยรายที่ 2 และ 3 ซึ่งห่างกันประมาณ 50 เมตร เนื่องจากพบแหล่งเพาะพันธุ์และลูกน้ำยุงลายเป็นจำนวนมาก ค่า CI ของหมู่บ้าน = 36.36% , HI = 76.67% และ BI = 146.67 %
5. มาตรการควบคุมโรค
ที่ทีมสอบสวนโรค SRRT และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอกุดชุม ได้ดำเนินการร่วมกับสถานีอนามัยคำผักกูด สถานีอนามัยกำแมด และสถานีอนามัยในกลุ่มเครือข่าย มีดังนี้
1.เตรียมชุมชน ประชุมผู้นำ อสม., ชาวบ้าน เพื่อขอความร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรคอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่องทั้ง 2 หมู่บ้าน ในวันที่ 21 - 30 เมษายน 2549
2.พ่นหมอกควันทำลายยุงตัวแก่ที่บ้านคำผักกูดในรัศมี 100 เมตร ในวันที่ 22, 24 เมษายน 2548 และพ่นซ้ำอีกภายใน 29 เมษายน , 5 พฤษภาคม 2549 ส่วนบ้านกำแมด ดำเนินการพ่นหมอกควันในวันที่ 23, 26 เมษายน 2549 และพ่นซ้ำอีกในวันที่ 30 เมษายน 2549
3.พ่นยาฆ่าแมลงกำจัดยุงตัวแก่(Nock down)ในบ้านผู้ป่วยและหลังคาเรือนอื่น ๆ รอบรัศมี 50 เมตร บ้านคำผักกูด ดำเนินการในวันที่ 22 และ 28 เมษายน 2549 บ้านกำแมด ดำเนินการในวันที่ 22 – 23 เมษายน 2549
4.ประกาศหอกระจายข่าวสารในหมู่บ้าน วิทยุชุมชน ให้สุขศึกษาแก่ประชาชนในหมู่บ้านโดย เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยและ อสม.ทุกวัน ประกาศให้ทุกหลังคาเรือนร่วมกันรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย ใส่ทรายอะเบททุกหลังคาเรือนให้ครอบคลุมภาชนะที่มีน้ำขัง เก็บและทำลายภาชนะที่ไม่ใช้ให้หมด ปิดฝาโอ่งหรือใช้ผ้าปิดฝาโอ่งน้ำกินให้มิดชิด
5.สำรวจความชุกชุมลูกน้ำยุงลายของหลังคาเรือนทุกหลังคาเรือน วัด สถานีตำรวจ ศูนย์เด็กเล็ก โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับ อสม. บ้านคำผักกูดดำเนินการวันที่ 22, 24 เมษายน 2549 และหลังดำเนินการควบคุมโรค คือวันที่ 29 เมษายน 2549 ส่วนบ้านกำแมด ดำเนินการวันที่ 23, 26 และวันที่ 30 เมษายน 2549
6.เฝ้าระวังผู้ป่วยในหมู่บ้านทั้ง 2 หมู่บ้าน ทุกกลุ่มอายุที่มีอาการไข้สูงเฉียบพลัน และให้ทำ Tourniquet test ทุกรายในช่วง 1 เดือนนับจากวันเริ่มป่วยของผู้ป่วยรายแรกของหมู่บ้าน โดย อสม.รายงานผู้สงสัยในเขตรับผิดชอบของตนเองให้เจ้าหน้าที่ทราบ และเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยต้องออกไปในชุมชุมเชิงรุกทุกวัน ถ้ามีผู้ป่วยสงสัยให้รีบรายงาน สสอ.ได้ทุกเวลา
7.สาธารณสุขอำเภอกุดชุม ได้ดำเนินการเรียกประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกคนรวมทั้งเทศบาลตำบลกุดชุม ศูนย์สุขภาพของโรงพยาบาลกุดชุมในวันที่ 25 เมษายน 2549 เพื่อจัดทำแผนออกปฏิบัติงานเชิงรุกทุกหมู่บ้าน แบ่งหน้าที่คณะทำงานแต่ละทีมและมอบหมายภารกิจให้เริ่มดำเนินการรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างจริงจังตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2549 เป็นต้นไป และรายงานสถานการณ์ให้สาธารณสุขอำเภอกุดชุมทราบวัน
6. ผลการเฝ้าระวัง
จากการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคของทีม SRRT และทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเครือข่าย ผู้นำชุมชน อบต. อสม.และชาวบ้านในหมู่บ้าน หลังการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคโดยการเฝ้าระวังผู้ป่วยตั้งแต่วันเริ่มป่วยของผู้ป่วยรายแรกเป็นระยะเวลา 2 เท่าของระยะฟักตัวที่ยาวที่สุดคือ 15 วัน ให้เฝ้าระวังเป็น 30 วัน บ้านคำผักกูด หมู่ 2 ให้เฝ้าระวังตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน – 15 พฤษภาคม 2549 บ้านกำแมด หมู่ 1ให้เฝ้าระวังตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน - 17 พฤษภาคม 2549 ซึ่งเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเฝ้าระวัง พบว่า บ้านคำผักกูด ไม่มีผู้สงสัยหรือผู้ป่วยไข้เลือดออกรายใหม่เพิ่มขึ้น ส่วนบ้านกำแมด หมู่ 1 ก็ไม่มีผู้สงสัยหรือผู้ป่วยไข้เลือดออกรายใหม่เช่นกัน
7. วิจารณ์
โรคไข้เลือดออก( Dengue Hemorrhagic fever ) หรือ DHF เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเดงกี่ มี 4 serotypes คือ DEN– 1, DEN– 2, DEN– 3, และ DEN– 4 ทั้ง 4 serotypes มี antigen ร่วมบางชนิดจึงทำให้มี cross reaction และมี cross protection ได้ในระยะสั้น ๆ ถ้ามีการติดเชื้อชนิดใดชนิดหนึ่งแล้วจะมีภูมิคุ้มกันต่อชนิดนั้นไปตลอดชีวิต ( permanent immunity) แต่จะมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเดงกี่ชนิดอื่น ๆ อีก 3 ชนิดได้ในช่วงสั้น ๆ ( partial immunity ) ประมาณ 6 – 12 เดือน หลังจากนี้ จะมีการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ชนิดอื่น ๆ ที่ต่างจากครั้งแรกได้ เป็นการติดเชื้อซ้ำ ( secondary dengue infection ) ซึ่งเป็นปัจัยสำคัญในการทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก มีลักษณะของโรคที่สำคัญคือ มีไข้ร่วมกับอาการเลือดออก ( hemorrhagic diathesis ) และอาจมีตับโตร่วมด้วย ในบางรายอาจมีอาการช็อกถึงตายได้ โรคนี้มียุงลายบ้าน ( Aedes aegypti ) เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ โดยยุงตัวเมียซึ่งกัดเวลากลางวันและดูดเลือดคนเป็นอาหาร จะกัดดูดเลือดผู้ป่วยซึ่งในระยะไข้สูงจะเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง เข้าไปอยู่ในเซลล์ที่ผนังกระเพาะเพิ่มจำนวนมากขึ้นแล้วออกมาจากเซลล์ผนังกระเพาะ เดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลายใช้เวลาประมาณ 8 – 12 วัน พร้อมที่จะเข้าสู่คนที่ถูกกัดในครั้งต่อไป เมื่อยุงที่มีเชื้อไปกัดคนอื่นอีก ก็จะปล่อยเชื้อไวรัสไปยังผู้ที่ถูกกัดได้ แล้วเพิ่มจำนวนจนทำให้เกิดอาการป่วยขึ้น เรียกว่า ระยะฟักตัวของโรค ซึ่งกินระยะเวลาตั้งแต่ 3 – 15 วัน โดยทั่วไปประมาณ 7 – 10 วัน
โรคไข้เลือดออก มีความแตกต่างจากโรคไข้เดงกี่ ( dengue fever ) หรือ DF เดิมซึ่งมีอาการไม่รุนแรง คือในเด็กจะมีอาการเป็นไข้และอาจมีผื่นร่วมด้วย ส่วนในผู้ใหญ่จะมีอาการไข้สูง ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ และมีผื่น maculopapular rash อาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและข้ออาจจะมีอาการรุนแรง จนได้ชื่อว่า Break bone fever ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการเสียชีวิต
ในการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าเป็นการระบาดของโรคไข้เลือดออก โดยมีข้อมูลที่สนับสนุนดังนี้
1) วันที่เริ่มป่วยของผู้ป่วยไข้เลือดออก แต่ละหมู่บ้านซึ่งอาจจะถูกยุงลายกัดและติดเชื้อ มีระยะฟักตัวของโรคจนมีอาการในช่วงวันที่ใกล้เคียงกันจากผู้ป่วยรายแรกจนถึงผู้ป่วยรายต่อ ๆ มา โดยมีระยะเวลาช้าที่สุด 3 วัน ยาวที่สุด 15 วัน( กรมควบคุมโรค, 2545: 8 ) จากการอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเดียวกันและมีแหล่งโรคเดียวกัน
2) อาการและการตรวจพบทางคลินิก ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการที่สำคัญของโรคไข้เลือดออก( กรมควบคุมโรค, 2536, 2545: 3, 12 - 13 ) อันดับแรกคือ ไข้สูงเฉียบพลัน และตามมาด้วยอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อาเจียน ปวดกระบอกตา Tourniquet test ให้ผลบวก มีเลือดออกอวัยวะภายใน ส่วนผู้ป่วยอีก 2 ราย มีอาการของไข้เลือดออกช็อกคือ ความดันโลหิตต่ำลง ซึ่งมีความรุนแรงของโรคมากกว่าไข้เลือดออก DHF โดยเป็นผู้ป่วยรายที่ 2 ของแต่ละหมู่บ้าน จากประวัติการรักษาของผู้ป่วยแต่ละราย พบว่า มีผู้ป่วย 2 รายที่รับการรักษาที่สถานีอนามัยแล้วได้รับยา Ibuprofen ซึ่งมีผลต่อระบบไหลเวียนของเลือด( กำพล ศรีวัฒนกุล, 2541: 294 ) คือผู้ป่วยรายแรกของบ้านคำผักกูดและบ้านกำแมด โดยผู้ป่วยบ้านคำผักกูดมีอาการปวดท้องเนื่องจากมีประจำเดือนร่วมด้วย ส่วนผู้ป่วยบ้านกำแมด มีอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและข้อ เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยจึงได้จ่ายยาดังกล่าวให้ผู้ป่วย จึงอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้มีเลือดออกอวัยวะภายในเพิ่มมากขึ้น
3) ข้อมูลทางระบาดวิทยา จากการศึกษาสิ่งแวดล้อมและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคโดยการหาแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย แหล่งรังโรคในบ้าน นอกบ้าน บ้านที่อยู่ในรัศมี 100 เมตร วัดและโรงเรียน ของผู้ป่วยแต่ละราย ก่อนการรณรงค์ควบคุมโรค รวมทั้งข้อมูลผู้ป่วยไข้เลือดออกย้อนหลัง 10 ปี ของแต่ละหมู่บ้านเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแนวโน้มของการเกิดโรค โดยใช้ข้อมูลค่า CI , HI และ BI เป็นดัชนีในการชี้วัดความเสี่ยงของการเกิดโรคเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน พบว่า ค่า CI ทั้ง 2 หมู่บ้านมากกว่า 10 , HI มากกว่า 10, และ BI มากกว่า 50 โดยเฉพาะค่า HI และ BI แยกเป็นรายบ้าน ดังนี้ บ้านคำผักกูดมีค่า HI เท่ากับ 56.00% , BI เท่ากับ 242.86 % บ้านกำแมด HI เท่ากับ 76.67% , BI เท่ากับ 146.67% ซึ่งการแปลผลค่าดัชนีทางกีฏวิทยาโดย Pant and Self (ใน WHO, 1993 อ้างใน กรมควบคุมโรค, 2545: 86 ) ได้ให้แนวทางเกี่ยวกับการแปลผลค่าดัชนียุงลายและลูกน้ำไว้ดังนี้
BI > 50 มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการแพร่โรค
BI < 5 มีความเสี่ยงต่ำที่จะเกิดการแพร่โรค
HI > 10 มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการแพร่โรค
HI < 1 มีความเสี่ยงต่ำที่จะเกิดการแพร่โรค
สำหรับค่า BI มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจำนวนยุงลายที่เกิดขึ้นมากกว่าค่า HI ส่วนค่า CI มีประโยชน์น้อย มักใช้ในการบ่งชี้ชนิดภาชนะที่ยุงลายชอบวางไข่ (กรมควบคุมโรค, 2545: 76 ) ซึ่งการคาดคะเนการระบาดของโรคไข้เลือดออกคือการนำค่าดัชนีเหล่านี้มาสัมพันธ์กับจำนวนผู้ป่วย เพื่อพิจารณาว่าระดับค่าดัชนีเท่าใดที่มีแนวโน้มว่าจะพบหรือไม่พบผู้ป่วยโดยแต่ละประเทศจะต้องพิจารณากำหนดระดับค่าดัชนีของตนเอง สำหรับประเทศไทยนั้น จิตติและคณะ ได้ทำการศึกษาไว้จากข้อมูล 14 จังหวัด รวม 64 หมู่บ้าน พบว่า ร้อยละ 78.75 ของพื้นที่ที่มีอุบัติการณ์ ของโรคไข้เลือดออกมีค่า BI (โดยเฉลี่ย) มากกว่า 100 ส่วนในพื้นที่ที่มีค่า BI (โดยเฉลี่ย) ต่ำกว่า 50 มักไม่มีรายงานผู้ป่วย (กรมควบคุมโรค, 2545: 76 )
ดังนั้น จากข้อมูลทั้ง 2 หมู่บ้านจึงนำมาแปลผลได้ว่า มีโอกาสหรือความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านเมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าว
ภาพที่ 10 ข้อมูลอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกอำเภอกุดชุม จำแนกรายปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 – 2549
อัตราป่วยต่อแสนประชากร
ที่มา: งานระบาดวิทยา สสอ.กุดชุม ณ วันที่ 3 มิถุนายน 2549
จากภาพที่ 10 เมื่อดูแนวโน้มของโรคไข้เลือดออกของอำเภอกุดชุม พบว่า ลักษณะของการระบาด จะเป็น 3 ปีเว้น 1 ปี ปีที่มีอัตราป่วยสูงที่สุดคือ ปี 2539 อัตราป่วยต่อแสนเท่ากับ 216.4 รองลงมาคือ ปี 2545 อัตราป่วยต่อแสนเท่ากับ 215.7 และปี 2533 อัตราป่วยต่อแสนเท่ากับ 180.7 จากรูปนี้จะเห็นว่า รอบการเกิดการระบาดใหญ่จะใช้เวลา 6 ปีต่อครั้ง ซึ่งในปี 2549 ก็สามารถพยากรณ์แนวโน้มของการเกิดโรคได้ว่าจะมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกอยู่แต่ไม่ถึงกับเป็นการระบาดใหญ่ แต่ถ้าหากไม่มีการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคที่เข้มแข็งก็สามารถที่จะเกิดการระบาดของโรคได้เช่นกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยของฤดูกาล
สิ่งแวดล้อม และแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่มนุษย์สร้างขึ้น
ภาพที่ 11 ข้อมูลจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกอำเภอกุดชุม ปี พ.ศ. 2549 จำแนกรายเดือนและ
เปรียบเทียบกับค่า Median( 25444 – 2548), Target line 2549
จำนวน(คน)
เดือน
ที่มา: งานระบาดวิทยา สสอ.กุดชุม ณ วันที่ 3 มิถุนายน 2549
จากภาพที่ 11 พบว่า ในปี 2549 ผู้ป่วยโรคไข้เลือดอออกของอำเภอกุดชุมจะเริ่มมีรายงานตั้งแต่เดือน เมษายน จำนวน 5 ราย ซึ่งจากการเปรียบเทียบข้อมูลค่า Median 5 ปี ย้อนหลัง และ Target line ในเดือนเดียวกันมีจำนวนผู้ป่วยมากกว่าค่าดังกล่าว แสดงว่าเกิดการระบาดมากกว่าค่าปกติ ณ ช่วงระยะเวลาเดียวกัน
4) ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยการเจาะเลือดส่งตรวจ CBC เพื่อให้แพทย์ใช้ประกอบการวินิจฉัยโรคเบื้องต้นและตัดสินใจในการรักษา ซึ่งใช้ผลของ WBC, Platelet และ Hct เทียบกับเกณฑ์ของ WHO( กระทรวงสาธารณสุข, 2544: 18 – 19 ) พบว่า ผู้ป่วยไข้เลือดออกทั้ง 5 รายมีผลเลือดที่เข้าได้กับเกณฑ์ ทั้ง 3 อย่าง เพียง 4 ราย ส่วนอีก 1 ราย ใช้ข้อมูลประวัติการอยู่ในพื้นที่เสี่ยงและการอาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกันกับผู้ป่วยประกอบในการพิจารณาในการวินิจฉัยและให้การรักษา สำหรับการตรวจ Hct โดยปกติแพทย์จะสั่งให้เจาะเลือดตรวจทุก 6 ชั่วโมง เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงและเฝ้าระวังภาวะช็อค ภาวะเลือดออกในระบบอวัยวะภายในร่างกาย ซึ่งค่าปกติของ Hct จะขึ้นกับอายุ และ เพศ ของผู้ป่วย ดังนี้ ( เพ็ญจันทร์ สุวรรณแสง โมไนยพงศ์, 2535: 35 )
ค่าปกติ ผู้ชาย 42 – 52/100 ml.
ผู้หญิง 37 – 47/100 ml.
เด็ก 31 – 43/100 ml.
ทารก 30 – 40/100 ml.
เด็กแรกคลอด 44 – 64/100 ml.
จุดมุ่งหมายของการตรวจ Hct เพื่อประเมินความสัมพันธ์ของปริมาณพลาสม่าและ Blood cell ทั้งหมดและเป็นการวัดดูจำนวนของ erythrocyte อย่างหยาบ ๆ
ความหมายทางคลินิก
1. Hct เพิ่มขึ้น พบใน Erythrocytosis, Polycythemia, Severe dehydration และ ช็อก
2. Hct ลดลง พบใน โลหิตจาง ถ้า Hct ต่ำกว่า 30 อยู่ในภาวะโลหิตจางรุนแรง, Leukemia, Hyperthyrodism, ตับแข็ง และ เลือดออกรุนแรง
จากจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกที่รับเข้ารักษาในโรงพยาบาลกุดชุม จำนวน 3 ราย พบว่า ผู้ป่วยรายที่ 1 , 4 เป็นเพศหญิง อายุ 16 และ 29 ปี ค่า Hct เมื่อเจาะครั้งแรกเท่ากับ 36.8 , 42.9 ซึ่งมีค่าใกล้เคียงและอยู่ในเกณฑ์ค่าปกติ ผู้ป่วยรายที่ 2 เป็นเพศชาย อายุ 22 ปี ค่า Hct เมื่อเจาะครั้งแรกเท่ากับ 45.0 มีค่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งจากการเจาะเลือดตรวจทุก 6 ชั่วโมง เพื่อเฝ้าระวังภาวะช็อก จนรักษาหาย และแพทย์จำหน่ายให้กลับบ้าน พบว่า ไม่มีผู้ป่วยรายใดที่มีค่า Hct เพิ่มขึ้นจากเดิมเลย
ในการทบทวนข้อมูลทางห้องปฏิบัติการครั้งนี้ก็เพื่อใช้ผลดังกล่าวยืนยันผู้ป่วยแต่ละรายว่าเข้าเกณฑ์ผู้ป่วยไข้เลือดออกหรือไม่ รวมทั้งเฝ้าระวังภาวะเสี่ยง คือภาวะการช็อกซึ่งเป็นความรุนแรงของโรค ที่จะนำมาซึ่งการเสียชีวิตได้ สำหรับการวินิจฉัยโรคเพื่อความเชื่อมั่นถูกต้องแม่นยำ ตั้งแต่การเริ่มเข้ารับการรักษาจนกระทั่งสิ้นสุดการรักษา เป็นบทบาทหน้าที่ของแพทย์ผู้ให้การรักษา ทั้งนี้ในส่วนการประสานแจ้งให้ทีม SRRT ทราบว่ามีผู้ป่วยในพื้นที่คือผู้รับผิดชอบงานในโรงพยาบาล แจ้งไปยังศูนย์ระบาดวิทยาอำเภอทราบ ไม่เกิน 24 ชั่วโมง หลัง Admit จากนั้นผู้ประสานงานของทีม SRRT จะแจ้งให้ทีมออกดำเนินการสอบสวน ควบคุม และป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ภายใน 8 ชั่วโมงหลังจากได้รับแจ้งข้อมูลว่ามีผู้ป่วยในพื้นที่
8. ปัญหาและข้อจำกัดในการสอบสวนครั้งนี้ มีดังนี้
8.1 การวินิจฉัยโรคเบื้องต้นในผู้ป่วยที่มีอาการสงสัยไข้เลือดออกระดับสถานีอนามัย โดยไม่ได้ใช้แนวทางการประเมินหรือคู่มือในการดำเนินงาน ขั้นตอนการบริการบางอย่างไม่ได้ทำ เช่น การทำ Tourniquet test อาศัยเพียงประสบการณ์ ขาดความตระหนักในเรื่องโรคตามฤดูกาล วินิจฉัยโรคและให้การรักษาผิดพลาด ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความรุนแรงของโรคมากขึ้นและมารับการรักษาที่โรงพยาบาลช้า ทำให้การสอบสวน ควบคุมและป้องกันโรคในพื้นที่ไม่ทันเหตุการณ์เป็นเหตุให้มีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น และอีกประการหนึ่งคือผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วย นิยมไปรับการรักษาที่คลินิกแพทย์ของเอกชนซึ่งไม่มีการส่งข้อมูลการวินิจฉัยโรคให้ทางราชการ ดังนั้น สถานีอนามัยทุกแห่งจึงควรมีแนวทางการรักษาโรค( Clinical practice guideline ) และนำมาใช้ในประเมินและการรักษาผู้ป่วย รวมทั้งองค์ความรู้ทางระบาดวิทยา เทคนิคการสอบสวนป้องกันและควบคุมโรค เพื่อที่จะสามารถวิเคราะห์สถานการณ์โรคที่เป็นปัญหาในท้องถิ่นได้อย่างมีคุณภาพ ส่วนการเฝ้าระวังโรคจำเป็นต้องมีระบบเครือข่ายที่ผ่านการอบรมทุกระดับ หรือ มีสัมพันธภาพอย่างไม่เป็นทางการจึงจะได้ข้อมูลข่าวสารได้รวดเร็ว แม่นยำและมีประสิทธิภาพ
8.2 การสอบสวนโรคต้องทำไปพร้อมกับการควบคุมป้องกันโรค การหาแหล่งรังโรค การใช้ข้อมูลทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีระยะเวลาอันจำกัดทำให้กระบวนการบางอย่างหรือข้อมูลที่จำเป็นขาดความสมบูรณ์
เช่น ข้อมูลแหล่งเพาะพันธุ์หรือความชุกชุมลูกน้ำยุงลาย ก่อนการดำเนินการควบคุมโรคที่เป็นจริง ข้อมูลทางห้องปฏิบัติการผู้ป่วยที่ส่งต่อไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลยโสธร ข้อมูลแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านผู้ป่วยเนื่องจากผู้ป่วยบางรายไม่อยู่บ้าน ญาติต้องไปเฝ้าที่โรงพยาบาลทำให้ต้องปิดบ้านไว้การเข้าไปสำรวจข้อมูลทำได้ไม่ครอบคลุม เป็นต้น ในการสอบสวนโรคครั้งนี้จึงเสนอแนะว่าสิ่งที่น่าจะนำข้อมูลมาใช้ประกอบการตัดสินใจหาแหล่งรังโรค หรือ ระดับความรุนแรงในหมู่บ้านคือข้อมูลการสำรวจความชุกชุมลูกน้ำยุงลายทุกสัปดาห์ตั้งแต่เริ่มดำเนินการ นำมาเปรียบเทียบดูความแตกต่างกับข้อมูลการสำรวจของทีม SRRT นอกจากนั้นควรจะมีการสำรวจความชุกชุมของยุงลายตัวแก่ด้วยทั้งก่อนและหลังการพ่นสารเคมี เพื่อประโยชน์ในการควบคุมป้องกันและดูประสิทธิภาพของการดำเนินงานดังกล่าว สำหรับข้อมูลทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วยที่ส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลทั่วไปนั้น ควรจะมีการส่งต่อข้อมูลที่จำเป็นเช่น ผลการตรวจเลือดของผู้ป่วย ผลการซักประวัติ ข้อมูลเพิ่มเติมที่พบ เป็นต้น ส่งต่อระหว่าง สสจ.กับ รพท. แล้ว สสจ. ส่งข้อมูลกลับคืนให้ศูนย์ระบาดวิทยาของอำเภอทราบตามลำดับ เพื่อการยืนยันการวินิจฉัยต่อไป สำหรับปัญหาการสำรวจข้อมูลที่บ้านผู้ป่วยควรจะให้ทีม SRRT ประสานและชี้แจงความสำคัญกับญาติหรือผู้ป่วยตั้งแต่ช่วงที่ผู้ป่วยมา Admit ที่โรงพยาบาล เพื่อขอความร่วมมือและความสบายใจทั้งสองฝ่าย
ถึงแม้จะมีข้อจำกัดในการศึกษาครั้งนี้ แต่ก็สามารถสอบสวนโรคได้ทันทีที่ได้รับแจ้งเพราะการได้รับการสนับสนุนและการอำนวยการจากผู้บริหารระดับอำเภอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งองค์กรในพื้นที่ เช่น อบต. ผู้นำชุมชน อสม.และชุมชน ที่ได้เห็นความสำคัญให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
9. สรุปผลการสอบสวนโรค
จากการศึกษาครั้งนี้ พอจะสรุปผลการศึกษาได้ว่าการระบาดของโรคไข้เลือดออกที่เกิดขึ้นในอำเภอกุดชุมทั้ง 2 หมู่บ้านในช่วงเดือนเมษายน 2549 เป็นการติดเชื้อในพื้นที่ จากแหล่งแพร่เชื้อร่วม ไม่ได้นำเข้าจากที่อื่น เนื่องจากพบแหล่งเพาะพันธุ์และอัตราความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายอยู่ในเกณฑ์ที่มีความเสี่ยงของการเกิดโรคสูง มีผู้ป่วยอยู่ในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกัน กลุ่มอายุผู้ป่วยอยู่ระหว่าง 10 - 15 ปี มี 2 ราย ,อายุระหว่าง 16 - 20 ปี มี 2 ราย และ อายุมากกว่า 20 ปี มี 1 ราย สำหรับปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคคือการที่ถูกยุงลายที่มีเชื้อไข้เลือดออกกัดบ่อย ๆ ในช่วงระยะเวลาหากินตามธรรมชาติของยุงลายโดยผู้ป่วยไม่ได้นอนกางมุ้ง ชอบดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ อยู่แต่ในบ้าน บ้านที่พักอาศัยบริเวณในและนอกบ้านพบทั้งลูกน้ำยุงลายและยุงตัวแก่ซึ่งมีค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายอยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่าค่าที่กำหนด เมื่อได้ดำเนินการควบคุมป้องกันโรคควบคู่ไปกับการเฝ้าระวังโรคเป็นระยะเวลา 2 เท่าของระยะฟักตัว พบว่า ไม่มีผู้ป่วยหรือผู้สงสัยเป็นไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น
10. ข้อเสนอแนะ
มาตรการป้องกันโรค
1.ชุมชน/ชาวบ้าน ยังไม่ตระหนักและขาดความร่วมมือในการป้องกันควบคุมโรค เพราะฉะนั้นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ควรออกดำเนินงานเชิงรุกให้มากขึ้นเพื่อสร้างความศรัทธาและความร่วมมือให้มากขึ้นโดยให้ผู้นำชุมชน อบต. โรงเรียน วัด มีบทบาทมากขึ้น
2.ควรให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำตำบลมีการวิเคราะห์ข้อมูลหมู่บ้านเสี่ยง สำรวจข้อมูลอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายประเมินความเสี่ยงของหมู่บ้านเพื่อเป็นแบบอย่างแก่ อสม.และการเข้าถึงชุมชน จัดทำแผนการปฏิบัติงานแก้ปัญหาในชุมชนทุกเดือน
3.ควรมีการหารูปแบบหรือวิธีการป้องกันและควบคุมโรคที่เข้าได้กับวิถีชีวิตของชุมชน
4.สิ่งสนับสนุน อุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ ในการป้องกันและกำจัดโรคควรจะมีให้พร้อมเพียงพอและมีการนำมาใช้ให้เหมาะสม
มาตรการเฝ้าระวังโรค
1.ควรมีการระบบการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงในชุมชนทั้งที่มีอาการและไม่มีอาการ เพื่อติดตาม
ความก้าวหน้าและทันเวลาในการป้องกันควบคุมโรค โดยชุมชน อสม.และเจ้าหน้าที่ ให้มีระบบการรายงาน แจ้งข่าวที่ง่ายและรวดเร็วถูกต้อง
2.จัดอบรมให้ความรู้แก่ อสม. นักเรียน แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว อบต. และผู้นำชุมชน เกี่ยวกับความรู้และโรคที่ต้องเฝ้าระวังในชุมชนเพื่อพัฒนาเป็นเครือข่าย
มาตรการด้านการรักษาพยาบาล
1.จัดอบรมหรือส่งเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ระดับสถานีอนามัยในการประเมินวินิจฉัยโรค การประเมินอาการ การรักษาเบื้องต้น ตลอดจนพยาธิสภาพของโรคเป็นประจำตามฤดูกาล
2.มีระบบการนิเทศติดตามจากระดับอำเภอเพื่อประเมินการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
3.จัดอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ให้เหมาะสม มีเครือข่ายให้คำปรึกษาหรือส่งต่อผู้ป่วยที่รวดเร็วและสะดวกเข้าถึงง่าย
4.มีแนวทางหรือคู่มือการดำเนินงานประจำสถานบริการทุกแห่ง ให้เจ้าหน้าที่ยึดถือการปฏิบัติงานตามแนวทางอย่างเคร่งค
เอกสารอ้างอิง
กองระบาดวิทยา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย 2544.
กระทรวงสาธารณสุข, 2544.
กองโรคติดต่อ กรมควบคุมโรคติดต่อ. ไข้เลือดออก. กระทรวงสาธารณสุข, 2536.
กำพล ศรีวัฒนกุล. คู่มือการใช้ยาฉบับสมบูรณ์. บริษัทสกายบุ๊กส์ จำกัด. พิมพ์ครั้งที่ 3, 2541.
กลุ่มระบาดวิทยา. คู่มือพัฒนาทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7
จังหวัดอุบลราชธานี, 2548.
ธีระ รัฐถาวร และ ประหยัด แดงสุภา. ระบาดวิทยาเชิงปฏิบัติการ. คณะสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2537.
เพ็ญจันทร์ สุวรรณแสง โมไนยพงศ์. การวิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการสำหรับพยาบาล.
ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.
พิมพ์ครั้งที่ 5, 2535.
สำนักงานควบคุมโรคไข้เลือดออก กรมควบคุมโรคติดต่อ. โรคไข้เลือดออก ฉบับประเกียรณก.
กระทรวงสาธารณสุข, 2545
กิตติกรรมประกาศ
ในการศึกษาครั้งนี้สำเร็จลงได้ เพราะได้รับการสนับสนุนและการให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีจากหลาย ๆ ฝ่าย ขอขอบคุณท่านสาธารณสุขอำเภอกุดชุม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกุดชุม ที่อำนวยความสะดวกและสั่งการให้ทีม SRRT ดำเนินการอย่างเข้มแข็งเป็นทีมงาน รวมทั้งติดตามอย่างต่อเนื่อง
ขอขอบคุณหัวหน้าฝ่ายแผนงานและประเมินผล หัวหน้าฝ่ายการพยาบาล หัวหน้าตึกผู้ป่วยในหัวหน้าห้องปฏิบัติการ และเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลกุดชุม ที่ได้ให้ข้อมูลและประสานทีมงานภายในโรงพยาบาลกุดชุม
ขอขอบคุณหัวหน้าสถานีอนามัยคำผักกูด หัวหน้าสถานีอนามัยกำแมด รวมทั้งเจ้าหน้าที่และ อสม. อบต. ผู้นำชุมชน ตลอดจนผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย และชาวบ้านทุกคนที่ได้ช่วยกันให้ข้อมูลในการสอบสวน ป้องกันและควบคุมโรคอย่างเข้มแข็ง
บุคคลที่ได้กล่าวนามมาทั้งหมดนี้และที่มิได้กล่าวนามในโอกาสนี้ล้วนเป็นผู้ที่มีส่วนในการส่งเสริมความสำเร็จในการศึกษา ผู้ทำการศึกษารู้สึกซาบซึ้งและขอขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้
ทีม SRRT
การสอบสวนโรคไข้เลือดออก อ.กุดชุม จ.ยโสธร
เดือน เมษายน 2549
นายชำนาญ มาลัย น.พ.อดิสรณ์ วรรธนะศักดิ์ นายสมพงษ์ ศรีลาพัฒน์ นายสงบ ชื่นตา นางพูลศรี เศรษฐนันท์ นางวิลาวรรณ ไชยมี นางสาวไพรวัลย์ กาลจักร์ นางเตือนใจ สว่างศรี นายฉัตรชัย ลีลาด
นางศศิธร แสงสุข นายชรินทร์ พละมาตร นายภูเบศร์ แสงสว่าง
บทคัดย่อ
ความเป็นมา
ด้วยทีมสอบสวนโรค SRRT ได้รับแจ้งว่ามีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่บ้านคำผักกูด หมู่ 2 ตำบลหนองแหน จำนวน 2 ราย และบ้านกำแมด หมู่ 1 ตำบลกำแมด จำนวน 3 ราย ในระหว่างวันที่ 21 – 28 เมษายน 2549 จึงได้ออกสอบสวนโรค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการวินิจฉัย การะบาดของโรค การหาแหล่งที่มาและควบคุมป้องกันการระบาดของโรคต่อไป
วิธีการศึกษา
โดยการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา จากการทบทวนประวัติบันทึกการรักษาผู้ป่วยที่โรงพยาบาลกุดชุม ที่สถานีอนามัยคำผักกูด ตำบลหนองแหน และที่สถานีอนามัยกำแมด ตำบลกำแมด อำเภอกุดชุม โดยมีนิยามผู้ป่วยไข้เลือดออก หมายถึง ผู้ป่วยที่มีไข้ขึ้นมาทันทีและสูงลอย 2 – 7 วัน ร่วมกับอาการแสดง อย่างน้อย 2 อาการต่อไปนี้คือ มีอาการเลือดออก Tourniquet test ให้ผลบวก มีตับโตกดเจ็บ มีการเปลี่ยนแปลงของโลหิตหรือมีภาวะช็อก และมีอาการอื่น ๆ ร่วม เช่น ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูกหรือข้อ มีผื่น ซึ่งนำไปสู่การค้นหาผู้ป่วยหรือผู้ที่มีอาการสงสัยในพื้นที่ นอกจากนั้นได้ทำการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมประกอบคือข้อมูลทางห้องปฏิบัติการ สิ่งแวดล้อมและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค ข้อมูลผู้ป่วยไข้เลือดออกย้อนหลัง 10 ปี ของแต่ละหมู่บ้านเพื่อตอบวัตถุประสงค์ของการศึกษาดังกล่าว
ผลการศึกษา
ในจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก 5 ราย มี เพศชาย 1 ราย เพศหญิง 4 ราย อายุระหว่าง10 – 15 ปี จำนวน 2 ราย อายุระหว่าง 16 – 20 ปี 2 ราย และอายุมากกว่า 20 ปี 1 ราย ผู้ป่วยรายแรกอยู่ที่บ้านคำผักกูด หมู่ 2 ตำบลหนองแหน ซึ่งมีผู้ป่วยทั้งหมด 2 ราย เริ่มมีอาการป่วยเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2549 ผู้ป่วยรายที่ 2 อยู่ที่บ้านกำแมด หมู่ 1 ตำบลกำแมด มีผู้ป่วยทั้งหมด 3 ราย เริ่มมีอาการป่วยเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2549 ในจำนวนผู้ป่วยทั้ง 5 ราย มีผู้ป่วย 4 รายที่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยโรคไข้เลือดออก และมีภาวะช็อกอยู่ 2 ราย ซึ่งได้ส่งตัวไปรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลยโสธร จากการค้นหาแหล่งของรังโรค พบว่า ผู้ป่วยทั้ง 2 หมู่บ้าน มีแหล่งของการระบาดคล้าย ๆ กัน คือแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายภายในหมู่บ้าน ซึ่งพบลูกน้ำยุงลายทั้งภาชนะน้ำขังภายในและภายนอกบ้านผู้ป่วย บริเวณรอบ ๆ บ้านผู้ป่วยรัศมี 100 เมตร วัด และทั้งหมู่บ้าน คิดค่าดัชนีความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย บ้านคำผักกูด ค่า HI = 56.00% , BI = 242.86% บ้านกำแมด HI = 76.67% , BI = 146.67% ซึ่งเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดของ WHO ถือว่าเป็นหมู่บ้านที่มีความเสี่ยงของการระบาดระบาดโรคสูง ประวัติในช่วง 14 วันก่อนป่วย ผู้ป่วยไม่ได้เดินทางไปที่ไหน และไม่มีผู้ป่วยไข้เลือดออกในหมู่บ้าน ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคของผู้ป่วยไข้เลือดออกแต่ละรายเกิดจากพฤติกรรมการไม่ป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด ได้แก่ การไม่นอนกางมุ้ง การอยู่ในที่มืดครึ้ม การไม่ใช้ยากันยุง เป็นต้น
สรุป
การระบาดครั้งนี้เป็นการระบาดของโรคไข้เลือดออกในอำเภอกุดชุม จากแหล่งแพร่เชื้อร่วมกันโดยมียุงลายเป็นพาหะนำเชื้อโรคไข้เลือดออก ซึ่งจากการเปรียบเทียบข้อมูลค่า Median 5 ปี ย้อนหลัง และ Target line ในช่วงเดือนเดียวกัน พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยมากกว่าค่าดังกล่าว แสดงว่าเกิดการระบาดมากกว่าค่าปกติ ณ ช่วงระยะเวลาเดียวกัน และได้ดำเนินการควบคุมป้องกันการระบาดโดยการ เตรียมชุมชนให้มีส่วนร่วม พ่นยาฆ่าแมลงกำจัดยุงตัวแก่ที่บ้านผู้ป่วย พ่นหมอกควันกำจัดยุงลายตัวแก่ทั้งหมู่บ้าน ประกาศเสียงตามสาย วิทยุชุมชน ให้สุขศึกษาแก่ชาวบ้าน สำรวจความชุกชุมลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านทุกหลังคาเรือน เฝ้าระวังผู้ป่วยในหมู่บ้านเป็นระยะเวลา 1 เดือน นอกจากนั้นผู้บริหารระดับอำเภอได้ดำเนินการประชุมเจ้าหน้าที่เพื่อจัดทำแผนและออกปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกเชิงรุกทุกหมู่บ้านในช่วงเดือนที่มีการระบาด ซึ่งหลังจากการดำเนินดังกล่าวแล้ว ไม่พบว่ามีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอีกในหมู่บ้านดังกล่าว
วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น