วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553

โครงการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบต้านภัยโรคไข้เลือดออก

1. ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบต้านภัยโรคไข้เลือดออก สถานีอนามัยบ้านโนนสว่าง ตำบลหลุบ ปี 2552
2. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
โรคไข้เลือดออก(Dengue Hemorrhagic Fever – DHF) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเดงกี่ที่พบใหม่(Emerging disease) เมื่อ 40 ปีที่แล้ว โดยมีรายงานผู้ป่วยประปรายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 และพบระบาดครั้งแรกที่ประเทศฟิลิปปินส์ พ.ศ. 2497 ต่อมาพบระบาดในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2501 โดยเริ่มต้นที่ในเขตกรุงเทพฯ และธนบุรีและจังหวัดใกล้เคียง โดยในการระบาดครั้งนั้นพบผู้ป่วย 2,158 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 8.80 ต่อประชากรแสนคน และมีอัตราป่วยตาย ร้อยละ 13.90 หลังจากการระบาดของโรคในครั้งนั้นโรคไข้เลือดออกได้แพร่ระบาดไปตามเมืองใหญ่ๆโดยเฉพาะในตัวเมืองที่มีคนหนาแน่นและการคมนาคมติดต่อกับกรุงเทพสะดวก เช่น เชียงใหม่ นครสวรรค์ สระบุรี นครราชสีมา ในปัจจุบันโรคไข้เลือดออกได้แพร่ระบาดไปยังพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ
จากข้อมูลทางระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกในประเทศไทยจากปี พ.ศ. 2501 จนถึงปี พ.ศ. 2545 พบว่าโรคไข้เลือดออกได้มีการระบาดของโรคอย่างต่อเนื่อง และสามารถแบ่งช่วงเวลาของการระบาดได้เป็น 4 ช่วง คือ ในทศวรรษที่ 1 (พ.ศ. 2501-2510) เป็นช่วงที่มีรายงานผู้ป่วยไม่มากโดยมีผู้ป่วยเฉลี่ย 3,114 ราย/ปี คิดเป็นอัตราป่วย 10.77 ต่อประชากรแสนคน โดยในปี พ.ศ. 2508 มีรายงานผู้ป่วยมากที่สุด คือ 7,663 ราย (อัตราป่วย 25.06 ต่อประชากรแสนคน) ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดใหญ่ๆที่เป็นศูนย์กลางการคมนาคม ในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2511-2520) เป็นช่วงที่มีการรายงานผู้ป่วยมากขึ้นเฉลี่ย 13,313 รายต่อปี คิดเป็นอัตราป่วยเฉลี่ย 33.45 ต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังคงพบตามเมืองใหญ่ๆที่มีประชากรหนาแน่นหรือเขตชุมชนเมือง ในช่วงทศวรรษที่ 3 (พ.ศ. 2521-2530) เป็นช่วงที่มีผู้ป่วยใกล้เคียงกับในช่วงปี พ.ศ. 2511–2510 และมีการระบาดครั้งใหญ่ที่สุดของโรคไข้เลือดออกในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2530 โดยมีผู้ป่วย 174,285 ราย (อัตราป่วย 325.13 ต่อประชากรแสนคน) และเป็นช่วงที่โรคมีการกระจายไปทั่วประเทศ จากเขตชุมชนเมืองไปสู่เขตชนบท โดยในช่วงนี้มีผู้ป่วยเฉลี่ย 49,665 รายต่อปี คิดเป็นอัตราป่วย 97.39 ต่อประชากรแสนคน ในช่วงทศวรรษที่ 4 (พ.ศ. 2531-2540) เป็นช่วงที่สถานการณ์โรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มต่ำลง เนื่องจากการตื่นตัวในการร่วมแก้ไขปัญหา แต่ยังคงมีผู้ป่วยจำนวนมากถึง 59,661 รายต่อปี คิดเป็นอัตราป่วย 103.1 ต่อประชากรแสนคน และในปี พ.ศ. 2541-2545 มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างรุนแรง 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2541 และ 2544 โดยในปี พ.ศ. 2541 มีผู้ป่วย 129,954 ราย (อัตราป่วย 211.42 ต่อประชากรแสนคน) มีผู้ป่วยเสียชีวิต 424 ราย ในปี พ.ศ. 2544 มีผู้ป่วย 139,732 ราย (อัตราป่วย 225.82 ต่อประชากรแสนคน) และมีผู้ป่วยเสียชีวิต 244 ราย (กรมควบคุมโรคติดต่อ, 2545)
จากสถานการณ์ข้างต้นสรุปได้ว่าโรคไข้เลือดออกยังเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยเนื่องจากเป็นโรคที่มีอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี และยังเป็นโรคที่เป็นสาเหตุให้มีผู้ป่วยเสียชีวิตจำนวนมาก ถึงแม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหาโดยแสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการป้องกันโรค ตลอดทั้งเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกมาตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2531-2540 แต่สถานการณ์โรคยังไม่มีแนวโน้มลดลง
เมื่อเริ่มระบาดปีแรกๆ จะพบโรคนี้ชุกชุมในฤดูฝนเท่านั้นแต่ปัจจุบันนี้ในกรุงเทพและบางจังหวัดมีผู้ป่วยรับไว้รักษาในโรงพยาบาลเกือบตลอดทั้งปีเช่นเดียวกับโรคท้องร่วง หรือโรคติดเชื้ออื่นๆ แต่จำนวนผู้ป่วยจะสูงมากขึ้นในฤดูฝน ทั้งนี้เกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนของยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรค
ยุงลายเป็นพาหะที่นำโรคไข้เลือดออก จากการศึกษาการชุกชุมของยุงลายตามฤดูกาลในเขตเทศบาลและสุขาภิบาลพบว่า ความชุกของยุงลายในฤดูร้อน ฤดูฝนและฤดูหนาว มีความชุกชุม
ใกล้เคียงกันทั้ง 3 ฤดู แต่ฤดูฝนจะสูงกว่าฤดูหนาว และฤดูร้อนเล็กน้อย ในเขตชนบทความชุกของยุงลายในฤดูฝน สูงกว่าฤดูร้อนและฤดูหนาว เป็น 0.8 เท่า (นิรุจน์ อุทธา, 2540)
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่ทำให้เกิดการป่วย มีอาการสำคัญคือ มีไข้ร่วมกับมีอาการเลือดออกตามผิวหนัง ตับโต ในบางรายมีภาวะช็อกด้วย ในประเทศไทย พบว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517-2526 กลุ่มอายุ 5-9 ปี มีอัตราป่วยสูงสุด รองลงมาได้แก่กลุ่มอายุ 0-4 ปี, 10-14 ปี และมากกว่า 15 ปี ตามลำดับ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 จนถึงปัจจุบัน กลุ่มอายุ 5-9 ปี ยังมีอัตราป่วยสูงสุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มอายุ 0-4 ปี, 10-14 ปี และมากกว่า 15 ปี ตามลำดับ แสดงว่าการติดเชื้อแบบซ้ำสองเกิดในกลุ่มอายุที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งบอกเหตุที่ดี แก่กลุ่มอายุ 5-9 ปี ยังคงเป็นกลุ่มเด็กที่ป่วยมากที่สุดแสดงให้เห็นว่า เกิดทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน
ในจังหวัดกาฬสินธุ์ มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในทุกๆปี เช่นกัน ในปี 2545 พบ
ผู้ป่วย จำนวน 2,212 คิดเป็นเป็น 252.90 ต่อแสนประชากร ผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 2 ราย คิดเป็น 0.22 ต่อแสนประชากร (งานระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์, 2545 : 1) จะเห็นได้ว่า อัตราป่วยของจังหวัดกาฬสินธุ์สูงกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงกำหนด คือ 50 ต่อแสนประชากร และอัตราตาย ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงกำหนด คือ 0.15
ตำบลหลุบ เป็นตำบลหนึ่งในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ที่มีปัญหาโรคไข้เลือดออกระบาดในพื้นที่ ซึ่งจากข้อมูลด้านระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกในตำบลหลุบ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542-2550 พบว่า อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกยังสูงกว่าที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยมีอัตราป่วยเป็น 19.7, 23.5, 36.1, 58.8 , 69.2 และ26.4, 51.6, 75.5 , 96.9 ต่อประชากรแสนคนในปี พ.ศ. 2542–2550 ตามลำดับ ถึงแม้ว่าทางสถานีอนามัยโนนสว่าง ตำบลหลุบ ซึ่งเป็นสถานบริการ สาธารณสุขที่รับผิดชอบในพื้นที่ตำบลหลุบ จะมีการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตามแผนงาน/โครงการต่างๆไม่ว่าจะเป็น ทางกายภาพ ที่มีการรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายโดยการทำลายภาชนะที่ไม่ใช้แล้วและมีน้ำขัง ทางชีวภาพโดยการปล่อยปลากินลูกน้ำ ทางเคมีภัณฑ์โดยการพ่นหมอกควันและใส่สารเคมี คือ ทรายอะเบท รวมไปถึงการให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ จากทางใบปลิว หอกระจายข่าว แผ่นพับ โปสเตอร์ ก็ไม่สามารถป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกไม่ให้ระบาดได้ ทั้งที่โรคนี้เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้โดยการให้ประชาชนมีพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ถูกต้อง และการส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกตั้งแต่กระบวนการการรับทราบปัญหา การวิเคราะห์ปัญหา การวางแผนแก้ไขปัญหา คิดค้นกลวิธีการแก้ไขปัญหา ตลอดจนประเมินผลและปรับปรุงกลวิธีการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในหมู่บ้านด้วยตนเอง ก็จะทำให้ประชาชนได้ตระหนักถึงพิษภัยของโรคและร่วมมือร่วมใจกันแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านของตนเองได้
3. วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
2. เพื่อคิดค้นหากลวิธีการควบคุมโรคแบบใหม่ในชุมชนโดยชุมชน
3. เพื่อลดอัตราการแพร่ระบาดด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เสี่ยงในตำบลหลุบ
4. เพื่อพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นบ้านต้นแบบในการควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
4. ขอบเขตและกระบวนการที่สำคัญ
4.1 ขอบเขต

ประเด็น ขอบเขตโครงการ
-กลุ่มประชาชนในพื้นที่ ม.1 และ ม.11 ตำบลหลุบ ประชาชนที่อยู่ในชุมชน หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 11 ตำบลหลุบ

4.2 ขั้นตอนและกระบวนการในการดำเนินโครงการ

5.ผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการ
ผลผลิต ผลลัพธ์
- ชุมชน/หมู่บ้านเป้าหมายมีแผนแก้ไขปัญหาไข้เลือดออกของหมู่บ้าน
- ชุมชนมีกลวิธีในการควบคุมโรคไข้เลือดออกที่เกิดจากการร่วมคิด ร่วมทำของชุมชน
- ความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายในชุมชนลดลง อัตราป่วยและตายด้วยโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านลดลง

6.ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ระยะเวลา
- ชุมชน/หมู่บ้านเป้าหมายมีแผนแก้ไขปัญหาไข้เลือดออกของหมู่บ้าน
- ชุมชน/หมู่บ้านมีกลวิธีในการควบคุมโรคไข้เลือดออกที่เกิดจากการร่วมคิด ร่วมทำของชุมชน
- ความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายในชุมชนลดลง
- อัตราป่วยและตายด้วยโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านลดลง ร้อยละของชุมชน/หมู่บ้านที่มีแผนงานควบคุมโรคไข้เลือดออก

ร้อยละของชุมชน/หมู่บ้านที่มีกลวิธีควบคุมโรคไข้เลือดออกของตนเอง
อัตราความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน(BI)
อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
อัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออก ร้อยละ


ร้อยละ

อัตราความชุกลูกน้ำ(BI)
อัตราป่วย
อัตราตาย มค.52


มค.52 ทุกเดือน

กย.52
กย.52

7.ความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์
ความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยง x เหตุผลและรายละเอียด
โครงการหลักที่ส่งผลต่อการบรรลุค่าเป้าหมายภายใต้ตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์การสาธารณสุขระดับจังหวัด
x ตัวชี้วัด:ร้อยละของตำบลที่มีระดับความสัมฤทธิผลของกระบวนการลดปัญหาการป่วยและตายด้วยโรคที่เป็นปัญหาของตำบลในระดับ 5
ค่าเป้าหมาย: ร้อยละ 60
เป้าประสงค์:จังหวัดกาฬสินธุ์สามารถลดการป่วยและ
ตายด้วยโรคที่เป็นปัญหาของจังหวัดได้
7.ความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์(ต่อ)
ความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยง x เหตุผลและรายละเอียด
ประเด็นยุทธศาสตร์:การสร้างระบบภูมิคุ้มกันเพื่อลดผลกระทบจากโรคและภัยคุกคามทางสุขภาพ
8. ผู้รับผิดชอบ
ตำแหน่งในโครงการ ชื่อผู้รับผิดชอบ บทบาทหน้าที่รับผิดชอบ
Project Sponser -สาธารณสุขอำเภอเมืองกาฬสินธุ์
-ผู้รับผิดชอบงานควบคุมโรคระดับอำเภอ อนุมัติโครงการ รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาโครงการ
Project Manager -หัวหน้าสถานีอนามัยโนนสว่าง
ตำบลหลุบ เป็นผู้รับผิดชอบผลักดันโครงการให้ประสบผลสำเร็จ และดูแลบริหารโครงการโดยรวม
Project Team คณะเจ้าหน้าที่ประจำสถานีอนามัย
โนนสว่าง ตำบลหลุบ เป็นผู้ดำเนินงานตามโครงการ

9. ทรัพยากรที่ต้องใช้
ทรัพยากรที่ต้องใช้ แหล่งที่มาของทรัพยากร
1.ค่าบริหารจัดการในการประชุมแกนนำ
- ค่าอาหารผู้เข้าร่วมประชุม 386 คนX 50 บาท X 1 วัน = 19,300 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมประชุม 386 คนX 15 บาท X 2 ครั้ง X 1 วัน = 11,580 บาท
- ค่าวัสดุสำนักงาน = 3,400 บาท งบ AREA BASE รวมทั้งสิ้น 40,280 บาท
(สี่หมื่นสองร้อยแปดสิบบาทถ้วน)
5. ค่าอาหารในการดำเนินงานตามโครงการ
- ค่าอาหารเจ้าหน้าที่ในการสุ่มประเมินลูกน้ำยุงลาย 10 คนX 100 บาท X 6 วัน = 6,000 บาท
6. ค่าอาหารในการสุ่มประเมินลูกน้ำยุงลายตามโครงการโดย อสม.
- ใช้จากงบประมาณงบ 10,000 บาท/หมู่บ้าน


10. งบประมาณ และประมาณการกระแสเงินสด
โครงการใช้งบประมาณทั้งหมด 40,280 บาท ดังรายละเอียดดังนี้
ประเด็น งบประมาณทั้งหมด ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 4
1.รายรับ
งบ AREA BASE 40,280 40,280
2.รายจ่าย
1. ค่าบริหารจัดการในการประชุมแกนนำ
2. ค่าอาหารในการดำเนินงานตามโครงการ
3. ค่าอาหารในการสุ่มประเมินลูกน้ำยุงลายโดย อสม.
34,280


6,000

งบ สสม.


งบ สสม.

งบ สสม.

11. ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ
บทบาท รายละเอียด หน่วยงาน/กลุ่มบุคคล
ผู้เห็นชอบ ผู้อนุมัติ อนุมัติโครงการ เห็นชอบโครงการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกาฬสินธุ์
สาธารณสุขอำเภอเมืองกาฬสินธุ์
หัวหน้าสถานีอนามัยโนนสว่าง
คณะวิทยากร เป็นผู้ดำเนินการจัดกิจกรรมในโครงการ เจ้าหน้าที่จากสถานีอนามัย
โนนสว่าง ตำบลหลุบ
ผู้ที่ได้รับผล เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมตามโครงการและประเมินผลตามโครงการ ประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 11 ตำบลหลุบ


12. ประเด็นปัญหาจาก Stakeholders

ผู้ที่เกี่ยวข้อง ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของโครงการ ได้รับผลกระทบจากโครงการ ประเด็นปัญหาที่อาจจะมีปัญหา แนวทางในการแก้ไข
สสจ./คปสอ. การอนุมัติโครงการ/งบประมาณ - การอนุมัติโครงการ/งบประมาณล่าช้า ควรให้มีการมอบอำนาจหรือให้ผู้ตรวจสอบโครงการแทน
สอ. - เจ้าหน้าที่ทำงานเชิงรุก
- รู้จักสภาพพื้นที่ - เจ้าหน้าที่มีภาระงานมากขึ้น ขอรับการสนับสนุน
จากโซน

หน่วยงานหรือผู้ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณจากภายนอก การระดมทุนจากชุมชน และจากทุกภาคส่วนเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ - - สภาพเศรษฐกิจที่ไม่ดี
- นโยบายหรือกฎระเบียบของหน่วยงานอื่นที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการให้การสนับสนุน เพิ่มการประชาสัมพันธ์โครงการ และประสานงานให้ทั่วถึง
อสม. และผู้นำชุมชน มีส่วนร่วมในการผลักดันและสนับสนุนโครงการให้ประสบความสำเร็จ - ไม่เห็นความสำคัญของโครงการ สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา
ประชาชนในพื้นที่ เป็นผู้ร่วมดำเนินกิจกรรมตามโครงการที่หมู่บ้านจัดทำขึ้น เป็นผู้ที่จะดำเนินการตามโครงการ ไม่เห็นความสำคัญของโครงการ สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา

13. ประโยชน์ที่ได้รับ
ด้านผลประโยชน์โครงการ (ทางสังคม)

ผู้ที่เกี่ยวข้อง บวกสูง
(+3) บวกกลาง
(+2) บวกต่ำ
(+1) ลบต่ำ
(-1) ลบกลาง
(-2) ลบสูง
(-3) รวม
สสจ./คปสอ. ลดภาระในการติดตามประเมินผล
+2
สอ. ลดการระบาดของโรคไข้เลือดออก
+3
หน่วยงานหรือผู้ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณจากภายนอก ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการควบคุมการระบาดของโรค +3
ประชาชน สุขภาพดีไม่มีไข้เลือดออก +3

จนท. ลดภาระในการดูแลสุขภาพประชาชน
+2

รวม
9
4
0
0
0
0
+13

14. โครงการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ชื่อโครงการอื่นที่สัมพันธ์ โครงการอื่นเป็นโครงการต้นน้ำ โครงการอื่นเป็นโครงการที่ต้องทำร่วมกัน โครงการอื่นเป็นโครงการปลายน้ำ รายละเอียดลักษณะความสัมพันธ์
โครงการควบคุมและป้องกันไข้เลือดออกในชุมชน (งบ 10,000 บาท)
X มีกิจกรรมที่สอดคล้องและสนับสุนนซึ่งกันและกัน
โครงการควบคุมและป้องกันไข้เลือดออกใน สถานีอนามัย
X มีกิจกรรมที่สอดคล้องและสนับสุนนซึ่งกันและกัน
โครงการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพแบบมีส่วนร่วมของชุมชน/สสอ./คปสอ.
X มีกิจกรรมที่สอดคล้องและสนับสุนนซึ่งกันและกัน
โครงการลดโรคที่เป็นปัญหาของจังหวัด (1ตำบล 1 โรค) สสจ. X มีกิจกรรมที่สอดคล้องและสนับสุนนซึ่งกันและกัน
โครงการเสริมสร้างสุขภาพเชิงรุกบุกถึงที่ด้วยการมีปัจจัยพื้นฐานทางสุขภาพ (สสจ.) X มีกิจกรรมที่สอดคล้องและสนับสุนนซึ่งกันและกัน
โครงการชุมชนสุขภาพดีตามแนววิถีชาวกาฬสินธุ์ (สสจ.) X มีกิจกรรมที่สอดคล้องและสนับสุนนซึ่งกันและกัน
1.5 ความเสี่ยงของโครงการ
การระบุความเสี่ยง
ประเด็นที่ต้องพิจารณา คำอธิบาย ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น
ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน -ไม่เห็นความสำคัญของปัญหาในการดำเนินงาน
-ภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำประชาชนมีรายได้น้อย -ไม่ให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน

ความยั่งยืนของโครงการ -ถ้าหากไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
-โครงการไม่สามารถดำเนินการอย่างยั่งยืนได้
ด้านภาระหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ สอ. -งานปฏิบัติที่ สอ.มีมากจึงไม่สามารถปฏิบัติงานใดงานหนึ่งได้อย่างดีเด่นเฉพาะงาน -การดำเนินงานขาดประสิทธิภาพ
ด้านงบประมาณ -งบประมาณอาจไม่เพียงพอ
-หน่วยงานภาครัฐต้องทำงานเชิงบูรณาการ -การดำเนินงานไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ทั้งหมด

16 .ความเสี่ยงสำคัญ ( A B C)
ความเสี่ยง เกรดที่ได้รับ แนวทางการบริหารความเสี่ยง ผู้รับผิดชอบนำแนวทางไปใช้ ต้นทุนที่อาจเกิดขึ้น
ไม่ให้ความร่วมมือในการดำเนินการ B 1.ประชุมชี้แจงให้ชาวบ้านเข้าใจ
2.กำหนดเป็นนโยบายเร่งรัดของพื้นที่
3.มีการบูรณาการ ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ สอ.
สสจ./กระทรวง

รัฐบาล
โครงการไม่สามารถดำเนินการอย่างยั่งยืนได้ B 1.กำหนดเป็นแนวทางในการปฏิบัติในระดับจังหวัด
2.มีการสนับสนุนงบประมาณอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง สสจ.

สสจ.


ความเสี่ยง เกรดที่ได้รับ แนวทางการบริหารความเสี่ยง ผู้รับผิดชอบนำแนวทางไปใช้ ต้นทุนที่อาจเกิดขึ้น
การดำเนินงานขาดประสิทธิภาพ B 1.ลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ สอ.
2.กำหนดงานที่เป็นจุดเด่นหรือเฉพาะทางของแต่ละวิชาชีพใน สอ. กระทรวง
กระทรวง

การดำเนินงานไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ทั้งหมด B 1.สนับสนุนงบประมาณให้เพียงพอ
2.มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐ สสอ./สสจ.

กระทรวง



ลงชื่อ……………..…….......ผู้เขียนโครงการ
(นางสาวมาลินี วังภูผา)
ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ 6

ลงชื่อ………………….…….ผู้เสนอโครงการ
(นางไพฑูรย์ อุดมรัตน์)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข 7

ลงชื่อ…………..............……….ผู้เห็นชอบโครงการ
(……………….…………….)
ตำแหน่ง………………………………..

ลงชื่อ………................……….ผู้อนุมัติโครงการ
(…………………………….)
ตำแหน่ง………………………………..

ตารางการปฏิบัติงานตามโครงการเครือข่ายชุมชนร่วมใจต้านภัยโรคไข้เลือดออก ตำบลหลุบ

กิจกรรม เดือน หมายเหตุ
มค. กพ. มีค. เมย. พค. มิย. กค สค กย.
1. คัดเลือกหมู่บ้านเป้าหมายได้แก่ บ้านคอนเรียบ
หมู่ ที่ 1 และหมู่ที่ 11 ตำบลหลุบ อำเภอเมือง
จังหวัดกาฬสินธุ์
2 อสม.ในหมู่บ้านเป้าหมายประเมินสำรวจลูกน้ำยุงลายก่อนการดำเนินการตามโครงการ
3 ประชุมคณะกรรมหมู่บ้าน/แกนนำชุมชน ประชาชนในหมู่บ้าน เพื่อทบทวนสถานการณ์โรค วางแผนการดำเนินงาน และหากลวิธีในการควบคุมป้องกันโรคในระดับหมู่บ้านโดยใช้กระบวนการ AIC จำนวน 1 วัน
4 หมู่บ้านดำเนินการตามแผนและกลวิธีที่กำหนด
(มีนาคม – กันยายน2552)
5. สนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานต่างๆ (สอ., อบต.หลุบ, งบสาธารณสุขมูลฐาน)
6. คณะกรรมหมู่บ้าน/แกนนำชุมชนประชุมเพื่อ
ทบทวนการดำเนินงานตามแผนทุก 2 เดือน
7. อสม.ตัวแทนประเมินผลการดำเนินการตามโครงการโดยการสุ่มสำรวจลูกน้ำยุงลายทุกเดือน(ประเมินไขว้)
8. ประเมินผลเมื่อสิ้นสุดโครงการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น